หนังสือเอสเธอร์ บทที่ 1
เอสเธอร์ 1 บทแรกของม้วนหนังสือเอสเธอร์ที่เขียนด้วยมือ พร้อมตัวชี้ของผู้อ่าน
หนังสือ หนังสือเอสเธอร์ หมวดหมู่ เคทูวีม ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ พันธสัญญาเดิม ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ 17
เอสเธอร์ 1 (อังกฤษ : Esther 1 ) เป็นบท แรกของหนังสือเอสเธอร์ ในคัมภีร์ฮีบรู หรือพันธสัญญาเดิม ในคัมภีร์ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือเอสเธอร์เป็นใคร นักวิชาการสมัยใหม่พิสูจน์ได้ว่าขั้นสุดท้ายของต้นฉบับภาษาฮีบรูน่าจะถูกเขียนเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล บทที่ 1 และ 2 มีฐานะเป็นบทเปิดเรื่องของหนังสือเอสเธอร์ บทที่ 1 บันทึกถึงเรื่องงานเลี้ยงของกษัตริย์อาหสุเอรัส แห่งเปอร์เซีย จนถึงเรื่องการปลดราชินีวัชที จากตำแหน่ง
ต้นฉบับ
’’Megillat Esther’’ หรือ “ม้วนหนังสือเอสเธอร์” (ศตวรรษที่ 18)
บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 22 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
พยานต้นฉบับ
บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรู มีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[ a]
ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนี ที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
B ; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S ; BHK :
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
S ; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A ;
G
{\displaystyle {\mathfrak {G}}}
A ; ศตวรรษที่ 5)
งานเลี้ยงหลวงแก่ข้าราชการ (1:1–4)
ส่วนเปิดของเรื่องกล่าวถึงงานเลี้ยงอันหรูหราที่จัดขึ้นเป็นเวลา 180 วันโดยกษัตริย์อาหสุเอรัส แห่งเปอร์เซียให้แก่ข้าราชการจากทั่วจักรวรรดิเปอร์เซีย
วรรค 1
อยู่มาในรัชสมัยของอาหสุเอรัส คืออาหสุเอรัสผู้ทรงครอบครอง 127 มณฑล ตั้งแต่อินเดียถึงคูช [ 8]
"อาหสุเอรัส ": โดยทั่วไประบุว่าเป็นกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 (485–464 ปีก่อนคริสตกาล)[ 9] ในเอสเธอร์ 10:1 พระนามถูกเขียนว่า Achashresh[ 10] ซึ่งแสดงความคล้ายคลึงอย่างมากกับพระนามที่บันทึกโดยชาวกรีกว่า Axeres หรือ Xerxes [ 11]
มีกษัตริย์อีก 2 พะรองค์ที่เรียกด้วยพระนามนี้ในพันธสัญญาเดิม:[ 12]
"ตั้งแต่อินเดียถึงคูช": จากความในภาษาฮีบรู : מהדו ועד־כוש , mê-hō-dū wə-‘aḏ-kūsh [ 13] ศิลาฤกษ์ที่ค้นพบในแหล่งขุดค้นที่พระราชวังเปอร์เซเปอลิส แสดงตำแหน่งและอาณาเขตของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 ซึ่งคล้ายคลึงกับของอาหสุเอรัสอย่างมาก[ 14] ดังความต่อไปนี้:
"เราคือเซอร์ซีส กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ กษัตริย์เพียงหนึ่งเดียว กษัตริย์แห่งประเทศ (ทั้งปวงที่พูด) ทุกภาษา กษัตริย์แห่งแผ่นดินโลกอันกว้างใหญ่และไพศาลแห่งนี้… ต่อไปนี้เป็นประเทศต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเปอร์เซียซึ่งเราเป็นกษัตริย์ … ซึ่งส่งบรรณาการให้กับเรา ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เราบัญชากับพวกเขา ที่พวกเขาทำและปฏิบัติตามกฎหมายของเรา เมเดีย, เอลาม … อินเดีย … (และ) คูช ."[ 15]
การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนอันกว้างใหญ่ได้รับการยืนยันโดยเฮอรอโดทัส (Histories III.97; VII.9, 65, 69f).[ 16]
วรรค 2
ในเวลานั้น เมื่อกษัตริย์อาหสุเอรัสประทับบนราชบัลลังก์ในสุสาเมืองป้อม [ 17]
วรรค 3
ในปีที่สามแห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ประทานการเลี้ยงแก่เจ้านายและข้าราชการทั้งสิ้นของพระองค์ นายทัพนายกองแห่งเปอร์เซียและมีเดีย ขุนนางและผู้ว่าราชการมณฑลต่างๆ เฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์พระองค์ [ 18]
งานเลี้ยงหลวงแก่ประชาชนในสุสา (1:5–9)
วัชทีทรงปฏิเสธที่จะทำตามพระบัญชาของกษัตริย์ (1:10–22)
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia , vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
↑ เอสเธอร์ 1:1 THSV11
↑ หมายเหตุของเอสเธอร์ 1:1 ใน NKJV
↑ Gill, John . Exposition of the Entire Bible . "Esther 1". Published in 1746-1763.
↑ Hiller, Matthieu (1692) De Arcano Keri & Kethib , Tubingen. p. 87. & (1706) Onomasticon Sacrum p. 639. apud Gill. Esther 1.
↑ 12.0 12.1 12.2 Ellicott, C. J. (Ed.) (1905). Ellicott's Bible Commentary for English Readers . Esther 1. London : Cassell and Company, Limited, [1905-1906] Online version: (OCoLC) 929526708. Accessed 28 April 2019.
↑ Hebrew Text Analysis: Esther 1:1 . Biblehub
↑ Moore 1975, pp. 70–71
↑ Pritchard, J. B. (1955) Ancient Near Eastern Texts . pp. 316–317; apud Moore 1975, p. 71.
↑ Moore 1975, p. 71
↑ เอสเธอร์ 1:2 THSV11
↑ เอสเธอร์ 1:3 THSV11
บรรณานุกรม
Clines, David J. A. (1988). "Esther". ใน Mays, James Luther ; Blenkinsopp, Joseph (บ.ก.). Harper's Bible Commentary (illustrated ed.). Harper & Row. pp. 387–394. ISBN 978-0060655419 .
Crawford, Sidnie White (2003). "Esther". ใน Dunn, James D. G. ; Rogerson, John William (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 329–336. ISBN 978-0802837110 . สืบค้นเมื่อ October 28, 2019 .
Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4 .
Larson, Knute; Dahlen, Kathy; Anders, Max E. (2005). Anders, Max E. (บ.ก.). Holman Old Testament Commentary - Ezra, Nehemiah, Esther . Holman Old Testament commentary. Vol. 9 (illustrated ed.). B&H Publishing Group. ISBN 978-0805494693 . สืบค้นเมื่อ October 28, 2019 .
Meyers, Carol (2007). "16. Esther". ใน Barton, John ; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 324–330. ISBN 978-0199277186 . สืบค้นเมื่อ February 6, 2019 .
Moore, Carey A. (1975). "Archaeology and the Book of Esther". The Biblical Archaeologist . 38 (3/4): 62–79. doi :10.2307/3209587 . JSTOR 3209587 . S2CID 166110735 .
Smith, Gary (2018). Ezra, Nehemiah, Esther . Cornerstone Biblical Commentary. Vol. 5. Tyndale House. ISBN 978-1414399126 .
Turner, L. A. (2013). Desperately Seeking YHWH: Finding God in Esther's "Acrostics". Interested Readers. Essays on the Hebrew Bible in Honor of David J. A. Clines, 183–193.
Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament . แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7 . สืบค้นเมื่อ January 26, 2019 .
อ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น