สกุลยาสุฮิโกทาเกีย
สกุลยาสุฮิโกทาเกีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Yasuhikotakia (/ยา-สุ-ฮิ-โก-ทา-เกีย/) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา ปากเล็กยื่นแหลมมีหนวด 3 คู่ รอบปาก ปลาในสกุลนี้ เดิมเคยจัดอยู่ในสกุล Botia แต่ในปี ค.ศ. 2002 ดร.มอริส ก็อตลา นักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ศึกษาปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ได้ทำการแยกสกุลของปลาหมูเสียใหม่ หลายชนิด โดยที่สกุล Yasuhokotakia นี้ โดยมากจะมีรูปร่างเล็กกว่าสกุล Botia และเป็นสกุลที่พบได้ในภูมิภาคอินโดจีน โดยทำการตั้งชื่อสกุลเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.ยะสุฮิโกะ ทะกิ นักเลี้ยงปลาและสำรวจปลาชาวญี่ปุ่น[1] กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่[2]
มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นท้องน้ำ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้บริโภค โดยเฉพาะ ปลาหมูขาว และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "แข้วไก้" เดิมทีปลาในสกุลนี้มีทั้งหมด 9 ชนิด แต่ในปี ค.ศ. 2012 คอทเทเลท ได้ทำการแยกเป็นสกุลใหม่ คือ Ambastaia และได้ให้ 2 ชนิดที่เคยอยู่สกุลนี้ แยกไปอยู่สกุลใหม่ คือ ปลาหมูน่าน (A. nigrolineata) และปลาหมูอารีย์ (A. sidthimunki)[3] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สกุลยาสุฮิโกทาเกีย |
Portal di Ensiklopedia Dunia