สมเด็จสมเด็จ (เขมร: សម្តេច, UNGEGN: Sâmdéch [sɑmɗac] ออกเสียง ซ็อมดัจ) เป็นนามยศซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชาพระราชทานแก่บุคคลที่ถือว่ามีคุณูปการต่อประเทศชาติ โดยมากผู้ที่ได้รับพระราชทานยศนี้มีราชทินนามต่อท้ายเพื่อแสดงคุณสมบัติหรือตำแหน่งหน้าที่เฉพาะบุคตล เช่น บรรดาศักดิ์อย่างเต็มของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน[1] สมาชิกในพระราชวงศ์บางพระองค์และพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์บางรูป ก็มีสิทธิที่จะได้รับพระราชทานสถาปนาอิสริยยศและสมณศักดิ์ชั้น "สมเด็จ" เช่นกัน[2][3] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 ทางรัฐบาลมีคำสั่งให้สื่อออกนามของผู้นำในรัฐบาลด้วยราชทินนามและบรรดาศักดิ์อย่างครบถ้วน[4] ในรัชสมัยแรกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (1941–1955) บรรดาศักดิ์ชั้นดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้พบเห็นในหมู่สามัญชน โดยมีนักการเมืองเพียงแค่ 4 คนที่ได้รับยศนี้ ได้แก่ แปน นุต, ญึก เตียวฬง, ซอน ซาน และเจา เซน กอกซัล ชุม ทั้งหมดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[5] คำว่า สมเด็จ โดยศัพท์แปลว่า เจ้า การพระราชทานยศสมเด็จนี้จึงถึงเสมือนว่าเป็นการตั้งให้เป็นเจ้าสำหรับสามัญชนหรือขุนนาง ถือเป็นยศขุนนางชั้นสูงสุด เทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นสมเด็จเจ้าพระยาในระบบบรรดาศักดิ์ของไทยในอดีต หากพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ย่อมนับว่าเป็นการยกย่องเพิ่มพูนพระอิสริยยศในพระราชวงศ์ให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งยังมีการแบ่งระดับความสำคัญออกไปอีกหลายระดับ และหากพระราชทานแก่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์เหล่านั้นจะมีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ทำหน้าที่บริหารกิจการคณะสงฆ์ของประเทศ ซึ่งฆราวาสพึงปฏิบัติต่อพระสงฆ์เหล่านั้นเสมือนเจ้านาย ผู้ครองยศ "สมเด็จ" เท่าที่ปรากฏพระอิสริยยศในพระมหากษัตริย์
พระอิสริยยศในพระบรมวงศานุวงศ์
บรรดาศักดิ์ข้าราชการและนักการเมือง
สมณศักดิ์พระสงฆ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia