เหตุฆาตกรรมพิชัย ไชยสงคราม และณัฐพล ชุมวรฐายี
เหตุฆาตกรรมพิชัย ไชยสงครามและณัฐพล ชุมวรฐายี หรือ คดีดร.วันชัย เป็นเหตุฆาตกรรมในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่ง ดร.วันชัย ดนัยตโมนุทได้ก่อเหตุใช้ปืนยิงใส่ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี จนเสียชีวิตที่ห้องประชุมของอาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรมพุทธวิชชาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ก่อนที่วันชัยจะหลบหนีไปยังโรงเเรมสุภาพ[2] สุดท้ายวันชัยก็กระทำอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการเจรจาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง[3] ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการรายงานข่าวของสื่อเป็นวงกว้างจากการถ่ายทอดสดวันชัยขณะกำลังนำปืนจ่อศีรษะและการรายงานข่าวการทำงานของตำรวจอย่างต่อเนื่อง[4][5] ผู้ก่อเหตุวันชัย ดนัยตโมนุท (24 ธันวาคม พ.ศ. 2499 - 19 พฤษภาคม พ.ศ.2559) เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งวันชัยจบการศึกษาในระดับปริญญาโท โดยในปี พ.ศ. 2547 วันชัยถูกย้ายมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและสอบเรียนระดับปริญาเอกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 วันชัยได้รับตำเเหน่งเป็นกรรมการหลักสูตรสาขาการบริหารการศึกษาระดับปริญญาโท[6] แรงจูงใจโดยระหว่างการล้อมจับกุม วันชัยได้โยนเอกสารมาให้โดยระบุเเรงจูงใจว่า สาเหตุที่วันชัยต้องสังหารพิชัยนั้นมาจาก การถูกพิชัยหยามเกียรติ์เเละถูกกลั่นเเกล้งซึ่งในเอกสารเขาได้เขียนว่าเขาเคยพยายามฆ่ามาเเล้วในปี พ.ศ.2557 เเต่ไม่สำเร็จ ส่วนเเรงจูงใจในการสังหารณัฐพลมาจากในช่วงที่วันชัยรับหน้าที่เป็นหัวหน้าหลักการประชุมคณะกรรมการหลักสูตร เรื่องการวิจัยทางการบริหารการศึกษา ซึ่งได้มีการเชิญณัฐพล และอาจารย์อีกคนหนึ่ง แต่ณัฐพลกลับไม่มา และมีการพยายามชักจูงให้อาจารย์อีกคนไม่มา และณัฐพลไม่ยอมอนุมัติทุนวิจัยของโครงการ[7] และเขาเป็นคนเดียวที่ไม่ถูกเชิญขึ้นไปให้ถวายธูปเทียนและสังฆทานระหว่างงานศพ[8] การก่อเหตุในช่วงก่อนการก่อเหตุวันชัยได้พูดคุยกับพี่ชายของวัยชัย โดยพี่ชายของวันชัยทราบว่าวันชัยมีอาการเครียด เเต่พี่ชายของวันชัยไม่ทราบสาเหตุ โดยข้อความสุดท้ายที่ส่งมาให้พี่ชายของวันชัยผ่านทางไลน์มีใจความว่า"เฮียเฺฮงผมขอกราบลาหากผมตายไปขอให้เอาศพไปสวดสามวันที่วัดแถวบ้านเฮียที่ลำลูกกาแล้วเผานะครับ"[9] โดย 1 สัปดาห์ ก่อนการก่อเหตุวันชัยได้ถามวันเเละเวลาที่สอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท[10] อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม - พุทธวิชชาลัยวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เวลาประมาณ 09.00 น. ดร.วันชัยได้ใช้ปืนสั้นขนาดกระสุน 9 มิลลิเมตร ยิงใส่ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี[11] ที่หลังศีรษะจนเสียชีวิต[12] ในห้อง 502 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม - พุทธวิชชาลัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร[13]ซึ่งในขณะที่เกิดเหตุห้อง 502 ถูกใช้เป็นห้องสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท โดยผศ.ดร.พิชัย ไชยสงครามเป็นกรรมการสอบ และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี เป็นที่ปรึกษาหลัก[14] โดยหลังจากการก่อเหตุ วันชัยได้ขับรถยนต์เก๋งนิสสัน อัลเมร่า สีน้ำตาล ออกจากที่เกิดเหตุ[15] โดยวันชัยได้เปลี่ยนป้ายทะเบียนรถเป็นป้ายทะเบียนปลอม[16] ต่อมาในเวลา 18.50 น. ศาลอาญารัชดาได้ออกหมายจับวันชัย 3 ข้อหา[17][18] ได้เเก่ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่มีเหตุอันควร และพกพาอาวุธปืนไปยังเมือง[19][20][21] โรงเเรมสุภาพในวันที่19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เวลา 14.20 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยคอมมาโดได้นำกำลังเข้าล้อมโรงเเรมสุภาพ ในเขตพญาไท หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เเกะรอยวันชัยจากบัตรเครดิตมายังโรงเเรมสุภาพ โดยพนักงานโรงเเรมยืนยันการเข้าพักของวันชัย[22] เพื่อจับกุมวันชัย[23]เเต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปถึงได้พบกับวันชัยบริเวณที่จอดรถที่ด้านหน้าของโรงเเรม เเต่วันชัยใช้ปืนขนาด 9 มม.จ่อขมับตนเองเเละขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย โดยวันชัยได้เข้าออกรถเก๋งของวันชัยเป็นระยะ[24] และได้มีการเจรจากับวันชัยเป็นระยะ[25] ซึ่งวันชัยได้ทิ้งกระดาษA4 จำนวน 3 หน้าโดยเขียนหัวข้อว่า บันทึกก่อนสิ้นชีพ และทิ้งท้ายด้วยคำว่า "คนเรา ฆ่าได้ เเต่หยามไม่ได้" ซึ่งมีเนื้อหาในการเปิดเผยเเรงจูงใจของวันชัยในการฆาตกรรม [26] ต่อมาเวลา15.35 น. ญาติและลูกศิษย์ไว้เดินเข้าหาวันชัยเรื่อยๆ โดยขอให้วันชัยวางปืนลง[27] เวลา 15.45น. เอียเฮงซึ่งเป็นญาติของวันชัยได้เจรจาต่อรองให้วันชัยวางปืนลง แต่วันชัยยังมีอาการเครียด สลับกับสูบบุหรี่ และเข้าไปภายในตัวรถ พร้อมกับเปิดเพลงเสียงดัง[28] เวลา 16.05 น.ญาติของวันชัย 2 คน ได้เดินทางมาเจรจาให้วันชัยมอบตัวเพื่อสู้คดี ซึ่งตำรวจได้ยืนยันในการให้ความเป็นธรรมและจะให้ความเป็นธรรมในเรื่องวุฒิการศึกษา ต่อมาเวลา 17.32 น. บรรยากาศของการเจรจา เจ้าหน้าที่ตำรวจ และญาติ สลับพูดโทรโข่งเป็นระยะ พร้อมกับมีการปรบมือให้กำลังใจให้วางอาวุธ ซึ่งระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับญาติจะห่างกันไม่ถึง 2 ก้าว[29] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในที่เกิดเหตุได้ระบุว่า "หากสถานการณ์ไม่ดีหรือคลี่คลายขึ้น ต้องเตรียมอุปกรณ์ไฟส่องสว่าง เนื่องจากเย็นแล้ว"[30] ต่อมาเวลา 18.43 น. วันชัยได้ใช้ปืนยิงตัวเองที่ขมับ[31]หลังจากที่วันชัยยิงตัวเอง[32] เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ในย่านสะพานควาย และได้เสียชีวิตเมื่อเวลา 21.00 น. ที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล[33] เนื่องจากบาดเเผลกระสุนปืนที่สมอง[34][35] วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พล.ต.ต.นพ.พรชัย สุธีรคุณได้กล่าวว่าทีมเเพทย์ได้สูตรชันสูตรศพของวันชัยเสร็จเรียบร้อยตั้งเเต่ช่วงเที่ยง โดยระบุสาเหตุการเสียชีวิตมาจากบาดเเผลกระสุนปืนทีสมองผ่านทางเหนือใบหูซ้าย[36][37] ต่อมาเวลา 13.40 น. ญาติของวันชัยได้มาติดต่อขอรับศพ[38] ระหว่างที่ญาติของวันชัยมาติดต่อขอรับศพได้ มีได้มีนักข่าวคนหนึ่งมาขอชื่อเเละนามสกุลพี่ชายของวันชัย ทำให้ญาติอีกคนได้ขีดฆ่าชื่อบนสมุด ก่อนจะฉีดสมุดเล่มนั้น และกล่าวสั้นๆว่า"ไม่โอเคตั้งเเต่ถ่ายทอดสดเมื่อวานเเล้ว"[39][40][41] ผลที่ตามมาการเจรจากับวันชัยทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้กล่าวถึงการเจราจากับวันชัยว่า ตัวของวันชัยมีความเครียดสูง ส่วนสาเหตุที่มีความเครียดสูง ให้นำสิ่งที่เจรจามาวิเคราะห์สาเหตุ ซึ่งผู้เจรจาทั้ง 3 คน เป็นผู้ใกล้ชิดของวันชัย โดยการเจรจาเป็นโอกาสให้เขาได้ระบายสิ่งที่อยู่ในตัวเขาออกมา เพื่อรับทราบและนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยการเจรจาสามารถประสบความสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งตำรวจที่เป็นผู้บัญชาการของเหตุการณ์มีการศึกษาด้านจิตวิทยา น่าจะมีวิธีในการเกลี้ยกล่อมผู้ต้องหา[42] วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมของอาจารย์ว่า จากสิ่งที่วันชัยพูดหรือเขียนจดหมายไว้ก่อนเสียชีวิต จะพบคำว่า 'ฆ่าได้หยามไม่ได้' ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องของศักดิ์ศรีเป็นเรื่องสำคัญกว่าเงินทอง ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมของอาจารย์ให้มีการพูดคุยกันอย่างเข้าใจ ก็จะไม่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น[43] การทำงานของสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เผยเเพร่ผลการประชุมของบอร์ด กสทช. ว่ามีมติเห็นชอบให้สำนักงานกสทช.ทำหนังสือแจ้งไปยังสถานีโทรทัศน์ทุกช่องให้ระงับการออกอากาศ โดยได้ย้ำเตือนว่าการเผยเเพร่ภาพการออกอากาศจะไม่ขัดต่อมาตรา 37 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551[44][45][46] จากเหตุการณ์นี้ สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อมวลชนว่าเป็นการถ่ายทอดสดอย่างไม่เหมาะสม[47] โดยวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ซึ่งเป็นประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้กล่าวว่า สื่อมวลชนยังมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนปัญหาของสังคม ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องกลับมาทบทวนการทำงานของสื่อมวลชน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิกฤติสื่อ โดยคนที่อยู่ในวงการนี้ต้องกลับมาตั้งใจทำอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหา ก่อนจะรุนเเรงไปมากกว่านี้ จึงต้องกลับมาทบทวนและคุยร่วมกันทั้งหมด โดยวิสุทธิ์กล่าวว่าจากกรณีของการรุมถ่ายรูปศพของทฤษฎี สหวงษ์ถึงกรณีของวันชัย[48] จะเห็นการรวมตัวของสื่อ โดยประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบและสิ่งที่เห็นคือสังคมแสดงความเบื่อหน่ายและไม่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตามนี่อาจเป็นโอกาสในการควบคุมดูแลกันเองของสื่อ ซึ่งถ้าไม่ทำให้ทันสถานการณ์ อาจจะมีคนฉวยโอกาสเข้ามาควบคุมแทน[49][50] ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้ให้ความคิดเห็นถึงการถ่ายทอดสดว่า ในต่างประเทศสื่อที่มีจรรยาบรรณจะไม่นำเสนอภาพที่มีความรุนแรง ในลักษณะของการรายงานสดจากที่เกิดเหตุ และภาพข่าวที่ไม่แสดงอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นภาพที่ไม่เจาะจงถึงความรุนแรง และไม่มีการเเช่ภาพสด อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข่าวในรูปแบบนี้เป็นการเพิ่มความกดดันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพื้นที่เกิดเหตุ และผู้ก่อเหตุก็จะได้รับความกดดันที่สูง ดังนั้นจึงขอร้องให้สื่อมวลชน หากนำเสนอภาพอย่าคิดเเต่ต้องการเพิ่มเรตติ้งดีๆ จึงขอให้คิดถึงผลกระทบในระยะยาวด้วย[51] ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พีระพงษ์ มานะกิจ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้เชิญสถานีโทรทัศน์ สปริงนิวส์ , ไทยรัฐทีวี , เนชั่นทีวี และทีเอ็นเอ็น เข้าชี้เเจงซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดในมาตรา 37[52] โดยบรรยากาศการพูดคุยหารือ ทั้ง 4 ช่องได้ยอมรับความผิดในเรื่อง ระหว่างการที่ถ่ายทอดสดที่ยาวนาน และมีหลายครั้งที่ภาพสุ่มเสี่ยง ซึ่งจะละเมิดและไม่เหมาะสม และน้อมรับที่จะหาช่องทางป้องกันในอนาคต ถึงเเม้จะใช้วิธีเบลอภาพ, บิดบังภาพที่ไม่เหมาะสม, ถ่ายภาพระยะไกล เป็นต้น[53][54] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia