ปฏิบัติการเอนเทบเบ
ปฏิบัติการเอนเทบเบ (อังกฤษ: Operation Entebbe) หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ (อังกฤษ: Operation Thunderbolt) เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการโดยคอมมานโดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976[7] โดยในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า เครื่องบินของแอร์ฟรานซ์ซึ่งมีผู้โดยสาร 248 คนถูกจี้โดยสองสมาชิกของฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) ภายใต้คำสั่งของวะดี ฮัดดัด (ผู้ที่ได้แตกหักก่อนหน้านี้จากองค์การพีเอฟแอลพี ของจอร์จ ฮาบาช)[8] และสองสมาชิกของหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน สลัดอากาศมีเป้าหมายที่จะปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์และผู้ทำสงครามที่อยู่ในสังกัด 40 คนที่ถูกคุมขังในอิสราเอลและนักโทษอีก 13 คนในอีก 4 ประเทศเพื่อแลกกับตัวประกัน[9] เที่ยวบินที่มาจากเทลอาวีฟเดิมมีจุดหมายปลายทางที่กรุงปารีส ถูกเบี่ยงเบนไปหลังจากหยุดพักระหว่างทางในกรุงเอเธนส์ผ่านเบงกาซีสู่เอนเทบเบ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศยูกันดา โดยรัฐบาลยูกันดาสนับสนุนการจี้เครื่องบิน และจอมเผด็จการอีดี อามิน ได้ต้อนรับพวกเขาเป็นการส่วนตัว[10] อามินได้รับแจ้งเรื่องการจี้เครื่องบินตั้งแต่เริ่มแรก[11] หลังจากย้ายตัวประกันทั้งหมดจากเครื่องบินไปยังอาคารสนามบินที่ไม่ได้ใช้แล้ว พวกสลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวอิสราเอลจำนวนมากทั้งหมดออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบังคับให้พวกเขาเข้าไปในห้องแยกต่างหาก[12][13][14] ในอีกสองวันต่อมา 148 ตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลได้รับการปล่อยตัวและบินสู่ปารีส[13][14][15] ส่วนเก้าสิบสี่คนที่เหลือ เป็นชาวอิสราเอล ที่เป็นผู้โดยสาร พร้อมกับลูกเรือ 12 คนของแอร์ฟรานซ์ยังคงเป็นตัวประกันและถูกขู่เข็ญด้วยความตาย[16][17] กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับจากมอสสาดซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศอิสราเอล ผู้ก่อการขู่ว่าจะสังหารตัวประกันหากไม่ได้ทำการปล่อยตัวนักโทษ และภัยคุกคามนี้ได้นำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการกู้ภัย[18] แผนเหล่านี้รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการต่อต้านอาวุธจากกองทหารยูกันดา[19] การดำเนินการเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เครื่องบินขนส่งของอิสราเอล บรรทุกคอมมานโด 100 คนกว่า 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) ไปยังประเทศยูกันดาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการวางแผน ใช้เวลา 90 นาที จากตัวประกันที่เหลือ 106 คนนั้น 102 คนได้รับการช่วยเหลือ และสามคนถูกฆ่าตาย ส่วนตัวประกันอีกรายที่อยู่ในโรงพยาบาลได้ถูกสังหารในภายหลัง คอมมานโดอิสราเอลห้าคนได้รับบาดเจ็บ และคอมมานโดยศพันโทอีกหนึ่งนายคือโยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย สลัดอากาศทั้งหมดและทหารยูกันดาสี่สิบห้ารายถูกสังหาร ส่วนมิก-17 และมิก-21 สิบเอ็ดลำ[5][6] ที่สร้างโดยโซเวียตของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย[4] แหล่งข่าวเคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอล และผลที่ตามมาของปฏิบัติการ อีดี อามิน ออกคำสั่งเพื่อแก้แค้นและฆ่าชาวเคนยาที่อยู่ในประเทศยูกันดาหลายร้อยคนหลังจากนั้น[20] โดยชาวเคนยาในประเทศยูกันดา 245 คนถูกฆ่าตายและ 3,000 คนได้หนีไป[21] ปฏิบัติการเอนเทบเบ มีชื่อรหัสทางทหารคือปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ บางครั้งอ้างถึงในฐานะปฏิบัติการโยนาทัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หัวหน้าหน่วยที่ชื่อโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล[22] การจี้เครื่องบิน
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1976 สายการบินแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 139 ซึ่งเป็นเครื่องบินแอร์บัส อา300เบ4-203 ทะเบียนแอฟ-เบเวเชเช (c/n 019) ได้ออกจากเมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้พาผู้โดยสาร 246 คนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวยิวและชาวอิสราเอล กับลูกเรืออีก 12 คน[23][24] แล้วบินสู่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มอีก 58 คน ที่รวมถึงสลัดอากาศสี่คน[25][nb 1] โดยเดินทางจากปารีสเวลา 12:30 น. เพียงแค่หลังการบินขึ้นไป เที่ยวบินถูกจี้โดยชาวปาเลสไตน์สองคนจากฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-EO) และโดยชาวเยอรมันสองคน ซึ่งได้แก่วินฟรีด เบอเซ และบรีกิทเท คุลมันน์ จากหน่วยลับคอมมิวนิสต์ปฏิวัติเยอรมัน พวกสลัดอากาศทำให้เที่ยวบินเขวสู่เบงกาซี ประเทศลิเบีย[26] โดยทำการจอดบนพื้นดินเป็นเวลาเจ็ดชั่วโมงสำหรับการเติมน้ำมัน ในช่วงเวลาดังกล่าวสลัดอากาศได้ปล่อยตัวแพทริเซีย มาร์เทลล์ ซึ่งเป็นพลเมืองอิสราเอลที่เกิดในอังกฤษที่แกล้งทำเป็นว่ามีการแท้งลูก[18][27] เครื่องบินออกจากเบงกาซี และเวลา 15.15 น. ในวันที่ 28 มากกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากเที่ยวบินเดิม เครื่องบินก็มาถึงท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดา[26] สถานการณ์ตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบที่เอนเทบเบ สลัดอากาศที่เข้าร่วมอย่างน้อยสี่คน ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังของประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน[28] พวกสลัดอากาศย้ายผู้โดยสารไปยังฮอลล์การขนส่งของเทอร์มินัลสนามบินเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ที่พวกเขากักขังตัวประกันไว้ภายใต้การเฝ้าระวังสำหรับวันต่อ ๆ ไป อามินมาเยี่ยมตัวประกันเกือบทุกวัน มีข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของพวกเขา และสัญญาว่าจะใช้ความพยายามของเขาเพื่อให้พวกตัวประกันเป็นอิสระผ่านข้อต่อรอง[23] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน สลัดอากาศพีเอฟแอลพี-อีโอ ได้ออกแถลงการณ์และตั้งข้อเรียกร้องของพวกเขานอกเหนือจากค่าไถ่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปลดปล่อยเครื่องบิน พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์และกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์ 53 คน ซึ่ง 40 คนเป็นนักโทษในอิสราเอล[29] พวกเขาขู่ว่าถ้าข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง พวกเขาจะเริ่มฆ่าตัวประกันในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1976[30] การแยกตัวประกันออกเป็นสองกลุ่มเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน หลังจากทหารยูกันดาได้เปิดทางเข้าห้องถัดจากห้องโถงรอที่แออัดโดยการทำลายกำแพงแยก สลัดอากาศได้แยกชาวอิสราเอล (รวมทั้งผู้ถือสองสัญชาติ) ออกจากตัวประกันคนอื่น ๆ[nb 2] และบอกให้ย้ายไปที่ห้องข้างเคียง[32] ขณะที่พวกเขาทำเช่นนั้น ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์คนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าสลัดอากาศวินฟรีด เบอเซ มีหมายเลขทะเบียนค่ายสักบนแขนของเขา แต่เบอเซคัดค้านว่า "ฉันไม่ใช่นาซี! ... ฉันเป็นคนที่มีอุดมการณ์"[37] นอกจากนี้ ตัวประกันที่ไม่ใช่ชาวอิสราเอลห้าคน สองคู่สมรสชาวยิวออร์ทอดอกซ์นิกายหมวกดำ[23] จากสหรัฐและเบลเยียม[8] และชาวฝรั่งเศสในประเทศอิสราเอล ได้ถูกบังคับให้เข้าร่วมกลุ่มชาวอิสราเอล[34] ตามที่โมนิค เอปสไตน์ คาเลปสกี เผย ตัวประกันชาวฝรั่งเศสในจำนวนห้าคน ผู้จับกุมได้แยกแยะพวกเขาออกเพื่อตั้งคำถามและสงสัยว่าพวกเขาซ่อนสถานะของอิสราเอลไว้[34] ในทางกลับกัน อ้างอิงจากมีแชล โกฌู-โกลแบร์ก ซึ่งเป็นตัวประกันชาวฝรั่งเศส เผยว่า ผู้จับกุมล้มเหลวในการระบุชาวอิสราเอลอย่างน้อยหนึ่งคนในหมู่ผู้โดยสารที่มีสองสัญชาติแล้วใช้หนังสือเดินทางที่ไม่ใช่อิสราเอล และเขาก็ปล่อยให้เป็นอิสระในภายหลัง ในฐานะส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวครั้งที่สองของตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอล[36] ส่วนเจเน็ต อัลม็อก ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐ, โจเซลีน โมนิเยร์ ผู้หญิงชาวฝรั่งเศส (ซึ่งสามีหรือแฟนหนุ่มเป็นชาวอิสราเอล)[38][39] และฌ็อง-ฌัก มีมัวนี พลเมืองสัญชาติฝรั่งเศส-อิสราเอล ชื่อของเขาไม่ได้ถูกเรียกขึ้นมาในระหว่างการอ่านหนังสือเดินทางแบบเดิม แต่ได้รายงานเข้าร่วมกลุ่มตัวประกันอิสราเอลโดยความสมัครใจของตนเอง[40] การปล่อยตัวตัวประกันที่ไม่ใช่อิสราเอลส่วนใหญ่เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน สลัดอากาศได้ปล่อยตัวตัวประกัน 48 ราย กลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลได้รับการปลดปล่อยออกมา – ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ป่วย และมารดาที่มีบุตร สี่สิบเจ็ดคนดังกล่าวได้บินสู่ปารีส และผู้โดยสารคนหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งวัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม หลังจากที่รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศข้อตกลงการเจรจา ผู้จับตัวประกันยื่นคำร้องถึงเที่ยงวันในวันที่ 4 กรกฎาคม และปล่อยกลุ่มผู้ถูกกักขังที่ไม่ได้เป็นชาวอิสราเอลอีก 100 คน ที่บินสู่ปารีสอีกครั้งในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในบรรดา 106 ตัวประกันที่อยู่ข้างหลังกับผู้จับกุมที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ เป็นลูกเรือของแอร์ฟรานซ์ 12 คนผู้ปฏิเสธที่จะออกไป[41] ผู้โดยสารวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสประมาณสิบคน และกลุ่มชาวอิสราเอลประมาณ 84 คน[1][7][26][42] การวางแผนปฏิบัติการในสัปดาห์ก่อนการจู่โจม อิสราเอลพยายามใช้หนทางการเมืองเพื่อให้ได้รับการปลดปล่อยตัวประกัน หลายแหล่งข่าวระบุว่าคณะรัฐมนตรีอิสราเอลเตรียมที่จะปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หากทางออกทางทหารดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ บารุค "เบอร์กา" บาร์-เลฟ เจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันอิสราเอลที่เกษียณแล้ว รู้จักอีดี อามิน เป็นเวลาหลายปีและได้รับการพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับเขา ตามคำร้องขอของคณะรัฐมนตรี เขาได้พูดคุยกับอามินทางโทรศัพท์หลายครั้ง โดยพยายามที่จะให้มีการปล่อยตัวประกัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ[43][44] รัฐบาลอิสราเอลยังเข้าหารัฐบาลสหรัฐเพื่อส่งข้อความถึงประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต เพื่อขอให้เขาขอให้อามินปล่อยตัวประกัน[45] ส่วนนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชิมอน เปเรส ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ว่าไม่เห็นด้วยในการให้ตามความต้องการของสลัดอากาศ (ตำแหน่งของราบิน) หรือไม่ เพื่อป้องกันการก่อการร้ายมากขึ้น (ตำแหน่งของเปเรส)[46] ในเส้นตายของวันที่ 1 กรกฎาคม[47] คณะรัฐมนตรีอิสราเอลเสนอให้เจรจากับสลัดอากาศเพื่อขยายกำหนดสู่วันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งอามินเองก็ยังขอให้พวกเขาขยายเวลาจนถึงวันที่ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถเดินทางทางการทูตไปยังพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส เพื่อส่งมอบตำแหน่งประธานขององค์การเอกภาพแอฟริกาแก่ซีวูซากูร์ รามกูลัม อย่างเป็นทางการ[48] การขยายเส้นตายของตัวประกันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กองกำลังอิสราเอลมีเวลาพอที่จะเดินทางไปเอนเทบเบได้[25] ในวันที่ 3 กรกฎาคม เวลา 18:30 น. คณะรัฐมนตรีของอิสราเอลอนุมัติภารกิจช่วยชีวิต[49] ที่นำเสนอโดยพลตรี เยกูเทียล "กูที" อดัม และพลจัตวา แดน ชอมรอน ซึ่งชอมรอนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการ[50] ความพยายามในการแก้ปัญหาด้านการทูตขณะที่เกิดวิกฤติขึ้น มีความพยายามที่จะเจรจาปล่อยตัวประกัน ตามเอกสารทางการทูตที่ไม่เป็นความลับ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้ซาดาต พยายามเจรจากับทั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐบาลยูกันดา[51][52] โดยประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ส่งฮานิ อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยการเมืองของเขาไปยังประเทศยูกันดาในฐานะทูตพิเศษเพื่อเจรจากับผู้จับตัวประกันและอามิน[8] อย่างไรก็ตาม สลัดอากาศฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ปฏิเสธที่จะพบเขา[53] การเตรียมการโจมตีโฉบฉวยเมื่อหน่วยงานของอิสราเอลล้มเหลวในการเจรจาทางการเมือง พวกเขาตัดสินใจว่าทางเลือกเดียวของพวกเขาคือการโจมตีเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน พันโท โจชัว ชานี นักบินนำของปฏิบัติการ กล่าวในภายหลังว่าชาวอิสราเอลเริ่มคิดแผนกู้ภัยในขั้นต้น ที่เกี่ยวข้องกับการหย่อนหน่วยคอมมานโดกองทัพเรือเข้าทะเลสาบวิกตอเรีย หน่วยคอมมานโดจะต้องขี่เรือยางไปยังท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบ พวกเขาวางแผนที่จะสังหารสลัดอากาศ และหลังจากปลดปล่อยตัวประกัน พวกเขาจะขอร้องอามินเพื่อเดินทางกลับบ้าน ทว่า ฝ่ายอิสราเอลละทิ้งแผนนี้เพราะมีเวลาที่จำเป็นไม่เพียงพอ และเพราะพวกเขาได้รับข่าวว่าทะเลสาบวิกตอเรียเป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้แม่น้ำไนล์[54] อัมนอน ไบรัน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของภารกิจ ได้ระบุในภายหลังว่าไม่ทราบรูปแบบที่ถูกต้องของท่าอากาศยาน รวมถึงตำแหน่งที่แน่นอนของตัวประกัน และไม่ทราบด้วยว่าอาคารนั้นจะเตรียมวัตถุระเบิดไว้ด้วยหรือไม่[46] การเติมเชื้อเพลิงอากาศยานในขณะที่กำลังวางแผนการโจมตีโฉบฉวย กองกำลังอิสราเอลต้องวางแผนที่จะเติมน้ำมันเครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส ที่พวกเขาตั้งใจจะใช้ในระหว่างการเดินทางสู่เอนเทบเบ ฝ่ายอิสราเอลขาดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงในการทหารเพื่อการเติมน้ำมันกลางอากาศสี่ถึงหกเที่ยวบินที่ห่างจากน่านฟ้าของประเทศอิสราเอล ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงในการทหารประเทศเคนยาที่เข้าข้าง ต่างก็ไม่มีใครอยากให้อามินหรือชาวปาเลสไตน์โกรธแค้นโดยการอนุญาตให้ฝ่ายอิสราเอลลงจอดเครื่องบินภายในเขตแดนของตน การโจมตีโฉบฉวยไม่สามารถดำเนินการได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลแอฟริกาตะวันออกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ชาวยิวเจ้าของกลุ่มบริษัทบริหารโรงแรมบล็อกในประเทศเคนยา พร้อมกับสมาชิกคนอื่น ๆ ของชุมชนชาวยิวและชาวอิสราเอลในกรุงไนโรบี อาจใช้อิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขาเพื่อช่วยชักชวนประธานาธิบดีเคนยา โจโม เคนยัตตา ให้ช่วยอิสราเอล ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้รับอนุญาตจากเคนยาให้กองกำลังป้องกันอิสราเอลข้ามน่านฟ้าเคนยาและเติมเชื้อเพลิงที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา[55] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเคนยา บรูซ แมคเคนซี ได้ชี้ชวนเคนยัตตาผู้เป็นประธานาธิบดีเคนยา เพื่ออนุญาตให้มอสสาดเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนปฏิบัติการ และเพื่อให้กองทัพอากาศอิสราเอลสามารถเข้าถึงท่าอากาศยานไนโรบีได้[56] ในการตอบโต้ ประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน สั่งให้ตัวแทนยูกันดาลอบสังหารแมคเคนซี โดยเขาถูกสังหารเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 เมื่อมีการระเบิดที่ติดกับเครื่องบินของเขา[56][57][58][59] ต่อมา เมเออร์ อามิต ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของมอสสาด ได้ปลูกป่าในประเทศอิสราเอลในชื่อของแมคเคนซี[56] หน่วยสืบราชการลับตัวประกันมอสสาดสร้างภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ของตัวประกัน, จำนวนของสลัดอากาศ และการมีส่วนร่วมของกองทัพยูกันดาจากการปล่อยตัวประกันในปารีส[60] นอกจากนี้ บริษัทตัวแทนอิสราเอลมีส่วนร่วมในการสร้างโครงการในแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 และในขณะที่เตรียมการโจมตีโฉบฉวยกองทัพอิสราเอลได้ปรึกษากับโซเลลโบเนห์ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของอิสราเอลที่สร้างเทอร์มินอลที่คุมตัวประกันไว้[61] ขณะที่กำลังวางแผนปฏิบัติการทางทหาร กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้สร้างแบบจำลองบางส่วนของอาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลเรือนผู้ช่วยสร้างต้นฉบับ มูกิ เบตเซอร์ กล่าวในการสัมภาษณ์ในภายหลังว่า นักสืบมอสสาดได้สัมภาษณ์ตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างครอบคลุม เขากล่าวว่าผู้โดยสารชาวฝรั่งเศส-ยิว มีพื้นฐานทางทหารและ"ความจำยอดเยี่ยม"โดยให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอาวุธที่ถือโดยผู้คุมตัวประกัน[62] หลังจากที่เบตเซอร์รวบรวมข่าวกรองและวางแผนไว้หลายวันแล้ว เครื่องบินขนส่งซี-130 เฮอร์คิวลิสของกองทัพอากาศอิสราเอลสี่ลำได้ลอบบินสู่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในตอนเที่ยงคืนโดยไม่มีการตรวจพบโดยการควบคุมการจราจรทางอากาศของเอนเทบเบ กองกำลังพิเศษกองทัพบกของอิสราเอลมีจำนวนประมาณ 100 คน และประกอบไปด้วย:[50]
การโจมตีโฉบฉวยเส้นทางการโจมตีสำหรับการบินออกจากชาร์ม เอล ชีค[63] กองกำลังพิเศษได้บินไปตามเส้นทางการบินระหว่างประเทศผ่านทะเลแดง ส่วนใหญ่บินที่ความสูงไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับเรดาร์โดยกองกำลังอียิปต์, ซูดาน และซาอุดีอาระเบีย ครั้นใกล้ทางใต้ของทะเลแดง เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส เลี้ยวไปทางใต้และผ่านทางใต้ของประเทศจิบูตี จากที่นั่น พวกเขาบินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของไนโรบี ประเทศเคนยา แล้วเป็นไปได้ว่าได้ทำการบินข้ามประเทศโซมาเลีย และพื้นที่โอกาเดนของประเทศเอธิโอเปีย พวกเขาเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก ผ่านอีสต์แอฟริกันริฟต์และเหนือทะเลสาบวิกตอเรีย[64] เครื่องบินโบอิง 707 จำนวนสองลำบินตามเครื่องบินบรรทุกสินค้า โบอิงลำแรกมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ส่วนเยกูเทียล อดัม ซึ่งเป็นผู้บัญชาการของปฏิบัติการ ได้ขึ้นเครื่องโบอิงลำที่สอง ซึ่งวนไปรอบ ๆ ท่าอากาศยานเอนเทบเบระหว่างการโจมตี[50] กองกำลังป้องกันอิสราเอลลงจอดที่เอนเทบเบในวันที่ 3 กรกฎาคมเวลา 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานอิสราเอล โดยประตูบรรทุกสินค้าได้เปิดแล้ว เนื่องจากรูปแบบที่ถูกต้องของสนามบินไม่เป็นที่รู้จัก เครื่องบินลำแรกเกือบร่อนเข้าไปในคลอง[46] รถเมอร์เซเดสสีดำซึ่งดูเหมือนกับรถของประธานาธิบดี อีดี อามิน และแลนด์โรเวอร์ที่มาพร้อมกับเมอร์เซเดสของอามินถูกนำมาใช้ด้วยกัน ฝ่ายอิสราเอลหวังว่าพวกเขาสามารถใช้รถของพวกเขาเพื่อหลีกเลี่ยงจุดตรวจรักษาความปลอดภัยได้ เมื่อซี-130 เฮอร์คิวลิส ลงจอด สมาชิกของทีมโจมตีของอิสราเอลขับรถไปที่อาคารผู้โดยสารในแบบเดียวกับอามิน[19][65] ขณะที่พวกเขาเข้าใกล้เทอร์มินอล ทหารยูกันดาสองคนเกิดนึกได้ว่า เครื่องที่อามินเพิ่งซื้อมาเป็นเมอร์เซเดสสีขาว จึงได้มีการสั่งให้หยุดยานพาหนะลง[66] เนทันยาฮูสั่งหน่วยคอมมานโดยิงทหารโดยใช้ปืนพกเก็บเสียง แต่พวกเขาไม่ได้ฆ่าพวกนั้น[19] นี่เป็นการขัดกับแผนและขัดต่อคำสั่ง[46] ขณะที่พวกเขาออกไป หน่วยคอมมาโดอิสราเอลในแลนด์โรเวอร์ที่ตามหลังคันหนึ่งได้สังหารฝ่ายตรงข้ามด้วยปืนไรเฟิลที่ไม่สามารถอำพรางได้[19] จากความกลัวว่าสลัดอากาศจะตื่นตัวก่อนเวลาอันควร ทีมโจมตีจึงได้เข้าถึงเทอร์มินอลด้วยความรวดเร็ว[65] การช่วยชีวิตตัวประกันฝ่ายอิสราเอลทิ้งรถไว้และวิ่งไปที่เทอร์มินอล ตัวประกันอยู่ในห้องโถงใหญ่ของอาคารสนามบิน ซึ่งติดกับรันเวย์โดยตรง ในการเข้าสู่เทอร์มินอล หน่วยคอมมานโดได้ตะโกนผ่านโทรโข่ง "หมอบลง! หมอบลง! เราเป็นทหารอิสราเอล" ทั้งในภาษาฮีบรูและอังกฤษ ทว่า ฌ็อง-ฌัก มีมัวนี ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสอพยพไปยังอิสราเอลอายุ 19 ปี ได้ลุกขึ้นยืนและถูกฆ่าตายเมื่อมูกิ เบตเซอร์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายอิสราเอลและทหารอีกคนหนึ่งเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสลัดอากาศและได้ยิงเขา[26] ส่วนปัสโก โคเอน ซึ่งเป็นตัวประกันอายุ 52 ปีอีกคนหนึ่ง ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยิงโดยหน่วยคอมมานโด[67] นอกจากนี้ ไอดา โบโรโชวิช ซึ่งเป็นตัวประกันคนที่สามที่มีอายุ 56 ปี ชาวยิวรัสเซียผู้อพยพไปยังอิสราเอล ได้ถูกสังหารโดยสลัดอากาศจากการอยู่ท่ามกลางการต่อสู้[68] ตัวประกันชื่อไอลัน ฮาร์ทัฟ เปิดเผยว่า วินฟรีด เบอเซ เป็นสลัดอากาศเพียงคนเดียวหลังจากเริ่มปฏิบัติการ ที่ได้เข้าห้องโถงตัวประกัน ตอนแรกเขาใช้ไรเฟิลคาลาชนิคอฟส่องไปที่ตัวประกัน แต่ "ทันทีที่มาถึงความประสาทสัมผัสของเขา" ก็ได้สั่งให้พวกเขาหากำบังในห้องน้ำ ก่อนที่จะถูกสังหารโดยหน่วยคอมมานโด ตามที่ฮาร์ทัฟเปิดเผย เบอเซยิงเฉพาะทหารอิสราเอลและไม่ได้ยิงตัวประกัน[8] มีอยู่ช่วงหนึ่ง หน่วยคอมมานโดอิสราเอลตะโกนเรียกเป็นภาษาฮีบรู "พวกเขาอยู่ที่ไหน ?" ซึ่งหมายถึงพวกสลัดอากาศ[69] กลุ่มตัวประกันชี้ไปที่ประตูเชื่อมต่อของห้องโถงใหญ่ของสนามบิน ซึ่งหน่วยคอมมานโดได้ขว้างระเบิดมือหลายครั้ง จากนั้น พวกเขาเข้าไปในห้องและยิงสลัดอากาศสามคนที่ยังเหลืออยู่จนเสียชีวิต เป็นอันสิ้นสุดการโจมตี[25] ในขณะเดียวกัน เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส อีกสามลำได้จอดอยู่ และนำรถยานเกราะออกมาเพื่อเตรียมการป้องกันในช่วงเวลาที่คาดว่าจะเติมน้ำมัน ฝ่ายอิสราเอลได้ทำลายเครื่องบินรบมิกของยูกันดาเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้ในการไล่ล่า และดำเนินการกวาดล้างสนามบินเพื่อรวบรวมข่าวกรอง[25] การออกเดินทางหลังจากการโจมตี ทีมโจมตีอิสราเอลกลับไปที่เครื่องบินของพวกเขาและเริ่มบรรทุกตัวประกัน ทหารยูกันดายิงใส่พวกเขาในช่วงดำเนินการ ส่วนหน่วยคอมมานโดอิสราเอลก็สวนกลับไปโดยใช้เอเค 47 ของพวกเขา[70] ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายในฝ่ายยูกันดา ในระหว่างการสู้รบสั้น ๆ แต่เข้มข้นนี้ ทหารยูกันดาได้ยิงออกมาจากหอควบคุมสนามบิน หน่วยคอมมานโดอย่างน้อยห้ารายได้รับบาดเจ็บ และโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยของอิสราเอลถูกสังหาร หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลยิงปืนกลเบาและอาร์พีจีกลับไปที่หอควบคุมเพื่อยับยั้งการยิงของฝ่ายยูกันดา อ้างอิงจากบุตรชายคนหนึ่งของอีดี อามิน เผยว่า ทหารที่ยิงเนทันยาฮูนั้น เป็นลูกพี่ลูกน้องของครอบครัวอามิน ได้ถูกฆ่าตายในการยิงกลับดังกล่าว[71] ต่อมา ฝ่ายอิสราเอลอพยพตัวประกันเสร็จสิ้น รวมถึงบรรทุกร่างของเนทันยาฮูในเครื่องบินลำหนึ่ง และออกจากท่าอากาศยาน[72] ปฏิบัติการทั้งหมดใช้เวลา 53 นาที – ซึ่งการโจมตีใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น มีสลัดอากาศทั้งหมด 7 ราย และทหารยูกันดาระหว่าง 33 ถึง 45 รายถูกสังหาร[25][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] ส่วนเครื่องบินรบมิก-17 และมิก-21 ที่สร้างขึ้นโดยโซเวียตสิบเอ็ดลำ[6] ของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลายลงบนพื้นที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ[4][73] จากตัวประกัน 106 ราย 3 คนถูกสังหาร, 1 คนถูกทิ้งไว้ในยูกันดา (โดรา บลอค อายุ 74 ปี) และประมาณ 10 คนได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวประกัน 102 คนที่ได้รับการช่วยเหลือได้บินสู่ประเทศอิสราเอลผ่านกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ไม่นานหลังจากการโจมตี[22] ปฏิกิริยาจากฝ่ายยูกันดาโดรา บลอค ชาวอิสราเอลวัย 74 ปีซึ่งเป็นพลเมืองของอังกฤษ ได้รับการนำตัวไปที่โรงพยาบาลมูลาโกในกัมปาลา หลังจากที่สำลักกระดูกไก่[74] หลังจากการโจมตีเธอถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพยูกันดา เช่นเดียวกับบางส่วนของแพทย์และพยาบาลของเธอ สำหรับการพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงอย่างเด่นชัด[26][nb 3][76] ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1987 เฮนรี เคิมบา ซึ่งเป็นอัยการสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในเวลานั้น ได้บอกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของยูกันดาว่าบลอคถูกลากออกจากเตียงในโรงพยาบาลและถูกสังหารโดยนายทหารสองคนตามคำสั่งของอามิน[77] บลอคถูกยิงและศพของเธอถูกทิ้งไว้ในกระโปรงหลังรถที่มีแผ่นหมายเลขทะเบียนหน่วยข่าวกรองของยูกันดา ศพของเธอถูกค้นพบใกล้กับสวนน้ำตาล 20 ไมล์ (32 กม.) ทางตะวันออกของกัมปาลาในปี ค.ศ. 1979[78] หลังสงครามยูกันดา-แทนซาเนีย ที่ยุติการปกครองของอามิน[75] อามินยังสั่งให้ฆ่าชาวเคนยาหลายร้อยคนที่อาศัยอยู่ในยูกันดาเพื่อแก้แค้นที่ฝ่ายเคนยาช่วยเหลืออิสราเอลในการโจมตี มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมมีชาวเคนยา 245 คนเสียชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่สนามบินที่เอนเทบเบ และที่หลบหนีการถูกสังหารหมู่ ชาวเคนยาประมาณ 3,000 คนหนีจากประเทศยูกันดาในฐานะผู้ลี้ภัย[21][79][80] ผลที่ตามมาที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 เพื่อพิจารณาคำร้องเรียนจากประธานองค์การเอกภาพแอฟริกาที่กล่าวหาอิสราเอลถึง "การกระทำของการรุกราน"[81] คณะมนตรีได้อนุญาตให้เชม เฮอร์ซอก ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติ และจูมา โอริส อับดัลลา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศยูกันดา เข้าร่วมโดยไม่มีสิทธิออกเสียง[81] ส่วนเคิร์ท วัลไฮม์ ซึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวกับคณะมนตรีความมั่นคงว่า "การละเมิดอย่างร้ายแรงต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกแห่งสหประชาชาติ" แม้ว่าเขาจะ "ตระหนักดีว่านี่ไม่ใช่องค์ประกอบเพียงอย่างเดียวที่เกี่ยวข้อง ... เมื่อประชาคมโลกจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้ายระหว่างประเทศ"[81] อับดัลลา ผู้เป็นตัวแทนของประเทศยูกันดา อ้างว่าเรื่องนี้ใกล้จะสงบลงเมื่อไม่มีอิสราเอลเข้าแทรกแซง ขณะที่เฮอร์ซอก ผู้เป็นตัวแทนของประเทศอิสราเอล อ้างว่าฝ่ายยูกันดามีส่วนร่วมโดยตรงในการจี้เครื่องบิน[81] ส่วนสหรัฐและสหราชอาณาจักรสนับสนุนมติที่ประณามการจี้เครื่องบินและการกระทำที่คล้ายคลึงกัน โดยเสียใจกับการสูญเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากสลัดอากาศ (โดยไม่กล่าวโทษฝ่ายอิสราเอลหรือยูกันดา) ซึ่งยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกรัฐ รวมทั้งเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มความปลอดภัยในการบินพลเรือน[82] อย่างไรก็ตาม มติไม่ได้รับจำนวนคะแนนเสียงที่ต้องการเนื่องจากมีผู้ลงคะแนนเสียงสองรายงดออกเสียงและขาดประชุมเจ็ดคน[83] ข้อยุติที่สองได้รับการสนับสนุนจากเบนิน, ลิเบีย และแทนซาเนียที่ประณามอิสราเอล โดยไม่ได้ลงคะแนนเสียง[83][84] ส่วนประเทศตะวันตกกล่าวสนับสนุนการโจมตีโฉบฉวย โดยเยอรมนีตะวันตกกล่าวถึงการโจมตีว่า "การป้องกันตัวเอง" สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสยกย่องการปฏิบัติการ ตัวแทนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐให้การสรรเสริญอย่างมีนัยสำคัญ โดยเรียกการโจมตีเอนเทบเบว่า "ปฏิบัติการที่เป็นไปไม่ได้" บางคนในสหรัฐตั้งข้อสังเกตว่าตัวประกันได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับ 200 ปีหลังจากการลงนามประกาศเอกราชของสหรัฐ[85][86][87] ในการสนทนากับดีนิทซ์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอล เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ออกเสียงวิจารณ์สำหรับการใช้อุปกรณ์ของสหรัฐระหว่างปฏิบัติการของอิสราเอล แต่คำวิจารณ์ดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนในขณะนั้น[88] นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1976 เรือสหรัฐเรนเจอร์ (ซีวี-61) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่และฝ่ายคุ้มกันเรือดังกล่าวได้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียและดำเนินการปิดชายฝั่งเคนยา เพื่อตอบโต้การคุกคามทางทหารโดยกองกำลังจากยูกันดา[89] กาปิแตนบากูได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และลูกเรือคนอื่น ๆ ก็ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งประเทศฝรั่งเศส[90][91][92][93] ส่วนโรงแรมแฟร์มอนต์เดอะนอร์ฟอล์ก ที่เป็นเจ้าของโดยสมาชิกสำคัญของชุมชนชาวยิวในประเทศ ได้ถูกวางระเบิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1980 ระเบิดทำลายปีกตะวันตกของโรงแรม โดยสังหารผู้คนไป 20 ราย[ต้องการอ้างอิง] ของหลายเชื้อชาติ และได้รับบาดเจ็บอีก 87 ราย เชื่อกันว่าเป็นการกระทำของการแก้แค้นโดยกลุ่มก่อการร้ายโปรปาเลสไตน์สำหรับบทบาทสนับสนุนของเคนยาในปฏิบัติการเอนเทบเบ[94][95][96] ในปีต่อ ๆ มา เบตเซอร์และพี่น้องเนทันยาฮู ได้แก่ อิดโดและเบนจามิน รวมทั้งทหารผ่านศึกหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการทั้งหมด ได้โต้เถียงในที่อภิปรายสาธารณะมากขึ้นเกี่ยวกับผู้ที่จะกล่าวโทษถึงการสู้รบในตอนต้นที่ไม่คาดฝันซึ่งเป็นเหตุให้โยนาทันเสียชีวิต และการสูญเสียบางส่วนจากยุทธวิธีที่น่าแปลกใจ[97][98] อันเป็นผลมาจากปฏิบัติการ กองทัพสหรัฐได้พัฒนาทีมกู้ภัยที่จำลองแบบตามหน่วยที่ใช้ในการกู้ภัยเอนเทบเบ[99] หนึ่งในความพยายามที่จะเลียนแบบที่มีชื่อเสียงคือปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตที่ล้มเหลวของเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันจำนวน 53 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ณ กรุงเตหะรานในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน[100][101] ในจดหมายลงวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 เจ้าหน้าที่ผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังจักรพรรดิอิหร่านได้ให้ยกย่องหน่วยคอมมานโดอิสราเอลสำหรับภารกิจ และแสดงความเสียใจต่อ "การสูญเสียและการเสียสละ" ของเนทันยาฮู[102] อนุสรณ์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ทางการยูกันดาและอิสราเอลได้ไว้อาลัยการจู่โจมในพิธีที่ฐานของหอคอย ณ ท่าอากาศยานเอนเทบเบเก่า ที่โยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย ยูกันดาและอิสราเอลกลับมามีความมุ่งมั่นถึง "การต่อสู้กับการก่อการร้ายและการทำงานเพื่อมนุษยชาติ"[103] นอกจากนี้ ได้มีการวางพวงมาลา, จัดช่วงสงบนิ่ง, กล่าวสุนทรพจน์ และท่องบทกวี โดยมีธงของยูกันดาและอิสราเอลโบกอยู่ข้าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ และที่ข้าง ๆ ยังมีแผ่นจารึกแสดงประวัติการโจมตี พิธีนี้มีผู้เข้าร่วมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมสัตว์รัฐยูกันดา ไบรท์ รวามิรามา และรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอล ดาเนียล อายาลอน ผู้วางพวงมาลา ณ สถานที่เกิดเหตุการณ์[103] สี่สิบปีนับจากวันที่ปฏิบัติการช่วยเหลือ เบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล และเป็นน้องชายของโยนาทัน เนทันยาฮู สมาชิกคอมมานโดหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการของอิสราเอลที่ถูกสังหาร ได้เข้าเยี่ยมเอนเทบเบกับคณะผู้แทนของอิสราเอล และวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอิสราเอล–แอฟริกาใต้สะฮาราเพิ่มเติม การแสดงและสารคดีสารคดี
การแสดง
ภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการเอนเทบเบ
สื่ออื่น ๆ
ระเบียงภาพ
หมายเหตุ
อ้างอิง
เอกสารอ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปฏิบัติการเอนเทบเบ ฟังเสียงบทความนี้ (info/dl)
ไฟล์เสียงนี้ถูกสร้างขึ้นจากรุ่นของบทความ "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" เมื่อวันที่ 2017-12-20 และอาจไม่ใช่การแก้ไขล่าสุด (วิธีใช้เสียง)
0°02′42.8784″N 32°27′13.1616″E / 0.045244000°N 32.453656000°E |
Portal di Ensiklopedia Dunia