ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2015 นัดชิงชนะเลิศ
การแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2015 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2015, เป็นทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เป็นเจ้าภาพโดย ประเทศญี่ปุ่น. ครั้งนี้เป็นนัดชิงชนะเลิศครั้งที่ 11 ของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ทัวร์นาเมนต์ที่มีการจัดขึ้นโดยฟีฟ่าระหว่างสโมสรที่เป็นผู้ชนะจากแต่ละทีมแต่ละสมาพันธ์จากหกทวีป, เช่นเดียวกับแชมป์ลีกจากชาติเจ้าภาพ. รอบชิงชนะเลิศเป็นการตัดสินกันระหว่าง สโมสรจากอาร์เจนตินา รีเบร์เปลต, เป็นตัวแทนของ คอนเมบอล ในฐานะครองแชมป์ของ โกปาลีเบร์ตาโดเรส และสโมสรจากสเปน บาร์เซโลนา, เป็นตัวแทนของ ยูฟ่า ในฐานะครองแชมป์ของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก. จะลงเล่นที่ อินเตอร์เนชั่นแนล สเตเดี้ยม โยะโกะฮะมะ ในเมือง โยะโกะฮะมะ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558. บาร์เซโลนาชนะนัดนี้ด้วยผลการแข่งขัน 3–0 ส่งผลให้พวกเขาคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกมาครองเป็นสมัยที่สามได้สำเร็จ.[1][2] ชัยชนะสำหรับบาร์เซโลนาถือเป็นโทรฟีที่ห้าของปี 2558.[3] ภูมิหลังรีเบร์เปลตรีเบร์เปลต ได้สิทธิ์สำหรับทัวร์นาเมนต์ในฐานะทีมชนะเลิศของ โกปาลีเบร์ตาโดเรส ฤดูกาล 2015, ด้วยการเอาชนะด้วยรวมผลสองนัด 3–0 เหนือ อูอาเอ็นแอล ใน นัดชิงชนะเลิศ. นี่เป็นครั้งแรกของรีเบร์เปลตที่ได้เข้าร่วมในทัวร์นาเมนต์นี้. พวกเขาเคยได้ลงเล่นสองครั้งในนาม อินเตอร์คอนติเนนตัล คัพ, ซึ่งเป็นรายการก่อนหน้านี้ของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ชนะหนึ่งครั้งในปี (ค.ศ. 1986) และแพ้หนึ่งครั้งในปี (ค.ศ. 1996). พวกเขาได้เข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศหลังจากที่เอาชนะสโมสรจากญี่ปุ่น ซานเฟรช ฮิโระชิมะ ในรอบรองชนะเลิศ.[4] บาร์เซโลนาบาร์เซโลนา ได้สิทธิ์สำหรับทัวร์นาเมนต์ในฐานะทีมชนะเลิศของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2014–15, ด้วยการเอาชนะ 3–1 ในการพบกับ ยูเวนตุส ใน เกมนัดชิงชนะเลิศ. นี่เป็นครั้งที่สี่ของบาร์เซโลนาที่ได้เข้าร่วมในทัวร์นาเมนต์, หลังจากที่ได้ชัยชนะในรายการนี้ถึงสองครั้งด้วยกันในปี ค.ศ. 2009 และ ค.ศ. 2011, เช่นเดียวกันกับการเป็นรองชนะเลิศใน ค.ศ. 2006. พวกเขาได้ลงเล่นหนึ่งครั้งใน อินเตอร์คอนติเนนตัล คัพ, แพ้หนึ่งครั้งในปี (ค.ศ. 1992). พวกเขาเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศหลังจากเอาชนะสโมสรจากจีน กว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ ในรอบรองชนะเลิศ.[5] เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ
นัดสรุปผลการแข่งขันรายละเอียด
ผู้ชม: 66,853 คน[6] ผู้ตัดสิน: อาลีเรซา ฟากานี (อิหร่าน)
สถิติ
|
Portal di Ensiklopedia Dunia