เติ้ง อิ่งเชา
เติ้ง หยิ่งเชา (จีนตัวย่อ: 邓颖超; จีนตัวเต็ม: 鄧穎超; พินอิน: Dèng Yǐngchāo; ยฺหวิดเพ็ง: Dang6 Wing6-ciu1; 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1992) เป็นประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1983 ถึง 1988 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน และภริยาของโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีคนแรกของจีน ชีวิตช่วงต้น![]() ด้วยบรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากอำเภอกวางชาน (光山縣) มณฑลเหอหนาน เธอเกิดในนามเติ้ง เหวินชู (鄧文淑) ในหนานหนิง กว่างซี เธอเติบโตมาในครอบครัวยากจน พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเด็กและแม่เลี้ยงเดี่ยวของเธอสอนและประกอบอาชีพแพทย์ เติ้งเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีเป่ย์หยาง[1] เติ้งเข้าร่วมเป็นผู้นำทีมในขบวนการ 4 พฤษภาคม ซึ่งเธอได้พบกับโจว เอินไหลในปี ค.ศ. 1919 ทั้งคู่แต่งงานกันในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ในกว่างโจว เติ้งเข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1924 และกลายเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1925[2] หลังการสังหารหมู่ความสะพรึงขาวใน ค.ศ. 1927 เติ้งได้ทำงานอยู่ใต้ดินในเซี่ยงไฮ้เป็นเวลาห้าปี สงครามกลางเมืองจีน![]() เติ้งเป็นหนึ่งในผู้หญิงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการเดินทัพทางไกล[3] อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเดินทัพทางไกล เธอได้ป่วยเป็นวัณโรคปอด[4] ![]() หลังได้รับชัยชนะในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เติ้ง หยิ่งเชา ในฐานะตัวแทนหญิงเพียงคนเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เข้าร่วมสภาที่ปรึกษาการเมืองครั้งแรกในฉงชิ่ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เธอทำหน้าที่เป็นสมาชิกคณะทำงานฝ่ายหลังและรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการสตรีของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน[ต้องการอ้างอิง] เธอได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ในสภากรรมการบริหารของสหพันธ์ประชาธิปไตยสตรีสากลใน ค.ศ. 1948 และ 1953[5][6] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949 เธอได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะกรรมการเตรียมการของคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนและกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มร่าง "โครงการร่วม" ต่อมาเธอได้รับความไว้วางใจจากเหมา เจ๋อตงและโจว เอินไหลให้เดินทางไปเซี่ยงไฮ้ด้วยตนเองเพื่อเชิญซ่ง ชิ่งหลิงไปปักกิ่งมาเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาลประชาชนส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เติ้ง หยิ่งเชาได้รับเลือกให้เป็นรองประธานสภาสตรีแห่งชาติคน 1 ถึงคนที่ 3 ประธานกิตติมศักดิ์ของสภาสตรีแห่งชาติคนที่ 4 และรองประธานสภาเด็กแห่งชาติจีน นับตั้งแต่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 8 เติ้ง หยิ่งเชาเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ไม่เคยดำรงตำแหน่งในรัฐบาล จนกระทั่งโจว เอินไหล สามีของเธอถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976 เธอจึงได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์อีกครั้ง ในเดือนธันวาคมของปีนั้น ในการประชุมครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 4 เธอได้รับการเพิ่มเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1978 หลังได้รับเลือกตั้งใหม่เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 5 เติ้งได้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคนที่ 2 ของคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งได้รับการบูรณะใหม่ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ในปีนั้น และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกรมการการเมืองของคณะกรรมาธิการกลาง หลังจากนั้นไม่นาน เติ้งได้ใช้การติดต่อในช่วงแรกของเธอและการติดต่อกับก๊กมินตั๋ง เช่นเดียวกับเครือข่ายและชื่อเสียงของเธอในการทำงานแนวร่วม เพื่อรับผิดชอบงานของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในไต้หวันอย่างเต็มตัว และในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำของ "กลุ่มผู้นำกลางกิจการไต้หวัน" ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ใน ค.ศ. 1982 เธอทำหน้าที่เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมประชาชนจีนเพื่อมิตรภาพกับต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1983 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1988 เธอทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 เติ้งได้ยื่นคำร้องขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยสมัครใจ และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 หลังสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน เธอก็ลาออกและพักฟื้นจากอาการป่วย[7] ใน ค.ศ. 1987 เธอทำหน้าที่เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิสวัสดิการประชากรแห่งประเทศจีน ในปีเดียวกัน เมื่อกลุ่มหัวรุนแรงของพรรคขับไล่หู เย่าปัง เลขาธิการพรรค ในการรณรงค์ต่อต้าน "การเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพี" พรรคก็ได้เผยแพร่สุนทรพจน์ของเติ้งเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1989 ระหว่างการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เธอสนับสนุนการตัดสินใจของผู้นำในการปราบปรามการประท้วงโดยใช้ความรุนแรง[8] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 เธอลาออกจากตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมพยาบาลจีน เนื่องจากมีสุขภาพไม่ดี ในปี ค.ศ. 1992 เธอทำหน้าที่เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสมาคมมิตรภาพแห่งประเทศจีน จุดยืนทางการเมืองเติ้งส่งเสริมให้ยกเลิกการรัดเท้าของผู้หญิง ในช่วงขบวนการปฏิรูปที่ดิน เติ้งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการระดมชาวนาสตรีเพื่อส่งเสริมการปฏิวัติเกษตรกรรม[9] ในการประชุมนโยบายการปฏิรูปที่ดินใน ค.ศ. 1947 เธอกล่าวว่า "ผู้หญิงเป็นผู้เคลื่อนไหวที่ยอดเยี่ยมเมื่อพวกเขาพูดถึงความขมขื่น"[10] ชีวิตส่วนตัวเติ้งและโจวไม่มีบุตรเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม พวกเขานำเด็กกำพร้าจาก "ผู้เสียสละปฏิวัติ" หลายคนมาเลี้ยง รวมถึงหลี่ เผิง ผู้ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีน อนิจกรรมและมรดก![]() หลังเกษียณอายุ สุขภาพของเติ้งก็ค่อย ๆ อ่อนแอลง โดยเฉพาะใน ค.ศ. 1990 เธอต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 5 ครั้งเนื่องจากเป็นหวัดและปอดบวม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 เธอเริ่มมีอาการไตวายและหมดสติหลายครั้ง[11] เวลา 06.55 น. ของวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 เติ้ง หยิ่งเชา ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลปักกิ่ง ขณะมีอายุได้ 88 ปี หลังฌาปนกิจ เถ้ากระดูกของเธอถูกโปรยที่จุดเดียวกับที่โปรยเถ้ากระดูกของโจว เอินไหล การประเมินอย่างเป็นทางการของพรรคที่มีต่อเธอคือ "นักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพผู้ยิ่งใหญ่ นักการเมือง นักเคบื่อนไหวทางสังคมที่มีชื่อเสียง มาร์กซิสต์ผู้เคร่งครัด ผู้นำที่โดดเด่นของพรรคและประเทศ ผู้บุกเบิกการเคลื่อนไหวของสตรีจีน และประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนชุดที่ 6 ที่ได้รับความเคารพอย่างสูง"[12] มีหอรำลึกที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่เธอและสามีของเธอในเทียนจิน(天津周恩來鄧穎超紀念館). อ้างอิง
หนังสืออ่านเพิ่ม
แห่งล้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เติ้ง อิ่งเชา
|
Portal di Ensiklopedia Dunia