อำเภอแม่เปิน
แม่เปิน เป็นอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ เป็น 1 ใน 2 อำเภอในประเทศไทยที่มีเขตการปกครองเพียงตำบลเดียว โดยมีที่มาของชื่ออำเภอตามคลองแม่เปิน (ปัจจุบันเรียกชื่อเป็นคลองโพธิ์) และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคลองแม่เปินที่จัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2489[1] และพ.ศ. 2501[2] ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอแม่เปิน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติท้องที่อำเภอแม่เปินเดิมเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่วงก์-แม่เปินได้อยู่ในภายใต้เขตการปกครองของตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว ที่จัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2489[1] และ พ.ศ. 2501[2] ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2530 นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร จึงจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ[3] ท้องที่จึงตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอแม่วงก์ขึ้น[4] โดยโอนการปกครองตำบลแม่วงก์ ตำบลแม่เล่ย์ ตำบลวังซ่าน ตำบลเขาชนกัน ตำบลปางสวรรค์ และตำบลห้วยน้ำหอม ออกจากอำเภอลาดยาว จึงได้ย้ายการปกครองมาขึ้นกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ ขณะจัดตั้งกิ่งอำเภอได้ 7 เดือน เขตตำบลห้วยน้ำหอม ของกิ่งอำเภอแม่วงก์ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลห้วยน้ำหอมบางส่วน ไปติดต่อราชการกับอำเภอลาดยาว สะดวกกว่าไปติดต่อกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ แต่ยังมีพื้นที่บางหมู่บ้านที่ยังสะดวกในการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ จึงแยกพื้นที่ 9 หมู่บ้านของตำบลห้วยน้ำหอม ตั้งเป็น ตำบลแม่เปิน[5] และแยก 9 หมู่บ้านของตำบลห้วยน้ำหอม ตั้งขึ้นเป็นตำบลชุมตาบง[5] เพื่อให้ทั้ง 18 หมู่บ้านนั้นขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ ถัดมาปี พ.ศ. 2537 ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม[6] (ส่วนที่เหลือจากการแยกตำบลแม่เปินและตำบลชุมตาบง) กลับเข้าไปสมทบในการปกครองของทางอำเภอลาดยาวดังเดิม วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ราษฎรในตำบลแม่เปินร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้พิจารณาว่าพื้นที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต และความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเขตท้องที่กิ่งอำเภอแม่วงก์แยกพื้นที่ตำบลแม่เปิน ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่เปิน[7] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอแม่เปิน[8] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 14 ของจังหวัดนครสวรรค์ การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอแม่เปินมีเขตการปกครอง 1 ตำบล 24 หมู่บ้าน คือ
การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอแม่เปินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia