เทพเจ้าอียิปต์โบราณ![]() เทพเจ้าอียิปต์โบราณ เป็นเทพและเทพีที่ได้รับการเคารพบูชาในช่วงสมัยอียิปต์โบราณ ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพเจ้าดังกล่าวก่อตัวเป็นแกนหลักของศาสนาอียิปต์โบราณ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เทพเป็นตัวแทนของพลังธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ และชาวอียิปต์ได้เคารพบูชาและเอาใจทวยเทพผ่านการเซ่นไหว้และพิธีกรรม เพื่อให้พลังเหล่านี้ยังคงทำงานต่อไปตามมาอัตหรือบัญชาจากสวรรค์ หลังจากการก่อตั้งรัฐอียิปต์ประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล อำนาจในการดำเนินการดังกล่าวถูกควบคุมโดยฟาโรห์ ซึ่งอ้างพระองค์ว่าทรงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าและทรงเป็นผู้จัดการวิหารที่ประกอบพิธีกรรม ลักษณะที่ซับซ้อนของเทพเจ้าถูกแสดงออกมาในตำนานและในความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนระหว่างเทพเจ้า เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์แบบกลุ่มและลำดับชั้นอย่างหลวม ๆ และการรวมกันของเทพเจ้าที่แยกจากกันเป็นหนึ่งเดียว รูปลักษณ์ที่หลากหลายของเทพในงานศิลปะ เช่น สัตว์ มนุษย์ สิ่งของ และการผสมผสานรูปแบบต่างๆ กัน ยังเกี่ยวถึงคุณลักษณะที่สำคัญของเทพเหล่านั้นผ่านสัญลักษณ์ด้วย ในยุคต่างๆ เทพเจ้าทั้งหลายได้รับการกล่าวขานว่าทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคมศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงสุริยเทพรา เทพอามุนผู้ลึกลับ และเทพีไอซิสผู้เป็นพระมารดา เทพสูงสุดมักจะให้มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโลกและมักเกี่ยวข้องกับพลังแห่งชีวิตของดวงอาทิตย์ นักวิชาการบางคนโต้แย้งว่าชาวอียิปต์รับรู้ถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังทุกสิ่งและมีอยู่ในตัวเทพพระองค์อื่นทั้งหมด โดยอ้างอิงจากงานเขียนของชาวอียิปต์ ถึงกระนั้นก็ไม่เคยละทิ้งมุมมองที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ดั้งเดิมที่มีต่อโลก เว้นแต่เป็นไปได้ว่าในช่วงสมัยของลัทธิอาเตนนิยมในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อศาสนาอย่างเป็นทางการมุ่งความสนใจไปที่เทพสุริยะที่เป็นนามธรรมเท่านั้น ซึ่งก็คือ เทพอาเตน สันนิษฐานว่า เทพเจ้ามีอยู่ทั่วโลกสามารถมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับพระองค์ในวิหารและศาลเจ้าด้วยเหตุผลส่วนตัว เช่นเดียวกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าของพิธีกรรมของรัฐ ชาวอียิปต์สวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากสวรรค์ ใช้พิธีกรรมเพื่อบังคับให้เทพเจ้าทำตาม และขอคำแนะนำจากพระองค์ และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทพเจ้าเป็นส่วนสำคัญของสังคมอียิปต์ การนิยามเทพเจ้าอียิปต์โบราณ
การปรากฏอยู่ของสิ่งหนึ่งในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณที่อาจจะถูกนิยามว่าเป็นเทพเจ้านั้นยากที่จะนับ ตำราอียิปต์ระบุพระนามเทพเจ้าหลายพระองค์ที่ไม่ทราบลักษณะ และอ้างอิงทางอ้อมถึงเทพพระองค์อื่นที่คลุมเครือซึ่งไม่ได้ระบุพระนามด้วยซ้ำ[2] เจมส์ พี. อัลเลน นักไอยคุปต์วิทยาประเมินว่ามีเทพเจ้ามากกว่า 1,400 พระองค์ที่มีพระนามอยู่ในตำราอียิปต์[3] ในขณะที่คริสเตียน ลีตซ์ ได้กล่าวว่ามีเทพเจ้าเป็น "พันๆ ต่อพัน"[4] คำศัพท์ในภาษาอียิปต์สำหรับสิ่งหนึ่งดังกล่าว คือ nṯr, "เทพ" และคำศัพท์ในเพศหญิงคือ nṯrt, "เทพี"[5] นักวิชาการได้พยายามแยกแยะธรรมชาติดั้งเดิมของเทพเจ้าจากรากศัพท์ของคำดังกล่าว แต่ไม่มีข้อสันนิษฐานใดที่เป็นที่ยอมรับ และที่มาของคำดังกล่าวนั้นยังคงคลุมเครือ อักษรอียิปต์โบราณที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และตัวกำหนดในการเขียนคำเหล่านั้นได้แสดงลักษณะบางอย่างที่ชาวอียิปต์เชื่อมโยงกับความเป็นพระเจ้า[6] สัญลักษณ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ สัญลักษณ์ธงที่สะบัดบนเสา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวัตถุที่คล้ายกันนี้ถูกวางไว้ที่ทางเข้าของวิหาร และแสดงถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าตลอดประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ อักษรอียิปต์โบราณอื่นๆ เช่น นกเหยี่ยว ซึ่งชวนให้นึกถึงเทพเจ้าในยุคแรกหลายพระองค์ที่ถูกพรรณนาว่าเป็นนกเหยี่ยว และเทพหรือเทพีในท่าอิริยาบถประทับนั่ง[7] เทพในรูปสตรีสามารถเขียนได้ด้วยใช้สัญลักษณ์รูปไข่เป็นตัวกำหนด และเชื่อมโยงเทพีเข้ากับการสร้างและกำเนิด หรือกับงูเห่า สะท้อนถึงการใช้งูเห่าเพื่อพรรณนาเทพสตรีหลายพระองค์[6] ชาวอียิปต์ได้แยกแยะคำว่า nṯrw "เทพเจ้า" จาก rmṯ ซึ่งแปลว่า "มนุษย์" แต่ความหมายของคำในภาษาอียิปต์และภาษาอังกฤษไม่ตรงกันมากนัก โดยคำว่า nṯr อาจจะใช้กับสิ่งหนึ่งใดๆ ก็ตามที่อยู่นอกขอบเขตของชีวิตประจำวันในทางใดทางหนึ่ง[8] มนุษย์ที่ตายแล้วถูกเรียกว่า nṯr เพราะถือว่าเป็นเหมือนเทพเจ้า[9] ในขณะที่คำดังกล่าวไม่ค่อยใช้กับสิ่งเหนือธรรมชาติที่ด้อยกว่าของอียิปต์จำนวนมาก ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่มักจะเรียกสิ่งมีชีวิตดังกล่าวว่า "ปีศาจ"[4] ศิลปะทางศาสนาของอียิปต์ยังแสดงสถานที่ วัตถุ และแนวคิดในรูปแบบของมนุษย์ ความคิดที่เป็นตัวเป็นตนดังกล่าวปรากฏขึ้นนับตั้งแต่เทพเจ้าที่มีความสำคัญในตำนานและพิธีกรรมไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่คลุมเครือ ซึ่งถูกกล่าวถึงเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพียงคำอุปมาอุปมัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[10] ปัญหากับความแตกต่างที่คลุมเครือเหล่านี้ระหว่างเทพเจ้าและการปรากฏอยู่ของสิ่งหนึ่งอื่นๆ โดยนักวิชาการได้เสนอคำจำกัดความต่างๆ ของ "เทพ" คำจำกัดความที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางข้อสันนิษฐานแรก[4] ซึ่งเสนอโดยแจน อัสมันน์ ได้กล่าวว่าเทพพระองค์หนึ่งมีลัทธิบูชา ทรงมีส่วนร่วมในบางแง่มุมของจักรวาล และทรงอธิบายไว้ในตำนานหรือรูปแบบอื่นๆ ของประเพณีที่เป็นลายลักษณ์อักษร[11] ตามคำจำกัดความที่แตกต่างกันโดยดิมิทรี มีกส์ ซึ่งไม่ใช้กับสิ่งหนึ่งใดๆ ที่เป็นจุดสนใจของพิธีกรรม จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว "เทพเจ้า" รวมถึงกษัตริย์ ซึ่งถูกเรียกว่าเทพเจ้า หลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว และวิญญาณผู้ล่วงลับที่เข้าสู่อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ผ่านพิธีศพ ในทำนองเดียวกัน ความยิ่งใหญ่ของเหล่าทวยเทพยังคงรักษาไว้ได้ด้วยการอุทิศตนตามพิธีกรรมที่กระทำเพื่อพระองค์ทั่วอียิปต์[12] ที่มาของเทพเจ้าอียิปต์โบราณหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกเกี่ยวกับเทพเจ้าในอียิปต์มาจากช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้น (ประมาณ 3100 – 2686 ปีก่อนคริสตกาล)[13] โดยเทพเจ้าอียิปต์โบราณจะต้องปรากฏขึ้นแล้วในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์ (ก่อน 3100 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนามาจากความเชื่อทางศาสนาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ งานศิลปะก่อนยุคราชวงศ์ได้แสดงให้เห็นรูปร่างสัตว์และมนุษย์ที่หลากหลาย ภาพดังกล่าวบางภาพ เช่น ดวงดาวและฝูงวัว ซึ่งชวนให้นึกถึงลักษณะสำคัญของศาสนาอียิปต์ในช่วงเวลาต่อมา แต่ในกรณีส่วนใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานเพียงพอที่จะอธิบายว่าภาพเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือไม่ เมื่อสังคมอียิปต์เจริญเติบโตขึ้น สัญลักษณ์ที่ชัดเจนของกิจกรรมทางศาสนาก็ปรากฏขึ้น[14] วิหารที่เก่าแก่ที่สุดที่ทราบนั้นปรากฏในช่วงศตวรรษสุดท้ายของสมัยก่อนยุคราชวงศ์[15] พร้อมกับภาพที่คล้ายกับสัญลักษณ์ของเทพเจ้า เช่น นกเหยี่ยว ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพฮอรัสและเทพเจ้าอื่นๆ หลายพระองค์ สัญลักษณ์ลูกศรไขว้ที่หมายถึงเทพีนิอิธ[16] และ "สัตว์เซธ" อันลึกลับก็แสดงถึงเทพเซธ[17] ![]() นักไอยคุปต์วิทยาและนักมานุษยวิทยาหลายคนได้เสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของเทพเจ้าในสมัยแรก ๆ นี้[18]ตัวอย่างเช่น กุสตาฟ เยควิเออร์ เชื่อว่าชาวอียิปต์นับถือเครื่องรางดั้งเดิมมาเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงนับถือเทพเจ้าในร่างสัตว์ และสุดท้ายก็นับถือเทพเจ้าในร่างมนุษย์ ในขณะที่เฮนรี แฟรงฟอร์ทได้โต้แย้งว่าเทพเจ้าจะต้องถูกจินตนาการให้อยู่ในร่างมนุษย์มาตั้งแต่ต้นแล้ว[16] ข้อสันนิษฐานเหล่านี้บางส่วนถูกมองว่าสรุปง่ายเกินไป[19] และข้อสันนิษฐานอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น สมมติฐานของซิกฟรีด โมเรนซ์ ที่ว่าเทพถือกำเนิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มแยกแยะตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อ 'แสดงตัวตน' ความคิดเกี่ยวกับเทพ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนั้นกลับพิสูจน์ได้ยาก[16] อียิปต์ในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์นั้นเดิมที่แล้วประกอบด้วยหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่อย่างอิสระ[20] ทำให้เทพเจ้าหลายพระองค์ในช่วงเวลาต่อมามีความผูกผันอย่างมากกับเฉพาะแต่ละเมืองและภูมิภาค นักวิชาการหลายคนเสนอความเห็นว่าวิหารแพนธีออนก่อตัวขึ้น เมื่อชุมชนที่แตกต่างกันรวมกันเป็นรัฐที่ใหญ่ขึ้น แพร่กระจายและผสมผสานการบูชาเทพเจ้าในท้องถิ่นแบบเก่า ส่วนคนอื่นก็ได้โต้แย้งว่าเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์ก็เหมือนกับองค์ประกอบอื่นๆ ของวัฒนธรรมอียิปต์มีอยู่ทั่วพื้นที่ ถึงแม้จะมีความแตกแยกทางการเมืองก็ตาม[21] ช่วงสุดท้ายในการก่อตัวของศาสนาอียิปต์โบราณ คือ การรวมอาณาจักรอียิปต์เข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ปกครองจากอียิปต์บนได้ทรงตั้งพระองค์เป็นฟาโรห์ปกครองทั้งอาณาจักร[14] กษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์และผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าวได้ทรงถือสิทธิ์ในการติดต่อกับเทพเจ้า[22] และความเป็นกษัตริย์ก็กลายเป็นจุดรวมของศาสนา[14] เทพพระองค์ใหม่ได้ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เทพสำคัญบางพระองค์เช่น ไอซิสและอามุน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนจนกระทั่งมาปรากฏในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า (ประมาณ 2686–2181 ปีก่อนคริสตกาล)[23] สถานที่และแนวคิดสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างเทพเจ้าเพื่อเป็นตัวแทน[24] และบางครั้งเทพเจ้าก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเพศตรงข้ามกับเทพหรือเทพีที่เป็นที่เคารพบูชา[25] กษัตริย์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระเจ้า ถึงแม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่พระองค์เท่านั้นที่ยังคงได้รับการเคารพบูชาต่อไปอีกนานหลังจากการเสด็จสวรรคต สามัญชนบางคนก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นที่โปรดปรานของเทพเจ้าและได้รับการเคารพตามนั้น[26] ความเลื่อมใสดังกล่าวมักจะอยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่สถาปนิกในราชสำนักอย่างอิมโฮเทปและอเมนเอมฮัต บุตรแห่งฮาปุ กลับได้รับการบูชาว่าเป็นเทพเจ้าเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษหลังจากมรณกรรม[27] เช่นเดียวกับขุนนางคนอื่นๆ[28] ชาวอียิปต์ยังรับเอาเทพเจ้าจากต่างแดนด้วยการติดต่อกับอารยธรรมใกล้เคียง เทพเดดูน ซึ่งถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งอาจจะมีที่มาจากนิวเบีย และเทพเจ้าบาอัล, เทพีอะนัต และเทพีอัสตาร์เต และเทพเจ้าอื่น ๆ ซึ่งเป็นเทพเจ้าจากศาสนาคานาอันที่รับเข้ามาในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ (ประมาณ 1550 – 1070 ปีก่อนคริสตกาล)[29] ในสมัยกรีกและโรมัน ตั้งแต่ 332 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ อียิปต์ได้นับถือเทพเจ้าจากดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ยังคงบูชาเทพเจ้าพื้นเมืองอยู่ และบ่อยครั้งที่จะรับเอาลัทธิของผู้มาใหม่ดังกล่าวมาใช้ในการบูชาของตนเอง[30] ลักษณะเฉพาะเทพเจ้าอียิปต์โบราณความรู้ในสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวอียิปต์เกี่ยวกับเทพเจ้าส่วนใหญ่มาจากงานเขียนทางศาสนาที่บันทึกโดยอาลักษณ์และนักบวช ซึ่งผู้คนเหล่านี้เป็นชนชั้นสูงของสังคมอียิปต์และแตกต่างจากประชาชนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่รู้หนังสือ และไม่ค่อยทราบว่าประชากรในวงกว้างนี้รู้หรือเข้าใจความคิดที่ซับซ้อนที่ชนชั้นสูงที่พัฒนาขึ้นได้ดีเพียงใด[31] การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับพระเจ้าอาจจะแตกต่างในแต่ละนักบวช ประชาชนอาจจะนำมาปฏิบัติต่อข้อความเชิงสัญลักษณ์ของศาสนาเกี่ยวกับเทพเจ้าและการกระทำว่าเป็นความจริงโดยแท้[32] แต่โดยรวมแล้ว สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่เป็นที่นิยมนั้นได้สอดคล้องกับประเพณีของชนชั้นสูง ทั้งสองประเพณีก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ที่เหนียวแน่นของเทพเจ้าและธรรมชาติของเทพเจ้า[33] บทบาทตัวอย่างเทพในศาสนาฮินดู (จากบน): พระวิษณุ พระพิฆเนศ พระศิวะ พระทุรคา พระกาลี และพระสรัสวดี เทพอียิปต์ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือทางสังคม ซึ่งกล่าวกันโดยทั่วไปว่าเทพเจ้าทั้งหลายไม่ดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่จะสถิตอยู่ในธรรมชาติแทน[34] ประเภทของปรากฏการณ์ที่เทพเจ้าทรงเป็นตัวแทนนั้น ได้แก่ สถานที่และวัตถุทางกายภาพ ตลอดจนแนวคิดและแรงที่เป็นนามธรรม[35] เช่น เทพชู ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศทั้งหมดของโลก เทพีเมเรตเซเกอร์ ซึ่งทรงปกครองพื้นที่สุสานหลวงแห่งธีบส์ และเทพซิอา ซึ่งทรงเป็นบุคลาธิษฐานของการรับรู้ที่เป็นนามธรรม[36] เทพเจ้าที่สำคัญมักเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์หลายประเภท ตัวอย่างเช่น เทพคนุมทรงเป็นเทพเจ้าแห่งเกาะเอเลแฟนไทน์ที่อยู่ท่ามกลางแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมอียิปต์ พระองค์ได้รับการยกย่องจากการสร้างน้ำท่วมในแม่น้ำไนล์ประจำปี ซึ่งให้ปุ๋ยแก่พื้นที่เพาะปลูกของดินแดนอียิปต์ และบางทีอาจจะเป็นผลพลอยได้จากที่ทรงมีหน้าที่ให้ชีวิต ว่ากันว่าพระองค์ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดโดยปั้นรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นบนวงล้อของช่างปั้นหม้อ[37] เทพเจ้าสามารถมีส่วนร่วมในบทบาทเดียวกันในธรรมชาติ เช่น เทพรา, เทพอาตุม, เทพเคปริ, เทพฮอรัส และเทพอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์[38] ถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่หลากหลาย แต่เทพเจ้าส่วนใหญ่ก็มีบทบาทสำคัญเหมือนกัน นั่นคือการรักษามาอัต ซึ่งเป็นระเบียบสากลที่เป็นหลักการสำคัญของศาสนาอียิปต์โบราณและทรงเป็นบุคลาธิษฐานในฐานะเทพี[39] ถึงกระนั้นเทพบางพระองค์ก็เป็นตัวแทนของการรบกวนมาอัต โดยเทพที่โดดเด่นที่สุด คือ เทพอะเปป ซึ่งเป็นพลังแห่งความโกลาหล และคุกคามอย่างต่อเนื่องที่จะทำลายล้างระเบียบของจักรวาล และเทพเซธ เป็นเทพที่คลุมเครือของสังคมศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถต่อสู้กับความวุ่นวายและปลุกระดมความวุ่นวายได้[40] ไม่ใช่ทุกทุกสิ่งถูกมองว่าเป็นเทพเจ้า ถึงแม้ว่าเทพเจ้าหลายพระองค์จะเกี่ยวข้องกับแม่น้ำไนล์ แต่กลับไม่ปรากฏเทพเจ้าพระองค์ใดที่แสดงให้เห็นในลักษณะที่เทพราทรงเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์[41] และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำหรือสุริยุปราคาก็ไม่ได้เป็นตัวแทนใดของเทพเจ้า[42] รวมทั้งไฟ น้ำ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของโลก[43] บทบาทของเทพแต่ละพระองค์นั้นมีความลื่นไหล และเทพแต่ละพระองค์ก็ทรงสามารถพัฒนาธรรมชาติเพื่อรับลักษณะใหม่ได้ เป็นผลให้บทบาทของเทพเจ้าเป็นเรื่องยากที่จะจัดหมวดหมู่หรือให้คำจำกัดความ ถึงแม้จะมีความลื่นไหลในบทบาท แต่เหล่าทวยเทพก็ทรงมีความสามารถและอิทธิพลที่จำกัด แม้แต่เทพเจ้าผู้สร้างก็ทรงไม่สามารถไปถึงขอบเขตของจักรวาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาได้ และแม้แต่เทพีไอซิส แม้ว่าพระองค์จะถูกกล่าวว่าเป็นเทพเจ้าที่ฉลาดที่สุด แต่ก็กลับไม่ได้เป็นสัพพัญญู (ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง)[44] อย่างไรก็ตาม ริชาร์ด เอช. วิลกินสันได้โต้แย้งว่าข้อความบางส่วนจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ตอนปลายที่บันทึกว่า เมื่อความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าอามุนได้พัฒนาขึ้น พระองค์กลับทรงมีความคิดที่จะเข้าใกล้ความเป็นสัพพัญญูและอุตรภาพ (การอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง) และก้าวข้ามขีดจำกัดของโลกในแบบที่เทพเจ้าพระองค์อื่นทำไม่ได้[45] เทพเจ้าที่ทรงมีขอบเขตจำกัดและเชี่ยวชาญที่สุด มักจะเรียกว่า "เทพเจ้ารอง" หรือ "ปีศาจ" ในงานเขียนสมัยใหม่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนสำหรับคำศัพท์เหล่านี้ก็ตาม[46] ปีศาจบางตัวได้เป็นผู้พิทักษ์สถานที่บางแห่ง โดยเฉพาะในดูอัต ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความตาย ผู้อื่นที่ท่องไปในโลกมนุษย์และดูอัต ไม่ว่าจะเป็นคนรับใช้และผู้ส่งสารของเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือเป็นวิญญาณเร่ร่อนที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความโชคร้ายอื่น ๆ ในหมู่มวลมนุษย์[47] ส่วนตำแหน่งของปีศาจในลำดับชั้นของเทพเจ้านั้นไม้ได้ถูกจำกัด เดิมทีแล้วเทพผู้คุ้มครองอย่างเบสและทาเวเรต ซึ่งทรงมีบทบาทเล็กน้อยที่มีลักษณะคล้ายปีศาจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก[46] และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในดูอัต ซึ่งถูกมองว่าน่ารังเกียจและเป็นอันตรายต่อมนุษย์[48] ตลอดประวัติศาสตร์อียิปต์ก็ถูกมองว่าเป็นสมาชิกที่ต่ำต้อยโดยพื้นฐานในสังคมแห่งสวรรค์[49] และเป็นตัวแทนที่ตรงกันข้ามกับเทพเจ้าหลักที่เป็นประโยชน์และเป็นผู้ทรงให้ชีวิต[48] ถึงกระนั้นเทพผู้เป็นที่เคารพสูงสุดในบางครั้งยังสามารถแก้แค้นมนุษย์หรือเทพเจ้าซึ่งกันและกันได้ โดยแสดงด้านที่เหมือนกับปีศาจและทำให้ขอบเขตระหว่างปีศาจกับเทพเจ้าจางไป[50] พฤติกรรมเชื่อว่าพฤติกรรมของพระเจ้าจะควบคุมธรรมชาติทั้งหมด[51] ยกเว้นเทพเจ้าเพียงไม่กี่พระองค์ที่จะทำลายระเบียบสวรรค์[40] การกระทำของเหล่าทวยเทพยังคงรักษามาอัตและสร้างและค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด[39] เหล่าทวยเทพทรงกระทำเช่นนี้โดยทรงใช้กำลังที่ชาวอียิปต์เรียกว่า เฮคา ซึ่งเป็นคำที่มักแปลว่า "เวทมนตร์" โดยที่เฮคาเป็นพลังพื้นฐานที่เทพเจ้าผู้สร้างใช้สร้างโลกและตัวของเทพเจ้าเอง[52] การกระทำของเทพเจ้าในปัจจุบันได้รับการอธิบายและยกย่องในเพลงสวดและข้อความเกี่ยวกับพิธีศพ[53] ในทางตรงกันข้าม เทพปกรณัมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของเหล่าทวยเทพในช่วงอดีตที่จินตนาการอย่างคลุมเครือ ซึ่งทวยเทพที่สถิตอยู่บนโลกและมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับมนุษย์ เหตุการณ์ในครั้งอดีตดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบสำหรับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นตำนาน การสืบราชสันตติวงศ์ของฟาโรห์พระองค์ใหม่แต่ละองค์เป็นการจำลองการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ของเทพโอซิริสผู้เป็นบิดาอีกครั้งของเทพฮอรัส[54] ตำนานเป็นคำอุปมาสำหรับการกระทำของเทพเจ้า ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏความคิดที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน โดยแต่ละตำนานได้แสดงมุมมองเฉพาะเกี่ยวกับเหตุการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ ความขัดแย้งในตำนานเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ที่มีหลายแง่มุม ซึ่งเป็นสิ่งที่เฮนรี แฟรงก์ฟอร์ตเรียกว่า "แนวทางที่หลากหลาย" เพื่อทำความเข้าใจเทพเจ้า[55] ในตำนานเทพเจ้ามีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์มาก เหล่าทวยเทพสามารถรู้สึกถึงอารมณ์ กิน ดื่ม ต่อสู้ ร้องไห้ เจ็บป่วย และตายได้[56] บางพระองค์ก็ทรงมีลักษณะนิสัยเฉพาะพระองค์[57] เช่น เทพเซธที่ทรงก้าวร้าวและหุนหันพลันแล่น และเทพธอธ ผู้ทรงอุปถัมภ์งานเขียนและความรู้ ทรงมีแนวโน้มที่จะใช้สุนทรพจน์ยืดยาว แต่โดยรวมแล้ว เหล่าทวยเทพเป็นเหมือนแม่แบบมากกว่าตัวละครที่วาดมาอย่างดี[58] ตำนานในรุ่นที่ต่างกันก็สามารถพรรณนาถึงเทพต่างๆ ที่มีบทบาทตามแบบฉบับเดียวกันได้ ดังเช่นในตำนานเรื่องพระเนตรแห่งรา ซึ่งเป็นลักษณะสตรีของเทพแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งมีเทพีหลายพระองค์เป็นตัวแทน[59] พฤติกรรมที่เป็นเทพปกรณัมไม่สอดคล้องกัน และความคิดและแรงจูงใจของเหล่าทวยเทพกลับไม่ค่อยมีการกล่าวถึง[60] นิทานปรัมปราส่วนใหญ่ไม่ปรากฏตัวละครและโครงเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างสูง เนื่องจากความหมายเชิงสัญลักษณ์นั้นมีความสำคัญมากกว่าการเล่าเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน[61] การกระทำอันศักดิ์สิทธิ์ประการแรก คือ การสร้างจักรวาล ซึ่งอธิบายไว้ในตำนานการสร้างโลกหลายเรื่อง โดยมุ่งเน้นไปที่เทพเจ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละพระองค์อาจจะทำหน้าที่เป็นเทพผู้สร้าง[62] เช่น เทพเจ้าทั้งแปดของอ็อกโดอัด ซึ่งเป็นตัวแทนของความโกลาหลที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างโลก ได้ทรงให้กำเนิดเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ผู้ซึ่งสร้างระเบียบในโลกที่ก่อตัวขึ้นใหม่ เทพพทาห์ ผู้รวบรวมความคิดและความคิดสร้างสรรค์ ทรงสร้างรูปแบบให้กับทุกสิ่งโดยการจินตนาการและตั้งชื่อสิ่งเหล่านั้น[63] เทพอาตุม ทรงสร้างทุกสิ่งโดยการปล่อยให้งอกออกมาจากตัวพระองค์เอง[3] และเทพอามุนตามเทววิทยาที่ได้รับการสนับสนุนโดยปุโรหิตของพระองค์ ผู้ทรงก่อนกาลและทรงสร้างเทพผู้สร้างพระองค์อื่นๆ[64] เหตุการณ์การสร้างเหล่านี้และรูปแบบอื่นๆ ไม่ถูกมองว่าขัดแย้งกัน แต่ละคนได้ให้มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งจักรวาลที่มีการจัดระเบียบและเทพจำนวนมากเกิดขึ้นจากความโกลาหลที่ไม่แตกต่างกัน[65] ช่วงเวลาหลังการทรงสร้างโลก ซึ่งเทพเจ้าหลายพระองค์ปกครองในฐานะกษัตริย์เหนือสังคมแห่งสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานส่วนใหญ่ เหล่าทวยเทพต่อสู้กับกองกำลังแห่งความโกลาหลและระหว่างกันก่อนที่จะถอนตัวออกจากโลกมนุษย์และแต่งตั้งกษัตริย์ในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ขึ้นปกครองแทน[66] เรื่องราวที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในตำนานเหล่านี้ คือ ความพยายามของเหล่าทวยเทพในการดูแลรักษามาอัตจากพลังแห่งความยุ่งเหยิง เหล่าทวยเทพต่อสู้กับการต่อสู้ที่เลวร้ายด้วยกองกำลังแห่งความโกลาหลในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโลก ส่วนเทพราและเทพอะเปปทรงต่อสู้กันทุกคืน และการต่อสู้ดังกล่าวก็ดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน[67] ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความตายและการฟื้นคืนชีพของเหล่าทวยเทพ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่เทพเจ้าสิ้นพระชนม์ คือ ตำนานเกี่ยวกับการลอบพระชนม์ของเทพโอซิริส ซึ่งทรงฟื้นคืนชีพในฐานะผู้ปกครองแห่งดูอัต[68][Note 1] และยังกล่าวกันว่าเทพแห่งดวงอาทิตย์ทรงชราขึ้นในระหว่างการเดินทางข้ามฟากฟ้าในแต่ละวัน และจมลงไปใน ดูอัตในเวลากลางคืนและทรงกลายเป็นเด็กในตอนเช้า ในกระบวนการดังกล่าว พระองค์ได้สัมผัสกับน้ำแห่งการฟื้นฟูของเทพนูน ซึ่งเป็นความโกลาหลในสมัยแรกเริ่ม ข้อความเกี่ยวกับพิธีศพที่ได้บรรยายถึงการเดินทางของเทพราผ่านดินแดนดูอัตยังได้แสดงให้เห็นซากศพของเทพเจ้าที่ฟื้นคืนชีพไปพร้อมกับพระองค์ด้วย แทนที่จะเป็นอมตะอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เหล่าทวยเทพมักจะตายและเกิดใหม่ตามเหตุการณ์การสร้างซ้ำๆ ซึ่งได้สร้างโลกทั้งใบขึ้นใหม่[69] อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้เสมอที่วัฏจักรนี้จะหยุดชะงักและความวุ่นวายจะกลับมา ตำราอียิปต์บางเล่มที่เข้าใจได้ไม่ดีถึงกับบันทึกว่าภัยพิบัติดังกล่าวถูกกำหนดไว้แล้วว่าสักวันหนึ่งเทพเจ้าผู้สร้างจะสลายระเบียบของโลก เหลือเพียงตัวพระองค์เองและเทพโอซิริสท่ามกลางความโกลาหลในสมัยบรรพกาล[70] สถานที่![]() เทพเจ้าได้เชื่อมโยงกับภูมิภาคเฉพาะของจักรวาล ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ โลกประกอบด้วยดิน ท้องฟ้า และยมโลก สิ่งรอบตัวคือความไร้รูปแบบอันมืดมนที่มีอยู่ก่อนการสร้างโลก[71] กล่าวกันว่าเทพเจ้าโดยทั่วไปอาศัยอยู่บนท้องฟ้า ถึงแม้ว่าเทพเจ้าที่ทรงมีบทบาทเชื่อมโยงกับส่วนอื่น ๆ ของจักรวาลจะอาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านั้นแทน เหตุการณ์ในตำนานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่เทพเจ้าจะถอนตัวจากอาณาจักรมนุษย์ โดยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมบนโลก เทพเจ้าในที่แห่งนั่นบางครั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่บนท้องฟ้า ตรงกันข้าม ยมโลกถือเป็นสถานที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ และเทพเจ้าที่อาศัยอยู่ที่นั่นมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้ที่อยู่ในโลกของสิ่งมีชีวิต[72] พื้นที่นอกจักรวาลยังกล่าวได้ว่าห่างไกลมาก ซึ่งก็เป็นที่อยู่ของเทพเช่นกัน บางพระองค์เป็นศัตรูและบางพระองค์ก็เป็นมิตรต่อเทพอื่น