อลงกรณ์ พลบุตร
อลงกรณ์ พลบุตร (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์[1] ประวัติอลงกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดเพชรบุรี[2] มีชื่อเล่นว่า " จ้อน " เป็นบุตรนายเพิ่มพล พลบุตร อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี นางละออ พลบุตร ด้านครอบครัวสมรสกับนางคมคาย พลบุตร (สกุลเดิม: เฟื่องประยูร) อดีต สส.จันทบุรี บุตรีของสนิท เฟื่องประยูร เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีบุตร-ธิดารวม 3 คน คือ สภาวรรณ พลบุตร ธัชธรรม พลบุตร และพิมพ์สภา พลบุตร การศึกษา
การทำงานหลังจากเรียนจบปริญญาตรี นายอลงกรณ์เข้าป่าไปทำงานเหมืองของครอบครัว 1 ปี จึงเข้ากรุงเทพฯ เพราะพ่อแม่ และเพื่อนฝูง ต้องการให้นำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ โดยเมื่อเข้ากรุงเทพฯ นายอลงกรณ์ได้เข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์เสียงปวงชนซึ่งขณะนั้นมี นายกำแหง ภริตานนท์ เป็นผู้ควบคุม จากนั้นย้ายไปทำงานที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองและหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามลำดับ เมื่อเข้าทำงานที่แนวหน้า นายอลงกรณ์เป็นคนแรกที่เปิดหน้าเศรษฐกิจภาคภาษาไทย เมื่อปี 2526 ทำหน้าที่หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ และ บก.ข่าวในประเทศ มีบทบาทเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อสู้เพื่อปลดแอกสื่อ 2 เรื่อง คือต่อสู้เพื่อปลดโซ่ตรวนหนังสือพิมพ์ คือ ปร.42 และพยายามปลดแอกอาชีพหนังสือพิมพ์ นายอลงกรณ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานนักหนังสือพิมพ์เพื่อปกป้องคนหนังสือพิมพ์ และเป็นเลขาธิการสหภาพคนแรก ระหว่างอยู่ที่แนวหน้านายอลงกรณ์รับเป็นอาจารย์พิเศษของหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ธรรมศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ ม.กรุงเทพ และ ม.หอการค้า เป็นต้น ต่อมานายอลงกรณ์เดินทางไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ปี โดยทำงานด้าน อิมพอร์ตเอกซ์พอร์ตสิ่งทอ และกลับมาจัดตั้งบริษัท เทเลเพรส เพื่อผลิตรายการข่าวโทรทัศน์ให้กับช่อง 5 ถือเป็นผู้ผลิตข่าวโทรทัศน์รุ่นที่ 2 ต่อจาก บริษัทแปซิฟิค ของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และขณะเดียวกันนายอลงกรณ์รับเป็นรองผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวสด อีกด้วย งานการเมืองการทำรัฐประหารของคณะ รสช. ในปี พ.ศ. 2534 เป็นจุดพลิกผันให้นายอลงกรณ์ตัดสินใจลงเล่นการเมือง โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรกแต่สอบตกได้คะแนน 4 หมื่นคะแนน ในการลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 2 นายอลงกรณ์ประสบความสำเร็จได้เป็น ส.ส.สมัยแรก ด้วยคะแนนเสียงกว่า 74,000 คะแนน ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2535/2 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งปี พ.ศ. 2538 ด้วยคะแนนกว่า 1 แสนคะแนนเป็นที่หนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ต่อมาในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2539 นายอลงกรณ์สอบตกอีกครั้งแบบไม่คาดฝันแม้จะได้คะแนนกว่า 9 หมื่นคะแนน และในระหว่างนั้นนายชวน หลีกภัย ได้ให้นายอลงกรณ์ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการของนายกรัฐมนตรี นายอลงกรณ์ เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีพี่น้องทำงานการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี คือ นายอติพล พลบุตร (พี่ชาย) เคยดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี และ นายอิทธิพงษ์ พลบุตร (น้องชาย) อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี นายอดุลย์ พลบุตร (พี่ชาย) รับราชการสังกัดกรมการปกครอง นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับฉายาว่า "มิสเตอร์เอทานอล"[3][4] จากการเป็นผู้ผลักดันให้โครงการเอทานอลเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยผ่านความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2543 และส่งเสริมเอทานอลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอลงกรณ์ ยังเป็นผู้รับผิดชอบ โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Strategy Project , TSP)[5] ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการ และประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็บไซต์ www.thailandstrategy.com เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอลงกรณ์มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบการทุจริตในโครงการเช่าซอฟต์แวร์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ การทุจริตในสนามบินหนองงูเห่า เป็นต้นจนได้รับการคัดเลือกจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้เป็น"ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา ประจำปี 2546"พร้อมกับได้รับฉายา"มือปราบรัฐสภา" แต่นายอลงกรณ์ก็ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องและถูกแจ้งจับกว่า 20 คดีข้อหาหมิ่นประมาทจากคดีที่เขาเข้าไปตรวจสอบการทุจริตและโดนฟ้องทางแพ่งเกือบหมื่นล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงาน[6] นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ[7] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ[8] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย หลังจากนั้นนายอลงกรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 5 สิงหาคม 2558 และสมาชิกสภาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1 ในเวลาต่อมา นายอลงกรณ์ เคยประกาศตัวลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มาแล้วในปี 2561 แต่ไม่ได้รับเลือก รวมถึงประกาศตัวลงสมัครในปี 2566[9] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอลงกรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย
การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia