หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร) |
---|
![](//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/86/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg/220px-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg) |
เกิด | หม่อมหลวงแช่ม 11 มิถุนายน พ.ศ. 2440 จังหวัดนครนายก |
---|
เสียชีวิต | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (77 ปี) |
---|
สัญชาติ | ไทย |
---|
ชื่ออื่น | หม่อมหลวงอิสระ อิศรางกูร |
---|
อาชีพ | ทหารอากาศ |
---|
คู่สมรส | นางจินดา อิศรางกูร ณ อยุธยา |
---|
บุตร | นางศจี เจริญยิ่ง นายวีรเดช อิศรางกูร ณ อยุธยา |
---|
บิดามารดา | หม่อมราชวงศ์ลินลา อิศรางกูร นางหนู อิศรางกูร ณ อยุธยา |
---|
พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร) (11 มิถุนายน พ.ศ. 2440 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) อดีตรองเสนาธิการทหารอากาศ
ประวัติ
พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ เป็นบุตรหม่อมราชวงศ์ลินลา อิศรางกูร กับนางหนู อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 12 คํ่า เดือน 7 ปีระกา ณ หมู่บ้านหนองนางวัว ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
การศึกษา
ครอบครัว
ได้ทำการสมรสกับนางสาวจินดา วิชัยมนูสาร ธิดาหลวงวิชัยมนูสาร กับนางเงิน วิชัยมนูสาร เมื่อ พ.ศ. 2474 พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์มีบุตรธิดา รวม 2 คน
- นางศจี เจริญยิ่ง ได้ทำการสมรสกับ นายสนั่น เจริญยิ่ง
- นายวีรเดช อิศรางกูร ณ อยุธยา
พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ มีหลานตา 2 คน
- ด.ญ.ลัศนันท์ เจริญยิ่ง
- ด.ญ.มนไศล เจริญยิ่ง
ยศทหารและบรรดาศักดิ์
ยศทหาร
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2462 เป็น สิบตรี
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น นักเรียนทำการนายร้อย
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็น ร้อยตรี
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยโท
- 24 เมษายน พ.ศ. 2474 เป็น ร้อยเอก
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็น เรืออากาศเอก
- 1 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็น นาวาอากาศตรี
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เป็น นาวาอากาศโท
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 เป็น นาวาอากาศเอก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2492 เป็น พลอากาศตรี
บรรดาศักดิ์
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เป็น หลวงอิศรางกูรเสนีย์
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ออกจากบรรดาศักดิ์
- 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 กลับใช้บรรดาศักดิ์เดิม
การทำงาน
การรับราชการ
- 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 นักเรียนนายร้อย
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ศิษย์การบิน
- กันยายน พ.ศ. 2466 ประจำกองบินใหญ่ที่ 3
- 11 กันยายน พ.ศ. 2466 ผู้บังคับหมวดบินในกองบินใหญ่ที่ 3
- เมษายน พ.ศ. 2466 ผู้บังคับหมวดสถานีการบิน จังหวัดอุดรธานี
- เมษายน พ.ศ. 2468 ผู้บังคับฝูงบินที่ 19 กองบินใหญ่ที่ 3
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 ผู้บังคับฝูงบินที่ 11 กองบินใหญ่ที่ 2
- มีนาคม พ.ศ. 2469 ประจำฝูงศึกษาและฝึกหัด กองบินน้อยที่ 1 ของกองบินใหญ่ที่ 2
- 1 เมษายน พ.ศ. 2470 ผู้บังคับหมวดฝูงบินที่ 12 กองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
- เมษายน พ.ศ. 2472 ประจำกองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
- มิถุนายน พ.ศ. 2472 ผู้ช่วยผู้บังคับฝูงบินที่ 15 กองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2473 ผู้บังคับฝูงบินที่ 15 ใน บ.2 กองบินน้อยที่ 2
- 12 มกราคม พ.ศ. 2476 ผู้รักษาการแทน ผบ.กบ. น้อย อีกตำแหน่งหนึ่ง
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ผบ. ฝูง 2 ใน บ. น้อย 3
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ผบ. กองบินน้อย 3 แต่ตำแหน่งเดียว
- 1 เมษายน พ.ศ. 2481 ผู้บังคับกองบินน้อยที่ 13
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 หัวหน้าแผนก โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
- 7 เมษายน พ.ศ. 2485 ประจำกรมเสนาธิการทหาร
- 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 หัวหน้าแผนกทหารอากาศ เสนาธิการทหาร
- 4 กันยายน พ.ศ. 2487 หัวหน้าแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหาร
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 หัวหน้าแผนกที่ 4 กรมเสนาธิการทหาร
- 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 หัวหน้าแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหารอากาศ
- 16 มิถุนายน พ.ศ. 2491 รักษาราชการหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ 4
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2491 รองเสนาธิการทหารอากาศ และรักษาราชการหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ 1
- 7 กันยายน พ.ศ. 2492 รองเสนาธิการทหารอากาศ
หลวงอิศรางกูรเสนีย์ออกจากราชการ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492
ตำแหน่งพิเศษ
- 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 เป็นราชองครักษ์เวร
- 21 เมษายน พ.ศ. 2485 เข้าประจำ บก. ทหารสูงสุด
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการปราบปรามไข้จับสั่น
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2490 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการทหารผ่านศึก
- 12 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นราชองครักษ์เวร
- 12 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2492 เป็นนายทหารติดตามคณะผู้แทนทหารอากาศ ไปเยี่ยมฐานทัพอากาศสิงคโปร์
- 1 มกราคม พ.ศ. 2493 เป็นนายทหารกองหนุนเบี้ยหวัด
- 29 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการพิจารณาการปฏิบัติราชการตามมติประชาชน
- 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการพิจารณาอัตรากำลังของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ฝ่ายพลเรือน
นอกจากนี้หลวงอิศรางกูรเสนีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 จนถึงแก่อนิจกรรม รวมเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งนี้ถึง 23 ปี
ราชการทัพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ถึงแก่อนิจกรรม
พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ ได้เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อปลายปี พ.ศ. 2517 และได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เวลา 21.45 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สายสกุล
พงศาวลีของหลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร)
|
|
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๔, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๔๖, ๑๑ สิงหาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๙๓, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๑, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