ตำบลหนองราชวัตร
หนองราชวัตร เป็นตำบลในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร[2] ค้นพบในปี พ.ศ. 2546 ถือเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังมนุษย์ยุคหินใหม่ (กำหนดอายุราว 3,500–4,000 ปีมาเเล้ว) จำนวนมากถึง 250 หลุม ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลหนองราชวัตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]
ประวัติหนองราชวัตร เดิมเป็นพื้นที่หมู่ 6 ของตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก ปี พ.ศ. 2519 ด้านใต้ของตำบลหนองหญ้าไซมีพื้นที่กว้างขวาง และมีพื้นที่กว่า 5 หมู่บ้าน ดังนั้นนายสอน สุทธิสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้ประกาศแยกหมู่บ้าน คือ หมู่ 3 บ้านหนองทราย, หมู่ 6 บ้านหนองราชวัตร, หมู่ 10 บ้านหนองคาง, หมู่ 12 บ้านมาบพะยอม และหมู่ 13 บ้านหนองเต่าทอง ออกมาตั้งเป็นตำบลหนองราชวัตร[4] โดยอนุมัติจากนายคนึง ฦาไชย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2526 นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยกพื้นที่ทิศตะวันตกของอำเภอสามชุก 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองหญ้าไซ ตำบลหนองราชวัตร ตำบลหนองโพธิ์ และตำบลแจงงาม เป็น กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ[5] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2533[6] ตำบลหนองราชวัตรจึงมีฐานะเป็นตำบลของอำเภอหนองหญ้าไซจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2550 นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แบ่งพื้นที่หมู่ 5 บ้านมาบพะยอม แยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ เป็น หมู่ 8 บ้านหนองเสือทับหมี[7] การปกครองส่วนภูมิภาคการปกครองส่วนภูมิภาคตำบลหนองราชวัตรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหนองราชวัตรเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหนองราชวัตรหลังจากจัดตั้งตำบลขึ้น[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลหนองราชวัตรมี 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 69.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,482 คน และ 1,169 ครัวเรือน[8] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลหนองราชวัตรอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตร[9] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia