อำเภอสุวรรณภูมิ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Suwannaphum |
---|
คำขวัญ: สุวรรณภูมิแดนกู่พระโกนา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บั้งไฟแสน ดินแดนวัฒนธรรม |
แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นอำเภอสุวรรณภูมิ |
พิกัด: 15°36′33″N 103°48′1″E / 15.60917°N 103.80028°E / 15.60917; 103.80028 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ร้อยเอ็ด |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 1,107.042 ตร.กม. (427.431 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 114,296 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 103.25 คน/ตร.กม. (267.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 45130 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 4511 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | หมู่ที่ 2 ถนนปัทมานนท์ ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45130 |
---|
|
สุวรรณภูมิ เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอำเภอศูนย์กลางทางด้านการคมนาคม การปกครอง การศึกษาเเละเศรษฐกิจของกลุ่มอำเภอโซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นรองแค่เพียงอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 116,015 คน
ประวัติศาสตร์
พื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองท่งศรีภูมิ เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยเเก่นสารสินธ์ุเเทบจะทั้งหมด เเละบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ อุดรธานี ซึ่งเมืองท่งศรีภูมิเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ สถาปนาโดยพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเมื่อปี พ.ศ. 2256 ต่อมาได้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2308 จนถึงอาณาจักรธนบุรีในปี พ.ศ. 2310 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2315 ต่อมาได้ลดฐานะจากเมืองชั้นเอก (เทียบเท่าจังหวัด) เป็น "อำเภอสุวรรณภูมิ" ในปี พ.ศ. 2451 เมืองขึ้นของเมืองสุวรรณภูมิถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอภายในจังหวัดร้อยเอ็ด 3 เมือง และเป็นอำเภอภายในจังหวัดมหาสารคาม 1 เมือง
อำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน นับจากปีที่ถูกยุบเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2451 มีนายอำเภอทั้งสิ้นแล้ว 45 คน มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล ทั้งนี้ อำเภอสุวรรณภูมิมีการแยกออกเป็น 2 อำเภอหลังปี พ.ศ. 2451 ได้แก่ อำเภอเมืองสรวง และอำเภอโพนทราย ในด้านลำดับชั้นของอำเภอที่กำหนดโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อำเภอสุวรรณภูมิมีฐานะเป็นอำเภอชั้น 1 เช่นเดียวกับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเมืองในจังหวัดอื่น ๆ ที่มิใช่อำเภอชั้นพิเศษ
หลังจากที่เมืองสุวรรณภูมิถูกยุบกลายเป็นอำเภอ คงเหลือพื้นที่โดยประมาณ 1,532.294 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเเม้ว่าอำเภอสุวรรณภูมิจะมีการเเยกออกไปอีก 2 อำเภอ (อำเภอเมืองสรวงเเละอำเภอโพนทราย) อำเภอสุวรรณภูมิก็ยังคงเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน ด้วยขนาดพื้นที่ 1,107.042 ตารางกิโลเมตร
ลำดับผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ
ลำดับ
|
ผู้ว่าราชการเมือง
|
เริ่มต้น (พ.ศ.)
|
สิ้นสุด (พ.ศ.)
|
จำนวนปี
|
เหตุการณ์สำคัญ/อื่น ๆ
|
1
|
พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา)
|
2443
|
2444
|
1
|
พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา) เป็นเจ้าเมืองเกษตรวิสัยแต่เดิม ด้วยการยุบยกเลิกหัวเมืองต่าง ๆ จึงได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีเกษตราธิไชยมารักษาราชการผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิท่านแรก ก่อนจะมีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการเมืองจากส่วนกลาง
พระศรีเกษตราธิไชย (สีลา) เป็นบุตรของพระศรีเกษตราธิไชย (สัง) เจ้าเมืองเกษตรวิสัย
ปัจจุบันทายาทของพระศรีเกษตราธิไชยสืบเชื้อสายตรงในนามสกุล "สังขศิลา"
|
2
|
ขุนมัณฑลานุการ (ชม)
|
2445
|
2446
|
1
|
ขุนมัณฑลานุการ (ชม) รักษาราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิ
ในระหว่างนี้เกิด กบฏผู้มีบุญ ทางผู้วาราชการเมืองสุวรรณภูมิได้เกณฑ์ไพร่พลจำนวน 1,000 คนเศษพร้อมอาวุธ ปืนคาบศิลาอย่างเก่า ปืนสไนเดอร์ ปืนแมลิคอร์ ทำการปราบปรามและจับกุมผีบุญได้อย่างราบคาบ
|
3
|
ญาพ่อเมืองแพน (ต้นสกุล วลัยศรี)
|
2446
|
2451
|
5
|
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2445 พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (พระหลักคำเมือง) เจ้าคณะเมืองสุวรรณภูมิถึงแก่มรณภาพด้วยอาพาธเป็นไข้ โดยพระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดไตรภูมิคณาจารย์ บ้านตากแดด เมืองสุวรรณภูมิ[1]
ญาพ่อเมืองแพนดำรงตำแหน่งยกกระบัตรเมือง รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิจนกระทั่งปี พ.ศ. 2451 กระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงลักษณะการปกครองท้องที่ ยุบเมืองสุวรรณภูมิเป็นอำเภอสุวรรณภูมิ และยุบมณฑลร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ อำเภอสุวรรณภูมิขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ดนับแต่นั้นมา
ในปี พ.ศ. 2451 ภายหลังมีการยุบเมืองสุวรรณภูมิเป็นอำเภอสุวรรณภูมิแล้วนั้น เมืองที่เคยขึ้นต่อเมืองสุวรรณภูมิได้ถูกยุบเป็นอำเภอ และโอนย้ายไปสังกัดจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
เมืองพยัคฆภูมิพิสัยยุบเป็นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ให้ขึ้นจังหวัดมหาสารคาม
เมืองเกษตรวิสัยยุบเป็น อำเภอเกษตรวิสัย, เมืองพนมไพรแดนมฤคยุบเป็น อำเภอพนมไพร, เมืองจตุรพักตร์พิมานยุบเป็น อำเภอจตุรพักตรพิมาน ทั้งสามอำเภอให้ขึ้นกับ จังหวัดร้อยเอ็ด
|
ลำดับนายอำเภอสุวรรณภูมิ (หลังปี พ.ศ. 2451)
การนับตำแหน่งนายอำเภอนับจากปี พ.ศ. 2451 นั้น จะใช้ลำดับที่ 1 ใหม่ เนื่องจากผู้ว่าราชการเมืองของเมืองชั้นเอกมีฐานะเทียบเท่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด" ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงและยุบฐานะเมืองเป็นอำเภอ และตำแหน่ง "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เป็น "นายอำเภอ" ดังนั้นจึงนับลำดับใหม่
ลำดับที่
|
นายอำเภอ
|
เริ่มต้น (พ.ศ.)
|
สิ้นสุด (พ.ศ.)
|
จำนวนปี
|
เหตุการณ์สำคัญ/อื่น ๆ
|
1
|
หลวงประชาชนบาล
|
2451
|
2455
|
4
|
ในปี พ.ศ. 2454 ตั้งโรงเรียนประชาบาล ต่อมาคือ โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ อาศัยศาลาวัดเหนือเป็นสถานศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
|
2
|
พระรัตนวงษา (ก่อนหน้า หลวงประจำจันทรเขตร) (น้อย) ลิวิสิทธิ์
|
2455
|
2463
|
8
|
ในปี พ.ศ. 2456 ยกฐานะโรงเรียนประชาบาลเป็นโรงเรียนรัฐบาล "โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล" ภายหลังยุบเป็นโรงเรียนประชาบาลในปี พ.ศ. 2465 ก่อนเป็นโรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ
|
3
|
ขุนสกลรักษา (เชย สุขสุคนธ์)
|
2463
|
2463
|
1
|
|
4
|
หลวงประสาสน์ โสภณ (ร.ท.อุ่ม ภมรสูตร)
|
2463
|
2473
|
10
|
ในระหว่าง พ.ศ 2463–2473 หลวงประสาสน์โสภณ (อุ่น ภมรสูตร) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอสุวรรณภูมิสมัยนั้นได้ริเริ่มสร้างสุขศาลาขึ้นบริเวณหน้าตลาดสด บริเวณธนาคารออมสินปัจจุบันมีพื้นที่ 61 ไร่ มีเจ้าหน้าที่มหาดไทยเป็นผู้ดูแลดำเนินการ ต่อมาทางราชการได้บรรจุผู้ช่วยแพทย์ ชื่อ นาย ช. สายเชื้อ มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสุขศาลาสุวรรณภูมิเป็นคนแรก
ในปี พ.ศ. 2467 เมืองแพน วลัยศรี (ผู้รักษาการตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุวรรณภูมิท่านสุดท้าย) ร่วมกับคณะ ทำการบูรณะอุโบสถและปฏิสังขรณ์ ปิดทององค์พระพุทธรูปวัดใต้วิไลธรรม โดยว่าจ้างช่างชาวญวน คือ นายจางและนายฮาย เป็นผู้ก่อสร้าง รวมทั้งมีการวาดภาพจิตรกรรมโดยนายโสม โดยหลวงประสาศน์ โสภณเป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระธรรมสุนทรอบภิรม พระอธิการ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานการบันทึกและภาพวาด อุโบสถ ณ วัดใต้วิไลธรรมจนปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่าบึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึง เพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน
|
5
|
หลวงชาญรัฐกิจ (เชย พลาศรัย)
|
2473
|
2476
|
3
|
|
6
|
ขุนประเสริฐสรรพกิจ (วิเชียร วงศ์แก้ว)
|
2476
|
2479
|
3
|
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ได้มีการจัด การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศสยาม โดยจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเขตเลือกตั้งเดียว มีผู้แทนราษฎรจำนวน 2 คน คือ พันโทพระไพศาลเวชกรรม (สวาสดิ์ โสมเกษตริน) และจ่านายสิบขุนเสนาสัสดี (ถั่ง ทองทวี)
|
7
|
นายโสภณ อัศดร (เงก สาตะมัย)
|
2479
|
2487
|
8
|
|
8
|
ร้อยโท ถวิล ธนสีลังกูร
|
2487
|
2490
|
3
|
ย้ายที่ว่าการอำเภอไปดงป่าก่อ (ปัจจุบัน)
|
9
|
นายส่ง ศุภโตษะ
|
2490
|
2490
|
1
|
|
10
|
นายสีขร สีขรภูมานุรักษ์
|
2490
|
2491
|
1
|
|
11
|
นายเอิบ กลิ่นอุบล
|
16 ธ.ค. 2491
|
2493
|
2
|
ตั้งตำบลทุ่งหลวง (แยกจากตำบลสระคู) ตำบลหัวโทน (แยกจากตำบลน้ำคำ) ตำบลหินกอง (แยกจากตำบลสระคู) และตำบลบ่อพันขัน (แยกออกจากตำบลเปลือย) [2]
|
12
|
ร้อยตรีสุวรรณ โรจนวิภาดา
|
27 มิ.ย. 2493
|
2495
|
2
|
ในปี พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ประกาศขนานนามทางหลวงแผ่นดินให้เป็นเกียรติแก่ผู้มีส่วนประกอบคุณงามความดีต่อประเทศในราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493 ทางหลวงแผ่นดินสาย ร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 214) ให้ขนานนามว่า ถนนปัทมานนท์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวีรพล ปัทมานนท์ อดีตนายช่างกำกับหมวดการทางสุรินทร์ และทางหลวงแผ่นดินสายสุวรรณภูมิ-ยะโสธร-อำนาจเจริญ ให้ขนานนามว่า ถนนอรุณประเสริฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายจำปี อรุณประเสิรฐ นายช่างกำกับแขวง
|
13
|
นายสวัสดิ์ พรหมดิเรก
|
8 ก.ค. 2495
|
15 มี.ค. 2498
|
2 ปี 8 เดือน
|
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ก่อตั้ง “โรงเรียนสุวรรณภูมิ” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราวโรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ (โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว และในปี พ.ศ. 2551 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย
|
14
|
นายเสถียร นาครวาจา
|
23 มี.ค. 2498
|
24 ก.ค. 2499
|
1 ปี 4 เดือน
|
|
15
|
นายสาคร เพชรวิเศษ
|
29 ก.ค. 2499
|
13 ก.ค. 2503
|
4 ปี
|
ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2499 (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 54 เล่ม 37 ตอนที่ 60 วันที่ 3 สิงหาคม 2499)[3]
ในปี พ.ศ. 2503 ตั้งโรงเรียนประชาบาล ต่อมาเป็นโรงเรียนเมืองใหม่สุวรรณภูมิและโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ
|
16
|
นายประเสริฐ เทศประสิทธิ์
|
13 ก.ค. 2503
|
30 พ.ย. 2504
|
1 ปี 4 เดือน
|
|
17
|
นายเฉียบ สมุทระกระพงศ์
|
16 ธ.ค. 2504
|
30 ก.ย. 2508
|
3 ปี 9 เดือน
|
ตั้งตำบลโพนทราย โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสามขา อำเภอสุวรรณภูมิ เป็นตำบลโพนทรายใน วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2508 [4]
|
18
|
นายสุวรรณ สุภาผล
|
10 ต.ค. 2508
|
26 พ.ค. 2514
|
5 ปี 8 เดือน
|
ปี พ.ศ. 2509 กรมไปรษณีย์โทรเลขเปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสุวรรณภูมิ[5] โดยเปิดพร้อมกันกับอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย, อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ตั้งตำบลเมืองทุ่ง โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสระคูจำนวน 12 หมู่บ้าน มีผลในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2509[6]
ตั้งตำบลคูเมือง โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลหนองผือ อำเภอสุวรรณภูมิ 5 หมู่บ้าน และหมู่บ้านจากตำบลสงยาง อำเภอสุวรรณภูมิ 4 หมู่บ้าน รวม 9 หมู่บ้านเป็นตำบลคูเมือง ขึ้นอำเภอสุวรรณภูมิ [7] ณ วันที่ 11 เมษายน 2510
|
19
|
นายประจวบ ศริ
|
27 พ.ค. 2514
|
1 ก.ย. 2516
|
2 ปี 4 เดือน
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้ตั้งโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาลขึ้น โดยชื่อเริ่มก่อตั้งคือ “โรงเรียนศรีสุวรรณภูมิพิทยา” (คนทั่วไปจึงมักเรียกว่าโรงเรียนศรี) โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย) เป็นสถานที่ในการเรียน โดยมีนายเอิบ (มนตรี) จันทรสนาม รักษาการณ์ในตำแหน่งครูใหญ่ และทำการย้ายมาสถานที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ 72 ไร่ และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
7 กันยายน พ.ศ. 2514 ตั้งตำบลดอกไม้ โดยแยกหมู่บ้านจากตำบลสงยาง อำเภอสุวรรณภูมิ 8 หมู่บ้าน และจากตำบลสระคู 2 หมู่บ้าน รวม 10 หมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลดอกไม้ [8]
|
20
|
นายสงวน วัฒนานันท์
|
1 ก.ย. 2516
|
12 พ.ค. 2520
|
3 ปี 8 เดือน
|
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 กระทรวงมหาดไทย (โดยนายพ่วง สุวรรณรัฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเมืองสรวง และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2516 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 26 หน้าที่ 817 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2516 ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลหนองผือ ตำบลหนองหิน และตำบลคูเมือง (แยกสามตำบลจากอำเภอสุวรรณภูมิ) ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516
ในปี พ.ศ. 2512–2518 กลุ่มผู้นำท้องถิ่น นำโดยกำนันสุนีย์ พวงจันทร์และสภาตำบลโพนทรายเห็นว่าการไปติดต่อราชการที่อำเภอสุวรรณภูมิไม่สะดวกเป็นอย่างมาก จึงได้มีการเคลี่อนไหวเรียกร้องขอยกฐานะเป็นอำเภอเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 จึงได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอโพนทราย
|
21
|
นายจำรูญ บุญโทแสง
|
20 พ.ค. 2520
|
30 ก.ย. 2522
|
2 ปี 4 เดือน
|
ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเมืองสรวง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 96 ตอนที่ 42 หน้าที่ 22 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 ยกฐานะกิ่งอำเภอเมืองสรวงขึ้นเป็น อำเภอเมืองสรวง มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 (โดย ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี)
|
22
|
นายพงษ์เพชร ชูจินดา
|
12 ต.ค. 2522
|
23 พ.ย. 2522
|
2 เดือน 11 วัน
|
|
23
|
นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ
|
24 ก.ย. 2522
|
23 ก.ย. 2525
|
2 ปี
|
|
24
|
นายวิรุณ ทิพากร
|
24 พ.ย. 2525
|
7 ต.ค. 2527
|
1 ปี 10 เดือน
|
|
25
|
นายกิจจารักษ์ ชุ่มชื่น
|
7 ต.ค. 2527
|
15 ม.ค. 2530
|
2 ปี 4 เดือน
|
|
26
|
นายเสรี ทวีวัฒน์
|
16 ม.ค. 2530
|
2 ก.ค. 2533
|
3 ปี 6 เดือน
|
ในปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอโพนทรายเป็น อำเภอโพนทราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยแยกตำบลโพนทราย ตำบลสามขา ตำบลศรีสว่าง ตำบลยางคำ โดยมีนายสุภาพ จันทร์ภิรมย์เป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) คนแรกจากอำเภอโพนทรายในปี พ.ศ. 2533
|
27
|
นายณรงค์ หรือโอภาส
|
2 ก.ค. 2533
|
17 ต.ค. 2537
|
4 ปี 3 เดือน
|
|
28
|
นายพนม นันทวิสิทธิ์
|
17 ต.ค. 2537
|
14 ต.ค. 2539
|
2 ปี
|
|
29
|
นายธนู สุขฉายา
|
14 ต.ค. 2539
|
19 พ.ค. 2540
|
7 เดือน
|
|
30
|
นายปรีชา กาญจนวาปสถิตย์
|
19 พ.ค. 2540
|
9 พ.ย. 2540
|
6 เดือน
|
ในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง "วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด 2" ในวันที่ 28 กรกฎาคม โดยกรมอาชีวศึกษาได้สั่งให้ข้าราชการสังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดจำนวน 3 คนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดแห่งที่ 2 ดังนี้ นายชำนาญ เชิงสะอาด, นายจำเนียร สุธิมาธรรม, นายจิตรกร จันทร์เสละ
|
31
|
นายอำนวย จันทน์อาภรณ์
|
10 พ.ย. 2540
|
1 พ.ย. 2541
|
1 ปี
|
|
32
|
นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์
|
2 พ.ย. 2541
|
16 ต.ค. 2543
|
1 ปี 11 เดือน
|
ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสระคูเป็น "เทศบาลตำบลสระคู"
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ จากวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดแห่งที่ 2 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ"
|
33
|
นายอุไร หล่าสกุล
|
27 พ.ย. 2543
|
30 ก.ย. 2545
|
1 ปี 10 เดือน
|
|
34
|
นายชูศักดิ์ สุทธิประภา
|
16 ธ.ค. 2545
|
30 ก.ย. 2547
|
1 ปี 9 เดือน
|
|
35
|
นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์
|
1 พ.ย. 2547
|
11 ธ.ค. 2549
|
2 ปี 1 เดือน
|
วันที่ 27 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 เปลี่ยนแปลงชื่อจากเทศบาลตำบลสระคูเป็นเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร
|
36
|
นายนะริทธิ์ ไชยะชน
|
8 ม.ค. 2550
|
23 ต.ค. 2550
|
9 เดือน
|
|
37
|
นายผดุงศักดิ์ ไชยอาลา
|
24 ต.ค. 2550
|
30 ก.ย. 2552
|
1 ปี 11 เดือน
|
|
38
|
นายอานนท์ ศรีรัตน์
|
25 ม.ค. 2553
|
12 ธ.ค. 2554
|
1 ปี 11 เดือน
|
|
39
|
นายเลิศสิน จึงจรัสทรัพย์
|
13 ธ.ค. 2554
|
30 ก.ย. 2556
|
1 ปี 9 เดือน
|
|
40
|
นายปณิธาน สุนารัตน์
|
16 ธ.ค. 2556
|
30 ก.ย. 2558
|
1 ปี 9 เดือน
|
|
41
|
นายสุธี เล้าสุบินประเสริฐ
|
16 พ.ย. 2558
|
6 พ.ย. 2559
|
1 ปี
|
|
42
|
นายวัยวุฒิ อาศรัยผล
|
7 พ.ย. 2559
|
30 ก.ย. 2561
|
2 ปี
|
|
43
|
นายธนิตย์ พันธ์หินกอง
|
8 พ.ย. 2561
|
6 เม.ย. 2563
|
1 ปี 5 เดือน 2 วัน
|
|
44
|
นายณรงค์ศักดิ์ สบาย
|
7 เม.ย. 2563
|
30 ก.ย. 2563
|
6 เดือน
|
45
|
นายโชคชัย วัฒนกูล
|
มีนาคม 2564
|
|
|
|
46
|
นายคงคา ชื่นจิต
|
|
ปัจจุบัน
|
|
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสุวรรณภูมิตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสุวรรณภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน ได้แก่
- ↑ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสระคู
- เทศบาลตำบลจำปาขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาขันทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหินกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินกองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลทุ่งกุลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกุลาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอกไม้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระคู (นอกเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองทุ่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวโทนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพันขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อพันขันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหินลาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างเผือกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งศรีเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีเมืองทั้งตำบล
ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และมีอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น เลี้ยงสัตว์ รวมกลุ่มทำสินค้าหัตถกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยมีซึ่งลำน้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านมีหลายสาย คือ ลำน้ำเสียว ลำน้ำพลับพลา ห้วยหินลาด และลำน้ำมูล
วัด
วัดที่สำคัญในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้
- วัดใต้วิไลรรม
- วัดกลาง
- วัดสว่างโพธิ์ทอง
- วัดเจริญราษฎร์
- วัดทุ่งลัฎฐิวัน
- วัดเหนือสุพรรณวราราม
- วัดพระบรมธาตุสุวรรณภูมิ(วัดป่าวังพระเจ้า)
สถานศึกษา
ระดับวิทยาลัย
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สำคัญในเขตอำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้
- โครงการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้
- วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย สุวรรณภูมิ
- โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
- โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย
โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่สำคัญในเขตอำเภอสุวรรณภูมิมีดังต่อไปนี้
- โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ
- โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่สุวรรณภูมิ
- โรงเรียนดอนแฮดวิทยา
- โรงเรียนกระดิ่งทอง
- โรงเรียนการกุศลวัดกลาง
- โรงเรียนเจริญศึกษา
- โรงเรียนอนุบาลศรีภูมิวิทยารักษ์
- โรงเรียนบ้านน้ำคำน้อย
- โรงเรียนโสภาพพิทยาภรณ์
สถานที่ท่องเที่ยว
- กู่พระโกนา บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
- อนุสาวรีย์เจ้าแก้วมงคล และ เขต คูเมืองบ้านท่ง ( ประกาศชื่อโบราณสถาน กรมศิลปากร พ.ศ. 2478 )
- สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ บ.หัวโทน ต.หัวโทน
- สิมวัดสระเกตุ บ.น้ำคำ ต.น้ำคำ
- พระธาตุวัดเบญจ์ บ.หัวโทน ต.หัวโทน
- บ่อพันขัน บ.ตาเณร ต.จำปาขัน
- วัดพระธาตุบ่อพันขัน บ.หนองมะเหี๊ยะ ต.จำปาขัน
- อ่างเก็บน้ำบ่อพันขัน บ.ตาเณร,บ.หญ้าหน่อง ต.จำปาขัน
- พระธาตุอรหันต์โมคคัลลาน์ วัดกลาง คุ้มวัดกลาง ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
- อนุสาวรีย์ท้าวเซียงเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
- ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
- พิพิธภัณฑ์หอยล้านปี บ.โพนครกน้อย ต.สระคู
- สระสี่เหลี่ยม สระสองแก ต.สระคู
- กู่หินกอง บ.หินกอง ต.หินกอง
- วัดพระธาตุนาใหญ่ บ.นาใหญ่ ต.นาใหญ่
- วัดพระเจ้าใหญ่บ้านยางเครือ บ.ยางเครือ ต.เมืองทุ่ง
- วัดกู่อารัมย์ บ.ดงเมือง ต.เมืองทุ่ง
- บึงท่าศาลา บ.กู่พระโกนา ต.สระคู
- โครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ต.หินกอง
เทศกาลสำคัญ
- งานประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอสุวรรณภูมิ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างยิ่งใหญ่ ระดับประเทศ โดยเฉพาะวันแห่ ขบวนฟ้อน เซิ้งบั้งไฟ และบั้งไฟลายศรีภูมิ กับการตกแต่งขบวนบั้งไฟที่มากที่สุดของประเทศ โดยงานจัด ในวันเสาร์ อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนของทุกปี ณ ลานอนุสาวรีย์พระรัตนวงษา (ท้าวเซียง) และหน้าที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ โดยงานมีความโดดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น คือ เอกลักษณ์การตกแต่งเอ้ บั้งไฟด้วยลายกรรไกรตัด เพียงแห่งเดียวในประเทศ หรือที่เรียกว่า ลายศรีภูมิ รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ ยังมีสืบเนื่องยาวนาน มีช่างบั้งไฟลายศรีภูมิ ในคุ้มวัดทุกคุ้มวัด ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ และบั้งไฟเอ้ ทั่วเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จะเข้าร่วมแข่งขันประเภทบั้งไฟขนาดใหญ่ทั้งหมด จนทำให้ เป็นหนึ่งในงานประเพณีบั้งไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จนมีคำกล่าวที่ว่า "หากอยากดูบั้งไฟครบครัน หลากหลายกิจกรรม ไปที่ ยโสธร หากอยากดูบั้งไฟจุดขึ้นสูง จำนวนมาก ให้ไปที่อำเภอพนมไพร และ หากอยากดู บั้งไฟเอ้ตกแต่งสวยงามขนาดใหญ่มากที่สุดและขบวนรำสวยงามมากที่สุดไปที่ อำเภอสุวรรณภูมิ " โดยตั้งเเต่ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ 2567 เป็นต้นไป จะมีขบวนแห่รำเซิ้งสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีการถูกจัดขึ้นเป็นครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2567 ให้สมเกียรติกับดินเเดนที่มีการจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นงานประเพณีที่ดึงดูดเเละเป็นศูนย์รวมให้ลูกหลานเมืองศรีภูมิหรือเครือข่ายลูกหลานเจ้าเเก้วมงคล (บรรพชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน) ที่มีอยู่ทั่วภาคอีสานเเละประเทศไทยให้กลับมาเยี่ยมเยือนถิ่นเก่าของบรรพชน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน ก่อนที่ภายหลังจะมีการอพยพเเยกกันออกไปสร้างเมืองเเละชุมชนต่างๆมากมายทั่วภาคอีสาน นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจให้เเก่ลูกหลานชาวอีสานได้มากมายเลยทีเดียว
ชาวอำเภอสุวรรณภูมิที่มีชื่อเสียง
ข้าราชการ/นักการเมือง/นักวิชาการ
- นายเชาว์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ท่านแรก
- นายดุลย์ ดวงเกตุ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคกิจสังคม
- นายขจรศักดิ์ ศรีสวาสดิ์ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคความหวังใหม่
- นายวิรัช ประราศรี กำนันตำบลสระคู อดีต ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- นายสมศักดิ์ เศรษโฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ นายกสันนิบาตเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ด ปี - ปัจจุบัน
- นายวรรณทัศน์พล อิศวะเมธธรีสกุล ประธานสภาเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
- นายวสันต์ สามิบัติ์ ประธานชุมชนหมู่ 3 เขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
- นายกิตติ สมทรัพย์ ส.ส.ร้อยเอ็ดเขต 6 อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย อำเภอหนองฮี
- พล.ต.ต.ดร.พิพัฒนพงศ์ เฏฌาฌัญ ผู้บังคับการ สน.ยานนาวา
- พ.ต.อ.พิเศษ พิภพ ใยบัว รองผู้บังคับการ สน.ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
- คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- นายทองลี มีหินกอง ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี - ปัจจุบัน
พระภิกษุสงฆ์
พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (สอ) - เจ้าคณะเมืองสุวรรณภูมิ รูปสุดท้าย
หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม[10] - วัดกู่พระโกนา
พระครูพุทธบาลมุนี - วัดชัยมงคล บ้านคำพรินทร์ ตำบลเปลือย (ปัจจุบัน ตำบลช้างเผือก)
หลวงปู่เคน ฐานะธัมโม[11] - วัดใต้วิไลธรรม
พระราชพรหมจริยะคุณ - เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ฝ่ายมหานิกาย วัดบ้านเปลือยใหญ่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
นักกีฬา
นักธุรกิจ
นายพนม ศรีแสนปาง - นายกสมาคมพ่อค้าอำเภอสุวรรณภูมิ / ประธานบริษัทมหาชนจำกัด ศรีแสงดาวไบโอพาวเวอร์
นักร้อง/นักดนตรี/นักแสดง
- ลำไย ไหทองคำ นักร้องลูกทุ่ง,หมอลำ นักเเสดง พิธีกร ราชินีอินดี้[12]
- เอกราช สุวรรณภูมิ นักร้องลูกทุ่ง
- เจมส์ จตุรงค์ นักร้องลูกทุ่ง,หมอลำ นักเเสดง
- ใบตอง จันทร์งาม หรือ แป๋ว ปัทมา นักร้องหมอลำ
- บี ประภาพร ขวัญใจแฟนแฟน นางเอกหมอลำสังกัดคณะหมอลำขวัญใจแฟนแฟน แมน จักรพันธ์
- เจ้สี่ พลล้ำ อดีตตลกคณะระเบียบวาทะศิลป์
- บู๊ท จักรพันธ์ ลำเพลิน ซานเล้าบันเทิงศิลป์ อดีตพระเอกหมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์ หัวหน้าวงซานเล้าบันเทิงศิลป์
- ไอออน กลวัชร ข้าวสารแลนด์ นักร้อง พระเอกหมอลำคณะซานเล้าบันเทิงศิลป์
- หนึ่ง พลาญชัย ท็อปไลน์ พระเอกหมอลำคณะคำผุนร่วมมิตร
- ภานุวัฒน์ วิเศษวงษา นักเเต่งเพลง (เเต่งเพลงดัง อาทิ บ่เป็นหยังเขาเข้าใจ ซังได้ซังเเล้ว ห้ามตั๋ว นางไอ่ของอ้าย เพิ่นบ่แม่นผู้สาวเฮา เป็นต้น)
ศิลปินเเห่งชาติ
- ไพวรินทร์ ขาวงาม กวี นักเขียน ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กวีนิพนธ์ พุทธศักราช 2558
นักปราชญ์ชุมชน พื้นบ้าน
นายสมัยลี สร้อยศิลา - ปราชญ์พื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ การตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ลายศรีภูมิ
นายล้อม ปราสาร - ปราชญ์ชุมชน ด้านศาสนพิธี พิธีกรรม การทอผ้าไหม ไหมลายศรีภูมิดั้งเดิม
กำนันเดช ภูสองชั้น - ผู้เขียน "คนทุ่งกุลา", อดีตกำนันตำบลทุ่งหลวง
นายเลียบ แจ้งสนาม - ศิลปินพื้นบ้าน ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ของ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ( วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561 )
อ้างอิง
- ↑ "ข่าวตายหัวเมือง" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 19, 28 ธันวาคม 2445, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 67, 18 กรกฎาคม 2493, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 73, 3 สิงหาคม 2499, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 82, 23 มีนาคม 2508, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกันทรารมย์ เขมราฐ บึงกาฬ และสุวรรณภูมิ" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 83, 16 สิงหาคม 2509, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 83, 12 เมษายน 2509, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนทอง อำเภอธวัชบุรี อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอพนมไพร และกิ่งอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 84, 11 เมษายน 2510, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF), ราชกิจจานุเบกษา, vol. 88, 7 กันยายน 2514, สืบค้นเมื่อ 2024-11-15
- ↑ กระทรวงสาธารณสุข (1 มกราคม 2562). "จำนวนประชากรทะเบียนราษฏร์ ย้อนหลัง 3 ปี". hdcservice.moph.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
- ↑ "หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม วัดกู่พระโกนา อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด". ๑๐๘ พระเกจิ. 23 ธันวาคม 2563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.
- ↑ "พระครูสุพรรณภูมิคณาจารย์ (สอ)". ปักหมุดเมืองไทย. 11 สิงหาคม 2564. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.
- ↑ "สวยแบบไทย! ลำไย ไหทองคำ ลุคนี้ดี สมราคา ราชินีอินดี้เบอร์ 1 ของไทย". ทรูไอดี. 27 กรกฎาคม 2563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-13. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15.
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|