คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ รสช. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว่า[2]
ผู้บริหารภายหลังการยึดอำนาจ รสช. ได้แต่งตั้งให้บุคคล ดังนี้[3][4]
คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[5]
คณะกรรมการที่ปรึกษา
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินรสช. ได้ออกคำสั่ง รสช. ฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) มีพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธาน ทำการอายัติและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จำนวน 23 คน ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สรุปให้ยึดทรัพย์ของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 10 คน ในเวลาต่อมา ผู้ถูกยึดทรัพย์ได้ฟ้องคดีต่อศาลว่า คำสั่งของ รสช. และ คตส. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2536 ว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งการยึดทรัพย์[6] รายนามคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้แปรสภาพ เป็นสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติสภาฯ ตั้งขึ้นหลังประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 18 ให้มีสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกรรมการ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อาจแต่งตั้งกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งซึ่งสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งเป็นรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และให้เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ให้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือไม่ได้เป็นกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นรองเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อำนาจหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีจะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเสนอแนะหรือให้ความคิดเห็นในเรื่องใดๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญการปกครองนี้ ในการประชุมร่วมกันของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้ ให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม รายนามประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
สิ้นสุดสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[7] อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ วิกิซอร์ซมีเอกสารต้นฉบับในเรื่องนี้: คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
|
Portal di Ensiklopedia Dunia