วีกเกสต์ลิงก์
วีกเกสต์ลิงก์ (อังกฤษ: Weakest Link) คือรายการควิซโชว์ ออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักรทางช่อง BBC Two และ BBC One เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ออกแบบรายการโดย ฟินตัน คอยล์ (Fintan Coyle)และ เคธี ดันนิง (Cathy Dunning) พัฒนาเพื่อการออกอากาศโดย บีบีซี เอนเทอร์เทนเมนท์ เป็นรายการที่ถอดแบบมาดำเนินรายการในรูปแบบภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก ถูกเรียกว่า "เกมโชว์แบบเรียลลิตี้" เพราะมีลักษณะคล้ายเรียลลิตี้โชว์ และเป็นรากฐานแห่งเรียลลิตี้โชว์ในปัจจุบัน ในสหราชอาณาจักร ดำเนินรายการโดย แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) โดยในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ออกอากาศเป็นตอนที่ 1,000 ส่วนในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้นได้ออกอากาศตอนสุดท้าย รูปแบบทั่วไปของรายการรูปแบบต้นฉบับมีลักษณะการแข่งขันแบบเป็นกลุ่ม 8-9 คน โดยผลัดกันตอบคำถามความรู้ทั่วไป เวลาในการตอบคำถามเวอร์ชันต้นฉบับจะมีเริ่มต้นที่ 3 นาที รอบถัดไปลดลงทีละ 10 วินาทีส่วนรอบสุดท้ายจะมีเวลา 1 นาที 30 วินาที เป้าหมายในแต่ละรอบคือการตอบคำถามให้ถูกต้องติดต่อกันเพื่อสะสมเงินรางวัลตามขั้น หากตอบคำถามผิดเงินรางวัลที่สะสมตามขั้นจะหายไป ก่อนการถามคำถามของผู้ดำเนินรายการผู้เข้าแข่งขันสามารถพูดคำว่า "เก็บ" ได้ (ภาษาอังกฤษ"Bank") ซึ่งจะทำให้เงินรางวัลตามขั้นที่สะสมถูกเก็บไว้เป็นเงินรางวัลรวมอย่างปลอดภัย และการสะสมเงินรางวัลก็จะเริ่มต้นขึ้นใหม่ เมื่อผู้ดำเนินรายการถามคำถามแก่ผู้เข้าแข่งขันแล้วผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือไม่ตอบคำถาม ก็จะถือว่าตอบคำถามผิด และเมื่อเวลาในการตอบคำถามของในแต่ละรอบหมดลงเงินรางวัลสะสมที่ไม่ได้ถูกเก็บก็จะหายไป ในแต่ละรอบการแข่งขันผู้เล่นแต่ละท่านจะต้องลงคะแนนให้แก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นที่คิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ผู้ที่ได้รับการลงคะแนนมากที่สุดจะถูกกำจัดออกไปจากเกม (กรณีคะแนนโหวตเสมอกันจะให้ผู้ที่แกร่งในแต่ละรอบเป็นผู้กำจัดออก) เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันถูกกำจัดออกไป จะต้องสัมภาษณ์กับทีมงาน รวมทั้ง เวลาในการตอบคำถามในรอบต่อไปก็จะถูกลดลง 10 หรือ 15 วินาที ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ การลงคะแนนเมื่อจบการถามคำถามในแต่ละรอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงคะแนนให้ผู้เล่นที่พวกเขาคิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ซึ่งผู้ที่เป็นจุดอ่อนอาจจะเข้าข่ายกรณีดังต่อไปนี้
ในขณะลงคะแนนมีเพียงผู้ชมทางบ้านเท่านั้นที่ทราบผ่านทางผู้บรรยายว่าใครคือผู้ที่แกร่งที่สุด และใครคือจุดอ่อน โดยมาจากสถิติในการตอบคำถาม (ซึ่งในบ้างเทปจะให้คนดูในห้องส่งโหวตให้)[1] ส่วนในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังแข่งขันนั้นจะถูกกระตุ้นให้ไร้ความปราณีแก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น การลงคะแนนเป็นกลยุทธ์หนึ่งของผู้เล่นที่มีไหวพริบที่จะทำให้ตนชนะ และทำให้มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ระหว่างการลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจุดอ่อนผู้ดำเนินรายการจะถามผู้เข้าแข่งขันว่าเขาลงคะแนนให้ใคร และทำไมถึงลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้น เมื่อถึงเวลาในการกำจัดผู้เข้าแข่งขันออก ผู้ดำเนินรายการจะกล่าวคำว่า "คุณคือจุดอ่อนของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) (ฮีบรู: !אתה החוליה החלשה, שלום) (ดัตช์: Jij bent de zwakste schakel, Tot ziens) (ฝรั่งเศส: Vous êtes le maillon faible) กลยุทธ์ในการแข่งขันผู้เล่นที่ตอบคำถามผิดบางครั้งอาจจะไม่ถูกเพ่งเล็ง นักวิเคราะห์แนะนำว่าการตอบคำถามถูกอย่างน้อยร้อยละ 60 จะเหมาะสมที่สุด ถ้าน้อยกว่านี้จะเสี่ยงต่อการถูกลงคะแนนให้ออกในสถานะจุดอ่อน เนื่องจากเงินรางวัลที่ผู้ชนะจะได้จะมาจากคำถามที่แต่ละคนตอบถูก ถ้าทำได้ดีมากกว่านั้นก็อาจจะถูกเพ่งเล็งจากผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น โดยเกรงว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะเป็นผู้ชนะ การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเงินรางวัลรวม แนะนำให้ใช้วิธีเก็บเงินรางวัลหลาย ๆ วิธี โดยหากไม่เก็บเมื่อเงินรางวัลสะสมมากสุดก็เก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ คำถาม ส่วนมากกลุ่มผู้เข้าแข่งขันจะเก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ 3 - 4 คำถาม รอบสุดท้ายเมื่อเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่าน พวกเขาจะต้องร่วมกันแข่งขันเกมในรอบสุดท้าย โดยจะมีกติกาเหมือนดังรอบก่อน ๆ มีเวลา 1 นาที 30 วินาที (90 วินาที) แต่ในรอบนี้เงินรางวัลที่สะสมได้เมื่อหมดรอบจะถูกเพิ่มเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าก่อนที่จะถูกรวมเข้าไปในเงินรางวัลรวมเพื่อเป็นเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะเกม ในรอบนี้จะไม่มีผู้ที่ถูกกำจัดออก รอบตัวต่อตัวในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่านจะต้องตอบคำถามเป็นชุด คนละ 3-5 คำถาม ผู้ที่แกร่งที่สุดจากรอบที่แล้วจะได้เลือกว่าใครจะเป็นผู้ตอบคำถามก่อน ใครที่ตอบคำถูกมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ (ตอบคำถามถูกต้องสูงสุด 3 ข้อ) และจะกลับบ้านไปพร้อมเงินรางวัลทั้งหมดที่สะสมมา ส่วนผู้แพ้จะกลับบ้านมือเปล่าเช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันอื่นที่ถูกกำจัดออก ในกรณีที่จำนวนข้อที่ผู้เข้าแข่งขันตอบถูกเสมอกันกับอีกคนหนึ่ง เกมจะเข้าสู่ช่วงต่อเวลา โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามแบบข้อต่อข้อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีท่านใดท่านหนึ่งตอบถูกและอีกท่านตอบผิด ในแต่ละตอน มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ซึ่งผู้ชนะได้รับเงินรางวัลสูงถึง 10,000 ปอนด์ และในตอนการแข่งขันของผู้มีชื่อเสียงเพื่อการกุศลมีเงินรางวัลสูงถึง 50,000 ปอนด์ ความสำเร็จของรายการในสหราชอาณาจักร แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายการประสบความสำเร็จโดยในรายการกำจัดจุดอ่อนนี้เธอจะพูดจาเสียดสี แหน็บแนม และตำหนิ กลุ่มผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำเงินรางวัลสะสมได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดขายของรายการ จนทำให้คำพูดที่กล่าวว่า "คุณคือจุดอ่อนที่สุดของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) เป็นคำพูดที่ติดปากผู้ชมอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่คิดคำพูดนี้ขึ้นมาคือ Jeremy Paxman ผู้ดำเนินรายการ University Challenge) ผู้บรรยายในฉบับสหราชอาณาจักรคือ Jon Briggs หลาย ๆ องค์ประกอบของรายการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากรายการบิกบราเธอร์ และ Who Wants to Be a Millionaire? (เกมเศรษฐี) แต่รูปแบบของรายการนั้นค่อนข้างจะแปลกไปจากรายการอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือมีการเปิดฉากต่อสู้กันทางสีหน้า ท่าทางและวาจาของผู้เข้าแข่งขัน โดยใช้ผู้ดำเนินรายการเป็นตัวกระตุ้น ในบางประเทศรายการถูกสื่อต่าง ๆ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศ รายการนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รายการภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกLegend: ยังออกอากาศอยู่; ยกเลิกการออกอากาศแล้ว;
กำจัดจุดอ่อน (ไทย)รูปแบบภาษาไทย มีชื่อรายการว่า "กำจัดจุดอ่อน" เริ่มออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ในชื่อ บางกอกการละคอน) ดำเนินรายการโดย ดร. กฤษติกา คงสมพงษ์ ในเวลา 22.20 น.- 23.20 น. ทุกคืนวันพฤหัสบดี รูปแบบรายการเป็นมีลักษณะแบบเดียวกันในหลายประเทศ (กติกาจะเหมือนกับของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา) จำนวนผู้เข้าแข่งขันมีทั้งหมด 8 ท่าน โดยมาจากการคัดเลือกจากทางบ้านเพื่อชิงเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท รูปแบบการแข่งขัน
ระดับเงินรางวัล
การตอบรับและกระแสวิพากษ์วิจารณ์รายการนี้ได้รับกระแสตอบรับในทางลบ เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยบางสำนักบางยี่ห้อ รวมไปถึงผู้ชมบางส่วนที่ไม่เข้าใจกฎกติกาการเล่นเกมของรายการ โดยการกล่าวหามีลักษณะไปในทำนองว่า "เป็นรายการที่สร้างขัดแย้ง แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่เหมาะสมต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมของไทย" จึงทำให้ถูกเฝ้าจับตาโดยสื่อของประเทศไทย เช่นเดียวกับในประเทศฮ่องกง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้เข้าแข่งขันตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังจากที่บันทึกเทปรายการเสร็จ ทางรายการก็ได้ปรับลดความดุดันลงเพื่อไม่ให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำอีก แต่การปรับเนื้อหาดังกล่าวทำให้ความนิยมของรายการลดลงไปเช่นเดียวกันอันเนื่องจากการตัดรูปแบบเอกลักษณ์และเสน่ห์ของรายการ จนกระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ได้ทำการออกอากาศเป็นตอนสุดท้ายและยุติการออกอากาศลงในที่สุดก่อน พ.ศ. 2546 โดยหลังจากนั้น ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเกมโชว์ใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นรายการ Magic Box กล่องวิเศษ ซึ่งออกอากาศต่อจากรายการนี้ ในวันและเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยมีสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ สื่อต่าง ๆ ในไทยรายการกำจัดจุดอ่อนที่ฉายในประเทศไทยนั้นเป็นที่นิยม ต่อมาได้ถูกล้อเลียนในรูปแบบสื่อต่าง ๆ เช่น ตลก การ์ตูน รวมไปถึงเกมคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบัน ถูกหยิบยกนำมาล้อเลียนอีกครั้งในรูปแบบสื่อออนไลน์ เช่น Youtube ภาคตลกสำหรับตลกกำจัดจุดอ่อนนั้นจะเป็นการแสดงตลกล้อเลียนรายการ ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นชื่ออื่น ๆ เช่น
กำจัดตลกอ่อนเป็นรายการที่จัดโดยทีมงานของทางรายการกำจัดจุดอ่อนเอง โดยเป็นการแก้เผ็ดผู้เข้าแข่งขันที่ล้อเลียนรายการ โดยให้ผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันรายการ "กำจัดจุดอ่อน" ของจริง ซึ่งมีพิธีกรคือคุณกฤติกา คงสมพงษ์ ในรอบแรกนั้นพิธีกรจะถามเฉพาะคำถามที่ยากกว่าคำถามปกติที่ใช้ในการแข่งขันจริง ทำให้ผู้เข้าขันแต่ละคนถึงกับหน้าซีด แต่เมื่อจบการแข่งขันในรอบแรก ทางทีมงานจึงมาเฉลยว่าเป็นการแก้เผ็ดกับพิธีกรที่ล้อเลียนรายการ และให้เล่นเกมกันใหม่โดยไม่ใช้บรรยากาศแบบนี้ จึงได้มีการเล่นเกมใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น The Weakest Joker กำจัดตลกอ่อน ซึ่งมีแต่คำถามตลก ๆ และคำถามประหลาด ๆ โดยผลการแข่งขันปรากฏว่าผู้ที่ชนะและไม่ถูกกำจัดออกคือธงธง มกจ๊ก และในตอนท้ายทางรายการได้บริจาคเงินทั้งหมดหนึ่งแสนบาทแก่มูลนิธิการกุศล แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia