สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of the National Land Policy Board) หรือย่อว่า สคทช. (ONLB) เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีไทย สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2564 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 [3] โดยโอนภารกิจบางส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาจัดตั้งเป็นส่วนราชการระดับกรม มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศไทย โดยใช้ชั้น 9 ของอาคารทิปโก้ 2 ย่านถนนพระราม 6 เป็นที่ทำการชั่วคราว ประวัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ให้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2557 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยมี "คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ" หรือ คทช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ[4][5] โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคือ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี 2564 จึงได้มีการยกฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบจากหน่วยงานระดับกอง เป็นหน่วยงานระดับกรม คือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในปัจจุบัน โดยมี นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง กระทั่งวันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้โอนนางรวีวรรณมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้การเห็นชอบ[6] กระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นางรวีวรรณดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน ปี พ.ศ. 2564[7] ภารกิจคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีภารกิจสำคัญในด้านการบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ไม่มีผู้ครอบครองมาบริหารจัดการอย่างเป็นระบบให้แก่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ อาทิ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่สาธารณประโยชน์ เป็นต้น[8] โดยมีพื้นที่ คทช.แห่งแรกของประเทศไทย คือ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่[9] พื้นที่ คทช.พื้นที่ คทช. ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานตามแนวนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ แบ่งตามพื้นที่ ประกอบไปด้วย กรมป่าไม้
ส.ป.ก.สำหรับพื้นที่ คทช. ในเขตปฏิรูปที่ดิน ปัจจุบัน ส.ป.ก. ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด 16 กลุ่ม ประกอบไปด้วย
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia