ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ประจำปี 2552

ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ประจำปี 2552
การท่าเรือไทย ประกาศขอยอมแพ้หลังเกิดเหตุจลาจล
วันที่20 กุมภาพันธ์ 2553
สนามสนามศุภชลาศัย, กรุงเทพมหานคร
ผู้ตัดสินอรรถกร เวชการ (ไทย)
ผู้ชม13,000
2551
2553

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี พ.ศ. 2552 (รู้จักในชื่อรายการ อีซูซุ คอมมูนิตี้ คัพ ตามชื่อของผู้สนับสนุน) เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ครั้งที่ 75 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปี โดยนำสโมสรชนะเลิศฟุตบอล ไทยลีก และ สโมสรชนะเลิศฟุตบอล ไทยเอฟเอคัพ เมื่อฤดูกาลที่แล้วมาแข่งขัน โดยทำการแข่งขันที่ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553[1] โดยเป็นการชิงชนะเลิศกันระหว่าง สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด สโมสรชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552 กับ การท่าเรือไทย สโมสรชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2552 โดยผลการแข่งขันเป็นทาง สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนี้ หลังจากแข่งขันไปได้ 81 นาที ด้วยสกอร์ 2-0 เนื่องจากทาง การท่าเรือไทย ได้ประกาศขอยอมแพ้หลังเกิดเหตุการจลาจลในสนาม[2]

เกมการแข่งขัน

ครึ่งแรก

เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้ลุ้นจากจังหวะที่ ปิยะชาติ ถามะพันธ์ เปิดบอลมาถึง โคเน โมฮาเหม็ด ได้โหม่งประตูในนาทีที่ 14 แต่ผู้ตัดสินในเกมไม่ให้ประตูเพราะมีการทำฟาวล์ก่อนหน้านี้ และอีกจังหวะในนาทีที่ 16 ที่ ยายา ซูมาโฮโร มีโอกาสได้ทำประตู แต่ถูกจับล้ำหน้า

ครึ่งหลัง

โคเน โมฮาเหม็ด ทำประตูออกนำให้กับ เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ในนาทีที่ 67 จากลูกฟรีคิกของ ปิยะชาติ ซึ่งเป็นประตูแรกอย่างเป็นทางการของเจ้าตัวหลังย้ายมาจาก ชลบุรี เอฟซี ก่อนที่ในนาทีที่ 81 ดาโน เซียกา จะโขกทำประตูให้ทีมทิ้งห่างออกเป็น 2-0

เหตุจลาจล

หลังจากที่เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูที่สองของเกม แฟนบอลของ การท่าเรือไทย ไม่พอใจการตัดสินของผู้ตัดสินในเกม (อรรถกร เวชการ) โดยมองว่าจังหวะประตูที่สองที่เมืองทองฯ ได้เป็นจังหวะแฮนด์บอล ก่อนจะมีการปาขวดน้ำและสิ่งของลงสนาม และจุดพลุไฟเขวี้ยงลงมา รวมถึงจุดประทัดขึ้นฟ้าเสียงดังลั่นสนาม จนเกมต้องยุติลงกลางคัน ก่อนที่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์จะบานปลายเมื่อแฟนบอล การท่าเรือไทย พังรั้วกั้นเข้าไปทำร้ายกองเชียร์ของเมืองทองฯ จนคนดูวิ่งหนีกระโดดลงจากอัฒจันทร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารที่มีเพียงไม่กี่คนไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดเหตุวิวาทชกต่อยกันรอบสนาม[3]

ก่อนที่ในเวลาต่อมา พิเชษฐ์ มั่นคง ประธานสโมสรการท่าเรือไทย ได้ประกาศขอยอมแพ้ และยกตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันให้กับสโมสรเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด[4] และในวันที่ 29 มกราคม 2554 ทางสโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้เข้ารับถ้วยรางวัลอย่างเป็นทางการ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[5]

รายละเอียดการแข่งขัน

เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
การท่าเรือไทย
GK 26 ประเทศไทย กวิน ธรรมสัจจานันท์
DF 3 ประเทศไทย ปกาศิต แสนสุข
DF 4 ประเทศไทย ภานุพงศ์ วงศ์ษา
DF 6 ประเทศไทย ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ (c)
DF 11 ประเทศไทย ปิยะชาติ ถามะพันธ์
MF 7 ประเทศไทย ดัสกร ทองเหลา Substituted off in the 45th นาที 45'
MF 15 ประเทศกินี มุสซา ซิลลา
MF 21 ประเทศโกตดิวัวร์ ดาโน เซียกา โดนใบเหลือง ใน 66th นาที 66'
MF 24 ประเทศโกตดิวัวร์ ยายา ซูมาโฮโร โดนใบเหลือง ใน 52nd นาที 52'
FW 22 ประเทศโกตดิวัวร์ โคเน โมฮาเหม็ด
FW 14 ประเทศไทย ธีรเทพ วิโนทัย Substituted off in the 45th นาที 45'
ผู้เล่นสำรอง:
MF 20 ประเทศไทย อมร ธรรมนาม Substituted on in the 45th minute 45'
FW 13 ประเทศโกตดิวัวร์ คริสเตียน ควาคู Substituted on in the 45th minute 45'
ผู้ฝึกสอน: ประเทศเบลเยียม เรอเน เดอซาแยร์
GK 39 ประเทศแคเมอรูน มุนเซ่ อุลริช
DF 22 ประเทศบราซิล มาริโอ ดา ซิลวา
DF 26 ประเทศไทย อาลีฟ เปาะจิ โดนใบเหลือง ใน 9th นาที 9'
DF 36 ประเทศแคเมอรูน มูดูรู มอยเซ่
DF 17 ประเทศไทย พงศ์พิพัฒน์ คำนวณ
MF 4 ประเทศไทย วรวุฒิ วังสวัสดิ์ โดนใบเหลือง ใน 44th นาที 44' Substituted off in the 64th นาที 64'
MF 6 ประเทศไทย รังสรรค์ เอี่ยมวิโรจน์ โดนใบเหลือง ใน 22nd นาที 22'
MF 11 ประเทศไทย จีระวัฒน์ มัครมย์
MF 11 ประเทศไทย เกียรติเจริญ เรืองปาน Substituted off in the 72nd นาที 72'
FW 27 ประเทศไทย ศรายุทธ ชัยคำดี (c)
FW 24 ประเทศไทย สมปอง สอเหลบ
ผู้เล่นสำรอง:
MF 16 ประเทศไทย เอกชัย ปรีชากุล Substituted on in the 60th minute 60'
FW 13 ประเทศไทย อิสระพงษ์ ลิละคร Substituted on in the 72nd minute 72'
ผู้ฝึกสอน:
ประเทศไทย สะสม พบประเสริฐ

คณะผู้ตัดสิน

กติกา

  • 90 นาที
  • ดวลยิงจุดโทษตัดสินถ้าในเวลาเสมอกัน
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ไม่เกิน 3 คน

ดูเพิ่มเติม

อ้างอิง

  1. "ประชุมผู้จัดการทีมการแข่งขันฟุตบอลฯถ้วย ก ประจำปี 2552". fat.or.th. สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 25 กุมภาพันธ์ 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-13. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "ยุติแฟนป่วน!เมืองทองฯซิวเจ้าท่า2-0คว้าถ้วยก. พร้อม CLIP". สยามกีฬา. สยามกีฬา. 20 กุมภาพันธ์ 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "จลาจลบอลถ้วย'ก.'แฟนหนีตายชุลมุน". คมชัดลึก. คมชัดลึก. 20 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ฟุตบอลถ้วยก.ดุ เมืองทอง-ท่าเรือตีกันยับ". โพสต์ทูเดย์. โพสต์ทูเดย์. 20 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "เมืองทอง รับแชมป์ถ้วย ก.ปี 2552". smmsport.com. SMMSPORT. 29 มกราคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-08. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia