ยาซูยูกิ โอดะยาซูยูกิ โอดะ (ญี่ปุ่น: 小田 泰之; อังกฤษ: Yasuyuki Oda) เป็นนักออกแบบเกมชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อ ค.ศ. 1972 ในจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น โดยโอดะได้แสดงความสนใจในการเล่นเกมในช่วงวัยเด็ก ซึ่งทำให้เขาศึกษาแอนิเมชันเมื่อโตขึ้น เขาได้รับการเปิดตัวในฐานะผู้พัฒนาบริษัทเอสเอ็นเค โดยทำการแก้จุดบกพร่ององเกมบางเกมในขณะที่เป็นผู้วางแผนหลักในกาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ส่วนใน ค.ศ. 2000 เขาย้ายไปที่บริษัทดิมส์ก่อนที่จะย้ายกลับมาทำงานที่บริษัทเอสเอ็นเคอีกครั้งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 เพื่อกำกับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV และส่วนประกอบอื่น ๆ จากทรัพย์สินของบริษัทเอสเอ็นเค ประวัติชีวิตในช่วงต้นและความชอบโอดะเกิดเมื่อ ค.ศ. 1972 ที่จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น[1] ตอนเด็กเขาไม่ชอบเกมอาร์เคด จึงเล่นเกมดองกีคิง, เครซีคอง และเครซีคิงแทน เขาเป็นคนชอบความเป็นจริงเสมือนและมุ่งเป้าไปยังเกมที่อนุญาตให้ผู้เล่นเลียนแบบอนิเมะหุ่นยนต์ยักษ์โมบิลสูท กันดั้ม เมื่อพูดถึงอนิเมะเขาได้แสดงความชอบที่มีต่อ Golden Kamuy และโมบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์ ในขณะที่เขาก็ชอบโทกูซัตสึอย่างคาเมนไรเดอร์เช่นกัน โดยเฉพาะมาสค์ไรเดอร์อากิโตะ และเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทอย่างโตเกียวมิราจ ส่วนเกมโปรดของเขาเกี่ยวข้องกับโอเพนเวิลด์ เช่น อัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์, ฮอไรซันซีโรดอว์น เขาเชื่อว่าผู้เล่นชาวญี่ปุ่นควรลองเกมอินเฟมัสเซคันด์ซัน ในขณะที่ชาวตะวันตกควรเล่นเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: บรีทออฟเดอะไวลด์[2] โอดะและนักออกแบบเกมบริษัทเอสเอ็นเค โนบูยูกิ คูโรกิ เรียนอยู่โรงเรียนศิลปะแห่งเดียวกันที่วิทยาลัยโอซากะดีไซเนอส์[3] ซึ่งที่นั่น โอดะได้เรียนแอนิเมชัน[4] อาชีพโอดะเป็นสมาชิกของเอสเอ็นเค อาร์แอนด์ดี ดิวิชัน 1 ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1993 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000[5] งานแรกของเขาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อบกพร่องของกาโรเด็นเซ็ตสึสเปเชียล และอาร์ตอออฟไฟติง 2 ในการออกแบบตัวละครทากูมะ ซากาซากิ ซึ่งเขาพบว่ามีความท้าทายเนื่องจากเนื้อตัวของตัวละครดังกล่าวไม่ได้ถูกปกปิดด้วยเสื้อผ้า[6] ส่วนบลู แมรี เป็นความท้าทายในการออกแบบ อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนในการต่อสู้ของเธอเพื่อให้เคลื่อนไหวได้ โดยในระหว่างที่เธอได้รับการเปิดตัวในกาโรเด็นเซ็ตสึ 3 มีไม่กี่คนในทีมที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับซามบะ ซึ่งเป็นรูปแบบการต่อสู้ของเธอมากนัก และมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่โยอิจิโระ โซเอดะ หนึ่งในนักออกแบบที่ทำงานกับบลู แมรี ได้ใช้หุ่นฝึกของโอดะเพื่อแสดงการโจมตีบางอย่างที่เขามีต่อทีมอื่น ซึ่งโอดะได้พูดติดตลกว่าเขาได้รับบาดแผลใหญ่หลังจากถูกใช้โดยนักออกแบบตัวละคร[7] แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้พัฒนา แต่โอดะก็ประทับใจเดอะคิงออฟไฟเทอส์ '94 เนื่องจากความสามารถของเกมที่โดดเด่นเมื่อเปิดตัว[8] เขามีส่วนเกี่ยวข้องเล็กน้อยในเกมเดอะคิงออฟไฟเทอส์ '95 และฟูอุนซูเปอร์แท็กแบตเทิล[1] ทั้งคูโรกิและโอดะต่างสงสัยว่าตัวละครเอกประเภทใดที่จะประสบความสำเร็จอย่างเทอร์รี โบการ์ด ในเกมล่าสุดของกาโรเด็นเซ็ตสึ อย่างกาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ในขณะที่พวกเขาไม่มั่นใจกับร็อค ฮาวเวิร์ด แต่พวกเขาก็ยังตัดสินใจให้เขาเป็นตัวเอกคนใหม่[9] โอดะรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในซีรีส์กาโรเด็นเซ็ตสึเนื่องจากการเพิ่มกลไกของเกมในการยกเลิกการโจมตีแบบ "ซูเปอร์"[2] ครั้นในปี ค.