หนังสือผู้วินิจฉัย บทที่ 2
ผู้วินิจฉัย 2 (อังกฤษ : Judges 2 ) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือผู้วินิจฉัย ในพันธสัญญาเดิม หรือคัมภีร์ฮีบรู ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล [ 2] [ 3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ ถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์ กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[ 3] บทที่ 2 ของหนังสือผู้วินิจฉัยเน้นไปที่ความล้มเหลวทางการรบและการไม่เชื่อฟังของชาวอิสราเอลหลังจากการเกริ่นนำในบทแรก
ต้นฉบับ
บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรค
พยานต้นฉบับ
บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรู มีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)
สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนี ที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
B ; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
A ; ศตวรรษที่ 5)[ a]
ทูตของพระยาห์เวห์ที่โบคิม (2:1–5)
ส่วนสั้น ๆ เกี่ยวกับการสำแดงของพระเจ้านี้ทำหน้าที่เป็นสิ่งเชื่อมระหว่างบทก่อนหน้า และบทต่อ ๆ ไป เป็นการทรงตอบสนองต่อคำทูลถามของชาวอิสราเอลเพื่อทูลขอคำแนะนำจากพระเจ้าในผู้วินิจฉัย 1:1 พร้อมด้วยการย้ำถึงพันธสัญญาของพระเจ้าที่จะทรงประทานดินแดนแก่ชนชาติอิสราเอล (ย้อนกลับไปยุคปฐมบรรพบุรุษ) ได้ถูกรักษาว่าอย่างซื่อสัตย์ดังที่ประจักษ์ได้จากการทรงไถ่ประชาชนจากอียิปต์ (ผู้วินิจฉัย 2:1) แต่อนาคตของพันธสัญญานั้นขึ้นกับเงื่อนไขของความซื่อสัตย์ของอิสราเอลในฐานะคู่พันธสัญญาต่อพระยาห์เวห์แต่เพียงพระองค์เดียว ความล้มเหลวในการขับไล่ศัตรูใน 1:28–36 แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นผลจากความอ่อนแอทางการทหาร (1:19) แต่เป็นผลมาจากความไม่ซื่อสัตย์ของอิสราเอลต่อพันธสัญญา (2:2–3) ปฏิกิริยาของประชาชนต่อการบอกเหตุล่วงหน้าอันรุนแรงนี้เป็นศัพทมูลของสถานที่ที่ทูตของพระยาห์เวห์ปรากฏ (2:4–5)
วรรค 1
ทูตของพระยาห์เวห์ได้ขึ้นไปจากกิลกาลถึงโบคิม และท่านกล่าวว่า "เราได้นำเจ้าทั้งหลายขึ้นมาจากอียิปต์ และได้นำพวกเจ้าเข้ามายังแผ่นดินซึ่งเราได้ปฏิญาณไว้แก่บรรพบุรุษของเจ้าทั้งหลายว่า 'เราจะไม่มีวันหักพันธสัญญาที่เราทำกับเจ้าเลย' " [ 9]
"ทูตของพระยาห์เวห์": จากภาษาฮีบรู מלאך יהוה , malak YHWH [ 10] เช่นเดียวกับที่ใช้ในฮักกัย 1:13 ใช้กล่าวถึงผู้เผยพระวจนะในอิสยาห์ 42:19 และมาลาคี 3:6 ใช้กล่าวถึงปุโรหิตในมาลาคี 2:7 ตีความได้ว่าเป็น "ผู้ส่งสารของพระผู้เป็นเจ้า" ตาร์คุม ถอดความว่าเป็น "ผู้เผยพระวจนะที่มีสารจากพระยาห์เวห์" แต่ในหนังสือผู้วินิจฉัย คำนี้หมายถึงทูตสวรรค์ ที่พระเจ้าทรงส่งมาโดยตรงเพื่อเป็นถ่ายทอดพระวจนะเพราะ:[ 11]
วลีในความหมายนี้ถูกใช้หลายครั้งในหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 6:11-12; ผู้วินิจฉัย 6:21-22; ผู้วินิจฉัย 13:3; ผู้วินิจฉัย 13:13; ผู้วินิจฉัย 13:15 เป็นต้น)
วลีเดียวกันในความหมายนี้ก็มีการใช้ที่อื่นเช่นกัน เช่นในปฐมกาล 16:7; ปฐมกาล 22:11; อพยพ 2:2; อพยพ 2:6; อพยพ 2:14; กันดารวิถี 22:22 เป็นต้น
ทูตสวรรค์พูดในฐานะบุคคลที่หนึ่งโดยไม่ใช่คำเกริ่นนำอย่าง "พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้" อย่างที่ผู้เผยพระวจนะมักทำ[ 11]
นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่า "ทูตของพระยาห์เวห์" เป็นผู้เดียวกันกับ "จอมทัพของพระยาห์เวห์" ผู้ปรากฏต่อหน้าโยชูวาที่เยรีโค (โยชูวา 5:13-15)[ 11]
แบบแผนการไม่ซื่อสัตย์ของชาวอิสราเอล (2:6–23)
เนื้อหาในส่วนนี้ได้วางมุมมองที่อิงตามหลักเทววิทยาของประวัติศาสตร์ตลอดหนังสือผู้วินิจฉัย ความได้เปรียบทางการทหารและการเมืองของอิสราเอลไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยในทางปฏิบัติอย่างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เอกภาพทางการเมือง และความพร้อมทางการทหาร แต่ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของประชาชนของความสัมพันธ์ตามพันธสัญญากับพระเจ้า และน่าจะยังขึ้นกับผู้นำที่เข้มแข็งด้วยอย่างเช่นโยชูวา (วรรค 6–7) เมื่อโยชูวาและคนรุ่นการอพยพเสียชีวิตไป คนรุ่นใหม่มาแทนที่ แต่พวกเขาไม่รู้จักพระยาห์เวห์หรือสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่ออิสราเอล (วรรค 10) นี่จึงส่งสัญญาณถึงปัญหาของอิสราเอลในหนังสืออื่น ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล (เปรียบเทียบกับ อพยพ 1:8; 1 พงศ์กษัตริย์ 12:8) วรรค 11–23 สรุปแบบแผนของประวัติศาสตร์อิสราเอลภายใต้ผู้วินิจฉัยดังนี้:
การไม่เชื่อฟัง
การถูกลงโทษด้วยความพ่ายแพ้หรือการถูกกดขี่
ความทุกข์ยากของประชาชน
การขึ้นสู่อำนาจของ "ผู้วินิจฉัย" ผู้หนุนใจและปลดปล่อยอิสราเอล
การเสียชีวิตของผู้วินิจฉัย
กลับไปสู่การไม่เชื่อฟัง
ความพ่ายแพ้
กรอบโครงสร้างของแบบแผนนี้เปรียบเทียบได้ในเชิงเทววิทยาและเชิงภาษากับเฉลยธรรมบัญญัติ 4:21–31; 6:10–15; 9:4–7; 12:29–32; 28:25 รวมไปถึงหนังสือผู้วินิจฉัยตลอดทั้งเล่ม (เปรียบเทียบภาษาและเนื้อหาที่ 3:7–10, 12, 15; 4:1; 6:1–10; 10:6–16; 13:1) เมื่อชาวอิสราเอล 'ละทิ้ง' พระยาห์เวห์ (วรรค 12–13) ไป 'เล่นชู้' กับพระต่างชาติ (วรรค 17 โดยเฉพาะพระบาอัลและพระอัชทาโรทของชาวคานาอัน จากนั้นพระยาห์เวห์จะ 'กริ้ว' และ 'พระพิโรธพลุ่งขึ้น' ต่อพวกเขา (วรรค 12,14, 20) ข้อความนี้จบลงด้วยการหักมุมในเรื่องการพิชิตคานาอันที่ไม่สมบูรณ์ของอิสราเอล คือพระเจ้าทรงปล่อยให้เหล่าศัตรูยังคงอยู่เพื่อทดสอบความซื่อสัตย์ของอิสราเอล
วรรค 9
สุสานของโยชูวา ใน Kifl Hares ("ทิมนาทเฮเรส") ตามความเชื่อของชาวสะมาเรีย[ 12]
เขาทั้งหลายก็ฝังท่านไว้ในเขตที่ดินมรดกของท่านที่เมืองทิมนาทเฮเรส ในแดนเทือกเขาเอฟราอิม ทางทิศเหนือของภูเขากาอัช [ 13]
อ้างอิงข้ามเล่ม: โยชูวา 24:30
"ทิมนาทเฮเรส " มีความหมายว่า "ส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์" ถูกเขียนด้วยชื่อว่า "ทิมนาทเสราห์" ("ส่วนที่เหลืออยู่") ในโยชูวา 19:50[ 11]
ดูเพิ่ม
ส่วนในคัมภีร์ไบเบิล ที่เกี่ยวข้อง: โยชูวา 24 , ผู้วินิจฉัย 1
หมายเหตุ
↑ หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[ 8]
อ้างอิง
↑ Talmud , Baba Bathra 14b-15a)
↑ 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz , June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
↑ This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
↑ ผู้วินิจฉัย 2:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
↑ ผู้วินิจฉัย 2:1 Hebrew Text Analysis . Biblehub
↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Ellicott, C. J. (Ed.) (1905). Ellicott's Bible Commentary for English Readers . ผู้วินิจฉัย 2. London : Cassell and Company, Limited, [1905-1906] Online version: (OCoLC) 929526708. Accessed 28 April 2019.
↑ Conder and Kitchener, 1882, p. 218 - 219
↑ ผู้วินิจฉัย 1:21 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
บรรณานุกรม
Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810 .
Finkelstein, Israel ; Lederman, Zvi, บ.ก. (1997). Highlands of many cultures . Tel Aviv : Institute of Archaeology of Tel Aviv University Publications Section. ISBN 965-440-007-3 .
Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4 .
Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible . Yale University Press. ISBN 978-0300188271 .
Niditch, Susan (2007). "10. Judges". ใน Barton, John ; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 176–191. ISBN 978-0199277186 . สืบค้นเมื่อ February 6, 2019 .
Schürer, E. (1891). Geschichte des jüdischen Volkes im Zeitalter Jesu Christi [A History of the Jewish People in the Time of Jesus Christ] . Geschichte de jüdischen Volkes im Zeitalter Jesu Christi.English (ภาษาอังกฤษ). Vol. 1. แปลโดย Miss Taylor. New York: Charles Scribner's Sons.
Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament . แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7 . สืบค้นเมื่อ January 26, 2019 .
แหล่งข้อมูลอื่น