ตระกูลชินวัตร
ตระกูลชินวัตร เป็นตระกูลหนึ่งในประเทศไทยที่มีอิทธิพลทางการเมือง โดยมีนายกรัฐมนตรี 4 รายมาจากตระกูลนี้ อีกทั้งยังมีข้าราชการระดับสูง อาทิ อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นอกจากนั้นยังมีเครือญาติที่เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอีกด้วย ประเทศไทยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากตระกูลชินวัตร 10 ราย ได้แก่ เลิศ, สุรพันธ์ , ทักษิณ, พายัพ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร; สมชาย, เยาวภา และชินณิชา วงศ์สวัสดิ์; ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ และธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ทั้งนี้แม้แพทองธาร ชินวัตร จะไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดจากพรรคไทยรักไทยที่ทักษิณก่อตั้ง ได้เสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 และสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีต่อมา ตระกูลชินวัตรดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและธุรกิจ โดยมีเส็ง แซ่คู เป็นต้นตระกูล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น) มายัง จ.จันทบุรี ต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่ จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2454 เชียง แซ่คู บุตรชายคนโตของครอบครัวได้เริ่มต้นธุรกิจทอผ้าไหม ใน จ.เชียงใหม่ จนในปัจจุบันเป็นกิจการผ้าไหมที่มีมายาวนานที่สุดของประเทศไทย[1] สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมาชิกรุ่นที่ 4 ได้ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ อาทิเช่น เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส จนประสบความสำเร็จ และได้เข้าสู่การเมืองในเวลาต่อมา พร้อมทั้งมีสมาชิกคนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งทำให้สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากในด้านของการเมืองในปัจจุบัน รายชื่อนายกรัฐมนตรี
สมาชิกรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2ต้นสกุลคือ ชุ่นเส็ง แซ่คู ชาวจีนแคะ (ฮากกา) ที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มายัง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ประกอบอาชีพสร้างเนื้อสร้างตัว จนได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย ต่อมาย้ายจาก จ.จันทบุรีไปตั้งถิ่นฐานที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ชุ่นเส็งแต่งงานกับสตรีชาวไทยชื่อทองดี มีบุตรชายคนโตชื่อ เชียง แซ่คู เชียงเข้าเป็นแกนหลักของตระกูลและเป็นปู่ของอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน ในเวลาต่อมาประกอบอาชีพค้าขายกับจีนฮ่อและไทยใหญ่ ก่อนที่ต่อมาจะมีกิจการหลัก คือโรงทอผ้าไหมไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2481 เชียงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลชินวัตร[2] เชียงมีพี่น้องชื่อ เบี้ยว ชินวัตร, เล็ก ชินวัตร ในขณะที่สลวย ชินวัตร เป็นอาสะใภ้[3]ของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร รุ่นที่ 3เชียง แซ่คูสมรสกับแสง แซ่คู (สมณะ) มีบุตรธิดารวม 12 คน ได้แก่
ชินวัตรรุ่นที่ 3 เป็นรุ่นที่เริ่มมีการเข้าสู่วงการการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติถึง 3 คน คือ เลิศ ชินวัตร, สุเจตน์ ชินวัตร และ สุรพันธ์ ชินวัตร รุ่นที่ 4ชินวัตรรุ่นที่ 4 มีการเข้าสู่การเมืองจำนวนหลายคน โดยเป็นที่รู้จักอยู่ 5 สายคือ สายพันเอก (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตรพ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร สมรสกับทวี ชินวัตร มีบุตรชายคือ
สายสุเจตน์ ชินวัตร
สายเลิศ ชินวัตรเลิศ ชินวัตร สมรสกับยินดี ชินวัตร (ระมิงค์วงศ์) หลานตาของเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่[16]
สายพันเอก (พิเศษ) วีระ ชินวัตร
สายสุรพันธ์ ชินวัตร
รุ่นที่ 5สายเยาวลักษณ์ ชินวัตรเยาวลักษณ์ ชินวัตร สมรส กับ พ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
สายทักษิณ ชินวัตรทักษิณ สมรสและหย่ากับ คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) มีบุตรธิดา 3 คนคือ
สมรสกับ ณัฐฐิญา ปวงคำ มีบุตรธิดา 2 คน
สายพายัพ ชินวัตร
สายเยาวเรศ ชินวัตรเยาวเรศสมรส และแยกทางกับวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ มีบุตรธิดา 3 คนคือ
สายมณฑาทิพย์ ชินวัตรมณฑาทิพย์สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล อดีตกรรมการองค์การเภสัชกรรม มีบุตรธิดา 2 คนคือ
สายเยาวภา วงศ์สวัสดิ์เยาวภาสมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตรธิดารวม 3 คนคือ
สายยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร มีบุตรชาย 1 คน คือ
สายบุญสม ชินวัตร (ปู่)บุญสมมีหลานชายคือ
สายเข็มทอง ชินวัตร (ย่า)เข็มทองมีหลาน 4 คนคือ
สายศรุดา ชินวัตร
สกุลดามาพงศ์สกุลชินวัตรดองกับสกุลดามาพงศ์ ผ่านทางการสมรสของทักษิณ กับคุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) บุตรสาวของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ โดยพล.ต.ท.เสมอ มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ
และยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คนคือ
สมาชิกในตระกูลที่ไม่ทราบรุ่น
ความสัมพันธ์กับสกุลอื่น
อ้างอิง
ดูเพิ่ม |
Portal di Ensiklopedia Dunia