ศ. 2000 โอดะได้ออกจากเอสเอ็นเคเพื่อเข้าร่วมบริษัทดิมส์[1] ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของดิมส์ โอดะได้เป็นผู้ออกแบบการต่อสู้ของสตรีทไฟเตอร์ IV และทำงานในเกมข้ามฝั่งอย่างสตรีทไฟเตอร์ X เทคเคน ในภายหลัง โอดะได้ทำหน้าที่กำกับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV หลังกลับคืนสู่บริษัทเอสเอ็นเค[10] นี่เป็นการมีส่วนร่วมครั้งแรกของเขาในแฟรนไชส์ โดยการนำพนักงานที่อายุน้อยกว่า ในระหว่างการทำงานครั้งแรกของโอดะที่บริษัทเอสเอ็นเค เกมอย่างเวอร์ชัวไฟเตอร์ ได้กระตุ้นให้เขาสร้างเกม 3 มิติหลังจากที่เขาจากไป เมื่อโอดะกลับมาที่บริษัทเอสเอ็นเค เขาตัดสินใจที่จะเปลี่ยนซีรีส์คิงออฟไฟเทอส์ จาก 2 มิติ มาเป็น 3 มิติ แม้ว่าการปรับตัวละครบางตัวจะยากกว่าตัวอื่น ๆ[11] แม้จะมีปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับโหมดออนไลน์และคุณสมบัติอื่น ๆ จากเกม แต่ยาซูยูกิ โอดะ กล่าวว่าการตอบสนองของแฟน ๆ ต่อเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV นั้นเป็นไปในเชิงบวกโดยเฉพาะหลังจากแก้ไขปัญหาเหล่านี้แล้ว ด้วยเหตุนี้ เขาจึงคิดว่าการทำเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XV มีความเป็นไปได้ แต่บริษัทต้องการที่จะมุ่งเน้นไปที่แฟรนไชส์อื่นด้วย[12] ในการสร้างพอร์ตอาร์เคดของเกมนี้ โอดะได้รับแรงบันดาลใจจากเนซิกาxไลฟ์ 2 ของบริษัทไทโตตามความสามารถของมัน[2] โอดะกล่าวว่าเลโอนา ไฮเดิร์น และเคียว คุซานางิ เป็นตัวละครโปรดของเขาในซีรีส์เดอะคิงออฟไฟเทอส์[13] โอดะตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่ค้นคว้าตัวละครใหม่สำหรับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV การเคลื่อนไหวของเคียวนั้นหลีกเลี่ยงแบบแผนอย่างนักมวยปล้ำซูโม่ญี่ปุ่น เพื่อสร้างความหลากหลายมากขึ้นภายในตัวละคร ซึ่งรวมถึงตัวละครหลายเชื้อชาติ โอดะกล่าวเพิ่มเติมว่าพวกเขาทำให้สมาชิกใหม่ "เป็นแบบเคียว" เพื่อสร้างความคิดริเริ่มในเกม[14] หลังจากความสำเร็จของเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV ทางบริษัทเอสเอ็นเคได้ตัดสินใจตัดสินใจที่จะพัฒนาเกมที่เบากว่าเดิมโดยเน้นเฉพาะนักสู้หญิง ซึ่งคือเอสเอ็นเค เฮโรอินส์: แท็กทีมเฟรนซี โอดะกล่าวว่าในขณะที่การกล่าวถึงเบื้องต้นของเกมได้ทำให้กลไกฟังดูง่ายขึ้นกว่าเกมก่อนหน้า ทีมงานก็ยังทำงานอย่างจริงจังในระบบที่ซับซ้อนซึ่งจะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญในประเภทนี้[15] โอดะได้กลับมาในฐานะโปรดิวเซอร์ของซามูไรโชดาวน์เนื่องจากผลตอบรับที่สำคัญ โดยโอดะได้ตั้งเป้าให้ตัวละครแต่ละตัวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแสดงความสนใจที่จะเพิ่มตัวละครรับเชิญจากลอร์ดออฟเดอะริงส์ อย่างอารากอร์น[16] ซึ่งซามูไรโชดาวน์เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่โอดะต้องการพัฒนามาเป็นเวลานานโดยพิจารณาจากการใช้งานอาวุธ[2] ผลงาน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia