สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี
สมเด็จราชบุตรี พระอนุช นโรดม อรุณรัศมี (เขมร: សម្តេចរាជបុត្រីព្រះអនុជ នរោត្តម អរុណរស្មី; ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวกัมพูชา และเป็นพระราชธิดาองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง บาทบริจาริกาชาวลาว ประวัติสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง หม่อมชาวลาวจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยพระชนกของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โปรดหม่อมชาวลาวนางนี้มาก จึงได้พระราชนิพนธ์เพลง บุปผาเวียงจันทน์ พระราชทานแด่ชนนีของพระองค์ และถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง[1] สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ทรงสำเร็จการศึกษาจาก Petit Lycée Descartes ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และโรงเรียนคาทอลิกมาร์แตเดอีในแกบ นอกจากภาษาเขมรแล้ว พระองค์สามารถรับสั่งเป็นภาษาลาว ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษได้ สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เคยเป็นพระราชอาคันตุกะพิเศษของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดโครงการสัมมนาดนตรีของไทยและกัมพูชา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[2] พระองค์ได้เล่นการเมืองในพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC)[3] สมรสสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เสกสมรสกับนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ ภายหลังได้หย่ากัน และได้เสกสมรสอีกครั้งกับนายแก้ว พุทธรัศมี มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่[4][5]
พระอิสริยยศและราชอิสริยาภรณ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้พระราชทานพระอิสริยยศที่ "พระองค์มจะ (พระองค์เจ้า) ราชบุตรีพระอนุช" ("Preah Ang Machas Reach Botrei Preah Anoch") และได้รับกาารเฉลิมพระอิสริยยศอีกครั้งโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น "สมเด็จราชบุตรีพระอนุช" ("Somdech Reach Botrei Preah Anoch") ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ หลายประเภท โดยทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา, เครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์ชั้นที่ 4 (Commander of the Royal Order of Monisaraphon) และอื่น ๆ เชิงอรรถ
ก ลำดับสกุลยศของราชสำนักกัมพูชา "สมเด็จพระราชบุตร/บุตรี" คือพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดินกับพระอัครชายา เทียบได้กับ "เจ้าฟ้าชั้นโท หรือชั้นสมเด็จ" ของราชสำนักไทย[7] และ "พระอนุช" เป็นราชาศัพท์เขมร แปลว่า "น้องชาย/น้องสาว"[8]
|
Portal di Ensiklopedia Dunia