ๆ และโลกที่เป็นระเบียบ[73] ในช่วงเวลาหลังตำนานกล่าวกันว่า เทพเจ้าส่วนใหญ่ทรงอยู่บนท้องฟ้าหรืออยู่ในโลกที่มองไม่เห็น วิหารถือเป็นสื่แกลางหลักในการติดต่อกับมนุษย์ ในแต่ละวัน เชื่อกันว่า เหล่าทวยเทพจะย้ายจากแดนสวรรค์มายังวิหารอันเป็นที่อยู่ของพระองค์ในโลกมนุษย์ ที่นั่นเหล่าทวยเทพทรงอาศัยอยู่ในรูปเคารพบูชา รูปสลักที่แสดงถึงเทพเจ้าและอนุญาตให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับพระองค์ในพิธีกรรมของวิหาร การย้ายไปมาระหว่างอาณาจักรเช่นนี้บางครั้งถูกอธิบายว่าเป็นการเดินทางระหว่างท้องฟ้าและโลก เนื่องจากวิหารเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองอียิปต์ เทพเจ้าในวิหารหลักของเมืองจึงเป็นเทพผู้ทรงอุปถัมภ์ของเมืองและบริเวณโดยรอบ[74] ขอบเขตอิทธิพลของเทพเจ้าบนโลกมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองและภูมิภาคที่พระองค์ทรงปกครอง[71] เทพเจ้าหลายพระองค์ทรงมีศูนย์กลางลัทธิบูชามากกว่าหนึ่งแห่งและความสัมพันธ์ในท้องถิ่นของพระองค์ก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา พระองค์ทรงสามารถจัดตั้งพระองค์เองในเมืองใหม่หรือขอบเขตอิทธิพลของพระองค์อาจจะลดขนาดลง ดังนั้น ศูนย์กลางลัทธิหลักของเทพพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ จึงไม่จำเป็นต้องเป็นแหล่งกำเนิดของเทพพระองค์นั้นเสมอไป[75] อิทธิพลทางการเมืองของเมืองอาจจะส่งผลต่อความสำคัญของเทพผู้ทรงอุปถัมภ์ เมื่อกษัตริย์จากธีบส์เข้าควบคุมประเทศในช่วงเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลาง (ประมาณ 2055 – 1650 ปีก่อนคริสตกาล) ก็ทรงได้ยกระดับเทพเจ้าผู้ทรงอุปถัมภ์ของธีบส์ อันดับแรกคือเทพเจ้าแห่งสงครามนามว่า มอนตู และจากนั้นก็เป็นเทพอามุนให้เป็นที่เคารพบูชาทั่วพระราชอาณาจักร[76] พระนามและฉายาในความเชื่อของชาวอียิปต์ ชื่อจะแสดงถึงลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่พวกเขาอ้างถึง เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อดังกล่าว พระนามของเทพเจ้าก็มักจะเกี่ยวข้องกับบทบาทหรือต้นกำเนิดของพระองค์ เช่น พระนามของเทพีแห่งผู้ล่าพระนามว่า เซคเมต (Sekhmet) หมายถึง "ผู้ทรงพลัง" พระนามของเทพเจ้าลึกลับอย่างเทพอามุน หมายถึง "ผู้ซ่อนเร้น" และพระนามของเทพีเนคเบต ซึ่งได้รับการบูชาในเมืองเนเคบ หมายถึง "พระองค์แห่งเนเคบ" ส่วนพระนามอื่น ๆ มากมายไม่มีความหมาย ถึงแม้ว่าเทพเจ้าจะทรงเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบทบาทเพียงบทบาทเดียว เช่น พระนามของเทพีแห่งท้องฟ้าพระนามว่า นุต และเทพเกบ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งดินที่ไม่ปรากฏพระนามที่พ้องกับคำศัพท์อียิปต์ของท้องฟ้าและพื้นดิน[77] ![]() ชาวอียิปต์ยังคิดค้นประดิษฐ์คำ ซึ่งให้ความหมายเพิ่มเติมแก่พระนามอันศักดิ์สิทธิ์[77] ข้อความในข้อความโลงศพได้บันทึกพระนามของเทพเจ้าแห่งพิธีศพ คือ เทพโซคาร์ (Soka) เป็น sk r ซึ่งหมายถึง "การทำความสะอาดปาก" เพื่อเชื่อมโยงพระนามของพระองค์กับบทบาทของพระองค์ในพิธีกรรมเปิดปาก[78] ในขณะที่หนึ่งในข้อความพีระมิด กล่าวว่าพระนามดังกล่าวมาจากคำที่เทพโอซิริสตะโกนในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ใจ โดยเชื่อมโยงให้เทพโซคาร์เป็นเทพเจ้าแห่งพิธีศพที่สำคัญที่สุด[79] เชื่อกันว่าเทพเจ้าทรงมีหลายพระนาม ในหมู่ทวยเทพต่างก็มีพระนามลับที่สื่อถึงธรรมชาติที่แท้จริงอย่างลึกซึ้งกว่าพระองค์อื่นๆ หากต้องการทราบพระนามที่แท้จริงของเทพเจ้าจะต้องมีอำนาจเหนือเทพนั้น ความสำคัญของพระนามก็ได้แสดงให้เห็นโดยตำนานที่เทพไอซิสทรงวางยาพิษเทพผู้เหนือกว่าอย่างเทพรา และปฏิเสธที่จะรักษาพระองค์เว้นแต่พระองค์จะเปิดเผยพระนามลับของพระองค์แก่พระนางไอซิส เมื่อทราบพระนามแล้ว พระองค์ก็ทรงบอกกับเทพฮอรัส เทพผู้ทรงเป็นพระโอรสของพระองค์ และเมื่อทราบพระนามดังกล่าวแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็ทรงได้รับความรู้และพลังที่มากขึ้น[80] นอกจากพระนามแล้ว เทพเจ้ายังได้รับฉายาต่างๆ เช่น "ผู้ครอบครองความสง่างาม" "เจ้าแห่งอไบดอส" หรือ "เจ้าแห่งท้องฟ้า" ซึ่งอธิบายลักษณะบางอย่างของบทบาทหรือการบูชา เนื่องจากทวยเทพทรงมีบทบาทที่หลากหลายและทับซ้อนกัน ทวยเทพสามารถมีฉายาได้หลายพระนาม โดยเฉพาะทวยเทพที่ทรงสำคัญกว่าจะได้รับฉายามากขึ้น และฉายาเดียวกันนี้ก็สามารถนำไปใช้กับเทพหลายพระองค์ได้เช่นกัน[81] ในที่สุดคำบางคำก็กลายเป็นเทพที่แตกต่างกัน[82] เช่นเดียวกับฉายา เวเรตเฮคาอู (Werethekau) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกเทพีหลายพระองค์ซึ่งมีความหมายว่า "แม่มดผู้ยิ่งใหญ่" ซึ่งจะได้รับการปฏิบัติบูชาเสมือนเป็นเทพีอิสระ[83] เทพเจ้าของพระนามและยศศักดิ์เป็นการแสดงออกถึงธรรมชาติอันหลากหลายของเทพเจ้า[84] เพศและลักษณะทางเพศ![]() ชาวอียิปต์ถือว่าการแบ่งแยกระหว่างเพศชายและเพศหญิงเป็นพื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งเทพเจ้าด้วย[85] เทพเจ้าที่ทรงเป็นบุรุษมักจะทรงมีสถานะที่สูงกว่าเทพีและมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการสร้างโลกและความเป็นกษัตริย์ ในขณะที่เทพีมักจะเชื่อว่าทรงเป็นเทพแห่งการช่วยเหลือและหล่อเลี้ยงมนุษย์เสียมากกว่า[86][87] เทพบางพระองค์ทรงเป็นเทพที่ทรงเป็นทั้งสองเพศ แต่ตัวอย่างส่วนใหญ่พบในบริบทของตำนานการสร้างโลก ซึ่งเทพเจ้าเหล่านี้เป็นตัวแทนของสถานะที่ปราศจากความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ก่อนโลกถูกสร้างขึ้น[85] อ็อกโกอัด เป็นกลุ่มของเทพเจ้าในยุคบรรพกาลทั้งแปดพระองค์ล้วนมีรูปร่างที่เป็นสตรีและเป็นพระมเหสี เทพอาตุมซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทรงมีความเป็นบุรุษแต่มีความเป็นผู้หญิงอยู่ในตัวพระองค์ด้วยเช่นกัน[88] ซึ่งบางครั้งทรงถูกมองว่าเป็นเทพี ซึ่งรู้จักกันในพระนาม อิอูซาอาเซต (Iusaaset) หรือ เนเบตเฮเทปเอต (Nebethetepet)[89] ซึ่งตำนานการสร้างโลกเริ่มต้นขึ้นเมื่อเทพอาตุมทรงสร้างเทพเจ้าคู่หนึ่งที่มีความแตกต่างทางเพศ คือ เทพชูและเทพีเทฟนุต ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระองค์[85] ในทำนองเดียวกัน เทพีนิอิธ ซึ่งบางครั้งทรงถูกมองว่าเป็นเทพีผู้สร้าง และได้รับการกล่าวขานว่ามีลักษณะที่เป็นบุรุษ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมองว่าเป็นสตรี[88] เพศสรีระและเพศวิถีนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสร้างโลกและการเกิดใหม่[90] โดยเชื่อว่าเทพเจ้าที่ทรงเป็นบุรุษทรงมีบทบาทอย่างแข็งขันในการให้กำเนิดบุตร และเทพสตรีมักจะถูกผลักไสให้มีบทบาทสนับสนุนในการกระตุ้นความเป็นชายของพระสวามีและเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดา ถึงแม้ว่าเทพีจะได้รับบทบาทที่ใหญ่กว่าในการให้กำเนิดแล้วในช่วงปลายประวัติศาสตร์อียิปต์[91] เทพีที่มีทำหน้าที่เป็นมารดาและภรรยาในตำนานของกษัตริย์และเป็นแบบอย่างของการเป็นพระราชินีของมนุษย์[92] เทพีฮัตฮอร์ ซึ่งเป็นพระมารดาหรือพระชายาของเทพฮอรัสและทรงเป็นเทพีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์[93] พระองค์ทรงได้ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างเทพกับกษัตริย์[92] เทพสตรีก็ยังมีแง่มุมที่รุนแรงที่สามารถมองได้ทั้งในแง่บวก เช่นเดียวกับเทพีวาดเจตและเทพีเนคเบตที่ทรงปกป้องกษัตริย์ หรือในแง่ลบ[94] อย่างเช่น ตำนานเรื่องพระเนตรแห่งรา ซึ่งเปรียบเทียบความก้าวร้าวของสตรีกับเรื่องเพศและการเลี้ยงดู ขณะที่เทพีเหล่านั้นออกอาละวาดในรูปแบบของเทพีเซคเมตหรือเทพที่อันตรายอื่น ๆ จนกระทั่งเทพเจ้าพระองค์อื่น ๆ ทรงเอาใจพระองค์ เมื่อถึงจุดนั้นเทพีก็ทรงกลายเป็นเทพีที่จิตใจดี เช่น เทพีฮัตฮอร์ ซึ่งในบางครั้งก็ทรงเป็นเช่นนั้น แล้วต่อมากก็ทรงกลายเป็นพระมเหสีของเทพเจ้าบุรุษ[95][96] แนวคิดเรื่องเพศของชาวอียิปต์ได้เน้นหนักไปที่การสืบพันธุ์กับเพศตรงข้าม และการกระทำแบบรักร่วมเพศมักจะถูกไม่ยอมรับ ถึงแม้ว่าบางข้อความได้กล่าวถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศระหว่างเทพบุรุษ[97] ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทพเซธทรงล่วงละเมิดทางเพศเทพฮอรัส ซึ่งการกระทำเหล่านี้ใช้เพื่อยืนยันการครอบงำและทำให้ผู้ยอมจำนนอับอายขายหน้า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเทพบุรุษพระองค์อื่นๆ อาจจะถูกมองในเชิงบวกและถึงแม้กระทั่งทรงให้กำเนิดลูกหลาน ดังเช่นในข้อความหนึ่งที่กล่าวว่าเทพคนุมทรงประสูติจากการรวมตัวกันของเทพราและเทพชู[98] เชิงอรรถ
อ้างอิง
ผลงานที่อ้างถึง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia