ด้านการสอน ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเป็นอาจารย์และผู้บรรยายในสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งในและนอกประเทศ อาทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเรดดิง (Reading University) สหราชอาณาจักร Canadian Human Rights Foundation ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลประเทศเกาหลีใต้ (2016 Winter Course on Human Rights and Asia)[5]
กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรีย (Commissioner on the Independent International Commission of inquiry on Syria) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)[7]
กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์ (Member of the Advisory Board on Human Security) ของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Trust Fund for Human Security: UNTFHS) ตั้งแต่พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[8]
กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านความคุ้มกันระหว่างประเทศ (Member of the Advisory Group of Eminent Persons on International Protection) ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office of High Commissioner for Human Rights: UNHCR) ตั้งแต่พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ
กรรมการในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ (Member of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations: CEAR) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ตั้งแต่พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)[9]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศ (Independent Expert on the Protection against Violence and Discrimination based on Sexual Orientation and Gender Identity: SOGI) โดยประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบจากรัฐสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2559 ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 33[10]
ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศโกดติวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) (Chair of the International Commission of Inquiry on the Ivory Coast) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในพ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)
ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศเกาหลีเหนือ (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in Democratic People’s Republic of Korea) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างพ.ศ. 2547 - 2553 (ค.ศ. 2004 - 2010)
ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านกระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ (Chairperson of the Coordinating Committee of United Nations Special Procedures) ขององค์การสหประชาชาติ ระหว่างพ.ศ. 2549 - 2550 (ค.ศ. 2006 -2007)
ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกเด็ก (United Nations Special Rapporteur on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - 2537 (ค.ศ. 1990 - 1994)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตมีประสบการณ์การทำงานกับองค์การนอกภาครัฐในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างหลากหลาย โดยได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (The International Commission of Jurists: ICJ)[12]; ประธานร่วมของสภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ (Co-Chairperson of the Advisory Council of Jurists) ในเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions: APF)[13]; ประธานร่วมคณะทำงานเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (Co-Chairperson of the Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism)[14]; กับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies)[15]; ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of Red Cross) และอาสาสมัครในการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระ
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเคยดำรงตำแหน่งประธานร่วมในการวางกรอบหลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles on the Application of International Human Rights Law in relation to Sexual Orientation and Gender Identity) ซึ่งเป็นการประยุกต์กฎหมายสิทธิมนุษยชนมาใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ ที่มหาวิทยาลัย Gadjah Mada เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[16]
งานเขียน
The Core Human Rights Treaties and Thailand (2016) [กำลังจะตีพิมพ์], สำนักพิมพ์ Brill Nijhoff (ISBN 9789004326668)
Unity in Connectivity?: Evolving Human Rights Mechanisms in the Asean Region (Nijhoff Law Specials) (2013), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
ACJ Report on Human Rights, Sexual Orientation and Gender Identity (2010), สภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ของเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (Advisory Council of Jurists of the Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions)
A Commentary on the United Nations Convention on the Rights of the Child, Article 34: Sexual Exploitation and Sexual Abuse of Children (2007), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
"Human Rights Monitoring in the Asia Pacific Region" ในหนังสือ International Human Rights Monitoring Mechanisms: Essays in Honour of Jakob Th. Möller (2001), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff (กองบรรณาธิการ: Gudmundur Alfredsson, Jonas Grimheden, Bertrand G. Ramcharan)
Mass Media Laws and Regulations in Thailand (1998), สำนักพิมพ์ Asian Media Information and Communication Centre
Extraterritorial Criminal Laws Against Child Sexual Exploitation (1998), สำนักพิมพ์ UNICEF
Roads to Democracy: Human Rights and Democratic Development in Thailand (1994), สำนักพิมพ์ International Centre for Human Rights and Democratic Development (เขียนร่วมกับ Charles Taylor)
The Status of Refugees in Asia (1992), สำนักพิมพ์ Oxford University Press