ในเวลาเช้าของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์อีสเตอร์ เกิดเหตุลอบวางระเบิดครั้งร้ายแรงในโบสถ์คริสต์ 3 แห่งและโรงแรมหรู 3 แห่งทั่วประเทศศรีลังกา ต่อมาในเวลาบ่ายของวันเดียวกัน เกิดเหตุระเบิดขนาดเล็กที่ชุมชนการเคหะและเกสต์เฮาส์ในย่านชานเมืองของนครโคลัมโบ เหตุการณ์ทั้งหมดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 253 คน[2] ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 46 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย และมีผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 500 คน[11][12][13][14][15] เหตุการณ์นี้เป็นเหตุก่อการร้ายขนาดใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศรีลังกานับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามกลางเมือง[16]
การลอบวางระเบิดที่โบสถ์เกิดขึ้นระหว่างการประกอบพิธีมิสซาอีสเตอร์ที่เมืองนิกอมโบ, บัตทิคาโลอา และโคลัมโบ ส่วนโรงแรมที่ถูกลอบวางระเบิด ได้แก่ โรงแรมแชงกรี-ลา, โรงแรมซินนามอนแกรนด์, โรงแรมเดอะคิงส์เบรี และโรงแรมทรอปิคัลอินน์[17][18][19][20] ทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณนครโคลัมโบและปริมณฑล ไมตรีปาละ สิริเสนะ ประธานาธิบดีศรีลังกาในนามหัวหน้าคณะรัฐบาลศรีลังกาได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ[21]
ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้จุดระเบิดฆ่าตัวตายทั้งเจ็ดคนจากเหตุโจมตีในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นพลเมืองศรีลังกาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การเอกเทวนิยมแห่งชาติ (National Thowheeth Jama'ath) ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบนิยมอิสลามท้องถิ่นที่ต้องสงสัยว่ามีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และก่อนหน้านี้ถูกเชื่อมโยงกับเหตุทุบทำลายพระพุทธรูปหลายองค์ในประเทศ[5] รุวัน วิเชวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงในรัฐสภาว่า การสอบสวนเบื้องต้นได้เผยให้เห็นว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็นการกระทำตอบโต้เหตุโจมตีชาวมุสลิมในไครสต์เชิร์ช[7][8][9][10] แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่ามีการวางแผนเหตุโจมตีในศรีลังกาไว้ก่อนที่จะเกิดเหตุโจมตีในไครสต์เชิร์ช[22]
ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 สำนักข่าวอะอ์มากซึ่งเป็นช่องทางกระจายข่าวสารของกลุ่มนักรบก่อการร้ายอิสลามรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอซิล) ได้อ้างว่า ผู้จุดระเบิดเป็นนักรบไอซิลที่ตอบสนองต่อการเรียกร้องให้โจมตีพลเมืองประเทศที่เป็นพันธมิตรต่อต้านไอซิล[6] อย่างไรก็ตาม ศรีลังกามิได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรต่อต้านกลุ่มนับรบดังกล่าว และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากเหตุระเบิดครั้งนี้ก็เป็นพลเมืองศรีลังกา[23]
ปูมหลัง
ประชากรส่วนใหญ่ของศรีลังกานับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 70.2) รองลงมานับถือศาสนาฮินดู (ร้อยละ 12.6) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 9.7) และศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 7.4)[24] โดยร้อยละ 82 ของคริสต์ศาสนิกชนในศรีลังกานับถือนิกายโรมันคาทอลิก ที่เหลือเป็นผู้นับถือนิกายแองกลิคันสายคริสตจักรซิลอนและกลุ่มนิกายโปรเตสแตนต์อื่น ๆ ในจำนวนพอ ๆ กัน[25]
วันอาทิตย์อีสเตอร์เป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ และคริสต์ศาสนิกชนในศรีลังกานิยมไปโบสถ์ในวันนี้อย่างมาก[26]
เดอะนิวยอร์กไทมส์ และเอเอฟพีได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของศรีลังกาส่งถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐเมื่อ 10 วันก่อนเกิดเหตุ เพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับแผนการโจมตีโบสถ์คริสต์สำคัญโดยกลุ่มหัวรุนแรงนิยมอิสลามชื่อ องค์การเอกเทวนิยมแห่งชาติ[27] แต่ไม่มีการส่งผ่านข้อมูลในเรื่องนี้ไปยังนักการเมืองระดับสูงของประเทศ[28][29]
บีบีซีไทยรายงานว่า รนิล วิกรมสิงหะ นายกรัฐมนตรีศรีลังกาไม่ทราบข่าวกรองมาก่อน มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าความสัมพันธ์ระหว่างรนิล วิกรมสิงหะ กับไมตรีปาละ สิริเสนะ ประธานาธิบดีศรีลังกา ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองศรีลังกาใน พ.ศ. 2561 อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การป้องกันการก่อการร้ายผิดพลาด โดยก่อนหน้านี้ ไมตรีปาละ สิริเสนะ สั่งปลดรนิล วิกรมสิงหะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[30] และให้มหินทะ ราชปักษะ เป็นนายกรัฐมนตรี[31] เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการจลาจลในประเทศมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[32] ต่อมามีการแต่งตั้งรนิล วิกรมสิงหะ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ผู้เคราะห์ร้าย
เหตุระเบิดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้วจำนวน 253 ราย (ก่อนหน้านี้เชื่อว่ามี 359 ราย แต่ตัวเลขถูกปรับลดลงเนื่องจากการคำนวณผิดพลาดในครั้งแรก)[2] ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองศรีลังกา เป็นพลเมืองต่างชาติ 46 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 500 คน บางรายมีอาการสาหัส
ศานตา มายาทุนเน เชฟเจ้าของรายการโทรทัศน์ชื่อดังชาวศรีลังกา เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต[51] ชาวเดนมาร์กที่เสียชีวิตเป็นบุตรสามคนจากสี่คนของอันเนิร์ส ฮ็อลก์ พ็อวล์เซิน ประธานบริหารบริษัทเสื้อผ้าเบสต์เซลเลอร์ของเดนมาร์ก[52] ผู้เคราะห์ร้ายชาวบังกลาเทศเป็นสมาชิกตระกูลเชก–วาเซด และเป็นหลานอายุ 8 ขวบของญาติคนหนึ่งของเชก ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ[53][54][55][56] มีเด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 45 รายจากเหตุระเบิด โดย 9 รายในจำนวนนี้เป็นพลเมืองต่างชาติ[56][50][57]
หมายเหตุ
- ↑ สองคนในจำนวนนี้เป็นพลเมืองสวิส-ดัตช์และพลเมืองดัตช์-ศรีลังกาตามลำดับ
- ↑ นับจำนวนผู้เป็นพลเมืองหลายประเทศเพียงครั้งเดียว
อ้างอิง
- ↑ Thomas, Kris. "Easter Sunday Explosions In Sri Lanka: An Evolving Timeline Of Events". Roar Media. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Sri Lanka toll revised down by 'about 100'". BBC News. 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Derana321
- ↑ "Sri Lanka Attacks: What We Know and Don't Know". The New York Times. 24 April 2019.
- ↑ 5.0 5.1 "What to Know About National Thowheeth Jama'ath, the Group Suspected in the Sri Lanka Easter Attacks". Time. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ 6.0 6.1 "Sri Lanka bombings: Isis claims responsibility for deadly church and hotel attacks on Easter Sunday". The Independent. 23 April 2019.
- ↑ 7.0 7.1 "Bombings were response to Christchurch shooting - State Minister". Adaderana.lk. DeranaTV. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ 8.0 8.1 "State Defense Minister: Bombings were retaliation for Christchurch killings". 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ 9.0 9.1 Wade, Matt (23 April 2019). "Sri Lankan attacks 'retaliation for Christchurch': minister". The Sydney Morning Herald.
- ↑ 10.0 10.1 "Sri Lanka blasts were in retaliation for New Zealand mosque shootings, official says". 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ Bastians, Dharisha; Gettleman, Jeffrey; Schultz, Kai (21 April 2019). "Sri Lanka Bombings at Churches and Hotels Said to Kill Over 200". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "156 Dead In Blasts At Two Sri Lanka Churches During Easter Mass: Report". NDTV. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Sri Lanka Easter bombings live: Blasts during church services in Colombo". The National. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Sirilal, Ranga; Aneez, Shihar (21 April 2019). "Bombs kill more than 200 in Sri Lankan churches, hotels on Easter Sunday". Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Pokharel, Sugam; McKirdy, Euan (21 April 2019). "Sri Lanka blasts: At least 138 dead and more than 400 injured in multiple church and hotel explosions". CNN. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Hundreds killed, 450 injured as explosions rock Catholic churches during Easter mass". The Sydney Morning Herald. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Sri Lanka attacks: More than 200 killed as churches and hotels targeted". BBC News. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Sri Lanka Easter bombings: Mass casualties in churches and hotels". Al Jazeera. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Burke, Jason; Parkin, Benjamin (21 April 2019). "Sri Lanka blasts: hundreds injured in church and hotel explosions". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.
- ↑ "Seventh bomb explosion heard at Sri Lanka Tropical Inn as Easter Sunday attacks continue". The Independent. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ รัฐบาลศรีลังกาประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ
- ↑ "ISIS fanatics celebrate SL attacks". www.dailymirror.lk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ "Easter bombings victims identified". News. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
- ↑ "Religious Beliefs In Sri Lanka". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
- ↑ "Sri Lanka – Christianity". Mongabay.
- ↑ Shah, Khushbu; Collins, Sean (21 April 2019). "Sri Lanka Easter Sunday attacks: what we know". Vox (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Police Warned That Sri Lanka Churches Were Bombing Targets". New York Times. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Burke, Jason; Perera, Amantha (21 April 2019). "Sri Lanka death toll expected to rise as leaders condemn killings". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Blasts at Sri Lanka hotels and churches kill 156". AFP. 21 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-23. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ ระเบิดในศรีลังกา : ประชาชนอาลัยเหยื่อที่พุ่งสูงถึง 321 ราย ท่ามกลางความกังขาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาล หลังตำรวจเคยได้รับคำเตือนภัยล่วงหน้าแล้ว
- ↑ ศรีลังกาวุ่นประธานาธิบดีสั่งปลดฟ้าผ่านายกรัฐมนตรี
- ↑ วิกฤตการเมืองศรีลังกาลาม ตาย 1 เจ็บ 2
- ↑ "Who are the victims of the Sri Lanka attacks?". 22 April 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
- ↑ "Sri Lanka blasts: 11 Indians dead, bodies of 7 JDS members to reach Karnataka". สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ Dubai resident missing after Sri Lanka attacks confirmed dead
- ↑ "Missing Chinese national confirmed dead after Colombo bombings: Chinese embassy". 25 April 2019.
- ↑ "Sri Lanka attacks: Eight Britons killed in explosions". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Three children of Danish billionaire killed in Sri Lanka attacks". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Nog twee Nederlandse slachtoffers onder doden Sri Lanka". Volkskrant. Volkskrant. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ "Two Australians confirmed dead in Sri Lanka Easter Sunday terror attacks". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "2 Saudis among Victims of Sri Lanka Bombings". Asharq Al-Awsat. 23 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ "Saudi Arabian Airlines Statement". Twitter. 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ "Una pareja de españoles, entre las víctimas mortales de los atentados de Sri Lanka". El País. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "2 Turkish engineers among dead in Sri Lanka bombings". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Gardner, Bill; Johnson, Jamie (23 April 2019). "Grieving father tells how he lost two teenage children in Sri Lanka bombings". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ "A billionaire's children, a D.C. fifth-grader, a celebrity chef: the victims in Sri Lanka". สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
- ↑ "Sheikh Selim's minor grandson dies in Sri Lanka bombings". bdnews24.com. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "One Japanese national killed, four others injured as Sri Lanka attacks rock expat community". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Rui Lucas morreu às mãos dos terroristas no Sri Lanka. Português de 31 anos estava em lua de mel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-23. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ 50.0 50.1 "Sri Lanka attacks: tributes paid as two more victims named - live news". The Guardian. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Davidson, Tom (21 April 2019). "Tragic last picture hours before TV chef and daughter killed in Sri Lanka attack". Mirror. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ Goodley, Simon (22 April 2019). "Three children of Asos billionaire killed in Sri Lanka attacks". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ Greenfield, Patrick (23 April 2019). "Sri Lanka: boy, 8, related to Bangladeshi leader and UK MP, among young victims". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
- ↑ "Sheikh Selim's son-in-law, grandson, injured in Sri Lanka bomb blast". Dhaka Tribune. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Father's tribute to 'wonderful wife' and 'amazing children' killed in Sri Lanka hotel blast". ITV. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ 56.0 56.1 "Sri Lanka attacks: Who are the victims?". BBC. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
- ↑ "Australian man recalls horror of finding wife and daughter dead in Sri Lanka attack". The Guardian. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.