ภาษากัจฉ์
ภาษากัจฉ์ (કચ્છી, แม่แบบ:Script/Khudawadi, ڪچّي) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ใช้พูดในบริเวณกัจฉ์ของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย และแคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน[4] มีผู้พูดราว 866,000 คน โดยเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งชาวขวาชาห์ที่ใช้ในทางศาสนา ภาษาใกล้เคียงภาษากัจฉ์ใกล้เคียงกับภาษาสินธ์ที่ใช้พูดในแคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน มักเข้าใจผิดกันว่าภาษากัจฉ์เป็นภาษาผสมระหว่างภาษาสินธ์ ภาษาคุชราต ภาษาปัญจาบ และภาษาราชสถาน ซึ่งอาจเป็นเพราะสัทวิทยาของภาษากัจฉ์ใกล้เคียงกับภาษาสินธ์ แต่คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาคุชราต ความใกล้เคียงของภาษาส่วนหนึ่งเกิดจากการอพยพระหว่างเขตสินธ์มาสู่โสวรัสตระและกัจฉ์ทางตะวันออก หรือราชสถานและปัญจาบทางเหนือ ผู้พูดภาษากัจฉ์ในอินเดียอาจพูดได้ 2 หรือ 3 ภาษา เพราะการใกล้ชิดกับภาษาใกล้เคียงเช่นภาษาคุชราตและภาษาฮินดี คำทั่วไปมีความผันแปรของไวยากรณ์และความแตกต่างระหว่างสำเนียงในแต่ละถิ่น มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเช่นเดียวกับภาษาในเอเชียอื่นๆ ที่อยู่ในเส้นทางการค้า ผู้พูดภาษากัจฉ์จำนวนมากพูดภาษาคุชราตได้ด้วย สำเนียงภาษาคุชราตของผู้พูดภาษากัจฉ์เป็นที่ยอมรับจากผู้พูดภาษาคุชราตสำเนียงมาตรฐานว่าสามารถเข้าใจกันได้ ตัวอย่างประโยคภาษากัจฉ์เทียบกับภาษาคุชราตได้แก่
ระบบการเขียนโดยทั่วไปภาษากัจฉ์เขียนด้วยอักษรคุชราตดัดแปลง มีการตีพิมพ์หนังสือและวารสารจำนวนมากด้วยอักษรนี้ มีการเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเช่นกัน ในอดีต ภาษากัจฉ์เคยเขียนด้วยอักษรโขชกีที่เลิกใช้ไปแล้ว ดร. ราหุล ชาฮ์ หมออายุรเวท, นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ลายมือได้สร้างอักษรสำหรับภาษานี้ขึ้น[5][6] หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia