โจโม เคนยัตตา
โจโม เคนยัตตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (ป. พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้นำคนแรกของเคนยาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2521 ได้รับการยกย่องในฐานะ บิดาแห่งประเทศเคนยา[1] ชีวิตช่วงต้นและการศึกษาเขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก[2] จากนั้นเขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน[3] และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ เส้นทางการเมืองเขากลับมายังประเทศเคนยาเมื่อ พ.ศ. 2489 และได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2490 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานแห่งสหภาพเคนยาแอฟริกัน[4] ซึ่งเขาพยายามรวบรวมชนพื้นเมืองต่างๆ ประกาศเอกราชจากอังกฤษซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าต่างๆ ในประเทศเป็นอย่างดี แต่เขากลับถูกต่อต้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ที่ผิวขาว ใน พ.ศ. 2495 เขาจึงถูกจำคุกพร้อมกับแกนนำอีก 5 คน ในกลุ่มที่เรียกว่า คาเปนกูเรียซิกซ์ ในคดีกบฎเมาเมา (Mau Mau Uprising)[5] แม้ว่าเขาจะชุมนุมอย่างสันติก็ตาม อย่างไรก็ดี เขายังถูกจำคุกที่โลกิตวงจนได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2502[6] และถูกเรเทศไปยังลอดวาร์ จนถึง พ.ศ. 2504[7] หลังเขาได้รับอิสรภาพ เขาเป็นประธานขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา และเขาได้นำพรรคสู่ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยาในปี พ.ศ. 2506[8] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ดำเนินนโยบายให้เคยนยาถอนตัวจากเครือจักรภพและเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐเอกราชระบอบสาธารณรัฐและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเคนยาเมื่อปี พ.ศ. 2507[9] ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดี เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในสงครามเย็น และต่อต้านสังคมนิยม ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในเรื่องการทุจริตทางการเมือง[10] บั้นปลายชีวิตเขาเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจในปี พ.ศ. 2509[11] และได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุได้ 81 ปี ซึ่งรัฐพิธีศพของเขาถูกจัดขึ้นที่โบสถ์เพรสไบทีเรียนเซนต์แอนดรูว์หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเขาเพียงหกวัน โดยเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงร่วมรัฐพิธีศพของเขาด้วย[12] และมีผู้นำจากทวีปแอฟริกามาร่วมพิธีศพของเขา อาทิ อีดี อามิน เคนเนต ควนตา ฮาสติงส์ แบนดา รวมถึงโมรารชี เทสาอี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และโมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีปากีสถาน ก็ร่วมรัฐพิธีศพของเขาเช่นกัน[13] ร่างของเขาถูกฝังในสุสานบริเวณรัฐสภา สิ่งสืบเนื่องชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโจโมเคนยัตตาเพื่อให้เกียรติแก่เขา และลูกชายของเขาอูฮูรู เคนยัตตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 4 ของประเทศเคนยา[14] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jomo Kenyatta |
Portal di Ensiklopedia Dunia