หอมหวล นาคศิริ
นายหอมหวล นาคศิริ หรือ พระอธิการหอมหวล คนฺธสิริ ราชาลิเกลูกบท เป็นชาวอำเภอบ้านแพรก พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่3 เมษายน พ.ศ. 2442 เป็นบุตรชายของขุนโพลาว (รับ) กำนันบ้านหัวไผ่ แขวงเมืองอ่างทอง มารดา ชื่อสมบุญ เกิดที่บ้านห้วยทราย ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติหอมหวลเป็นบุตรชายคนที่ 2 จากพี่น้อง 7 คน
ด้วยความที่มารดาเป็นแม่เพลง ทำให้หอมหวล มีความรักในการละเล่น ร้องรำทำเพลง จนกระทั่งได้ฝึกลิเกที่คณะของนายดอกดิน เสือสง่า ลิเกชื่อดังในยุคนั้น ภายหลังได้เรียน โขน เรียนละครกับครูแกร ได้สักพักจึงลาครูแกรกลับบ้าน และ ได้ตั้งคณะลิเกของตนเอง ชื่อ คณะหอมหวล เมื่อหอมหวลได้ตั้งคณะใหม่ๆนั้น เขามีโอกาสได้นำคณะแสดง หน้าพลับพลาที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พลับพลาพระที่นั่ง วัดอุโลม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หอมหวลได้รับเด็กจากที่ต่างๆมาฝึกลิเกมากมาย มีการดัดแปลงบทละครต่างๆมาใช้แสดงลิเก การแต่งกายเสมือนจริง เรื่องหนึ่งก็แสดงไว สามคืนจบ ประจวบกับมีศิษยานุศิษย์มากมาย จึงทำให้คณะหอมหวล โด่งดังอย่างรวดเร็ว จึงต้องแบ่งคณะหอมหวล ออกเป็น คณะหอมหวล 1-9 ให้พี่น้อง ออกไปคุมตามจังหวัดต่าง ได้แก่
ลิเกคณะหอมหวลทั้ง 9 คณะ เปิดแสดงพร้อมกันตามวิกต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ถึง ๑๒ วิก นอกจากนี้ยังมีบรรดาลูกศิษย์ของหอมหวลแยกออกไปตั้งคณะลิเก ถึง ๓๕ คณะ มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้ ดังนี้ 1.คณะก้านระเวงจิต 2. คณะจันทร์แรม 3. คณะประหาญ นาคศิริ 4. คณะหอมหวลน้อย นาคศิริ 5. คณะบุญเลิศ นาคพินิจ 6. คณะวิโรจน์ หลานหอมหวล 7. คณะกุหลาบ หลานหอมหวล 8. คณะสำเภา หลานหอมหวล 9. คณะมะสะลุมประทุมน้อย 10.คณะคงกระเรียน หลานหอมหวล 11.คณะบรรหาร ศิษย์หอมหวล 12.คณะสาริกา ศิษย์หอมหวล 13.คณะเด่นชัย ศิษย์หอมหวล 14.คณะชูชีพศิลปิน ศิษย์หอมหวล 15.คณะหอมหวลหนุ่ม หลานหอมหวล 16.คณะสนิท พานเข็ม 17. คณะเด่นชัย ศิษย์หอมหวล (เกียรตินิยม) 18.คณะราเชล หลานหอมหวล 19.คณะหอมหวลเจริญพร (จำลอง อ่วมทอง) 20. คณะวสันต์ รุ่งแสง 21.คณะนฤพนธ์ หลานหอมหวล 22.คณะศุภพฤกษ์ หลานหอมหวล 23. คณะเทพบัญชา หลานหอมหวล 24.คณะชมรมศิษย์หอมหวล 25.คณะดิษยพงษ์ ลูกโสธร 26. คณะสมพงษ์ ลูกสุพรรณ 27.คณะพงษ์ศักดิ์ สวนศรี 28.คณะเรณู ศิษย์หอมหวล 29.คณะมณฑล ศิษย์หอมหวล 30.คณะกฤชชัย ศิษย์หอมหวล 31.คณะเฉลา ฉายอรุณ 32.คณะชัยวัฒน์ ชัชวาล 33.คณะมนตรีน้อย ศิษย์หอมหวล 34.คณะวินัยน้อย ศิษย์หอมหวล 35.คณะยอดเยี่ยม ศิษย์หอมหวล หอมหวลเคยสอบเข้ารับราชการตำรวจได้ยศ สิบตำรวจโท ราวปี 2500 ได้รับการทาบทามจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในนามพรรคเสรีมนังคศิลา แต่แล้วก็ไม่ได้รับเลือกให้ลงเลือกตั้ง นายหอมหวลจึงได้ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัด อ่างทอง ในนามอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือก ครั้งหนึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล มีรับสั่งให้ ศิลปินทุกแขนง มาแสดงหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในการเปิดโรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ คณะหอมหวล ก็ได้ร่วมแสดงในครั้งนั้นด้วย ในบั้นปลายชีวิตได้เข้าอุปสมบทที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และได้เดินทางไปบูรณะวัดร้าง ชื่อวัดป่าเรไร ที่ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี นำลิเกไปแสดงเรี่ยไรเงินมาบำรุงเสนาสนะและได้เป็นเจ้าอาวาส พระอธิการรูปแรกของวัด ท่านบวชได้ 9 พรรษา จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลนนทบุรี( โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุได้ 80 ปี และบำเพ็ญกุศลศพและพระราชทานเพลิงศพในวันที่18 มีนาคม พ.ศ. 2522 ที่วัดเซิงหวาย เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นยังมีงานระลึกอยู่เสมอ ในคราวครบรอบการมรณภาพ การจัดตั้ง ชมรมอาจารย์หอมหวล และการจัดพิธีไหว้ครู ครอบครู ทุกปี ณ วัดเซิงหวาย ปัจจุบัน จัด ณ วัดป่าเรไร และ ได้มีการสร้างรูปหล่อขนาดเท่าคนจริงของหลวงพ่อหอมหวล ไว้ภายในวิหารที่วัดป่าเรไร อีกด้วย หอมหวล มีภรรยาที่พอจะไล่เรียงได้ดังนี้
ฯลฯ หอมหวล มีบุตรเพียง 3 คน คือ
ศิษย์ของหอมหวลที่มีชื่อเสียง
ลิเกหอมหวลในปัจจุบัน แตกแขนงออกไปมากมายหลายคณะไม่ว่าจะเป็น บรรหาร ศิษย์หอมหวล(พี่ชาย ปลาคราฟ เชิญยิ้ม)ศรีเพชร ศรีทอง หอมหวล3 นฤพนธ์ กลิ่นพยอม หลานหอมหวล เทพบัญชา นาคศิริ หอมหวล 2 สมพล ปรอดโปร่ง หอมหวล3 เสียงเพชร ศรีทอง หอมหวล3(ลูกชายพระเอกศรีเพชร)และคณะลิเกเด็ก หอมหวลรุ่นพิเศษ ในปัจจุบัน ฝึกสอนโดย นายจเรชาย เลิศพร ที่โด่งดังไปเป็นตลกมีชื่อเสียง อาทิ โน้ต เชิญยิ้ม จเร เชิญยิ้ม(บุตรนางสุรินทร์ นาคศิริ น้องสาวต่างมารดาของหอมหวล) เต่าเชิญยิ้ม ไจแอนท์ เชิญยิ้ม(หลานนางฉิ่ง กลิ่นพยอม) ก็ล้วนเป็นเครือญาติ สายเลือดหอมหวลเช่นเดียวกัน อ้างอิงหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระอธิการหอมหวล คนธฺศิริ |
Portal di Ensiklopedia Dunia