ชัยฏอน
ชะยาฏีน (شياطين; ปีศาจ หรือ มาร) เอกพจน์: ชัยฏอน (شَيْطٰان) เป็นวิญญาณอันชั่วร้ายในความเชื่อศาสนาอิสลาม ซึ่งทำให้มนุษย์ทำบาปโดยการกระซิบที่หัวใจ (قَلْب ก็อลบ์) ผ่านทาง วัสวะซะฮ์ (وَسْوَسَة, “การกระซิบ”)[1] มันทำให้มนุษย์หลงผิดอยู่เสมอ[2] ถึงแม้ว่ามารร้ายมักถูกกล่าวในแบบนามธรรม และกล่าวในทางชั่วร้ายเท่านั้น พวกมันถูกกล่าวว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่หน้าตาน่าเกลียดและพิลึกแห่งไฟนรก ศัพทมูลวิทยาและคำศัพท์คำว่า ชัยฏอน (อาหรับ: شَيْطَان) มาจากภาษาฮีบรูว่า שָׂטָן (Śāṭān) "โจทก์, ปฏิปักษ์" (ในอ้างอิงภาษาอังกฤษคือ ซาตาน) อย่างไรก็ตาม ตามศัพทมูลวิทยาภาษาอาหรับ คำนี้มีรากจาก š-ṭ-n ("ไกล, หลงผิด") ซึ่งมีความหมายแฝงทางศาสนศาสตร์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ห่างไปจากความเมตตา[3] ในอาระเบียก่อนการมาของอิสลาม คำนี้กล่าวถึงวิญญาณอันชั่วร้าย แต่จะใช้โดยกวีที่ติดต่อสื่อสารกับชาวยิวและคริสต์[4] ด้วยการมาของศาสนาอิสลาม ความหมายของ ชะยาฏีน เริ่มใกล้เคียงกับคุณลักษณะของปีศาจในศาสนาคริสต์[5] คำว่า ชะยาฏีน ปรากฎในแบบเดียวกับในหนังสือของเอโนค[6] ถ้าตามหลักฐานของอิสลาม "ชัยฏอน" อาจถูกแปลเป็น "ปิศาจ" หรือ "มาร"[7] ในบรรดาผู้เขียนมุสลิม คำนี้ใช้ได้กับเอกลักษณ์เหนือธรรมชาติอันชั่วร้ายของญินชั่ว, เทวดาตกสวรรค์ หรือ ฏอฆูต โดยทั่วไป[8][9][10] ในมุมมองที่กว้างขึ้น คำนี้ถูกใช้กับทุกสิ่งในมุมมองของภววิทยาที่มีการแสดง ความชั่วร้าย[11] เทววิทยากุรอานชัยฏอนถูกกล่าวคู่กับมลาอิกะฮ์ถึง 88 ครั้ง และเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่ถูกกล่าวบ่อยที่สุดในอัลกุรอาน ในเรื่องราวของอะดัมและเฮาวาอ์ ชัยฏอนล่อลวงอะดัมให้กินผลจากต้นไม้ต้องห้าม ตามอัลกุรอาน 7:20 มันโต้แย้งว่า อัลลอฮ์สั่งห้ามกินผลไม้นี้ เพื่อไม่ให้พวกเจ้าเป็นอมตะ รายงานจากอัลกุรอาน 15:16-18 ชัยฏอนขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อขโมยความลับ แต่กลับถูกไล่ตามโดยอุกกาบาต อย่างไรก็ตาม พวกญินสามารถเอาข้อมูลไปได้ในบางครั้ง[12] ในซูเราะฮ์ 2:102 กล่าวว่าชัยฏอนคือครูของวิชาหมอผีทั้งปวง อัลกุรอาน 37:62–68 กล่าวว่าผลซักกูม ต้นไม้ในนรก มีผลเป็นหัวชัยฏอน ซูเราะฮ์ 6:112 กล่าวว่า ชัยฏอน อยู่ท่ามกลาง อินส์ (มนุษย์) กับ ญิน รายงานตามอรรถกถา ประโยคนี้เป็นชื่อรองที่กล่าวถึงกบฏในหมู่มนุษย์และญิน แต่อีกอันหนึ่งอธิบายว่า ประโยคนี้อิงถึงชะยาฏีนที่ล่อลวงในหมู่ญินและมนุษย์[13] ฮะดีษในฮะดีษกล่าวถึงชัยฏอนว่าเป็นพลังซึ่งคิดร้ายที่เชื่อมกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยชัยฏอนอยู่กับมนุษย์ทุกคน (ยกเว้นอีซา) และเคลื่อนที่ไปตามสายเลือดของมนุษย์ ในบันทึกของเศาะฮีฮ์ มุสลิม อิบลีสมีลูกชาย 5 ตนที่สร้างความหายนะในชีวิตประจำวัน: ติร “ผู้นำมาซึ่งความหายนะ, ความสูญเสีย และบาดเจ็บ; อัลอะวาร ผู้ส่งเสริมให้เกิดความมึนเมา; ซุต ผู้แนะนำให้โกหก; ดะซิม ผู้ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างมนุษย์กับภรรยา; ซะลัมบูร ผู้นำเหนือบริเวณที่มีความติดขัดทางจราจร"[14] ชะยาฏีนพยายามรบกวนในเวลาละหมาดหรือชำระล้างร่างกาย ที่มากไปกว่านั้น มันมักมาในความฝัน และคุกคามผู้คน เมื่อใครสักคนหาว ก็ต้องปิดปาก เพราะชะยาฏีนอาจเข้าสู่ร่างกายได้ มีการกล่าวว่าในเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกระหว่างเขาของชัยฏอน จะไม่มีการละหมาดในเวลานั้น เพราะเป็นช่วงที่ประตูนรกเปิด[15] เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรีกับญามิอ์ อัตติรมิซีกล่าวว่าชะยาฏีนไม่สามารถทำร้ายผู้ศรัทธาในช่วงเดือนเราะมะฎอน เพราะพวกมันถูกล่ามโซ่ใน ญะฮันนัม (เกเฮนนา)[16] อรรถกถาชะยาฏีนถือเป็นหนึ่งในสามสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติในเทววิทยาอิสลาม แต่เพราะพวกมันมีคุณสมบัติในด้านการล่องหนคล้ายญิน นักวิชาการบางคนมักตั้งให้มันอยู่ในหนึ่งหมวดหมู่ของสิ่งที่เหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นใน ตัฟซีร ความแตกต่างระหว่างญินและชะยาฏีนมีดังนี้:[17][18]
ชะยาฏีนเป็นสิ่งมีชีวิตจากไฟนรก[20][21] และถึงแม้ว่าต้นกำเนิดของมันไม่ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอาน นักวิชาการอิสลามยืนยันแนวคิดซ้ำหลาย ๆ ครั้งว่า ชะยาฏีนอาจถูกสร้างมาจากควัน[22]หรือไฟนรก[23] เมื่อเทียบกับปีศาจหรือมารในเทววิทยาศาสนาคริสต์ ชะยาฏีนไม่สามารถทำความดีและทำแค่ "ความชั่ว" อย่างเดียว อบูมุฟตีเขียนความเห็นใน al-Fiqh al-absat ของอบูฮะนีฟะฮ์ว่า มลาอิกะฮ์ (เทวทูต) ทั้งหมดเชื่อฟัง ยกเว้นฮารูตและมารูต แต่ชะยาฏีนทั้งหมดถูกสร้างให้ทำความชั่ว ยกเว้นฮาม อิบน์ ฮิม อิบน์ ละกิส อิบน์ อิบลีส มีแค่มนุษย์และญินเท่านั้นที่ถูกสร้างด้วยฟิฏเราะฮ์ นั่นหมายความว่า ทั้งมลาอิกะฮ์และชะยาฏีนไม่ค่อยมีเจตจำนงเสรีและถูกตั้งตามตำแหน่งอยู่แล้ว[24] นักเขียนลัทธิศูฟีบางคนเชื่อมคำอธิบายของชะยาฏีนในฮะดีษถึงคุณสมบัติทางจิตวิทยาของมนุษย์ ตามแนวคิดว่าชะยาฏีนแพร่พันธุ์ผ่านการฟักไข่ในหัวใจของมนุษย์ อัลเฆาะซาลีเชื่อมสิ่งนี้กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณด้านในว่า การฟักไข่ในหัวใจ ทำให้ลูกหลานของอิบลีสเติบโตและเชื่อมสัมพันธ์กับบุคคล ก่อให้เกิดบาปตามสิ่งที่ชัยฏอนต้องการ[25] เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อแตกต่างระหว่างแรงบันดาลใจจากสวรรค์กับการล่อลวงของชะยาฏีน ควรทดสอบด้วยสองสิ่งนี้: ข้อแรกคือความนับถือ ส่วนข้อสองคือสอดคล้องกับชะรีอะฮ์[26] อะลี ฮุจวีรีกล่าวในรูปแบบที่คล้ายกันว่า ชะยาฏีนกับมลาอิกะฮ์คือกระจกสะท้อนสภาพจิตใจของมนุษย์ โดยมีชะยาฏีนกับความต้องการทางตัณหา (นัฟส์) อยู่ฝั่งหนึ่ง และวิญญาณ (รูฮ) กับมลาอิกะฮ์อยู่อีกฝั่ง[27] คติชนชะยาฏีนมักไปเยี่ยมในบริเวณที่สกปรก[28] พวกมันพยายามทำให้มนุษย์ทำบาปและทุกสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับผ่านการกระซิบ[29] โดยทั่วไปเชื่อว่า การกล่าว บิสมิลลาฮ์, อ่านดุอาอ์ เช่น "อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม" หรือซูเราะฮ์อันนาสกับ"อัลฟะลัก"[30] สามารถคุ้มครองตนเองจากชะยาฏีนได้[31] ถึงแม้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บข้อมูลจากธรรมเนียมท้องถิ่นของคติชนอิสลาม พฤติกรรมนี้ก็พบเห็นประจำ เพราะมีการกล่าวในกุรอาน 2:102 ว่านบีสุลัยมานไม่ได้ฝึกสอนวิชาไสยศาสตร์ แต่เป็นชะยาฏีนต่างหาก ดูเพิ่มหมายเหตุ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia