หมู่เกาะเซ็งกากุ
หมู่เกาะเซ็งกากุ (ญี่ปุ่น: 尖閣諸島; โรมาจิ: Senkaku-shotō) หรือ หมู่เกาะเตียวหยู (พินอิน: Diàoyúdǎo) หรือ หมู่เกาะพินนาเคิล (อังกฤษ: Pinnacle Islands) เป็นกลุ่มเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน และทางตะวันตกของเกาะโอกินาวะ อยู่ทางเหนือของปลายตะวันตกสุดของหมู่เกาะรีวกีวของญี่ปุ่น ![]() หมู่เกาะดังกล่าวเป็นชายแดนนอกชายฝั่งของจีนเพื่อใช้ในการป้องกันโจรสลัดญี่ปุ่น (Wokou) ในระหว่างปี พ.ศ. 1911 – 2454 (ค.ศ. 1368-1911) ซึ่งอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ทั้งนี้ แผนที่แสดงภูมิภาคเอเชียของจีน รวมถึงแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่นในช่วงคริสศตวรรษที่ 18 แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (ขณะที่ ก่อนปี พ.ศ. 2427 ไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงหมู่เกาะดังกล่าวในเอกสารทางการของญี่ปุ่น) ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะดังกล่าวในปี พ.ศ. 2438 ตาม การลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง [1] [2] หมู่เกาะเซ็งกากุอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองจึงอยู่ในการดูแลของกองทัพสหรัฐอเมริกา หลังการส่งมอบพื้นที่ฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะรีวกีวในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) [3] จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอกินาวะ โดยมีการโต้แย้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีน ที่อ้างว่าดินแดนนี้เป็นของจีนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลอี๋หลาน ของไต้หวัน [4] ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia