อัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์
อัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์ (อังกฤษ: Assassin's Creed Origins) เป็นซีรีส์เกมอิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบแอ็คชันผจญภัย พัฒนาโดย ยูบิซอฟท์ มอนทรีออล และจัดจำหน่ายโดย ยูบิซอฟท์ เป็นเกมภาคหลักชุดที่สิบในซีรีส์เกมอัสแซสซินส์ครีด ซึ่งเป็นภาคต่อจากเกมอัสแซสซินส์ครีด ซินดิเคท ในปี 2015 โดยมีการกำหนดวางจำหน่ายวันที่ 27 ตุลาคม 2017 สำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 4 ,เอกซ์บอกซ์ วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ รูปแบบการเล่นในรูปแบบการเล่นนั้น อัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์ จะเป็นเกมในรูปแบบโอเพนเวิลด์ โดยใช้ในการเดินทางในรูปแบบเท้า , ขี่ม้า, ขี่หลังอูฐ และเรือขนาดเล็ก ในด้านเนื้อเรื่องภายในเกมนั้น ผู้เล่นจะต้องดำเนินภารกิจตามเควส์ที่ตั้งไว้ เพื่อดำเนินความคืบหน้าในเรื่องราวต่าง ๆ ในเกม และจะได้รับคะแนนประสบการณ์พร้อมได้รับทักษะใหม่ ๆ ในเกมอีกด้วย ส่วนนอกเนื้อเรื่อง ผู้เล่นสามารถเล่นได้อย่างอิสระ โดยสามารถสำรวจสถานที่เพื่อดำเนินภารกิจ , ปลดล็อกอาวุธและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งในเกมนี้จะต่างจากเกมก่อนหน้าในซีรีส์นี้ คือโหมด "Eagle Vision" ซึ่งจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถสำรวจพื้นที่สามารถระบุจุดของศัตรูและวัตถุนั้น จะแทนที่ด้วยนกอินทรีเป็นเพื่อน แต่ไม่มีการเปลี่ยนในคุณสมบัตินี้[1][2][3][4][5] ในการเล่นเกมในภาคนี้ จะยังคงในรูปแบบเล่นคนเดียวเช่นเดิม ไม่มีโหมดเล่นหลายคนเหมือนกับภาคที่แล้ว เนื้อเรื่องโดยเนื้อเรื่องนั้น จะเล่าเรื่องราวย้อนไปในยุคอียิปต์โบราณต้นกำเนิดของภราดรภาพมือสังหาร ทำหน้าที่พิทักษ์อาณาจักรจากภัยคุกคามและผจญภัยในอียิปต์โบราณ ที่มีทั้งพีระมิด วิหาร หลุมศพ แม่น้ำไนล์ โอเอซิส และทะเลทราย ซึ่งผู้เล่นรับบทเป็นผู้ชายในนามชื่อ Bayek of Siwa[6][7] เพื่อไปต่อสู้กับกลุ่มคอรัปชั่นของอียิปต์ โดยฉากของเกมนั้นจะไปเน้นที่เมืองทางตอนเหนือของประเทศอียิปต์ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน อย่าง Memphis และ Alexandria ไปจนถึงเมืองพีระมิดแห่ง Giza[8] การพัฒนาAshraf Ismail ผู้พัฒนาเกมอัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์ ในยูบิซอฟท์ มอนทรีออล ได้มีการออกมาพูดถึงเนื้อเรื่องของเกม โดยเผยว่า “ ตัวเกม Assassin’s Creed Origins จะยังคงมีเรื่องราวอยู่ในเส้นเดียวกันกับ Assassin’s Creed ภาคก่อนๆ เพียงแต่ภาคนี้ เราจะหนักไปที่ความเป็นตำนานมากขึ้น เรื่องราวโดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ความเป็นพี่น้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่า อีกทั้งยังมีการอิงเรื่องราวของสัญลักษณ์และพิธีกรรมต่างๆด้วย “[9] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia