หนังสือเอสเธอร์ บทที่ 2
เอสเธอร์ 2 สำเนาต้นฉบับม้วนหนังสือเอสเธอร์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่มีภาพประกอบอย่างประณีต
หนังสือ หนังสือเอสเธอร์ หมวดหมู่ เคทูวีม ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ พันธสัญญาเดิม ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ 17
เอสเธอร์ 2 (อังกฤษ : Esther 2 ) เป็นบท ที่ 2 ของหนังสือเอสเธอร์ ในคัมภีร์ฮีบรู หรือพันธสัญญาเดิม ในคัมภีร์ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือเอสเธอร์เป็นใคร นักวิชาการสมัยใหม่พิสูจน์ได้ว่าขั้นสุดท้ายของต้นฉบับภาษาฮีบรูน่าจะถูกเขียนเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล บทที่ 1 และ 2 มีฐานะเป็นบทเปิดเรื่องของหนังสือเอสเธอร์ บทที่ 2 เป็นการแนะนำโมรเดคัย และเอสเธอร์ บุตรสาวบุญธรรมผู้มีความงามที่ชนะใจกษัตริย์อาหสุเอรัส และได้สวมมงกุฎเป็นราชินีแห่งเปอร์เซีย (วรรค 17) โมรเดคัยล่วงรู้ถึงแผนการปลงพระชนม์กษัตริย์ของผู้ประสงค์ร้าย จึงทูลเอสเธอร์ให้นำความขึ้นทูลเตือนกษัตริย์ (วรรค 21 –22) ผู้คิดการลอบปลงพระชนม์จึงถูกประหารชีวิตบนตะแลงแกง และกษัตริย์ทรงติดหนี้ชีวิตต่อโมรเดคัย
ต้นฉบับ
ต้นฉบับภาษากรีกของเอสเธอร์ 2:3–8 ในฉบับซีนาย
บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
พยานต้นฉบับ
บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรู มีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[ a]
ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนี ที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
B ; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S ; BHK :
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
S ; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
A ; ศตวรรษที่ 5)
การตัดสินพระทัยของกษัตริย์ที่จะแสวงหาราชินีองค์ใหม่ (2:1–4)
เพื่อจะหาผู้มาเป็นราชินีแห่งเปอร์เซียหลังการปลดวัชทีจากตำแหน่ง กษัตริย์จึงทรงตัดสินพระทัยจะให้หาหญิงงามจากทั่วแผ่นดินเพื่อตัดสินใจหาผู้จะขึ้นเป็นราชินีตามคำแนะนำของข้าราชการของพระองค์
วรรค 3
และขอกษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ในทุกมณฑลแห่งราชอาณาจักรของพระองค์ ให้รวบรวมหญิงสาวพรหมจารีที่งดงามทุกคนมายังฮาเร็มในสุสาเมืองป้อม ให้อยู่ในอารักขาของเฮกัย ขันทีของกษัตริย์ผู้ดูแลสตรี และขอประทานเครื่องสำอางแก่พวกนาง [ 9]
เอสเธอร์ได้รับเข้าราชสำนัก (2:5–11)
วรรค 5
ยังมียิวคนหนึ่งในสุสาเมืองป้อม ชื่อโมรเดคัย บุตรยาอีร์ ผู้เป็นบุตรชิเมอี ผู้เป็นบุตรคีช คนเบนยามิน [ 12]
วรรค 6
คือคีช ผู้ถูกเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลนกวาดต้อนจากเยรูซาเล็มไปพร้อมกับเชลยและเยโคนิยาห์กษัตริย์ยูดาห์ [ 13]
วรรค 7
ท่านได้เลี้ยงดูฮาดาชาห์คือ เอสเธอร์ บุตรหญิงของลุงของท่านเพราะเธอไม่มีบิดามารดา หญิงสาวคนนี้รูปงามและชวนมอง เมื่อบิดามารดาของเธอสิ้นชีวิตแล้ว โมรเดคัยก็รับเธอมาเป็นบุตร [ 14]
วรรค 10
เอสเธอร์ไม่ได้เปิดเผยเรื่องชาติกำเนิดของเธอ เพราะโมรเดคัยกำชับเธอไม่ให้บอกใคร [ 15]
"เปิดเผย" (THSV11 ; TNCV ; NTV ; THA-ERV ): หรือ "บอกให้ทราบ" (TH1971 ; ThaiKJV ) เอสเธอร์ทรงสามารถปกปิดชาติกำเนิดของพระองค์ที่เป็นชาวยิวได้เป็นอย่างดี บ่งบอกว่าพระองค์ไม่ได้ทรงปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับอาหารและศาสนาของชาวยิวอย่างสม่ำเสมอ (ตรงกันข้ามกับดาเนียล )[ 16]
"ชาติกำเนิดของเธอ": ในภาษาฮีบรูแปลตรงตัวว่า "ประชาชนของเธอและญาติของเธอ"[ 17] วลีเดียวกันในภาษาฮีบรูนี้ปรากฏในเอสเธอร์ 2:20 เช่นกันแต่สลับลำดับคำเป็น "ญาติของพระนางและประชาชนของพระนาง"[ 18] ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11) แปลเป็น "ชาติกำเนิดของเธอ" ในวรรค 10 และ "ชาติกำเนิดของพระนาง" ในวรรค 20
เอสเธอร์ขึ้นเป็นราชินี (2:12–18)
ราชินีเอสเธอร์ (ค.ศ. 1879) โดยเอ็ดวิน ลอง
ส่วนนี้ประกอบด้วยคำอธิบายของระเบียบการเสริมความงามเป็นเวลา 12 เดือนสำหรับหญิงผู้จะรับการคัดเลือกเป็นราชินีแห่งเปอร์เซีย และยังบ่งบอกถึงลักษณะของเอสเธอร์ว่าอาจมี 'เสน่ห์มาแต่กำเนิด' ทำให้เอสเธอร์แตกต่างจากหญิงคนอื่น ๆ และท้ายที่สุดจึงได้รับเลือกเป็นราชินี
วรรค 12
เมื่อถึงเวร หญิงสาวทุกคนจะเข้าไปเฝ้ากษัตริย์อาหสุเอรัส หลังจากได้เตรียมตัวตามระเบียบของหญิงเป็นเวลาสิบสองเดือนแล้ว (และนี่เป็นเวลาปกติสำหรับประทินผิว คือชโลมกายด้วยน้ำมันกำยานหกเดือน และด้วยเครื่องเทศและเครื่องสำอางของผู้หญิงอีกหกเดือน) [ 20]
"ตามระเบียบของหญิง": จากภาษาฮีบรู "ตามกฎหมายของหญิง"[ 21]
วรรค 16
เขาได้พาเอสเธอร์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์อาหสุเอรัสในพระราชสำนัก ในเดือนสิบซึ่งเป็นเดือนเทเบทในปีที่เจ็ดแห่งรัชกาลของพระองค์ [ 22]
เวลาที่อ้างถึงในวรรคนี้อยู่ในช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ของ 478 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งคงเป็นช่วงเวลาไม่นานหลังจากกษัตริย์เซอร์ซีสเสด็จกลับมายังสุสาหลังสงครามกับชาวกรีก ดังนั้นความล่าช้าในการตั้งราชินีแทนที่วัชทีจึงสามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะกษัตริย์เซอร์ซีสทรงไม่อยู่เป็นเวลานานเพราะเสด็จไปทำศึกกับกรีก[ 23]
โมรเดคัยล่วงรู้แผนปลงพระชนม์กษัตริย์ (2:19–23)
การสวมมงกุฎของเอสเธอร์ (ซ้าย) โดยโมรเดคัยอยู่ที่ประตู ได้ยินบิกธานและเทเรชสมคบคิดจะปลงพระชนม์กษัตริย์ (ขวา) ภาพโดย Gerard de Jode (ค.ศ. 1579)
ส่วนนี้บันทึกถึงเรื่องที่โมรเดคัยได้ยินแผนการลอบพระชนม์กษัตริย์จึงนำความทูลเอสเธอร์ เอสเธอร์จึงทรงสามารถช่วยชีวิตกษัตริย์จากข้อมูล "ในนามของโมรเดคัย" (วรรค 22) เหตุการณ์นี้บอกล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งมีกลายเป็นเหตุที่ืทำให้โมรเดคัยได้รางวัลในบทที่ 6
วรรค 20
ส่วนพระนางเอสเธอร์นั้นไม่ได้ทรงให้ใครทราบถึงชาติกำเนิดของพระนางดังที่โมรเดคัยกำชับพระนางไว้ เพราะพระนางเอสเธอร์ทรงเชื่อฟังโมรเดคัยเหมือนเมื่อครั้งที่พระนางทรงอยู่ในความดูแลของท่าน [ 24]
"ไม่ได้ทรงให้ใครทราบ": เอสเธอร์ทรงสามารถปกปิดชาติกำเนิดของพระองค์ที่เป็นชาวยิวได้เป็นอย่างดี บ่งบอกว่าพระองค์ไม่ได้ทรงปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับอาหารและศาสนาของชาวยิวอย่างสม่ำเสมอ (ตรงกันข้ามกับดาเนียล )[ 16]
"ชาติกำเนิดของพระนาง": ในภาษาฮีบรูแปลตรงตัวว่า "ญาติของพระนางและประชาชนของพระนาง" วลีเดียวกันในภาษาฮีบรูนี้ปรากฏในเอสเธอร์ 2:10 เช่นกันแต่สลับลำดับคำเป็น "ประชาชนของเธอและญาติของเธอ"[ 18] ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11) แปลเป็น "ชาติกำเนิดของเธอ" ในวรรค 10 และ "ชาติกำเนิดของพระนาง" ในวรรค 20
"โมรเดคัยกำชับพระนางไว้": ในส่วนท้ายของวลีนี้ ในคัมภีร์ไบเบิลภาษากรีกเซปทัวจินต์ มีความว่า "ให้ทรงยำเกรงพระเจ้า"[ 25]
วรรค 21
ในครั้งนั้น เมื่อโมรเดคัยกำลังนั่งอยู่ที่ประตูพระราชวัง บิกธานและเทเรช ขันทีสองคนของกษัตริย์ ผู้เฝ้าธรณีประตูมีความโกรธและหาโอกาสลอบปลงพระชนม์กษัตริย์อาหสุเอรัส [ 26]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Clines, David J. A. (1988). "Esther". ใน Mays, James Luther ; Blenkinsopp, Joseph (บ.ก.). Harper's Bible Commentary (illustrated ed.). Harper & Row. pp. 387–394. ISBN 978-0060655419 .
Crawford, Sidnie White (2003). "Esther". ใน Dunn, James D. G. ; Rogerson, John William (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 329–336. ISBN 978-0802837110 . สืบค้นเมื่อ October 28, 2019 .
Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4 .
Larson, Knute; Dahlen, Kathy; Anders, Max E. (2005). Anders, Max E. (บ.ก.). Holman Old Testament Commentary - Ezra, Nehemiah, Esther . Holman Old Testament commentary. Vol. 9 (illustrated ed.). B&H Publishing Group. ISBN 978-0805494693 . สืบค้นเมื่อ October 28, 2019 .
Meyers, Carol (2007). "16. Esther". ใน Barton, John ; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 324–330. ISBN 978-0199277186 . สืบค้นเมื่อ February 6, 2019 .
Moore, Carey A. (Sep–Dec 1975). "Archaeology and the Book of Esther". The Biblical Archaeologist . 38 (3/4): 62–79. doi :10.2307/3209587 . JSTOR 3209587 . S2CID 166110735 .
Smith, Gary (2018). Ezra, Nehemiah, Esther . Cornerstone Biblical Commentary. Vol. 5. Tyndale House. ISBN 978-1414399126 .
Turner, L. A. (2013). Desperately Seeking YHWH: Finding God in Esther's "Acrostics". Interested Readers. Essays on the Hebrew Bible in Honor of David J. A. Clines, 183–193.
Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament . แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7 . สืบค้นเมื่อ January 26, 2019 .
อ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น