ป้ายหยุดรถไฟพระจอมเกล้า
ป้ายหยุดรถไฟพระจอมเกล้า (English: Phra Chom Klao) เป็นป้ายหยุดรถไฟที่ตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ในพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ระหว่างสถานีลาดกระบังและสถานีหัวตะเข้ และอยู่บริเวณใจกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ลักษณะและที่ตั้งตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 30.33 จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ห่างจากสถานีลาดกระบัง 2.881 กิโลเมตร และสถานีหัวตะเข้ 830 เมตร มีทางรถไฟพาดผ่านป้ายหยุดรถ 4 ทาง แบ่งเป็นทางประธานสายตะวันออก 3 ทาง และอีกหนึ่งทางเป็นรางเข้า ICD ลาดกระบัง มีขบวนรถสินค้าวิ่งเข้าออกตลอด 24 ขั่วโมง โดยมี 3 ชานชาลาที่ตั้งอยู่แนวทางประธานหมด ลักษณะเด่นของป้ายหยุดรถนี้ คือ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ใกล้กับอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม จึงทำให้เป็นป้ายหยุดรถที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพราะนักศึกษาสามารถเดินทางจากบริเวณต่างๆ ในเขตกรุงเทพหรือจังหวัดต่างๆ ที่มีระบบขนส่งมวลชนใกล้เคียงสถานีในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยสารรถไฟมาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ได้ การให้บริการปัจจุบัน มีขบวนรถไฟที่ให้บริการบนสายตะวันออก ทั้งรถธรรมดาและรถชานเมือง หยุดรับส่งที่ป้ายหยุดรถนี้ทุกขบวน ยกเว้นขบวนรถเร็ว 997/998: กรุงเทพ (หัวลำโพง) - จุกเสม็ด ไม่หยุดรับส่งป้ายหยุดรถนี้ จะหยุดรับส่งที่สถานีหัวตะเข้ที่อยู่ถัดไปแทน โดยเวลาขบวนรถต่างๆ หยุดรับส่งที่ป้ายฯ มีดังนี้ เที่ยวขึ้น
เที่ยวล่อง
ฟีดเดอร์พระจอมเกล้า![]() ในปี พ.ศ. 2566 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดบริการขบวนรถไฟเชื่อมต่อแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ สถานีลาดกระบัง กับป้ายหยุดรถไฟพระจอมเกล้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ที่เดินทางมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังได้สะดวก[1] โดยเริ่มเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 ในช่วงแรก มีการให้บริการแบบวิ่งไปกลับระหว่างสถานีลาดกระบังและป้ายหยุดรถ ซึ่งในแต่ละรอบ จะมีขบวนรถออกจากสถานีกรุงเทพ โดยมีปลายทางที่ป้ายหยุดรถพระจอมเกล้า จากนั้นทำการวิ่งไปกลับระหว่างป้ายหยุดรถและสถานีลาดกระบัง จำนวน 4 รอบ บนรางที่สามของทางรถไฟสายตะวันออก จนสุดท้ายค่อยวิ่งกลับสถานีกรุงเทพ โดยมีการให้บริการแบ่งออกเป็นรอบเช้าและรอบบ่าย ส่วนชนิดรถที่ให้บริการจะใช้รถดีเซลราง THN หรือ NKF จำนวน 2 คัน แต่ในวันที่ 30 มีนาคม ได้มีการใช้ชุดรถสปริ้นเตอร์มาทำขบวนฟีดเดอร์เป็นครั้งแรกและนำมาวิ่งในรอบเช้า เนื่องจากรถดีเซลราง THN/NKF ไม่พร้อมใช้งาน แต่เนื่องจากขบวนรถฟีดเดอร์ มีจำนวนผู้ใช้บริการน้อย จึงมีการยกเลิกขบวนรถวิ่งตลอดวัน และคงเหลือเพียงขบวนรถที่ออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 18:50 น. และกลับกรุงเทพในวันเดียวกัน โดยมีเที่ยวแรกในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 ใช้รถดีเซลราง THN หรือ NKF 2 คันทำขบวนเหมือนก่อนหน้า มีบางครั้งที่พ่วงตู้ ATR มากับชุดรถ THN NKF รวมไปถึงมีการใช้ชุดรถสปริ้นเตอร์ และรถดีเซลรางแดวูอีกด้วย ซึ่งในสัญญาเดิมจะวิ่งถึงแค่เดือนกรกฎาคม แต่ได้มีการต่อสัญญาให้วิ่งต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม เมื่อสิ้นสุดสัญญาการเดินรถ ทำให้ขบวนรถฟีดเดอร์ขบวนนี้ มีเที่ยววิ่งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยได้ใช้ชุดรถสปริ้นเตอร์ (ASR) ทำขบวนนี้เป็นครั้งสุดท้าย[2] และเพื่อทดแทนขบวนรถฟีดเดอร์ที่ยกเลิกไป ได้มีการปรับเปลี่ยนเวลาออกต้นทาง-ปลายทางของขบวนรถปกติ ประกอบด้วย ขบวนรถชานเมือง 383 จากเดิมที่ออกสถานีกรุงเทพ 18:25 น. ปรับเวลาเป็น 18:50 น. และรถธรรมดา 276 จากเดิมออกบ้านคลองลึก 13:15 น. ปรับเวลาเป็น 14:50 น. เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567[3] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia