องคชาตมนุษย์
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ องคชาตเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศชาย (อวัยวะสอดใส่ระหว่างการสืบพันธุ์) ที่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของการขับถ่ายปัสสาวะและการหลั่งน้ำอสุจิ ส่วนประกอบหลักขององคชาตได้แก่ ราก (Radix) ลำตัว (Corpus) และเยื่อบุผิวขององคชาตซึ่งรวมถึงผิวหนังบริเวณลำองคชาตและหนังหุ้มปลายองคชาตที่ห่อหุ้มหัวองคชาต ลำตัวขององคชาตประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามแท่ง ได้แก่ คอร์ปุส คาเวอร์โนซุม (Corpus cavernosum) สองแท่งที่ด้านหลัง และคอร์ปุส สปอนจิโอซุม (Corpus spongiosum) ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของคอร์ปุส คาเวอร์โนซุม ท่อปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นจุดที่ท่อฉีดอสุจิเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ และจากนั้นผ่านไปยังองคชาต ท่อปัสสาวะทอดตัวไปในคอร์ปัส สปอนจิโอซุม และเปิดออกที่ปลายหัวองคชาตในรูปแบบของช่องเปิดที่เรียกว่า รูปัสสาวะ (Meatus) การแข็งตัวขององคชาตเป็นกระบวนการที่องคชาตขยายตัว แข็งตัว และเปลี่ยนทิศทางในลักษณะตั้งฉาก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศ การแข็งตัวสามารถเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับเพศได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นและระหว่างการนอนหลับ ในสภาวะที่องคชาตไม่แข็งตัว องคชาตจะมีขนาดเล็กกว่า นุ่มและยืดหยุ่นได้ และหัวองคชาตจะถูกคลุมด้วยหนังหุ้มปลาย ในสภาวะที่องคชาตแข็งตัวเต็มที่ ส่วนลำองคชาตจะมีความแข็งแรง และหัวองคชาตจะพองตัวแต่ไม่แข็งตัว องคชาตที่แข็งตัวอาจมีลักษณะตรงหรือโค้ง และอาจชี้ไปในทิศทางขึ้น ทิศทางลง หรือชี้ตรงไปข้างหน้า ตามข้อมูลปี 2558 ขนาดเฉลี่ยขององคชาตในสภาวะแข็งตัวคือ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว) และมีเส้นรอบวงเฉลี่ย 11.66 เซนติเมตร (4.59 นิ้ว)[1][2] ทั้งนี้ อายุและขนาดขององคชาตในสภาวะไม่แข็งตัวไม่สามารถทำนายขนาดขององคชาตในสภาวะแข็งตัวได้อย่างแม่นยำ มีการดัดแปลงร่างกายที่พบบ่อยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับองคชาต เช่น การขริบและการเจาะ องคชาตเป็นอวัยวะที่มีต้นกำเนิดเหมือนกันกับปุ่มกระสันในเพศหญิง[3] โครงสร้างสามส่วนหลักขององคชาตประกอบด้วย
องคชาตของมนุษย์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพองยุบได้สามแท่ง ได้แก่ คอร์ปุส คาเวอร์โนซุม จำนวนสองแท่งวางตัวขนานกัน (แยกด้วยผนังกั้น) ทางด้านบน และคอร์ปุส สปอนจิโอซุม หนึ่งแท่งวางตัวระหว่างแท่งคอร์ปอรา คาเวอร์โนซาทั้งสองทางด้านท้อง[6] เนื้อเยื่อเหล่านี้ล้อมรอบด้วยชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแข็งที่เรียกว่า ทูนิคา อัลบูจิเนีย คอร์ปุส คาเวอร์โนซุมได้รับการควบคุมจากเส้นประสาทคาเวอร์นัสเล็กและใหญ่ และส่วนประกอบใหญ่ขององคชาตมีหลอดเลือดซึ่งเติมเต็มด้วยเลือดเพื่อช่วยในการแข็งตัว[7] โดยที่ขาองคชาตเป็นส่วนปลายของคอร์ปุส คาเวอร์โนซุมทั้งสอง ส่วนคอร์ปุส สปอนจิโอซุมเป็นเนื้อเยื่อพองยุบได้ที่ห่อหุ้มท่อปัสสาวะ บริเวณปลายส่วนต้นเป็นกระเปาะองคชาตและปลายส่วนปลายเป็นหัวองคชาต[4] การขยายใหญ่และมีลักษณะเป็นกระเปาะของปลายของคอร์ปุส สปอนจิโอซุม ทำให้เกิดเป็นหัวองคชาต ซึ่งมีโพรงสองประเภทเฉพาะที่รองรับหนังหุ้มปลายองคชาต หนังหุ้มปลายองคชาตเป็นผิวหนังที่หลวมซึ่งในผู้ใหญ่สามารถร่นกลับเพื่อเผยหัวองคชาตได้[8] พื้นที่ด้านใต้ของหัวองคชาตบริเวณที่หนังหุ้มปลายองคชาตยึดเกาะ เรียกว่า เส้นสองสลึง ฐานที่เป็นวงกลมของหัวองคชาต เรียกว่า โคโรนา พื้นผิวด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาตและโคโรนามีต่อมไขมันที่หลั่งสารที่เรียกว่าขี้เปียก โครงสร้างขององคชาตยังได้รับการสนับสนุนโดยกล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานด้วย ท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินปัสสาวะ จะผ่านเข้าไปในคอร์ปุส สปอนจิโอซุม (ท่อปัสสาวะฟองน้ำ) และเปิดออกที่บริเวณส่วนปลายที่เรียกว่ารูปัสสาวะ ซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายสุดของหัวองคชาต ทำหน้าที่เป็นทางผ่านสำหรับทั้งปัสสาวะและการหลั่งน้ำอสุจิ แนวประสานองคชาตเป็นสันที่สามารถมองเห็นได้ซึ่งแบ่งครึ่งซ้ายและขวาขององคชาต พบได้ทางด้านล่างหรือด้านท้องขององคชาต โดยเริ่มจากรูเปิดของท่อปัสสาวะและต่อเนื่องเป็นแนวประสานฝีเย็บผ่านถุงอัณฑะไปยังฝีเย็บ (พื้นที่ระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนัก)[9] องคชาตมนุษย์แตกต่างจากองคชาตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ตรงที่ไม่มี baculum หรือกระดูกอวัยวะเพศ โดยแทนที่ด้วยการกักเลือดให้คั่งอยู่เพื่อให้เกิดภาวะแข็งตัว เอ็นส่วนปลายที่ค้ำยันหัวองคชาตมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างเส้นใยที่เป็นเหมือนกระดูก (fibroskeleton) ขององคชาต โครงสร้างนี้เรียกว่า "os analog" ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติโดยชื่อเกิงหรง ในสารานุกรมการสืบพันธุ์[10] โครงสร้างดังกล่าวเป็นส่วนที่หลงเหลือมาจาก baculum ที่มีวิวัฒนาการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในวิธีการผสมพันธุ์[11] องคชาตมนุษย์ไม่สามารถหดกลับเข้าไปในบริเวณขาหนีบได้ และมีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยในอาณาจักรสัตว์เมื่อเทียบตามสัดส่วนมวลกาย องคชาตมนุษย์สามารถเปลี่ยนลักษณะจากการอ่อนนุ่มดั่งผ้าฝ้ายไปจนถึงแข็งทื่อดั่งกระดูก ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดงที่มีความแปรผันระหว่าง 2–3 ถึง 60–80 มิลลิลิตรต่อนาที แสดงให้เห็นถึงสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการประยุกต์ใช้กฎของปาสกาลในร่างกายมนุษย์โดยรวม ทำให้องคชาตเป็นโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว[10] ขนาดการวัดขนาดอวัยวะเพศชายนั้นมีความแปรปรวน โดยการศึกษาที่อาศัยการวัดด้วยตนเองมักรายงานขนาดเฉลี่ยที่ยาวกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ในปี 2558 การปริทัศน์อย่างเป็นระบบจากกลุ่มตัวอย่างผู้ชายจำนวน 15,521 คน ซึ่งได้รับการวัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ พบว่า ความยาวเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 13.12 เซนติเมตร (5.17 นิ้ว) ขณะที่เส้นรอบวงเฉลี่ยขององคชาตขณะแข็งตัวอยู่ที่ 11.66 เซนติเมตร (4.59 นิ้ว)[1][2] ท่ามกลางบรรดาไพรเมต องคชาตของมนุษย์มีขนาดใหญ่ที่สุดในด้านเส้นรอบวง แต่มีความยาวที่สามารถเทียบได้กับองคชาตของชิมแปนซีและไพรเมตชนิดอื่น ๆ[12] ขนาดขององคชาตได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม แต่ก็อาจถูกกระทบโดยปัจจัยแวดล้อม เช่น การใช้ยาด้านภาวะเจริญพันธุ์[13] และการสัมผัสกับสารเคมีหรือมลพิษ[14][15][16] การเปลี่ยนแปลงปกติ
การพัฒนาเมื่อทารกในครรภ์ได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์จะยืดออก (เป็นองคชาตแรกเริ่ม) และพัฒนาเป็นปลายและลำขององคชาต และส่วนทบอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะจะรวมกันเป็นแนวประสานองคชาต[19][20][21][22] ส่วนท่อปัสสาวะภายในองคชาต (ยกเว้นภายในหัว) พัฒนามาจากโพรงอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ[23] การเจริญในวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่อเข้าสู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์ องคชาต ถุงอัณฑะ และอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงขนาดสมบูรณ์ ในระหว่างกระบวนการนี้ ขนหัวหน่าวจะขึ้นบริเวณเหนือและรอบ ๆ องคชาต จากการศึกษาขนาดขององคชาตในผู้ชายอายุ 17 ถึง 19 ปีจำนวนมาก ไม่พบความแตกต่างระหว่างขนาดเฉลี่ยขององคชาตในวัย 17 ปีและ 19 ปี ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าการเจริญเติบโตขององคชาตจะสมบูรณ์ภายในอายุ 17 ปี หรือน้อยกว่านั้น[24] หน้าที่ทางสรีรวิทยาการถ่ายปัสสาวะในเพศชาย การขับปัสสาวะออกจากร่างกายจะเสร็จสิ้นผ่านทางองคชาต โดยท่อปัสสาวะจะระบายน้ำออกจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านต่อมลูกหมากซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับท่อฉีดอสุจิ และจากนั้นจึงเข้าสู่องคชาต ที่รากขององคชาต (ส่วนต้นของคอร์ปุส สปอนจิโอซุม) มีกล้ามเนื้อหูรูดภายนอก ซึ่งเป็นหูรูดขนาดเล็กของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายและในผู้ชายสุขภาพดีสามารถควบคุมได้โดยสมัครใจ การคลายตัวของหูรูดท่อปัสสาวะช่วยให้ปัสสาวะในท่อปัสสาวะส่วนบนไหลเข้าสู่องคชาตอย่างเหมาะสมและทำให้กระเพาะปัสสาวะว่างเปล่า ทางสรีรวิทยา การถ่ายปัสสาวะเกี่ยวพันกับการประสานงานกันระหว่างระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอัตโนวัติ และ ระบบประสาทโซมาติก ในทารกหรือผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการบาดเจ็บของระบบประสาท การถ่ายปัสสาวะอาจเกิดขึ้นในรูปแบบของรีเฟล็กซ์โดยไม่สมัครใจ ศูนย์สมองที่ควบคุมการปัสสาวะ ได้แก่ ศูนย์ถ่ายปัสสาวะพอนทีน (Pontine micturition center), เนื้อเทาพีเรียคืวดักทัล (Periaqueductal gray) และ เปลือกสมอง[25] ในระหว่างการแข็งตัว ศูนย์เหล่านี้จะยับยั้งการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อทำหน้าที่แยกทางสรีรวิทยาระหว่างการขับถ่ายและการสืบพันธุ์ขององคชาต และป้องกันไม่ให้ปัสสาวะไหลเข้าไปอยู่ในท่อปัสสาวะระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ[26] ตำแหน่งถ่ายทิ้งส่วนปลายของท่อปัสสาวะช่วยให้มนุษย์เพศชายสามารถควบคุมทิศทางของการปัสสาวะโดยการถือองคชาต ความยืดหยุ่นนี้ทำให้เพศชายสามารถเลือกท่าทางในการปัสสาวะได้ ในวัฒนธรรมที่มีการสวมใส่เสื้อผ้าเป็นอย่างน้อย องคชาตช่วยให้เพศชายสามารถปัสสาวะในท่ายืนโดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้ามากนัก เป็นที่ทราบกันว่าบางวัฒนธรรมมีธรรมเนียมให้เด็กผู้ชายและผู้ชายปัสสาวะในท่านั่งหรือหมอบ ซึ่งท่าทางดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรม[27] งานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับความเหนือกว่าของท่าทางใด ๆ ยังมีข้อมูลแบบวิวิธพันธุ์ที่หลากหลาย การวิเคราะห์อภิมานที่สรุปหลักฐานพบว่าไม่มีท่าทางใดที่เหนือกว่าสำหรับชายหนุ่มและชายที่มีสุขภาพดี[28] อย่างไรก็ตาม สำหรับชายสูงอายุที่มีกลุ่มอาการระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower Urinary Tract Symptoms; LUTS) ท่านั่งเมื่อเทียบกับท่ายืนมีความแตกต่างกันดังนี้:
ข้อมูลปัสสาวะพลวัตนี้สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การกระตุ้นและอารมณ์ทางเพศองคชาตก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศ เช่น จากสิ่งกระตุ้นทางจิตใจ (จินตนาการทางเพศ) กิจกรรมร่วมกับคู่นอน หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การถึงจุดสุดยอด หัวองคชาตและเส้นสองสลึงใต้หัวหัวองคชาตเป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกทางเพศ[29] หัวองคชาตมีปลายประสาทจำนวนมาก ทำให้เป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกที่สุด[30] การแข็งตัวการแข็งตัวขององคชาต คือ การที่องคชาตแข็งทื่อและยกตัวสูงขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน การแข็งตัวโดยธรรมชาติอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงวัยรุ่นเนื่องจากการเสียดสีกับเสื้อผ้า การเต็มของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความตื่นกลัว และการถอดเสื้อผ้าในสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเพศ นอกจากนี้ การแข็งตัวยังอาจเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับและในตอนตื่นนอนได้เช่นกัน (ดูที่ องคชาตแข็งตัวขณะหลับ) กลไกทางสรีรวิทยาหลักที่นำไปสู่การแข็งตัวคือการขยายตัวอัตโนมัติของหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปยังองคชาต ซึ่งช่วยให้เลือดไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อฟองน้ำขององคชาต ได้แก่ คอร์ปุส คาร์เวอโนซุม และคอร์ปุส สปอนจิโอซุม ทำให้องคชาตยาวและแข็งตัวขึ้น หลังจากการขยายหลอดเลือด เนื้อเยื่อฟองน้ำที่เต็มไปด้วยเลือดจะกดทับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากองคชาต ทำให้เลือดที่ไหลเข้าสู่องคชาตมีปริมาณมากกว่าเลือดที่ไหลออกจนกระทั่งถึงสภาวะสมดุลที่ปริมาตรการไหลของเลือดที่ไหลเข้ามาในหลอดเลือดแดงและเลือดที่ไหลออกจากหลอดเลือดดำเท่ากัน ขนาดการแข็งตัวที่คงที่เกิดขึ้นจากความสมดุลนี้ การแข็งตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการร่วมเพศ แม้ว่าจะไม่จำเป็นสำหรับกิจกรรมทางเพศอื่นบางประเภท องศาการแข็งตัวแม้ว่าองคชาตโดยมากจะแข็งตัวขึ้นไปด้านบน แต่เป็นเรื่องธรรมดาและปกติที่องคชาตจะแข็งตัวในทิศทางใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความตึงของเอ็นแขวนองคชาต ตารางต่อไปนี้แสดงถึงองศาการแข็งตัวในท่ายืนของเพศชาย จากตัวอย่างเพศชาย 81 คน อายุระหว่าง 21 ถึง 67 ปี โดยในตารางนี้ 0 องศาจะชี้ตรงขึ้นไปยังหน้าท้อง, 90 องศาจะเป็นแนวนอนและชี้ตรงไปด้านหน้า ขณะที่ 180 องศาจะชี้ตรงลงไปที่เท้า มุมชี้ขึ้นเป็นมุมที่พบบ่อยที่สุด[31]
การหลั่งน้ำอสุจิการหลั่งน้ำอสุจิคือการขับดันน้ำอสุจิออกจากองคชาต ซึ่งมักเกิดขึ้นพร้อมกับความเสียวสุดยอดทางเพศ การหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นชุดช่วยส่งน้ำอสุจิ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่เรียกว่า เซลล์อสุจิ หรือ สเปิร์มาโตซูน จากองคชาต การหลั่งน้ำอสุจิมักเกิดจากการกระตุ้นทางเพศ แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากโรคต่อมลูกหมาก การหลั่งน้ำอสุจิอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติในระหว่างการนอนหลับ (เรียกว่าฝันเปียก) ภาวะไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (Anejaculation) เป็นภาวะที่บุคคลไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ การผลิตตัวอสุจิเกิดขึ้นในอัณฑะและเก็บไว้ในส่วนที่เรียกว่าเอพิดิไดมิส (epididymides) ในระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะถูกขับขึ้นผ่านหลอดนำอสุจิ (vasa deferentia) สองหลอดที่ผ่านข้ามและหลังกระเพาะปัสสาวะ มีการเติมของเหลวจากถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicles) และหลอดนำอสุจิจะกลายเป็นท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory ducts) ซึ่งเข้าร่วมกับท่อปัสสาวะภายในต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากและต่อมบูลโบยูรีทรัล (bulbourethral glands) จะเติมสารคัดหลั่งเพิ่มเติม (รวมถึงน้ำหล่อลื่น) และน้ำอสุจิจะถูกขับออกทางองคชาต การหลั่งน้ำอสุจิมีสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนการปล่อย (emission) และการหลั่งน้ำอสุจิอย่างสมบูรณ์ (ejaculation proper) ขั้นตอนการปล่อยอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก ขณะที่การหลั่งน้ำอสุจิอย่างสมบูรณ์อยู่ภายใต้การควบคุมของรีเฟล็กซ์ไขสันหลังที่ระดับเส้นประสาทไขสันหลัง S2-4 ผ่านเส้นประสาทพุเดนดัล (pudendal nerve) มีระยะเวลาที่ไม่ตอบสนอง (refractory period) หลังจากการหลั่งน้ำอสุจิ และการกระตุ้นทางเพศนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิ[32] กล้ามเนื้ออิซคีโอคาเวอร์โนซุส (ischiocavernosus) ช่วยคงความแข็งตัวขององคชาตโดยการกดทับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากองคชาตให้ช้าลง กล้ามเนื้อบัลโบสปอนจิโอซุส (bulbospongiosus) ช่วยในการแข็งตัวรวมถึงการขับปัสสาวะและน้ำอสุจิ การดัดแปลงการวิวัฒน์มีการถกเถียงกันว่าองคชาตของมนุษย์มีการปรับตัวเชิงวิวัฒนาการหลายประการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการปรับตัวเหล่านี้คือการเพิ่มความสำเร็จในการสืบพันธุ์และลดการแข่งขันของอสุจิ การแข่งขันของอสุจิหมายถึงสถานการณ์ที่อสุจิของผู้ชายสองคนอยู่พร้อมกันในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงและแข่งกันเพื่อปฏิสนธิกับไข่[33] หากการแข่งขันของอสุจิส่งผลให้อสุจิของเพศชายคู่แข่งปฏิสนธิกับไข่ จะเกิดกรณีภาวะมีชู้ขึ้น นี่คือกระบวนการที่เพศชายลงทุนทรัพยากรของตนไปกับลูกหลานของชายอื่นโดยไม่รู้ตัว และในแง่วิวัฒนาการควรหลีกเลี่ยง[34] การปรับตัวขององคชาตมนุษย์ที่ได้รับการวิจัยมากที่สุดคือขนาดของอัณฑะและองคชาต การปรับเปลี่ยนการหลั่งน้ำอสุจิ และการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิ[35] ลูกอัณฑะและขนาดองคชาตการวิวัฒนาการได้ก่อให้เกิดการคัดเลือกทางเพศ โดยเกิดการปรับตัวขึ้นในขนาดองคชาตและขนาดอัณฑะเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการสืบพันธุ์สูงสุดและเพื่อให้มีการแข่งขันของอสุจิน้อยที่สุด[36][37] การแข่งขันของอสุจิได้ส่งผลให้เกิดการวิวัฒนาการในความยาวและขนาดขององคชาตมนุษย์เพื่อการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายอสุจิ[37] เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ องคชาตจะต้องมีความยาวเพียงพอที่จะเข้าถึงตัวอสุจิของคู่แข่งใด ๆ และเติมเต็มช่องคลอดให้ได้มากที่สุด[37] เพื่อให้มั่นใจว่าเพศหญิงจะยังคงมีตัวอสุจิของเพศชายเหลืออยู่ การปรับตัวในด้านความยาวขององคชาตมนุษย์จึงเกิดขึ้นเพื่อให้การหลั่งน้ำอสุจิเกิดขึ้นใกล้กับคอมดลูก[38] ซึ่งจะสำเร็จได้เมื่อเกิดการสอดใส่อย่างสมบูรณ์ และองคชาตจะถูกผลักให้ชนกับคอมดลูก[39] การปรับตัวนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อให้การปล่อยและการคงไว้ซึ่งอสุจิไปยังจุดสูงสุดของระบบทางเดินช่องคลอด เป็นผลให้การปรับตัวนี้ยังทำให้ตัวอสุจิไม่เสี่ยงต่อการเคลื่อนย้ายและการสูญเสียน้ำอสุจิ อีกเหตุผลหนึ่งสำหรับการปรับตัวนี้คือ เนื่องจากลักษณะท่าทางของมนุษย์ แรงโน้มถ่วงได้สร้างความเสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำอสุจิ ดังนั้น องคชาตที่ยาวซึ่งสามารถวางน้ำอสุจิในส่วนลึกของระบบทางเดินช่องคลอด จะช่วยลดการสูญเสียน้ำอสุจิได้[40] อีกทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของขนาดองคชาตคือการเลือกคู่ของเพศหญิงและการเชื่อมโยงกับการตัดสินทางสังคมในสมัยปัจจุบัน[37][41] การศึกษาที่แสดงถึงการเลือกคู่ของเพศหญิงที่มีอิทธิพลต่อขนาดองคชาตได้นำเสนอภาพจำลองของเพศชายที่สามารถหมุนได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความสูง รูปร่าง และขนาดขององคชาตขณะอ่อนตัว ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของความเป็นชาย[37] การจัดอันดับความน่าดึงดูดใจโดยเพศหญิงสำหรับเพศชายแต่ละคนได้เผยให้เห็นว่าขนาดองคชาตที่ใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับอันดับที่สูงขึ้นในด้านความน่าดึงดูดใจ[37] ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดองคชาตและความน่าดึงดูดใจนี้ได้นำไปสู่การเชื่อมโยงที่พบบ่อยระหว่างความเป็นชายและขนาดองคชาตในสื่อที่เป็นที่นิยม[41] สิ่งนี้ได้นำไปสู่อคติทางสังคมที่ว่าขนาดองคชาตที่ใหญ่จะเป็นที่ต้องการและมีสถานะทางสังคมที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนในเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างความสามารถทางเพศและขนาดองคชาตของเพศชาย และการตัดสินทางสังคมว่าขนาดองคชาตมีความสัมพันธ์กับ 'ความเป็นลูกผู้ชาย'[41] เช่นเดียวกับองคชาต การแข่งขันของอสุจิได้ทำให้อัณฑะเกิดการวิวัฒนาการด้านขนาดผ่านการคัดเลือกทางเพศ[36] ซึ่งหมายความว่าอัณฑะขนาดใหญ่เป็นตัวอย่างของการปรับตัวจากการคัดเลือกทางเพศ อัณฑะของมนุษย์มีขนาดปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น ๆ เช่น กอริลลาและชิมแปนซี โดยอยู่ในระดับกลาง[42] อัณฑะที่มีขนาดใหญ่นั้นมีประโยชน์ในการแข่งขันของอสุจิ เนื่องจากความสามารถในการผลิตการหลั่งอสุจิที่มากกว่า[43] การวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างจำนวนของอสุจิที่ถูกหลั่งและขนาดของอัณฑะ[43] อัณฑะที่มีขนาดใหญ่ยังแสดงถึงคุณภาพของอสุจิที่สูงขึ้น รวมถึงจำนวนของอสุจิที่เคลื่อนไหวและความสามารถในการเคลื่อนไหวของอสุจิที่สูงขึ้น[36] การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการปรับตัวของขนาดอัณฑะนั้นขึ้นอยู่กับระบบการผสมพันธุ์ในแต่ละสปีชีส์[44] ระบบการผสมพันธุ์แบบตัวผู้ตัวเดียวหรือสังคมการมีคู่สมรสคนเดียวมีแนวโน้มที่จะมีขนาดอัณฑะเล็กกว่าระบบการผสมพันธุ์แบบหลายตัวผู้หรือการมีคู่นอกสมรส มนุษย์นั้นอยู่ในสังคมการมีคู่สมรสคนเดียวเหมือนกับกอริลลา ดังนั้น ขนาดของอัณฑะจึงเล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวานรที่มีระบบการผสมพันธุ์แบบหลายตัวผู้ เช่น ชิมแปนซี สาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างในขนาดอัณฑะนั้นเพราะในการประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ในระบบการผสมพันธุ์แบบหลายตัวผู้ ตัวผู้จะต้องมีความสามารถในการสร้างการหลั่งอสุจิหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง[36] อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่กรณีของสังคมการมีคู่สมรสคนเดียว ซึ่งการลดลงในการหลั่งเพื่อผสมพันธุ์นั้นไม่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการสืบพันธุ์[36] สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นในมนุษย์ โดยที่จำนวนการหลั่งของอสุจิจะลดลงหากมีการหลั่งมากกว่า 3 ถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์[45] การปรับเปลี่ยนในการหลั่งน้ำอสุจิหนึ่งในวิธีหลักที่น้ำอสุจิของเพศชายวิวัฒนาการเพื่อเอาชนะการแข่งขันของอสุจิคือผ่านความเร็วที่อสุจิเคลื่อนที่ การหลั่งน้ำอสุจิสามารถเดินทางได้ไกลถึง 60 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับการวางตำแหน่งในตำแหน่งสูงสุดของทางช่องคลอดแล้ว จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชายนั้นแทนที่จะเป็นของเพศชายอื่น จึงเพิ่มความมั่นใจสูงสุดในการเป็นบิดา (paternal certainty)[40] นอกจากนี้ เพศชายยังสามารถและทำการปรับการหลั่งน้ำอสุจิของตนเพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันของอสุจิ และตามความได้เปรียบอย่างสูงสุดในการจับคู่กับเพศหญิงคนหนึ่ง[46] การวิจัยมุ่งเน้นไปที่วิธีพื้นฐานสองประการที่เพศชายใช้ในการประสบความสำเร็จนี้ ได้แก่ การปรับปริมาณของการหลั่งน้ำอสุจิและการปรับคุณภาพของการหลั่งน้ำอสุจิ ปริมาณจำนวนของอสุจิในแต่ละการหลั่งน้ำอสุจิจะแตกต่างกันไป[47] ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกสมมุติฐานว่าเป็นความพยายามของเพศชายในการลดการแข่งขันของอสุจิ เพศชายจะปรับจำนวนอสุจิที่ส่งเข้าไปในเพศหญิงตามระดับที่ตนรับรู้ว่ามีการแข่งขันของอสุจิ โดยจะหลั่งอสุจิจำนวนมากขึ้นหากสงสัยว่ามีระดับการแข่งขันสูงจากเพศชายอื่น[35] การวิจัยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนในการหลั่งน้ำอสุจิแสดงว่า เพศชายมักเพิ่มจำนวนอสุจิที่หลั่งเข้าไปในคู่ของตนหลังจากแยกจากกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง[48] เนื่องจากช่วงเวลาที่คู่สามารถใช้ร่วมกันได้น้อยลง จะมีโอกาสที่เพศหญิงจะถูกผสมพันธุ์โดยเพศชายอื่นเพิ่มขึ้น[49] การเพิ่มจำนวนอสุจิที่หลั่งเข้าไปในเพศหญิงจะเพิ่มความมั่นใจในการเป็นบิดาเมื่ออสุจิของผู้อื่นอาจถูกเก็บไว้ในเพศหญิงจากการมีคู้ซ้อน (extra-pair copulations) ในระหว่างที่แยกกัน การเพิ่มจำนวนอสุจิเพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันของอสุจิไม่พบในกรณีการหลั่งน้ำอสุจิจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง[35] คุณภาพเพศชายยังปรับการหลั่งน้ำอสุจิในแง่ของคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันของอสุจิด้วย งานวิจัยแสดงว่า การดูภาพทางเพศที่มีเพศหญิงและเพศชายสองคน (ซึ่งมีการแข่งขันสูง) สามารถทำให้เพศชายผลิตอสุจิที่เคลื่อนไหวได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการดูภาพทางเพศที่มีเพศหญิงสามคน (ซึ่งมีการแข่งขันต่ำ)[50] เช่นเดียวกับการเพิ่มจำนวน การเพิ่มคุณภาพของอสุจิที่หลั่งเข้าไปในเพศหญิงจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเป็นบิดาเมื่อมีการแข่งขันของอสุจิสูง คุณภาพลักษณะปรากฏของเพศหญิงคุณภาพลักษณะปรากฏของเพศหญิงเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุนในการหลั่งน้ำอสุจิของเพศชาย[51] งานวิจัยแสดงว่า เพศชายจะผลิตการหลั่งน้ำอสุจิที่มีจำนวนมากขึ้นและอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเมื่อผสมพันธุ์กับเพศหญิงที่มีคุณภาพสูงกว่า[46] ทั้งนี้เพื่อลดการแข่งขันของอสุจิลง เนื่องจากเพศหญิงที่มีเสน่ห์ดึงดูดมากกว่าจะถูกเข้าหาและเกิดการผสมพันธุ์โดยเพศชายมากกว่าเพศหญิงที่มีเสน่ห์ดึงดูดน้อยกว่า[52] ดังนั้น การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของการหลั่งน้ำอสุจิจึงเป็นประโยชน์เมื่อจับคู่กับเพศหญิงที่มีเสน่ห์มาก เนื่องจากทำให้มีแนวโน้มในความสำเร็จในการสืบพันธุ์สูงสุดเช่นกัน การประเมินลักษณะปรากฏของเพศหญิงช่วยให้เพศชายตัดสินใจว่าจะลงทุน (หรือลงทุนมากขึ้น) กับเพศหญิงคนใด ซึ่งจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนในการหลั่งน้ำอสุจิในภายหลัง การเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิรูปร่างขององคชาตมนุษย์เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากวิวัฒนาการที่เกิดจากการแข่งขันของอสุจิ[53] การเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิเป็นการปรับตัวของรูปร่างองคชาตที่มีจุดประสงค์เพื่อดึงน้ำอสุจิของชายอื่นออกจากคอมดลูก ซึ่งหมายความว่า หากมีตัวอสุจิของเพศชายคู่แข่งอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง องคชาตของมนุษย์จะสามารถแทนที่อสุจิของคู่แข่งด้วยอสุจิของตนเองได้[54] การเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิมีประโยชน์หลักสองประการ ได้แก่ ประการแรก การเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิของคู่แข่งทำให้ความเสี่ยงที่อสุจิของคู่แข่งจะปฏิสนธิกับไข่ลดลง ซึ่งช่วยลดโอกาสในการแข่งขันของอสุจิ[55] ประการที่สอง เพศชายจะแทนที่อสุจิของคู่แข่งด้วยอสุจิของตนเอง ซึ่งเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิกับไข่และสำเร็จในการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เพศชายต้องมั่นใจว่าจะไม่เคลื่อนย้ายน้ำอสุจิของตนเอง ซึ่งเชื่อกันว่าการที่องคชาตสูญเสียการแข็งตัวอย่างรวดเร็วหลังการหลั่ง การไวต่อสัมผัสหลังการหลั่ง และการดันเข้าไปอย่างตื้นและช้าหลังการหลั่งจะช่วยป้องกันการเกิดเหตุการณ์นี้[54] แนวโคโรนาเป็นส่วนที่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการขึ้นเพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิ การวิจัยได้ศึกษาปริมาณน้ำอสุจิที่ถูกแทนที่โดยอวัยวะเพศจำลองที่มีรูปร่างต่างกัน[55] ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อรวมกับการดันเข้าไป แนวโคโรนาขององคชาตสามารถขจัดน้ำอสุจิของคู่แข่งออกจากระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้ โดยการดันให้น้ำอสุจิอยู่ใต้เส้นสองสลึงของแนวโคโรนา ทำให้เกิดการสะสมขึ้นที่ด้านหลังแนวโคโรนา เมื่อใช้อนุภาคจำลองที่ไม่มีแนวโคโรนา[55] พบว่าน้ำอสุจิจำลองที่ถูกแทนที่มีน้อยกว่าครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอวัยวะเพศที่มีแนวโคโรนา[55] อย่างไรก็ตาม การมีแนวโคโรนาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการดันเข้าไปอย่างเหมาะสมด้วย ยิ่งมีการดันเข้าไปลึกมากเท่าไร การเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิก็จะมีมากขึ้น และไม่มีการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิเกิดขึ้นในการดันเข้าไปอย่างตื้น[55] บางส่วนจึงเรียกการดันเข้าไปนี้ว่าเป็นพฤติกรรมการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิ[56] พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิ ได้แก่ การดันเข้าไป (จำนวนครั้งและความลึกของการดัน) และระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์[56] ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันตามการรับรู้ถึงความเสี่ยงของการนอกใจของคู่ครอง ทั้งเพศชายและเพศหญิงรายงานว่ามีพฤติกรรมการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิมากขึ้นหลังจากการกล่าวหาว่านอกใจ โดยเฉพาะหลังการกล่าวหาว่านอกใจ ทั้งเพศชายและเพศหญิงรายงานว่าการมีเพศสัมพันธ์มีการดันเข้าไปลึกและเร็วขึ้น[55] มีการแนะนำว่าการขริบหนังหุ้มปลายองคชาตอาจส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิ โดยการขริบอาจทำให้แนวโคโรนาเด่นชัดขึ้น[40] ซึ่งอาจปรับปรุงการเคลื่อนย้ายน้ำอสุจิได้ ข้อสังเกตนี้ได้รับการสนับสนุนจากรายงานของเพศหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชายที่ขริบแล้ว โดยพบว่าเพศหญิงรายงานว่ามีการลดลงของน้ำหล่อลื่นช่องคลอดและเพศชายที่ขริบแล้วมีการดันเข้าไปลึกมากกว่า[57] ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่าแนวโคโรนาที่เด่นชัดรวมกับการดันเข้าไปลึกอาจทำให้สารคัดหลั่งในช่องคลอดของเพศหญิงเกิดการเคลื่อนย้ายในลักษณะเดียวกับอสุจิของคู่แข่ง[40] ความสำคัญทางคลินิกความผิดปกติ
ความผิดปกติทางการพัฒนา
การถูกกล่าวหาและความผิดปกติที่สังเกตได้ทางจิตวิทยา
สังคมและวัฒนธรรมการดัดแปลงองคชาตบางครั้งอาจถูกเจาะหรือตกแต่งด้วยศิลปะบนเรือนร่าง นอกเหนือจากการขริบแล้ว การดัดแปลงองคชาตส่วนใหญ่จะเป็นการเลือกทำด้วยความสมัครใจและมักมีจุดประสงค์เพื่อความสวยงามหรือเพิ่มความไวในการรับรู้ การเจาะอวัยวะเพศชายรวมถึงแบบเจ้าชายอัลเบิร์ต อะพัดราวยา อัมปาลลัง ดีโด การเจาะเส้นสองสลึง นอกจากนี้ การฟื้นฟูหนังหุ้มปลายองคชาตหรือการยืดหนังหุ้มปลายองคชาตก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการดัดแปลงร่างกาย รวมถึงการฝังวัสดุใต้ลำของอวัยวะเพศชาย การสักอวัยวะเพศชายก็เป็นการดัดแปลงอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน ผู้หญิงข้ามเพศที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศจะมีการดัดแปลงองคชาตเป็นช่องคลอดหรือคลิตอริสผ่านการศัลยกรรมตกแต่งช่องคลอดหรือการสร้างคลิตอริสตามลำดับ ส่วนผู้ชายข้ามเพศที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศจะได้รับการศัลยกรรมตกแต่งองคชาตหรือการสร้างองคชาตขนาดเล็ก การปฏิบัติอื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงองคชาตก็มีอยู่ แม้ว่าจะพบได้ยากในสังคมตะวันตกโดยไม่มีอาการป่วยที่วินิจฉัยได้ นอกเหนือจากการตัดองคชาตแล้ว การผ่าใต้องคชาต ซึ่งเป็นการแยกท่อปัสสาวะออกตามแนวด้านล่างของอวัยวะเพศชาย นับเป็นการดัดแปลงที่รุนแรงที่สุด การผ่าใต้องคชาตมีต้นกำเนิดมาจากชนพื้นเมืองออสเตรเลีย แม้ว่าจะพบในบางคนในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในปัจจุบัน การขริบการขริบหนังหุ้มปลายเป็นการดัดแปลงร่างกายที่เกี่ยวข้องกับองคชาตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเป็นการตัดหนังหุ้มปลายออกบางส่วนหรือทั้งหมด การขริบมักจะกระทำโดยสมัครใจด้วยเหตุผลทางการป้องกัน สุขอนามัย วัฒนธรรม หรือศาสนา[62] สำหรับการขริบในทารกจะมีอุปกรณ์สมัยใหม่เช่น คีมหนีบกอมโก พลาสติเบลล์ และคีมหนีบมอเกน ใช้ในกระบวนการนี้[63] ในบรรดาองค์กรทางการแพทย์ที่สำคัญทั่วโลก มีความเห็นพ้องกันว่าการขลิบช่วยลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิงในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง[64][65] และมีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการขลิบในประเทศที่พัฒนาแล้ว[62] องค์การอนามัยโลก (WHO; 2007), โครงการร่วมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ (UNAIDS; 2007), และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC; 2008) ระบุว่ามีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าการขลิบช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ชายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง[66][67] การขลิบมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรมหลายแห่งทั่วโลก เมื่อดำเนินการด้วยเหตุผลทางศาสนา การขลิบมักพบในกลุ่มชาวยิวและชาวมุสลิม โดยในหมู่พวกเขาเป็นที่แพร่หลายเกือบทั่วทั้งหมด[68] การซ่อมแซมที่เป็นไปได้มีความพยายามโดยนักวิทยาศาสตร์ในการซ่อมโครงสร้างบางส่วนหรือทั้งหมดขององคชาตมนุษย์อย่างต่อเนื่อง[69][70][71][72] ผู้ป่วยที่สามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากงานวิจัยในสาขานี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องแต่กำเนิด ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจนทำให้ต้องตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะเพศออกไป[70][73][74] องค์กรบางแห่งที่ทำการวิจัยหรือดำเนินการซ่อมแซม ได้แก่ สถาบันเวคฟอเรสต์เพื่อเวชศาสตร์ฟื้นฟู และกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา[73][74] นอกจากนี้ยังมีบริษัทฟอเรเจน ซึ่งเป็นบริษัทชีวเวชภัณฑ์สัญชาติอิตาลีที่พยายามซ่อมแซมแถบย่น เส้นสองสลึง และเยื่อเมือกหนังหุ้มปลายองคชาต[70][75] การผ่าตัดด้วยการปลูกถ่ายองคชาตจากผู้บริจาค (Allotransplant) ที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ในโรงพยาบาลทหารในกว่างโจว ประเทศจีน[76] ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 44 ปีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจนทำให้องคชาตถูกตัดขาด การปัสสาวะของเขายากลำบากเนื่องจากท่อปัสสาวะบางส่วนถูกปิดกั้น จึงมีการเลือกองคชาตจากชายอายุ 23 ปีที่เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย แม้จะมีการฝ่อของหลอดเลือดและเส้นประสาท แต่หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ เส้นประสาท และส่วนคอร์ปุส สปอนจิโอซุมสามารถเข้ากันได้ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดถูกย้อนกลับในวันที่ 19 กันยายน (หลังจากสองสัปดาห์) เนื่องจากปัญหาทางจิตใจอย่างรุนแรง (การปฏิเสธ) จากผู้รับและภรรยา[77] ในปี พ.ศ. 2552 นักวิจัยเฉิน เอเบอร์ลี ยู และอาตาลา ได้ทำการผลิตองคชาตวิศวกรรมชีวภาพและปลูกถ่ายลงในกระต่าย[78] กระต่ายเหล่านี้สามารถแข็งตัวและผสมพันธุ์ได้ โดยมีกระต่าย 10 จาก 12 ตัวที่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าในอนาคตอาจสามารถผลิตองคชาตเทียมเพื่อใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายหรือศัลยกรรมตกแต่งองคชาตได้ ในปี พ.ศ. 2558 การผ่าตัดปลูกถ่ายองคชาตที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นที่เคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ในการผ่าตัดที่ใช้เวลาเก้าชั่วโมงโดยศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยสเตลเลนบอชและโรงพยาบาลไทเกอร์เบิร์ก ผู้ป่วยชายวัย 21 ปีที่เคยมีกิจกรรมทางเพศได้ตามปกติ แต่สูญเสียองคชาตจากการขริบที่ผิดพลาดเมื่ออายุ 18 ปี[79] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ องคชาตมนุษย์ วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ องคชาตมนุษย์
|
Portal di Ensiklopedia Dunia