เอียน
เอียน[3] ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เยียน (จีน: 燕; พินอิน: Yān) เป็นรัฐจีนที่มีอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 237 ถึงกันยายน ค.ศ. 238 ในคาบสมุทรเหลียวตง (เลียวตั๋ง) ในยุคสามก๊กของจีน[1][4] เดิมเป็นเขตปกครองอิสระที่ปกครองโดยกงซุน ตู้และกองซุนของบุตรชายตั้งแต่ ค.ศ. 190 ถึง ค.ศ. 237 แม้ว่ารัฐเอียนเพิ่งจะประกาศตั้งตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 237 แต่นักประวัติศาสตร์เช่นหวาง จ้งชู (王仲殊) และโหว เทา (侯涛) ถือว่าบริเวณนี้เป็นเขตปกครองอิสระโดยพฤตินัยตั้งแต่เมื่อกงซุน ตู้สถาปนาการปกครองในเลียวตั๋งในปี ค.ศ. 190[5][6] แม้ว่ารัฐเอียนอยู่ในยุคสามก๊ก แต่ไม่ถูกนับรวมกับรัฐทั้งสามอันเป็นที่มาของชื่อยุคคือวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนเช่น คัง โหย่วเหวย์ (康有為) ถือว่ารัฐเอียนเป็น "ก๊กที่สี่"[7] ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนกงซุน ตู้กงซุน เหยียน (公孫延) บิดาของกงซุน ตู้ อาศัยอยู่ที่เสฺวียนถูจฺวิ้น โดยกงซุน ตู้ได้รับสถานะรัฐมนตรีใน ค.ศ. 170 แม้ว่าเขาลาออกจากตำแหน่ง เขากลายเป็นเจ้าเมืองเหลียวตง (เลียวตั๋ง) ใน ค.ศ. 190 หรือ 189[8] ตามคำแนะนำของตั๋งโต๊ะ[9] กงซุน ตู้สถาปนาการปกครองแบบกษัตริย์และควบคุมเหลียวตงอย่างสมบูรณ์ เขาแยกเหลียวตงออกเป็น 3 จฺวิ้น คือ เหลียวซีจฺวิ้นและจงเหลียวจฺวิ้นจากเหลียวตง เหลียงตงตั้งอยู่ติดกับโคกูรยอที่ผู้ปกครองในตอนแรกร่วมมือกับกงซุน ตู้ แต่ต่อมาทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยครั้ง[10] กงซุน ตู้ทำการโจมตีทั้งโคกูรยอกับอู่หฺวานหลายครั้ง กองซุนของเมื่อกงซุน ตู้เสียชีวิตใน ค.ศ. 204 กองซุนของผู้เป็นบุตรจึงขึ้นดำรงตำแหน่ง และจากนั้นไม่นานก็ใช้ผลประโยชน์จากความบาดหมางเรื่องการสืบทอดในโคกูรยอ แม้ว่าฝ่ายที่กองซุนของสนับสนุนพ่ายแพ้ พระเจ้าซันซังแห่งโคกูรยอจำต้องย้ายเมืองหลวงทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยัง Hwando (ปัจจุบันคือจี๋อาน มณฑลจี๋หลิน) ที่แม่น้ำยาลู่ ซึ่งมีเชิงป้องกันที่ดีกว่า[11] กองซุนของย้ายเข้าและฟื้นฟูระเบียบที่เลอล่างจฺวิ้น จัดตั้งไต้ฟางจฺวิ้นด้วยการแยกส่วนใต้ของเล่อล่าง[12] ใน ค.ศ. 207 กองซุนของสังหารอ้วนซงและอ้วนฮี บุตรของอ้วนเสี้ยว และส่งหัวของพวกเขาไปยังโจโฉ[13] กองซุนก๋งหลังกองซุนของเสียชีวิต กงซุน หฺว่างกับกองซุนเอี๋ยน บุตรชายสองคน อายุน้อยเกินไปที่จะดำรงตำแหน่ง ทำให้กองซุนก๋งขึ้นปกครองแทน อย่างไรก็ตาม เขากลับเป็นโรคเบาหวาน (ยินเซียว, จีน: 陰消) และมีบุตรยาก หลังจากโจผีเข้ายึดฮั่นตะวันออก พระองค์ตรัสแก่กองซุนก๋งให้ส่งลูกชายมาเป็นตัวประกันของโจ ทำให้ต้องส่งกงซุน หฺว่าง บุตรคนโตของกองซุนของ ไปที่ลั่วหยาง กองซุนก๋งไม่กล้าทำทีก้าวร้าวต่อวุยก๊ก และกองซุนเอี๋ยนถือว่าเขาเป็นคนขี้ขลาด เขาบังคับให้กองซุนก๋งลงจากอำนาจ โดยอ้างว่าจะฟื้นฟูเหลียวตงให้รุ่งเรือง แล้วจำคุกเขา และกลายเป็นผู้นำในเดือนธันวาคม ค.ศ. 228[14][15][16] กองซุนเอี๋ยนกองซุนเอี๋ยนอ้างความเป็นมิตรภาพกับง่อก๊กและส่งทูตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 229 จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 230 ทางง่อก๊กได้เลื่อนขั้นกองซุนเอี๋ยนเป็น เชอฉีเจียงจวิน (จีน: 車騎將軍; แปลตรงตัว: "ผู้บัญชาการกองพลทหารม้ารถศึก") ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 232 ซุนกวนส่งทูตไปยังกองซุนเอี๋ยนเพื่อขอม้า ซึ่งได้รับการตอบรับ อย่างไรก็ตาม ขณะเดินทางกลับในเดือนกันยายน ทูตกลับถูกเตียวอี้โจมตี ทำให้ทรัพย์สินสูญหาย และมีทูตถูกสังหารหนึ่งคน[17] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 232 กองซุนเอี๋ยนส่งทูตไปยอมรับตำแหน่งรัฐบริวารง่อก๊ก[18] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 233 ทางง่อก๊กให้ตำแหน่ง "เอียนอ๋อง" และส่งทูตสองคนไปหาเขา เหล่าทูตถูกกองซุนเอี๋ยนสังหารและมีการส่งศีรษะทูตไปที่ลั่วหยาง และกองซุนเอี๋ยนยอมรับความเป็นรัฐบริวารจากวุยก๊ก[19] ทัศนคติของกองซุนเอี๋ยนสร้างความโกรธแค้นแก่ทั้งโจยอย (จักรพรรดิวุยก๊ก) และซุนกวน (จักรพรรดิง่อก๊ก) ทั้งคู่สาบานว่าจะสังหารเขา[20][21] ใน ค.ศ. 237 บู๊ขิวเขียม แม่ทัพวุยก๊ก ส่งกองทัพไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่กลับพ่ายแพ้เนื่องจากฝนตกหนัก[22] สมัยกองซุนเอี๋ยนหลังบู๊ขิวเขียมพ่ายแพ้ กองซุนเอี๋ยนจึงอ้างเป็นเอกราชในเดือนกรกฎาคม โดยใช้ศักราชเช่าฮั่น (จีน: 紹漢) รัฐใหม่นี้มีราชสำนักและขุนนางของตน และมี 4 จฺวิ้น ได้แก่ เหลียวตง, เสฺวียนถู, เล่อลั่ง และไต้ฟาง และในเดือนมกราคม ค.ศ. 238 กองซุนเอี๋ยนกลับมาสานสัมพันธ์กับง่อก๊กอีกครั้ง โดยหวังถึงการได้รับการเสริมกำลังทางทหารต่อ[15][23] ล่มสลายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 238 หลังวางแผนกับโจยอย สุมาอี้ แม่ทัพแห่งวุยก๊ก นำทหาร 40,000 นายไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน หลังล้อมเป็นเวลา 3 เดือน ค่ายแม่ทัพของกองซุนเอี๋ยนจึงตกเป็นของสุมาอี้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโคกูรยอ[23] ผู้ที่รับใช้เอียนด๊กหลายคนถูกสังหารหมู่ กองซุนก๋งได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ความสัมพันธ์กับโคกูรยอโคกูรยอต่อสู้กับตระกูลกองซุนบ่อยครั้ง แม้จะให้ความร่วมมือในช่วงแรกก็ตาม[10] ใน ค.ศ. 197 การสู้รบระหว่างกองซุนและโคกูรยอเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ Balgi พระเชษฐาในพระเจ้าซันซังแห่งโคกูรยอ ก่อกบฏและได้รับการสนับสนุนจากกงซุน ตู้[24][25] Gyesu พระอนุชาในพระเจ้าซันซัง เข้าโจมตี เอาชนะกงซุน ตู้ และ Balgi ทรงทำอัตวินิบาตกรรม[26][27] กองซุนของใช้ประโยชน์จากความบาดหมางด้านการสืบทอดในโคกูรยอและทำการโจมตีอกครั้งใน ค.ศ. 209 เอาชนะโคกูรยอและบังคับให้ย้ายเมืองหลวง[27][28] ในการพิชิตรัฐเอียนของสุมาอี้ ทางโคกูรยอส่งทหารหลายพันนายเข้าช่วยสุมาอี๋[29] ผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างโคกูรยอ วุยก๊ก และง่อก๊กหลังทูตของง่อก๊กถูกสังหารโดยกองซุนเอี๋ยนใน ค.ศ. 233 ทหารบางส่วนหนีไปยังโคกูรยอและจัดตั้งพันธมิตรง่อก๊ก-โคกูรยอ จากนั้นใน ค.ศ. 234 วุยก๊กส่งทูตเพื่อจัดตั้งพันธมิตรกับโคกูรยอ โดยระหว่างวุยก๊กกับง่อก๊ก ทางโคกูรยอเลือกวุยก๊ก – ด้วยการสังหารทูตง่อก๊กใน ค.ศ. 234 และอีกครั้งใน ค.ศ. 236[30][31] ใน ค.ศ. 238 โคกูรยอส่งทหารไปช่วยเอาชนะกองซุนเอี๋ยน[32] พันธมิตรวุยก๊ก-โคกูรยอล่มสลายใน ค.ศ. 242 เมื่อพระเจ้าทงช็อนแห่งโคกูรยอเข้าปล้นที่ซีอานผิง (西安平; ใกล้ตานตงในปัจจุบัน) ที่ปากแม่น้ำยาลู่ในอำเภอเหลียวหนิง[33] ทางวุยก๊กจึงทำสงครามตอบโต้ที่จบลงด้วยชัยชนะของวุยก๊ก และทำลายฮวันโดเมืองหลวงโคกูรยอ ส่งกษัตริย์หนีไป และทำลายความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอกับชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีที่เป็นบ่อเกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ[34] แม้ว่ากษัตริย์หลีกหนีการจับกุมและประทับที่เมืองหลวงใหม่ โคกูรยอถูกลดความสำคัญมากจนไม่มีการกล่าวถึงในตำราประวัติศาสตร์จีนเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ[35] ห้าชนเผ่า
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia