เหงียน ซวน ฟุก
เหงียน ซวน ฟุก (เวียดนาม: Nguyễn Xuân Phúc; เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2497) เป็นประธานาธิบดีเวียดนาม ตั้งแต่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเวียดนาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาลเวียดนาม[1] ประวัติเหงียน ซวน ฟุก เกิดวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นชาวตำบลเกว๋ฝู่ อำเภอเกว๋เซิง จังหวัดกว๋างนาม ในสมัยรัฐเวียดนามหรือเวียดนามเหนือ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 เขาได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เขาได้รับเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2522 เขาเป็นหนึ่งในบุคลากรของคณะกรรมการเศรษฐกิจกว๋างนาม - ดานัง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2536 เขาเลื่อนเป็นพนักงาน จากนั้นเป็นรองหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการประชาชนกว๋างนาม - ดานัง วัยเด็กเหงียนเฮียนบิดาของเขาเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2461 และทำงานให้กับสาธารณรัฐเวียดนาม จนถึงปี พ.ศ. 2497 บิดาของเขามุ่งหน้าไปทางเหนือตามเส้นขนานที่ 17 ของข้อตกลงเจนีวา ส่วนเหงียน ซวน ฟุก, แม่และพี่น้องของเขายังคงอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดที่จังหวัดกว๋างนาม ซึ่งพวกเขาเรียนที่โรงเรียนในหมู่บ้าน แม่และพี่น้องของเขาแอบทำงานให้กับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หลังการสู้รบในปี พ.ศ. 2508 น้องสาวของเขาถูกสังหารโดยกองทัพสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ และในปี 2509 แม่ของเขาก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน ส่วนเขายังอาศัยอยู่กับพี่สาวในบ้านเกิดของเขาระยะหนึ่ง จากนั้นก็ได้ติดตามเพื่อนของพ่อแม่ไปเวียดนามเหนือในปี พ.ศ. 2510 [2] การศึกษา
ชีวิตการเมือง
เข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในการประชุมครั้งที่ 11 ของสมัชชาแห่งชาติสมัยที่ 14 ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานาธิบดีเวียดนามคนที่10 ต่อจากท่านเหงียน ฟู้ จ่อง เพื่อเลือกตั้งในเช้าวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 และนี่เป็นครั้งแรก ที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติจะเลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นเป็นประธานาธิบดี[6] เช้าวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมครั้งที่ 11 ของสมัชชาแห่งชาติ สมัยที่ 14 ภายใต้การดูแลควบคุมการประชุมของ ท่าน เวิ่น ดิ่ญห์ เฮว้ ประธานสมัชชาแห่งชาติ โดยที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยการลงคะแนนลับ มีมติให้ เหงียน ซวน ฟุก ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 10 หลังจากลงมติเลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเหงียนซวนฟุกก็ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และกล่าวคำมั่นต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติและประชาชน โดยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชนทั่วประเทศได้รับชม[7][8] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia