พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)
พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ นามเดิม จ่าง เกิดเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ที่บ้านในตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเขียว และ นางเพ็ง โดยปู่ของท่าน ชื่อ นายพุก ซึ่งสืบสายลงมาจาก นายคำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลให้ท่านว่า "วัจนะพุกกะ" ประวัติในวัยเยาว์ ท่านได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสคูล (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) จนสำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตร ชั้น 7 จากนั้นจึงรับราชการในกระทรวงนครบาล เริ่มที่ตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรสรรพากร ในกรมกองตระเวน เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 และได้รับความเจริญในราชการเรื่อยมา คือ เป็นผู้กำกับการโรงพักสามแยก เมื่อ พ.ศ. 2464 ปฏิบัติงานอยู่ 5 ปี จึงย้ายไปรั้งตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[1]และได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[2]ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล บางรัก [3] จนหลังเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านจึงได้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ ในสมัย พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นอธิบดี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 [4] และในที่สุด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476[5] ตำแหน่งการทำงานได้รับยศเป็นนายพันตำรวจเอกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471[6]และอีก 2 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 1000 [7] นอกจากนี้ ในระหว่างที่รับราชการ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการพิเศษหลายคราว ที่สำคัญ คือ
ฯลฯ ท่านออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2479[8]รวมอายุราชการ 34 ปี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก และ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย กับทั้งเหรียญจักรมาลา และ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเกียรติยศ ชีวิตครอบครัวพระยาอนุสสรธุระการ มีบุตร-ธิดา รวม 11 คน คือ
หลังออกจากราชการแล้ว ท่านก็ได้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านที่ถนนสาธร จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ยศและบรรดาศักดิ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia