การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์![]() การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ (อังกฤษ: sexual abstinence) เป็น การปฏิบัติโดยการละเว้นกิจกรรมทางเพศ ด้วยเหตุผลทางการแพทย์, จิตวิทยา, กฎหมาย, สังคม, การเงิน, ปรัชญา, ศีลธรรม, หรือ ศาสนา ความไม่ฝักใจทางเพศ แตกต่างกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ และ การอยู่เป็นโสด (celibacy) นับเป็นการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ที่มักได้รับแรงบันดาลใจจากปัจจัยอย่างความเชื่อส่วนตัวหรือความเชื่อทางศาสนา[2] การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสนับเป็นบรรทัดฐานทางสังคมในบางที่ หรือ เป็นกฎหมายในบางประเทศ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของพรหมจรรย์ (chastity) การงดเว้นอาจเกิดขึ้นโดยสมัครใจ (เช่น เมื่อบุคคลเลือกที่จะละเว้นกิจกรรมทางเพศด้วยเหตุผลทางศีลธรรม, ศาสนา, ปรัชญา, หรือ อื่น ๆ) หรือ อาจเกิดขึ้นเหนือความสมัครใจ โดยถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางสังคม (เช่น เมื่อบุคคลไม่สามารถหาผู้ที่จะยินยอมร่วมเพศด้วยได้) หรือ ถูกบังคับโดยกฎหมาย (เช่น ในประเทศที่การร่วมเพศนอกเหนือการสมรสนั้นผิดกฎหมาย) ประวัติความสำส่อน (promiscuity) ถูกมองเป็นเรื่องไม่ดีตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยเหตุผลทั้งทางสุขภาพและทางสังคม[3] พีทาโกรัส กล่าวไว้ตั้งแต่ 600 ปีก่อนก่อนคริสตกาลว่า เพศสัมพันธ์ควรมีในฤดูหนาว และไม่ควรมีในฤดูร้อน เพราะมันให้ผลเสียต่อสุขภาพของผู้ชายในทุกฤดู ด้วยความที่การเสียน้ำอสุจิเป็นสิ่งอันตราย ยากที่จะควบคุม และก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทว่าไม่มีผลต่อผู้หญิง ความคิดนี้อาจถูกรวมกับความคิดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเรื่องความดีและความเลวในหลักปรัชญาที่เรียกว่าไญยนิยม ซึ่งส่งผลต่อทัศนคติที่ศาสนาคริสต์และอิสลามมีต่อกิจกรรมทางเพศ ทว่าคนอีกกลุ่มอ้างว่าศาสนาคริสต์ยึดถือความคิดเกี่ยวกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนไญยนิยมและศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยมีรากฐานที่ถูกพบในพันธสัญญาเดิม ในช่วงวันตกไข่![]() การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์สามารถถูกใช้เมื่อผู้หญิงอยู่ในช่วงวันตกไข่และสามารถมีลูกได้[4] ก่อนการแต่งงานการถือพรหมจรรย์ก่อนการแต่งงานในบริบททางวัฒนธรรม ศีลธรรม และศาสนา ส่วนใหญ่ การร่วมเพศของคู่สมรส ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดการถือพรหมจรรย์ บางศาสนา กฎหมาย และบรรทัดฐานทางสังคมห้ามไม่ให้บุคคลมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากคู่ครองตนเอง ในบริบทเหล่านี้ การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ถูกใช้กับคู่ที่ยังไม่ผ่านการสมรสเพื่อจุดประสงค์ทางการถือพรหมจรรย์ การถือพรหมจรรย์ มักถูกใช้ในความหมายเดียวกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งสองคำมีความหมายคล้ายกัน แต่ว่ามีพฤติกรรมและข้อห้ามที่ต่างกัน ประเด็นทางกฎหมายในบางประเทศ กิจกรรมทางเพศนอกเหนือการสมรสถือว่าผิดกฎหมาย กฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผูกกับศาสนา และมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ในประเทศอิสลามบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย, ปากีสถาน[5] อัฟกานิสถาน,[6][7][8] อิหร่าน คูเวต[9] มัลดีฟส์,[10] โมร็อกโก,[11] มอริเตเนีย,[12] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,[13][14] กาตาร์,[15] ซูดาน,[16] เยเมน,[17] กิจกรรมทางเพศทุกอย่างนอกเหนือการสมรสถือว่าผิดกฎหมาย ความรุนแรงในบางพื้นที่ ผู้ชาย ผู้หญิง เด็กชาย หรือ เด็กหญิง ที่ต้องสงสัยว่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน หรือ มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน อาจตกเป็นเหยื่อของการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ (Honour killings) โดยครอบครัวของพวกเขาเอง[18][19] บางที่ใช้การปาหินเพื่อลงโทษการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส[ต้องการอ้างอิง] ความนิยมและประสิทธิผลการปรากฏตัวของโรคเอดส์ เพิ่มความนิยมของการงดเว้น อย่างไรก็ตาม รายงานการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเกี่ยวกับแผนการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 13 แผนการ โดยมีผู้ร่วมโครงการกว่า 13,000 คน พบว่า แผนการงดเว้นไม่ได้หยุดพฤติกรรมทางเพศที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและไม่แม้แต่ช่วยลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์[20] งานวิจัยอื่นพบว่าระบบการศึกษาแบบการงดเว้นอย่างเดียวส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อ "อายุเริ่มร่วมเพศ; จำนวนคู่ร่วมเพศ; และอัตราการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์, การใช้ถุงยางอนามัย, การร่วมเพศ, การตั้งครรภ์, และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI)" [21] ไม่นานมานี้รัฐสภาสหรัฐพบผลคล้ายกันจากงานวิจัยเกี่ยวกับการงดเว้นที่จัดทำโดย Mathematica Policy Research[22] ปัจจุบันยังมีประเด็นเกี่ยวกับความหมายของการงดเว้น ว่า หมายถึงการงดเว้นจากการร่วมเพศ หรือ จากพฤติกรรมทางเพศทั้งหมด ขบวนการอย่าง True Love Waits ในอเมริกา บอกให้วัยรุ่นละเว้นการร่วมเพศก่อนการสมรส มีผู้เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ทว่าแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของความนิยมการร่วมเพศทางปาก[23] ผลกระทบของการงดเว้นต่อสังคมอัลเฟรด คินเซย์ (Alfred Kinsey) ถูกยกย่องให้เป็นบุคคลทางเพศวิทยาชาวอเมริกันคนแรกและถือเป็นหนึ่งในคนที่มีอิทธิพลด้านนี้ที่สุด งานวิจัยของเขาถูกกล่าวถึงว่าเป็นสิ่งที่ปูทางการสำรวจเรื่องเพศวิทยาระหว่างนักเพศวิทยาและสาธารณชน และยังถือเป็นงานที่ปลดปล่อยสภาพทางเพศของผู้หญิง[24][25] คินเซย์กล่าวว่าการเมินเฉยทางเพศนำสู่ความทุกข์ทรมานในสังคมและการปลดปล่อยทางเพศที่ตรงข้ามกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์เป็นกุญแจสู่ทั้งการสมรสที่แข็งแรงและชีวิตที่มีความสุข คินเซย์กล่าวว่า "ความผิดปกติทางเพศไม่กี่อย่างที่มีอยู่ได้แก่ การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การครองโสดถาวร และการชะลอการแต่งงาน"[26] เจ.ดี. อันวิน (J.D. Unwin) เคยเป็นนักชาติพันธุ์วิทยาและนักมานุษยวิทยาสังคม ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาเขียนหนังสือหลายเล่มรวมไปทั้ง เซ็กส์และวัฒนธรรม (ค.ศ. 1934) ใน เซ็กส์และวัฒนธรรม อันวินศึกษา 80 ชนเผ่าดั้งเดิมและ 6 ซิวิไลเซชัน ผ่านประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี และพบสหสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความสำเร็จทางวัฒนธรรมกับข้อจำกัดทางเพศที่พบ ผู้เขียนพบว่ากลุ่มที่ประสบความสำเร็จทางวัฒนธรรมมากที่สุดมักแสดงความสัมพันธ์แบบมีคู่ครองคนเดียว และการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส[27] อันวินอ้างว่าเมื่อชาติมีความรุ่งเรือง มักตามมาด้วยความเสรีที่เพิ่มขึ้น รวมไปทั้งความเสรีทางเพศ เป็นผลให้สูญเสียความเชื่อมแน่นทางสังคม แรงกระตุ้น และ จุดประสงค์ และส่งผลทางลบต่อสังคม เขากล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติไม่เคยมีเหตุการณ์ที่กลุ่มมีอารยธรรม นอกจากกลุ่มเหล่านั้นจะเคยถือความสัมพันธ์แบบมีคู่ครองคนเดียว และยังไม่มีตัวอย่างของกลุ่มไหนที่สามารถคงวัฒนธรรมหลังจากนำจารีตประเพณีที่เข้มงวดน้อยลงมาใช้"[28] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia