Agaricus bisporus
Agaricus bisporus เป็นเห็ดกินได้ในไฟลัม Basidiomycota มีถิ่นกำเนิดในทุ่งหญ้าในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มีการเพาะปลูกในมากกว่าเจ็ดสิบประเทศ[2] และเป็นหนึ่งในเห็ดที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก A. bisporus มีสีและชื่อแตกต่างกันมากมายตามวิธีการปลูก เช่น เห็ดทั่วไป, เห็ดสีขาว, เห็ดกระดุม[3], เห็ดแชมปิญอง (อังกฤษ: common mushroom, white mushroom, button mushroom, champignon mushroom ตามลำดับ) เมื่อยังอ่อนและมีสีขาว เห็ดสีน้ำตาลสวิส, เห็ดสีน้ำตาลโรมัน, เห็ดสีน้ำตาลอิตาลี (อังกฤษ: Swiss/Roman/Italian brown mushroom) เมื่อยังอ่อนและมีสีน้ำตาล และพอร์เทอเบลโล[4][5] (อังกฤษ: portobello) เมื่อโตเต็มที่แล้วเป็นต้น คำอธิบายหมวกเห็ดของสปีชีส์ป่าดั้งเดิมมีสีน้ำตาลเทาอ่อน เริ่มแรกมีรูปร่างครึ่งวงกลมก่อนจะแบนขึ้นเมื่อโตเต็มที่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–10 เซนติเมตร (2–4 นิ้ว) ครีบเห็ดแคบ หนาแน่น แยกกัน เริ่มแรกจะเป็นสีชมพู ก่อนกลายเป็นสีน้ำตาลแดง และสุดท้ายเป็นสีน้ำตาลเข้มตามอายุ ก้านเห็ดเป็รทรงกระบอกสูงไม่เกิน 6 ซm (2 1⁄2 in) กว้าง 1–2 ซm (1⁄2–3⁄4 in) และมีวงแหวนหนา ลายสปอร์ (spore print) เป็นสีน้ำตาล สปอร์เป็นรูปวงรีถึงกลมและมีขนาดประมาณ 4.5–5.5 μm × 5–7.5 μm เห็ดชนิดนี้พบได้ทั่วไปทั่วโลกตามทุ่งนาและสนามหญ้าหลังฝนตก ตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปุ๋ยคอก ในหลายส่วนของโลกมีการเก็บและรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ประวัติการเพาะปลูก![]() คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของการเพาะปลูก A. bisporus ในเชิงพาณิชย์เขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Joseph Pitton de Tournefort ในปี 1707[6] Olivier de Serres เกษตรกรชาวฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตว่าการปลูกถ่ายไมซีเลียจะนำไปสู่การขยายพันธุ์ของเห็ดมากยิ่งขึ้น ในขั้นต้น สามารถเพาะปลูกได้อย่างไม่มั่นคง เนื่องจากผู้ปลูกเห็ดจะรอดูเห็ดในทุ่งก่อนที่จะขุดไมซีเลียมและปลูกใหม่บนปุ๋ยหมักหรือ 'อิฐ' จากขยะอัด ดินร่วน และปุ๋ยคอก ก้อนเห็ดที่เก็บด้วยวิธีนี้มีเชื้อโรคและเห็ดโดยทั่วไปจะติดเชื้อหรือไม่เติบโตเลย[7] ในปี 1893 สถาบันปาสเตอร์ในกรุงปารีสได้ค้นพบและผลิตก้อนเห็ดที่ฆ่าเชื้อหรือบริสุทธิ์เพื่อเพาะเลี้ยงโดยใช้ปุ๋ยคอกม้า[8] เห็ด agaricus ทั่วไปในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันเริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน เห็ดขาวถูกค้นพบในปี 1925 โดยเติบโตท่ามกลางเห็ดสีน้ำตาลที่ฟาร์ม Keystone Mushroom ในเมืองโคตส์วิลล์, รัฐเพนซิลเวเนีย Louis Ferdinand Lambert เจ้าของฟาร์มและนักวิทยาเห็ดราโดยการฝึก นำเห็ดขาวกลับไปที่ห้องทดลองของเขา เนื้องจากเนื้อสีขาวซึ่งถูกมองว่าเป็นอาหารที่น่าดึงดูด จึงได้มีการนำมาเติบโตและแจกจ่าย[9] รายละเอียดทางโภชนาการ
เห็ดสีขาว 100 กรัมให้พลังงานอาหาร 93 กิโลจูล (22 กิโลแคลอรี) และเป็นแหล่งดีเยี่ยม (> 19% ของปริมาณที่แนะนำต่อวันหรือ DV) ของวิตามินบี ไรโบเฟลวิน ไนอาซิน และกรดแพนโทเทนิก นอกจากนี้เห็ดสดยังเป็นแหล่งที่ดีของเกลือแร่อย่างฟอสฟอรัส (10–19% DV) ในขณะที่ A. bisporus สดมีวิตามินดีแบบเออร์โกแคลซิเฟอรอล (วิตามิน D2) เพียง 0.2 ไมโครกรัม (8 IU) ปริมาณของเออร์โกแคลซิเฟอรอลจะเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากสัมผัสกับรังสียูวี[10][11] ระเบียนภาพ
อ้างอิง
อ่านเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Agaricus bisporus วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Agaricus bisporus
|
Portal di Ensiklopedia Dunia