โตน ดึ๊ก ทั้ง

โตน ดึ๊ก ทั้ง
โตน ดึ๊ก ทั้งใน ค.ศ. 1956
ประธานาธิบดีเวียดนามเหนือและเวียดนาม
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน ค.ศ. 1969 – 30 มีนาคม ค.ศ. 1980
ก่อนหน้าโฮจิมินห์ (ในฐานะประธานาธิบดีเวียดนามเหนือ)
ถัดไปเจื่อง จิญ
เหงียน หืว เถาะ (รักษาการ)
ประธานสมัชชาแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน ค.ศ. 1955 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1960
ก่อนหน้าBui Bang Doan
ถัดไปเจื่อง จิญ
ประธานแนวหน้า Liên Việt
(สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม ค.ศ. 1951 – 10 กันยายน ค.ศ. 1955
รองประธานาธิบดีเวียดนามเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 – 2 กันยายน ค.ศ. 1969
ประธานาธิบดีโฮจิมินห์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม ค.ศ. 1888(1888-08-20)
ล็องเซวียน จังหวัดอานซาง โคชินไชนา อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต30 มีนาคม ค.ศ. 1980(1980-03-30) (91 ปี)
ฮานอย ประเทศเวียดนาม[1]
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
คู่สมรสĐoàn Thị Giàu
รางวัล เครื่องอิสริยยศดาราทองคำ

โตน ดึ๊ก ทั้ง (เวียดนาม: Tôn Đức Thắng; 20 สิงหาคม ค.ศ. 1888 - 30 มีนาคม ค.ศ. 1980) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ภายใต้การนำของเลขาธิการเล สวน ตำแหน่งของประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งทางพิธีการ และทั้งไม่เคยกำหนดนโยบายที่สำคัญหรือแม้กระทั่งการเป็นสมาชิกโปลิตบูโร สภาปกครองของเวียดนาม เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกที่เวียดนามเหนือในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1969 และภายหลังเวียดนามหลังรวมประเทศจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1980

เขาเป็นชาวเวียตนามชาตินิยมและนักการเมืองคอมมิวนิสต์ เป็นประธานของสมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1955–1960) และดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีต่อโฮจิมินห์ใน ค.ศ. 1960 ถึง 1969 โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังโฮจิมินห์เสียชีวิต เขาถึงแก่กรรมตอนอายุ 91 ถือเป็นประมุขแห่งรัฐที่มีอายุมากที่สุดที่มีตำแหน่งเป็น "ประธานาธิบดี" (ถูกแซงภายหลังโดยแฮสติงส์ บันดา)

ชีวิตช่วงต้น

โตน ดึ๊ก ทั้งเป็นบุตรของ Tôn Văn Đề กับ Nguyễn Thị Di เกิดที่เกาะ Ông Hô ริมแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ห่างจากล็องเซวียน เมืองหลักของจังหวัดอานซาง ประมาณ 4 กิโลเมตร[2] ใน ค.ศ. 1897 ถึง 1901 โตนศึกษาอักษรจื๋อโนม ประวัติศาสตร์ และปรัชญาขงจื๊อจากครูสอนพิเศษส่วนตัวในล็องเซวียน ครูสอนพิเศษผู้ต่อต้านเจ้าอาณานิคมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาความคิดทางการเมืองช่วงต้นของโตน[2] หลังจากนั้น เขาเรียนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนประถมศึกษาที่ล็องเซวียน โตนอาศัยอยู่กับพ่อแม่จนกระทั่งย้ายไปไซ่ง่อนใน ค.ศ. 1906[3]

อาชีพฝ่ายปฏิวัติ

เสียชีวิตและสิ่งสืบทอด

โตน ดึ๊ก ทั้งเสียชีวิตในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1980 ที่ฮานอย หลังสงครามจีน–เวียดนามสิ้นสุดเพียงมากกว่าปีเดียว ตอนอายุ 91 ปีจากอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะและระบบหายใจล้มเหลว เขาเป็นประธานาธิบดีของประเทศที่มีอายุมากที่สุดในโลก เหงียน หืว เถาะ รองประธานาธิบดีคนหนึ่งของเขา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อ โตนถูกฝังที่สุสาน Mai Dịch ในส่วนของสุสานสำหรับผู้นำรัฐบาลแะนักปฏิวัติที่มีชื่อเสียง[4]

อ้างอิง

  1. "Ton Duc Thang, Leader in Vietnam Since 1969". The New York Times. 30 March 1980.
  2. 2.0 2.1 Giebel, Christoph (2004). Imagined Ancestries of Vietnamese Communism: Ton Duc Thang and the Politics of History and Memory. Seattle: University of Washington Press. p. 168. ISBN 0-295-98429-5.
  3. Giebel, p14.
  4. Christina Schwenkel - The American War in Contemporary Vietnam: Transnational ... - Page 218 2009 "As stated, this practice is generally not found in war cemeteries in contemporary Vietnam, with two important exceptions: Hanoi's Mai Dịch Cemetery, which contains the hierarchically arranged graves of government leaders and other famous revolutionaries, including Phạm Văn Đồng, Lê Duẩn, and Tôn Đức Thắng."

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia