สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Creative Economy Agency (Public Organization)) หรือ สศส. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย และปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจไทย ก่อตั้งมาแล้ว 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกอยู่ภายใต้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนครั้งที่ 3 หรือรูปแบบปัจจุบัน เป็นรูปแบบองค์การมหาชน แยกออกมาจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กำกับโดยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประวัติสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ (อังกฤษ: Thailand Creative Economic Agency) จัดตั้งขึ้นตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อคณะรัฐมนตรี[2] ต่อมาสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ภายหลังจากการจัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2556[3] สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จัดตั้งขึ้นตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 แทนที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนงานต่อคณะรัฐมนตรี[4] สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559[5] องค์การมหาชนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก่อตั้งขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นรูปแบบองค์การมหาชน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561 โดยแยกออกมาจาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)[6] ในอนาคต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะแปรสภาพเป็นสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ หลังจากพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์มีผลบังคับใช้ตามมาตรา 120 ในบทเฉพาะกาล[7] วัตถุประสงค์สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งดังต่อไปนี้
หน้าที่และอำนาจสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยังเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติโดยตำแหน่งอีกด้วย[8] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia