ตำบลปลายนา

ตำบลปลายนา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Plai Na
ประเทศไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอศรีประจันต์
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.67 ตร.กม. (15.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด8,197 คน
 • ความหนาแน่น201.55 คน/ตร.กม. (522.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72140
รหัสภูมิศาสตร์720506
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปลายนา เป็นตำบลในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลปลายนา

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลปลายนา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

เทศบาลตำบลปลายนา
ทต.ปลายนาตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
ทต.ปลายนา
ทต.ปลายนา
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลปลายนา
พิกัด: 14°39′46.0″N 100°12′26.4″E / 14.662778°N 100.207333°E / 14.662778; 100.207333
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอศรีประจันต์
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.67 ตร.กม. (15.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด8,197 คน
 • ความหนาแน่น201.55 คน/ตร.กม. (522.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05720503
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 128 หมู่ 4 ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140
เว็บไซต์www.plaina.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

ตำบลปลายนา เดิมเป็นพื้นที่ของตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ ย้ายมาขึ้นการปกครองกับจังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2480[3] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2501 นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยก 5 หมู่บ้านด้านทิศใต้ของตำบลดอนปรู คือ หมู่ 1 บ้านรางหางม้า, หมู่ 2 บ้านบัวประจันต์, หมู่ 3 บ้านหนองอ้ายเกลา, หมู่ 8 บ้านดอนกลาง และหมู่ 13 บ้านป่าพระเจ้า ออกมาตั้งเป็นตำบลปลายนา[4]

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองส่วนภูมิภาค

ตำบลปลายนาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านรางหางม้า
  • หมู่ที่ 2 บ้านบัวประจันต์
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองอ้ายเกลา
  • หมู่ที่ 4 บ้านดอนกลาง
  • หมู่ที่ 5 บ้านป่าพระเจ้า
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองสรวง
  • หมู่ที่ 7 บ้านคลองชะอม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตำบลปลายนาเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลปลายนา ในปี พ.ศ. 2517[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลปลายนามี 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 40.67 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8,416 คน และ 2,031 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลปลายนาอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปลายนา[7]

ปี พ.ศ. 2549 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปลายนามี 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 40.67 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8,369 คน และ 2,342 ครัวเรือน มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งแต่ 11.72 ล้านบาท รายจ่ายประจำ 3.82 ล้านบาทและได้รับความเห็นชอบจากราษฎร[8] พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลปลายนาอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลปลายนา

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 86–111. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3052–3061. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2501
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  8. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (เขตตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia