เทศบาลตำบลห้วยทับทัน |
---|
|
![สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยทับทัน](//upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/72/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg/250px-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg) สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยทับทัน |
![ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลห้วยทับทัน](//upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/a/ae/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg/100px-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg) ตรา |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
---|
อำเภอ | ห้วยทับทัน |
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | ชัยยันต์ เทพเกษตรกุล |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 9.80 ตร.กม. (3.78 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 3,133 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 319.69 คน/ตร.กม. (828.0 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัส อปท. | 05331201 |
---|
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยทับทัน ตั้งอยู่เลขที่ 306 หมู่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 33210 |
---|
โทรศัพท์ | 0 4569 9149, 0 4569 9222 , 0 4569 9332 |
---|
โทรสาร | 0 4569 9149 |
---|
เว็บไซต์ | www.huaithapthan.com |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เทศบาลตำบลห้วยทับทัน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก[2] อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 306 หมู่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนบนของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกโดยทางรถยนต์ประมาณ 37 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภอห้วยทับทัน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ
อาณาเขต
ครอบคลุมบางส่วนของตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน โดยมีอาณาเขตในทิศทางต่างๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปราสาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเมืองหลวง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลห้วยทับทัน
- ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลห้วยทับทัน
ประวัติ
เทศบาลตำบลห้วยทับทัน เดิมมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลมาก่อน ชื่อ"สุขาภิบาลห้วยทับทัน" จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 [3] มีสำนักงานอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพุทธศักราช 2542 จัดตั้งเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นผลให้"สุขาภิบาลห้วยทับทัน" เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น"เทศบาลตำบลห้วยทับทัน" ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542เป็นต้นมา [4] ในปัจจุบันเทศบาลตำบลห้วยทับทันมีอาคารสำนักงานเป็นของตนเองแยกออกมาจากที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมาติดต่อราชการและขอรับบริการด้านต่างๆ ได้สะดวก
โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ
- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (ปัจจุบันคือนายชัยยันต์ เทพเกษตรกุล), รองนายกเทศมนตรี 2 คน, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ(ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน, รองประธานสภา 1 คน
- การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ตราสัญลักษณ์
รูปไก่พื้นเมืองหรือไก่บ้านอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น ขั้นด้วยลายกนกรวงข้าว
กรอบวงกลมวงนอก ครึ่งบนของกรอบวงกลมนอกเขียนข้อความ "เทศบาลตำบลห้วยทับทัน" ครึ่งล่างของกรอบวงกลมเขียนข้อความ "จังหวัดศรีสะเกษ"
ไก่ หมายถึง ไก่พันธุ์พื้นเมืองของอำเภอห้วยทับทันมาจากชุมชนห้วยทับทันในบริเวณนี้มีอาชีพขายไก่ให้ผู้เดินทางไปมาในชื่อ "ไก่ย่างห้วยทับทัน" ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการย่างและจำหน่ายมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นชุมชนเจริญเติบโตเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอในที่สุด
ลายกนกรวงข้าว หมายถึง อำเภอห้วยทับทันเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ
ข้อมูลทั่วไป
สภาพภูมิประเทศ
เขตเทศบาลตำบลห้วยทับทันตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบริมลำน้ำธรรมชาติสายใหญ่ อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่เป็นที่ที่ใช้ประกอบการเกษตรกรรม มีหนองน้ำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ ลำห้วยทับทัน ซึ่งไหลมาจากต้นน้ำในเขตเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดศรีสะเกษกับจังหวัดสุรินทร์
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์
ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 3,133 คน จำแนกเป็นเพศชาย 1,591 คน เพศหญิง 1,542 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 757 ครัวเรือน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น จำนวน 2,116 คน [5] กลุ่มชาติพันธุ์หลักดั้งเดิมในเขตเทศบาลได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย)ซึ่งพูดภาษากูย,และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมร ซึ่งพูดภาษาเขมรถิ่นไทย(เขมรสูงหรือขแมร์เลอ) ซึ่งมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าชาวกูยและชาวลาว [6]
เขตการปกครอง
เขตการปกครองภายในพื้นที่เขตเทศบาลแบ่งออกเป็น 7 ชุมชน ได้แก่
- ชุมชนตลาดห้วยทับทัน (ม.1)
- ชุมชนห้วยทับทันตะวันออก (ม.1)
- ชุมชนฝั่งธน (ม.1)
- ชุมชนหนองสิมใหญ่ (ม.2)
- ชุมชนหนองสิมน้อย (ม.6)
- ชุมชนทุ่งมน (ม.7)
- ชุมชนสวัสดี (ม.8)[7]
โครงสร้างสังคม
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 2 แห่ง (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยทับทัน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประชารงสรรค์) [8]
- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง (โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน, โรงเรียนเทศบาล[หนองสิมใหญ่])
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม)
การศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- วัด / สำนักสงฆ์ 3 แห่ง (วัดป่าหนองสิมใหญ่, วัดศรีห้วยทับทัน, วัดบ้านหนองสิมน้อย)ทั้งนี้ ประชากรในเขตเทศบาลร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ
- ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
- ประเพณีสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี
- ประเพณีบุญบ้องไฟ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี
- ประเพณีถวายเทียนพรรษา ช่วงก่อนถึงวันเข้าพรรษา ของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
การแพทย์และสาธารณสุข
- โรงพยาบาลชุมชน (รพช)ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง (โรงพยาบาลห้วยทับทัน) โดยมีบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ดังนี้
- แพทย์ 2 คน แพทย์หมุนเวียน 1 คน
- ทันตแพทย์ 2 คน
- เภสัชกร 3 คน
- พยาบาลวิชาชีพ 24 คน
- พยาบาลเทคนิค 1 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข 3 คน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง (สถานีตำรวจภูธรห้วยทับทัน)
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลห้วยทับทัน มีอัตรากำลังและเครื่องมือป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย ดังนี้
- รถยนต์ดับเพลิงขนาดความจุ 4,000 ลิตร 1 คัน
- รถบรรทุกน้ำขนาดความจุ 10,000 ลิตร 1 คัน
- พนักงานขับรถดับเพลิง 1 คน
- พนักงานดับเพลิง 3 คน
- เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 คน
การดูแลสิ่งแวดล้อม
อัตรากำลังและเครื่องมือเครื่องใช้ของเทศบาลในด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
- รถยนต์เก็บขยะแบบเปิดข้างเทท้าย ขนาดความจุ 12 ลูกบาศก์หลา 1 คัน
- พนักงานขับรถขยะ 2 คน
- พนักงานประจำรถเก็บขยะ 6 คน
- ปริมาณขยะมูลฝอยต่อวัน 1.5 ตัน
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
พื้นฐานหลักทางเศรษฐกิจ
สภาพโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจของประชากรในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว พริก และผักอื่นๆ นอกจากนั้น มีประชากรบางส่วนประกอบอาชีพค้าขาย ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้างทั่วไป ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 40,526 บาท/ปี
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- ประเภทพาณิชยกรรมและการบริการ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการค้าปลีก ซึ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
- ร้านขายของชำ จำนวน 48 ร้าน
- ร้านขายอาหาร(ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 12 ร้าน
- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 4 ร้าน
- ร้านบริการเสริมสวยและตัดผม จำนวน 6 ร้าน
- ร้านรับซ่อมเครื่องยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 6 ร้าน
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 2 แห่ง
- ประเภทอุตสาหกรรม : โรงสีข้าว จำนวน 2 แห่ง
- ประเภทบริการธุรกรรมทางการเงิน : ธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน (ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารไทยพาณิชย์)
โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
การคมนาคมและขนส่ง
- ทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน(ตัวอำเภอห้วยทับทัน) โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ช่วงศรีสะเกษ-สุรินทร์)เป็นระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางให้บริการคือรถตู้ปรับอากาศสายศรีสะเกษ-สุรินทร์
นอกจากนั้น ยังมีบริการรถยนต์โดยสารปรับอากาศจากต้นทางในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี หยุดรับส่งผู้โดยสารจากอำเภอห้วยทับทัน(ในเขตเทศบาลห้วยทับทัน)สู่ปลายทางที่กรุ
งเทพมหานคร
- ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาลมี ทั้งสิ้น 51 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 37 สาย ระยะทางรวม 15.83 กิโลเมตร
- ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 0.59 กิโลเมตร
- ถนนดิน จำนวน 4 สาย ระยะทางรวม 3.87 กิโลเมตร
- ถนนหินคลุก จำนวน 8 สาย ระยะทางรวม 7.82 กิโลเมตร
- ทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(นครราชสีมา-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี)มีบริการรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วนและรถด่วนพิเศษ หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีรถไฟห้วยทับทัน ในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน
ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7 แห่ง
พลังงานไฟฟ้า
ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าสาธารณะใช้ทั่วถึงครบทั้ง 7 ชุมชน
การประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ
เทศบาลไม่มีการประปาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยการบริการจากประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีครัวเรือนในเขตเทศบาลที่ใช้น้ำประปาประมาณร้อยละ 20
การใช้ที่ดิน
เทศบาลตำบลห้วยทับทันมีพื้นที่รวมประมาณ 6,125 ไร่ แยกตามประเภทการใช้ประโยชน์และขนาดพื้นที่โดยประมาณเฉลี่ยต่อไร่ ดังนี้
- ที่พักอาศัย ประมาณ 1,100 ไร่
- พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 4,900 ไร่
- พื้นที่หน่วยงาน ประมาณ 20 ไร่
- พื้นที่สถานศึกษา ประมาณ 40 ไร่
- พื้นที่อุตสาหกรรม ประมาณ 30 ไร่
- พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 20 ไร่
อ้างอิง
- ↑ ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
- ↑ ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 109 ตอนที่ 126 หน้า 60 ลงวันที่ 30 กันยายน 2535
- ↑ พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
- ↑ ข้อมูลสรุปจำนวนประชากรและครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน จัดทำโดยเทศบาลตำบลห้วยทับทัน เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.huaithapthan.com/data1.html เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- ↑ ข้อมูลสรุปจำนวนและการแบ่งเขตชุมชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน จัดทำโดยเทศบาลตำบลห้วยทับทัน เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.huaithapthan.com/data1.html เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข้อมูลสรุปโครงสร้างการบริหารงานกองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยทับทัน จัดทำโดยเทศบาลตำบลห้วยทับทัน เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.huaithapthan.com/structor.html เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- เทศบาลตำบลห้วยทับทัน.รายงานติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เทศบาลตำบลกำแพง ปี 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลห้วยทับทัน
แหล่งข้อมูลอื่น