สภานิติบัญญัติตองงา![]() ฟาเล อาเลอา หรือ สภานิติบัญญัติตองงา (ตองงา: Fale Alea) มีสมาชิกทั้งหมด 25 คน โดยที่สมาชิก 17 คนมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนตามแต่ละเขตเลือกตั้ง ส่วนอีก 8 คนเป็นผู้แทนขุนนางสืบตระกูลของตองงา ประธานสภาเป็นผู้ควบคุมการประชุม ซึ่งได้รับการเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสภา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญโดยพระมหากษัตริย์ การจัดตั้งสภานิติบัญญัติที่ประกอบด้วยขุนนางและสามัญชนได้รับการจัดตั้งในปี 1862 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1[1] โดยมีการประชุมทุก ๆ 4 ปี และดำเนินการต่อไปตามความในรัฐธรรมนูญฉบับปี 1875 เดิมทีสภานิติบัญญัติมีสมาชิกประกอบด้วยผู้ครองตำแหน่งขุนนางทั้งหมด, ผู้แทนประชาชนในจำนวนที่เท่ากัน, ผู้ว่าการฮาอะไปและวาวาอู, และสมาชิกในคณะรัญมนตรีอย่างน้อย 4 คน ที่ได้รับเลือกจากพระมหากษัตริย์[2] การที่จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นจาก 20 เป็น 30 ทำให้สภามีจำนวนสมาชิกมากถึง 70 คน[3] การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 1914 ทำให้เกิดการลดขนาดและที่นั่งในสภาลง หลักการที่กำหนดให้มีผู้แทนขุนนางและสามัญชนเท่ากันยังคงอยู่[4] ในเดือนเมษายน 2010 สภานิติบัญญัติตราข้อกฎหมายด้านการปฏิรูปการเมืองขึ้น โดยเพิ่มสมาชิกที่เป็นผู้แทนประชาชนจากเก้าเป็นสิบเจ็ดที่นั่ง[5] โดยโตงาตาปูมี 10 ที่นั่ง วาวาอูมี 3 ที่นั่ง ฮาอะไปมี 2 ที่นั่ง ส่วนเออัวและโอโงนีอูอามีอย่างละ 1 ที่นั่ง[6] การปฏิรูปในปี 2010 ยังส่งผลให้นายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากสภาเป็นครั้งแรก ซึ่งต่างจากเดิมที่พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ตามพระราชอัธยาศัย อาคารสภาอายุกว่าร้อยปีถล่มลงจากอิทธิพลของไซโคลนกีตา ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 ที่เข้ามาในวันที่ 12 และ 13 กุมภาพันธ์ 2018[7] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia