รัฐบาลมีแชล บาร์นีเย
รัฐบาลมีแชล บาร์นีเย (ฝรั่งเศส: Gouvernement Michel Barnier; 21 กันยายน – 13 ธันวาคม ค.ศ. 2024) เป็นคณะรัฐบาลคณะที่ 45 ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งแต่งตั้งขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ได้แต่งตั้งมีแชล บาร์นีเย อดีตบุคคลสำคัญของคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเจรจาการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2024 ระยะเวลา 16 วันระหว่างการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีกับการประกาศองค์ประกอบของรัฐบาลในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2024 ถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศ เบื้องหลังภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 ซึ้งจัดตั้งขึ้นโดยเหตุการยุบชุดสภานิติบัญญัติที่ผ่านมา (ชุดที่ 16) โดยแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคชุมนุมแห่งชาติ (ฝรั่งเศส: Rassemblement national) ไม่สามารถได้คะแนนเสียงเพื่อครองเสียงข้างมากตามกระแสข่าว[1] และกลับอยู่อันดับที่สามตามหลังพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่ ที่ได้เป็นอันดับที่หนึ่ง และพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายสายกลางที่สนับสนุนประธานาธิบดีมาครง ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ ที่ได้รับอันดับที่สอง[2] จากนั้น กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นนำเสนอการลาออกต่อประธานาธิบดีซึ่งมีผลยอมรับในวันที่ 16 กรกฎาคม ในวันที่ 25 กรกฎาคม พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่เสนอชื่อนางลูซี่ กัสเทตส์ แต่มาครงกลับตอบสนองว่า "ไม่มีใครชนะ" และประกาศจัดการหารือระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่มีที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติเพื่อจัดตั้งรัฐบาล[3] หลังจากการหารือระลอกแรกในวันที่ 23 สิงหาคม บริการของประธานาธิบดีได้ประกาศในวันที่ 26 ของเดือนเดียวกันว่าลูซี กัสเทตส์จะไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีความเสี่ยงที่กลุ่มพรรคการเมืองและพรรคการเมืองในสภาล่างสามารถลงมติไม่ไววางใจรัฐบาลดังกล่าว[4] แล้วในวันที่ 2 กันยายน มาครงได้มีการหารือระหว่างแบร์นาร์ กาซเนิฟว์ อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมนิยมภายใต้การนำของฟร็องซัว ออล็องด์ และซาเวียร์ แบร์ทรองด์ ประธานสภาแคว้นโอดฟร็องส์ แต่สองบุคคลนี้ก็เสี่ยงต่อการไม่ไว้วางใจจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเช่นกัน ในวันที่ 4 กันยายน ชื่อของมีแชล บาร์นีเย อดีตผู้เจรจาของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงจากพรรคเลเรปูว์บลีแก็งได้ถูกเผยและเสนอมา[5] แล้วในวันรุ่งขึ้น แอมานุแอล มาครงก็แต่งตั้งบาร์นีเยเป็นนายกรัฐมนตรี[6] ประวัติการแต่งตั้งคณะรัฐบาลในวันที่ 19 กันยายน มีการนำเสนอรายชื่อรัฐมนตรีชุดแรกจากนายกรัฐมนตรีแต่ถูกรายชื่อชุดนี้ปฎิเสธโดยประธานาธิบดี หลังจากนั้น ในวันที่ 21 กันยายน หลังจากการมีเสนอรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ ในที่สุดก็ได้มีการประกาศคณะรัฐมนตรีโดยอเล็กซี โกห์แลร์ เลขาธิการทำเนียบประธานาธิบดี[7][8][9] ผู้สังเกตการณ์ฝ่ายซ้ายหลายบุคคลมองว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลฝ่ายขวาที่สุดภายใต้สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5[10][11] เนื่องจากมีรัฐมนตรีหลายคนที่เคยรณรงค์ต่อต้านการสมรสเพศเดียวกันมาก่อน การปรับปรุงรัฐบาลภายหลังแต่งตั้งรัฐบาล มีการปรับปรุงตำแหน่งหลายครั้ง ดังนี้
การสิ้นสุดรัฐบาลเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2024 บาร์นีเยได้ใช้อำนาจมาตรา 49 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสเพื่อรับรองและรับผิดชอบ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล งบประมาณประกันสังคมสำหรับปี ค.ศ. 2025 โดยไม่มีการลงมติจากสมัชชาแห่งชาติ[13] กระตุ้นให้ทั้งพันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่และสมาชิกพรรคชุมนุมแห่งชาติยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลของเขา[14] ในที่สุด เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2024 หลังจากดำรงตำแหน่งได้สามเดือนเท่านั้น รัฐบาลของมีแชล บาร์นีเยถูกล่มสายจากการลงมติไม่ไว้วางใจของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยคะแนนเสียง 331-244 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทุกพรรคจากพันธมิตร แนวร่วมประชาชนใหม่ (ลาฟร็องแซ็งซูมีซ พรรคสังคมนิยม นักนิเวศนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส) และสมาชิกจากพรรคชุมนุมแห่งชาติและพรรคสหภาพขวาเพื่อสาธารณรัฐ ทำให้รัฐบาลบาร์นีเยเป็นรัฐบาลแรกที่แพ้การลงมติไม่ไว้วางใจนับตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ 1 ของฌอร์ฌ ปงปีดูในปี ค.ศ. 1962 เชิงอรรถ
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia