วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์
ท่าตะโก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเมืองเก่าโบราณสมัยทวารวดีจากการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป็นอำเภอหนึ่งใน 15 อำเภอ ของจังหวัดนครสวรรค์ มีตราสัญลักษณ์ อำเภอท่าตะโก เป็นรูปทรงข้าวบิณฑ์ มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ หรือ ดอกบัวตูม
ประวัติ
อำเภอท่าตะโก เริ่มตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2443 อยู่ที่บ้านเขาน้อย ตำบลท่าตะโก เรียกว่า อำเภอเขาน้อย หรือ อำเภอดอนคา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะเขาน้อยและดอนคา อยู่ติดกัน สมัยนั้นนิยมเรียกตำบลที่ตั้งของอำเภอ และนายอำเภอคนแรกชื่อ หลวงมหาดไทย พ.ศ. 2460 จึงเปลี่ยนชื่อ เป็นอำเภอท่าตะโก มีหลวงวรรักษ์บุราภิรมย์ เป็นนายอำเภอคนแรก
สาเหตุชื่ออำเภอท่าตะโกนั้น มีประวัติมาว่า เมื่อมีราษฎรมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่นในระยะนี้ คือ บริเวณริมคลองมีท่าน้ำใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง มีต้นตะโกใหญ่ขึ้นอยู่ ใช้เป็นที่อาศัยร่มเงาเวลาประชาชนไปตักน้ำ อาบน้ำ หรือนำวัว ควายไปพัก ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า ตำบลท่าตะโก เมื่อมาตั้งเป็นอำเภอที่นี้อีก จึงใช้ชื่อว่า อำเภอท่าตะโก มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพนมรอก จังหวัดนครสวรรค์ มณฑลนครสวรรค์ เป็น อำเภอท่าตะโก[2]
- วันที่ 14 พฤษภาคม 2476 ตั้งตำบลวังมหากร แยกออกจากตำบลท่าตะโก ตั้งตำบลสายลำโพง แยกออกจากตำบลพนมรอก และตั้งตำบลพนมเศษ แยกออกจากตำบลพนมรอก[3]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ กับจังหวัดลพบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 5 (ในตอนนั้น) จากตำบลมหาโพธิ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มาขึ้นกับตำบลตะคร้อ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์[4]
- วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลห้วยร่วม อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 1,2,3 (บางส่วน) กับหมู่ที่ 4,5,7,8,9 ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และจัดตั้งเป็นตำบลหนองบัว อำเภอชุมแสง[5] ส่วนหมู่ที่ 3,6 ของตำบลหนองบัวที่เหลืออยู่ โอนไปขึ้นกับตำบลพนมรอก
- วันที่ 5 ธันวาคม 2481 ตั้งตำบลหัวถนน แยกออกจากตำบลท่าตะโก และตำบลวังมหากร ตั้งตำบลวังใหญ่ แยกออกจากตำบลสายลำโพง[6]
- วันที่ 23 กันยายน 2484 ตั้งตำบลธารทหาร แยกออกจากตำบลพนมรอก และตำบลสายลำโพง[7]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2491 โอนพื้นที่ตำบลธารทหาร (ยกเว้นหมู่ที่ 1) ของอำเภอท่าตะโก ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง[8]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าตะโก ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าตะโก[9]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลวังน้ำลัด แยกออกจากตำบลโคกเดื่อ[10]
- วันที่ 9 มกราคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลสำโรงชัย ตำบลโคกเดื่อ และตำบลตะคร้อ อำเภอท่าตะโก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอไพศาลี ขึ้นกับอำเภอท่าตะโก[11]
- วันที่ 25 กันยายน 2505 โอนพื้นที่ตำบลวังน้ำลัด อำเภอท่าตะโก ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก[12]
- วันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลไพศาลี ในท้องที่บางส่วนของตำบลโคกเดื่อ[13]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก เป็น อำเภอไพศาลี[14]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลหนองหลวง แยกออกจากตำบลทำนบ[15]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลท่าตะโก เป็นเทศบาลตำบลท่าตะโก[16]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอท่าตะโกตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอท่าตะโกแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 112 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
ท่าตะโก |
|
(Tha Tako) |
|
7 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|
6. |
ดอนคา |
|
(Don Kha) |
|
17 หมู่บ้าน
|
2. |
พนมรอก |
|
(Phanom Rok) |
|
14 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|
7. |
ทำนบ |
|
(Thamnop) |
|
6 หมู่บ้าน
|
3. |
หัวถนน |
|
(Hua Thanon) |
|
10 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|
8. |
วังใหญ่ |
|
(Wang Yai) |
|
9 หมู่บ้าน
|
4. |
สายลำโพง |
|
(Sai Lamphong) |
|
16 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|
9. |
พนมเศษ |
|
(Phanom Set) |
|
11 หมู่บ้าน
|
5. |
วังมหากร |
|
(Wang Mahakon) |
|
11 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|
10. |
หนองหลวง |
|
(Nong Luang) |
|
11 หมู่บ้าน
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอท่าตะโกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าตะโก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าตะโก
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตะโก (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าตะโก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพนมรอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนมรอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสายลำโพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายลำโพงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังมหากรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนคาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทำนบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนมเศษทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหลวงทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|