อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ (อาหรับ: عمر بن عبد العزيز, อักษรโรมัน: ʿUmar ibn ʿAbd al-ʿAzīz; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 680 – ป. 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720) โดยทั่วไปรู้จักในพระนาม อุมัรที่ 2 (عمر الثاني) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์องค์ที่ 8 พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญหลายประการและได้ปฏิรูปสังคม และมักระบุเป็นมุญัดดิดคนแรกและเคาะลีฟะฮ์ผู้ชอบธรรมแห่งอิสลามองค์ที่ 6[1]
พระองค์เป็นลูกพี่ลูกน้องในอดีตเคาะลีฟะฮ์ โดยเป็นพระราชโอรสของอับดุลอะซีซ พระอนุชาในอับดุลมะลิก พระองค์ยังเป็นพระราชปนัดดาฝ่ายพระราชมารดาของอุมัร อิบน์ อับค็อฏฏอบ เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 2 ด้วย
ชีวิตช่วงต้น
อุมัรน่าจะเสด็จพระราชสมภพในมะดีนะฮ์เมื่อประมาณ ค.ศ. 680 อับดุลอะซีซ อิบน์ มัรวาน พระราชบิดาของพระองค์ อยู่ในตระกูลอุมัยยะฮ์อันมั่งคั่งในนครนี้ ส่วนอุมม์ อาศิม บินต์ อาศิม พระราชมารดา เป็นหลานวาสของเคาะลีฟะฮ์ อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ (ค. 634 – 644) การที่อุมัรที่ 2 สืบเชื้อสายจากเคาะลีฟะฮ์อุมัรทำให้ภายหลังพระองค์เน้นย้ำในเรื่องนี้ และข้อมูลธรรมเนียมมุสลิมแยกพระองค์จากผู้นำอุมัยยะฮ์องค์อื่น ๆ ในช่วงที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพนั้น ผู้ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์มาจากสายซุฟยาน ซึ่งปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์จากดามัสกัส เมื่อเคาะลีฟะฮ์ ยะซีดที่ 1 และมุอาวิยะฮ์ที่ 2 พระราชโอรสของพระองค์และผู้สืบทอด สววรคตใน ค.ศ. 683 และ 684 ตามลำดับ อำนาจของอุมัยยะฮ์ล่มสลายทั่วรัฐเคาะลีฟะฮ์และตระกูลอุมัยยะฮ์ในฮิญาซ (รวมมะดีนะฮ์) ถูกขับออกจากบริเวณนี้โดยผู้สนับสนุนเคาะลีฟะฮ์คู่เข้าชิงที่มีฐานในมักกะฮ์นาม อับดุลลอฮ์ อิบน์ อัซซุบัยร์ ฝ่ายอุมัยยะฮ์ลี้ภัยไปที่ซีเรีย ซึ่งยังมีชนเผ่าอาหรับที่จงรักภักดีสนับสนุนราชวงศ์อยู่ โดยพวกชนเผ่าให้การยอมรับมัรวานที่ 1 พระอัยกาของอุมัร เป็นเคาะลีฟะฮ์และจัดตั้งการปกครองของอุมัยยะฮ์ในซีเรียใหม่
สวรรคต
ขณะเดินทางกลับจากอะเลปโปไปยังดามัสกัส หรืออาจกลับไปที่คฤหาสน์ Khunasira ของพระองค์ อุมัรกลับทรงพระประชวร พระองค์สวรรคตในช่วงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ถึง 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720 ขณะมีพระชนมพรรษา 37 พรรษา ที่หมู่บ้าน Dayr Sim'an (มีอีกชื่อว่า Dayr al-Naqira) ใกล้มะอะเราะตุนนัวะอ์มาน อุมัรได้ซื้อที่ดินด้วยเงินของพระองค์เองและฝังในหมู่บ้านนั้น โดยซากสุสานที่ไม่ทราบวันก่อสร้างของพระองค์ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ ยะซีดที่ 2 ขึ้นครองราชย์ถัดจากอุมัรที่ 2
ณ วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรีย มีรายงานกองกำลังอาสาสมัครที่หนุนโดยอิหร่านเข้าจู่โจมสุสานของอุมัร ตามภาพวิดีโอที่เผยแพร่ในหน้าเพจที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียบนสื่อสังคม[9] ส่วนอีกวิดีโอหนึ่งแสดงภาพสุสานที่ถูกเปิดและไม่มีศพข้างใน ไม่มีข้อมูลว่าส่วนหลงเหลือที่อยู่ข้างในนั้นถูกย้ายไปไว้ที่ไหน[10]
พงศาวลี
พงศาวลีของอุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ |
---|
|
อ้างอิง
บรรณานุกรม
- Biesterfeldt, Hinrich; Günther, Sebastian (2018). The Works of Ibn Wāḍiḥ al-Yaʿqūbī (Volume 3): An English Translation. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-35621-4.
- แม่แบบ:The End of the Jihad State
- Cobb, P. M. (2000). "ʿUmar (II) b. ʿAbd al-ʿAzīz". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 821–822. ISBN 978-90-04-11211-7.
- Crone, Patricia (1994). "Were the Qays and Yemen of the Umayyad Period Political Parties?". Der Islam. Walter de Gruyter and Co. 71 (1): 1–57. doi:10.1515/islm.1994.71.1.1. ISSN 0021-1818. S2CID 154370527.
- Eisener, R. (1997). "Sulaymān b. ʿAbd al-Malik". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. & Lecomte, G. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume IX: San–Sze. Leiden: E. J. Brill. pp. 821–822. ISBN 978-90-04-10422-8.
- Fishbein, Michael, บ.ก. (1990). The History of al-Ṭabarī, Volume XXI: The Victory of the Marwānids, A.D. 685–693/A.H. 66–73. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-0221-4.
- Gibb, H. A. R. (January 1955). "The Fiscal Rescript of ʿUmar II". Arabica. Brill. 2 (1): 1–16. doi:10.1163/157005855X00158. JSTOR 4055283.
- Hawting, Gerald R. (2000). The First Dynasty of Islam: The Umayyad Caliphate AD 661–750 (Second ed.). London and New York: Routledge. ISBN 0-415-24072-7.
- Hoyland, Robert G. (2015). In God's Path: the Arab Conquests and the Creation of an Islamic Empire. Oxford University Press.
- แม่แบบ:The Prophet and the Age of the Caliphates
- Marsham, Andrew (2022). "Kinship, Dynasty, and the Umayyads". The Historian of Islam at Work: Essays in Honor of Hugh N. Kennedy. Leiden: Brill. pp. 12–45. ISBN 978-90-04-52523-8.
- Mourad, Suleiman Ali (2006). Early Islam Between Myth and History: Al-Ḥaṣan Al-Baṣrī (d. 110H/728CE) and the Formation of His Legacy in Classical Islamic Scholarship. Leiden: Brill. ISBN 90-04-14829-9.
- Powers, Stephan, บ.ก. (1989). The History of al-Ṭabarī, Volume XXIV: The Empire in Transition: The Caliphates of Sulaymān, ʿUmar, and Yazīd, A.D. 715–724/A.H. 96–105. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-0072-2.
- ibn Sa'd, Muḥammad (1997). The Men of Madina. Vol. Two. แปลโดย Aisha Bewley. Ta-Ha. ISBN 978-1-897940-90-7.
- Tillier, Mathieu. (2014). Califes, émirs et cadis : le droit califal et l’articulation de l’autorité judiciaire à l’époque umayyade, Bulletin d’Études Orientales, 63 (2014), p. 147–190.
- Wellhausen, Julius (1927). The Arab Kingdom and its Fall. แปลโดย Margaret Graham Weir. Calcutta: University of Calcutta. OCLC 752790641.
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
วิชาการ | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|