พระราชพงศาวลีของพระมหากษัตริย์จีน (ช่วงต้น)นี่คือพระราชพงศาวลีของจักรพรรดิจีนตั้งแต่การก่อตั้ง ราชวงศ์ฉิน เมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล (โดย จิ๋นซีฮ่องเต้) จนถึงสิ้นยุค สิบหกรัฐ ในปี ค.ศ. 453 พระราชพงศาวลีของพระมหากษัตริย์จีน (ยุคโบราณ) → (ยุครณรัฐ) → (ช่วงต้น) → (ช่วงกลาง) → (ช่วงปลาย) ราชวงศ์ฉินราชวงศ์ฉิน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล หลังจาก จิ๋นซีฮ่องเต้ กษัตริย์แห่งฉินพิชิตรัฐเพื่อนบ้านที่เป็นอิสระรัฐสุดท้ายซึ่งก็คือ รัฐฉี ปัจจุบันราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับว่าเป็นราชวงศ์แรกอย่างเป็นทางการ
ราชวงศ์ฮั่น และสามก๊กราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ซิน และจ๊กก๊กจักรพรรดิฮั่นเซี่ยน เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ ราชวงศ์ฮั่น เป็นทายาทของจักรพรรดิพระองค์แรกองค์แรก จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ที่ปกครองยาวนานกว่า 400 ปี ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นหนึ่งในยุคทองของประวัติศาสตร์จีน ในช่วงเวลาดังกล่าวช่วงกลางราชวงศ์ถูกแทรกด้วยรัชสมัยของ หวัง หมั่ง ผู้สถาปนา ราชวงศ์ซิน จึงทำให้เกิดการแบ่งยุคสมัยย่อยของราชวงศ์นี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก กับยุคฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสตกาล - 8 และ 23-25) และ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (25-220) กับ จ๊กก๊ก ซึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อจากราชวงศ์ฮั่นในช่วง สามก๊ก จากผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น และนับถือพระองค์เป็นจักรพรรดิพระองค์หนึ่งในราชวงศ์ฮั่น
วุยก๊ก
ง่อก๊ก
ราชวงศ์จิ้น และราชวงศ์หวนฉู่ราชวงศ์จิ้น (265–420) เป็นราชวงศ์ที่รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังความวุ่นวายสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น หรือ สามก๊ก แม้ภายหลังอำนาจของจักรพรรดิอ่อนแอจากเหตุการณ์ กบฏแปดอ๋อง ทำให้ช่วงปลายเหตุการณ์ หลิวชง หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูยกกำลังเข้าบุกนครลั่วหยาง ราชธานีของ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องยกให้ จักรพรรดิจิ้นหมิ่น ขึ้นครองบัลลังก์ แต่เมื่อปี ค.ศ. 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอาน ทำให้ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก สิ้นสุดลง ภายหลังเหล่าตระกูลชนชั้นสูงในที่ราบภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห และดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง เชิญให้ซือหม่ารุ่ยตั้งตัวขึ้นเป็นจักรพรรดิจิ้นหยวน แห่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันออก และสถาปนาเมืองเจี้ยนคัง ขึ้นเป็นราชธานี แม้ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่างๆ
สิบหกรัฐ
รัฐอื่นๆ นอกเหนือสิบหกรัฐ
|
Portal di Ensiklopedia Dunia