ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2025

ออสการ์ พิแอสทรี และทีมของเขา แมกลาเรน-เมอร์เซเดส เป็นผู้นำตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับและผู้ผลิตตามลำดับ
ตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันฟอร์มูลาวันครบรอบ 75 ปี

การแข่งขัน เอฟไอเอ ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2025 (อังกฤษ: 2025 FIA Formula One World Championship) เป็นการแข่งขันรถฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 75 ภายใต้การรับรองในฐานะการแข่งขันระดับสูงสุดของการแข่งรถประเภทล้อเปิดโดยสหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ (เอฟไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาท้าความเร็วระดับโลก การแข่งขันชิงแชมป์โลกถูกกำหนดให้เป็นการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ด้วยกันทั้งสิ้น 24 รายการที่จัดขึ้นทั่วโลก โดยการแข่งขันเริ่มต้นในเดือนมีนาคมและจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม

นักขับและทีมผู้ผลิตเข้าร่วมการแข่งขันกันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ และแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตตามลำดับ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน นักขับจากเรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที เป็นแชมป์โลกประเภทนักขับฤดูกาลก่อนหน้า ขณะที่แมกลาเรน-เมอร์เซเดส เป็นแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตทีมฤดูกาลก่อนหน้า[1][2]

การแข่งขันฤดูกาล 2025 ถูกกำหนดให้เป็นฤดูกาลสุดท้ายที่ผู้เข้าแข่งขันจะใช้เครื่องยนต์ต้นกําลังแบบเดิมซึ่งกำหนดใช้ครั้งแรกตั้งแต่ฤดูกาล 2014 เป็นเครื่องยนต์ที่ปรับปรุงโดยเลิกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อน (motor generator unit–heat; MGU-H) และใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานจลน์ (motor generator unit–kinetic; MGU-K) ที่มีกำลังขาออกสูงกว่าแทนในกฎข้อบังคับของฤดูกาล 2026[3][4] นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลสุดท้ายของรถรุ่นใช้หลักกราวด์เอฟเฟกต์ (ground-effect) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ฤดูกาล 2022 และระบบลดแรงต้านอากาศ (drag reduction system; DRS) ซึ่งเข้ามาช่วยในการขึ้นนำตั้งแต่ฤดูกาล 2012 เนื่องจากรถที่ควบคุมอากาศพลศาสตร์ด้วยสปอยเลอร์หลังที่สามารถขยับได้เองจะเข้ามาแทนที่ในฤดูกาล 2026[5]

การแข่งขันฤดูกาล 2025 จะเป็นฤดูกาลสุดท้ายที่เรอโนซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดหาเครื่องยนต์ให้แก่อาลปีน กำหนดการยุติการผลิตเครื่องยนต์หลังสิ้นสุดฤดูกาล 2025[6]

ผู้เข้าแข่งขัน

รายชื่อทีมผู้ผลิตและนักขับต่อไปนี้เข้าร่วมการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2025 ซึ่งทุกทีมจะแข่งขันโดยใช้ยางรถยนต์ที่จัดหาโดยพีเรลลี่[7] แต่ละทีมจะต้องส่งนักขับเข้าร่วมการแข่งขันอย่างน้อยสองคน โดยกำหนดให้นักขับหนึ่งคนประจำรถหนึ่งคันจากรถทั้งหมดสองคันที่กำหนดให้ใช้แข่งขัน[8]

ทีมและนักขับที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2025
ผู้เข้าแข่งขัน ผู้ผลิต แชสซี เครื่องยนต์ นักขับ
หมายเลข ชื่อ การแข่งขัน
ที่ลงแข่ง
France บีดับเบิลยูทีอาลปีนเอฟวันทีม[9] อาลปีน-เรอโน เอ525[10] เรอโน อี-เทค อาร์อี25[11] 7
43
10
Australia แจ็ก ดูอัน
Argentina ฟรังโก โกลาปินโต
France ปีแยร์ กัสลี
1–6
7–11
1–11
United Kingdom แอสตันมาร์ตินอะแรมโคเอฟวันทีม[12] แอสตันมาร์ตินอะแรมโค-เมอร์เซเดส เอเอ็มอาร์25[13] เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม16[14][15] 14
18
Spain เฟร์นันโด อาลอนโซ
Canada แลนซ์ สโตรลล์
1–11
1–11[a]
Italy สกูเดเรียแฟร์รารีเอชพี[17] แฟร์รารี เอสเอฟ-25[18] แฟร์รารี 066/12[11] 16
44
Monaco ชาร์ล เลอแกลร์
United Kingdom ลูวิส แฮมิลตัน
1–11
1–11
United States มันนี่แกรมฮาสเอฟวันทีม[19] ฮาส-แฟร์รารี วีเอฟ-25[20] แฟร์รารี 066/12[21] 31
87
France แอ็สเตบาน ออกง
United Kingdom โอลิเวอร์ แบร์แมน
1–11
1–11
United Kingdom แมกลาเรนฟอร์มูลาวันทีม แมกลาเรน-เมอร์เซเดส เอ็มซีแอล39[22] เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม16[23] 4
81
United Kingdom แลนโด นอร์ริส
Australia ออสการ์ พิแอสทรี
1–11
1–11
Germany เมอร์เซเดส-เอเอ็มจีเปโตรนาสเอฟวันทีม[24] เมอร์เซเดส เอฟ1 ดับเบิลยู16[25] เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม16[11] 12
63
Italy อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี
United Kingdom จอร์จ รัสเซลล์
1–11
1–11
Italy วีซาแคชแอปเรซซิงบูลส์เอฟวันทีม[26] เรซซิงบูลส์-ฮอนด้าอาร์บีพีที วีคาร์บ 02[27] ฮอนด้าอาร์บีพีทีเอช002[28] 6
22
30
France อีซัก อาจาร์
Japan ยูกิ สึโนดะ
New Zealand เลียม ลอว์สัน
1–11
1–2
3–11
Austria ออราเคิลเรดบูลเรซซิง[29] เรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที อาร์บี21[30] ฮอนด้าอาร์บีพีทีเอช002[28] 1
30
22
Netherlands มักซ์ แฟร์สตัปเปิน
New Zealand เลียม ลอว์สัน
Japan ยูกิ สึโนดะ
1–11
1–2
3–11
Switzerland สเตกเอฟวันทีมคิกเซาเบอร์[31][b] คิกเซาเบอร์-แฟร์รารี ซี45[34] แฟร์รารี 066/12[35][36] 5
27
Brazil กาบรีแยล โบร์โตเลตู
Germany นีโค ฮึลเคินแบร์ค
1–11
1–11
United Kingdom แอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง[37] วิลเลียมส์-เมอร์เซเดส เอฟดับเบิลยู47[38] เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม16[39] 23
55
Thailand อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
Spain การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์
1–11
1–11
แหล่งที่มา:[40][33]

นักขับรอบฝึกซ้อม

ตลอดการแข่งขันทั้งฤดูกาล ทีมผู้ผลิตแต่ละทีมจำเป็นต้องส่งนักขับที่เคยเข้าร่วมการแข่งขันไม่เกินสองรายการ เข้าฝึกซ้อมในรอบแรกหรือรอบที่สองของรอบฝึกซ้อมซึ่งต้องเข้าร่วมรวมกันให้ได้ทั้งหมดสี่ครั้ง โดยให้นักขับที่ส่งมาเข้าร่วมนั้นประจำรถของนักแข่งหลักในรอบฝึกซ้อมคันละสองครั้ง[8]

นักขับที่เข้าร่วมรอบฝึกซ้อมรอบแรกและรอบที่สอง
ผู้ผลิต หมายเลข นักขับ การแข่งขัน
ที่ฝึกซ้อม
อาลปีน-เรอโน 62 Japan เรียว ฮิรากาวะ 3
แอสตันมาร์ตินอะแรมโค-เมอร์เซเดส 34 Brazil ฟีลีปี ดรูกอวิช 4
แฟร์รารี 38 Sweden ดีนอ เบกานอวิช 4, 11
ฮาส-แฟร์รารี 50 Japan เรียว ฮิรากาวะ 4, 9
แมกลาเรน-เมอร์เซเดส 89 Ireland อเล็กซานเดอร์ ดันน์ 11
เมอร์เซเดส 72 Denmark เฟรเดอริก เวสตี 4
เรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที 37 Japan อายูมุ อิวาซะ 4
วิลเลียมส์-เมอร์เซเดส 46
45
United Kingdom ลู้ก บราวนิง
France วิกตอร์ มาร์แต็งส์
4
9
แหล่งที่มา:[33]

การเปลี่ยนแปลงทีม

อาร์บียกเลิกอักษรย่อในชื่อของทีม และเข้าแข่งขันในฤดูกาล 2025 ภายใต้ชื่อ เรซซิงบูลส์ โดยเปลี่ยนแปลงทั้งชื่อทีมและชื่อผู้ผลิต[26]

การเปลี่ยนแปลงนักขับ

โอลิเวอร์ แบร์แมน (บนซ้าย) อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี (บนกลาง) แจ็ก ดูอัน (บนขวา) กาบรีแยล โบร์โตเลตู (ล่างซ้าย) เลียม ลอว์สัน (ล่างกลาง) และ อีซัก อาจาร์ (ล่างขวา) ต่างเปิดตัวเป็นนักแข่งหลักให้แก่ฮาส, เมอร์เซเดส, อาลปีน, เซาเบอร์, เรดบูลเรซซิง และเรซซิงบูลส์ตามลำดับ
ยูกิ สึโนดะ (ซ้าย) ย้ายจากเรซซิงบูลส์ไปยังเรดบูลเรซซิงนับตั้งแก่การแข่งขันเจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ โดยแทนที่ เลียม ลอว์สัน ส่วน ฟรังโก โกลาปินโต (ขวา) แทนที่ แจ็ก ดูอัน ที่อาลปีนนับตั้งแต่การแข่งขันเอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์

ลูวิส แฮมิลตัน ออกจากเมอร์เซเดสหลังจากอยู่กับทีมมานานถึงสิบสองฤดูกาลเพื่อเข้าร่วมแฟร์รารี ทำให้สถิติของเขาคือนักขับที่เข้าแข่งขันให้แก่ทีมผู้ผลิตเดียวในฤดูกาลติดต่อกันอย่างต่อเนื่องสิ้นสุดลง และเป็นฤดูกาลแรกที่เขาเข้าแข่งขันโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ของเมอร์เซเดส[41][42] โดยเขาเข้ามาแทนที่ การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์ นักขับผู้อยู่กับแฟร์รารีมาถึงสี่ฤดูกาลซึ่งย้ายไปเซ็นสัญญาหลายปีกับวิลเลียมส์ เดิมทีไซนซ์จะเข้ามาเพื่อแทนที่ของ โลแกน ซาร์เจนต์ แต่ซาร์เจนต์ถูกเปลี่ยนตัวกับ ฟรังโก โกลาปินโต ก่อนในช่วงกลางฤดูกาล 2024[43][44][45] โกลาปินโตออกจากวิลเลียมส์และเข้าร่วมอาลปีนในฐานะนักขับสำรองในเดือนมกราคม ค.ศ. 2025[46] แฮมิลตันถูกแทนที่โดย อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี นักขับจากทีมนักแข่งรุ่นใหม่ของเมอร์เซเดสที่เลื่อนขั้นมาจากการแข่งขันฟอร์มูลาทู[47][48]

ฮาสเปลี่ยนแปลงนักขับใหม่ทั้งหมดสำหรับฤดูกาล 2025 นักขับเดิมอย่าง นีโค ฮึลเคินแบร์ค ออกจากทีมหลังจากเข้าแข่งขันให้สองฤดูกาลเพื่อเข้าร่วมเซาเบอร์ ซึ่งเป็นทีมที่เขาเคยลงแข่งให้ในฤดูกาล 2013[49][50] เขาถูกแทนที่โดย โอลิเวอร์ แบร์แมน นักขับที่เลื่อนขั้นมาจากฟอร์มูลาทูและเคยเข้าแข่งขันในฤดูกาลก่อนหน้าที่ซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ให้แก่แฟร์รารี และอาเซอร์ไบจานและเซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ให้แก่ฮาส[51] เช่นเดียวกับนักขับเดิมอีกคนคือ เควิน เมานุสเซิน ที่ออกจากทีมหลังจากเข้าแข่งขันให้สองช่วงโดยรวมเป็นเวลาถึงเจ็ดฤดูกาล[52] เขาถูกแทนที่โดย แอ็สเตบาน ออกง นักขับที่แยกทางกับอาลปีนก่อนการแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ของฤดูกาลที่แล้ว หลังจากเข้าแข่งขันให้ทีมถึงห้าฤดูกาล[53] แจ็ก ดูอัน ซึ่งเป็นนักขับที่เข้าแข่งแทนในการแข่งขันดังกล่าว ได้เข้าแทนที่เป็นนักแข่งหลักให้แก่อาลปีนสำหรับฤดูกาล 2025[54][55]

วัลต์เตริ โบตตัส และ โจว กวั้นยฺหวี่ ต่างแยกทางกับเซาเบอร์หลังจากทั้งสองเข้าแข่งขันให้สามฤดูกาล[56] โบตตัสกลับไปเข้าร่วมเมอร์เซเดสอีกครั้งในฐานะนักขับสำรอง ซึ่งเขาเคยเข้าแข่งขันให้แก่ทีมมาก่อนหน้าแล้วตั้งแต่ฤดูกาล 2017 ถึง 2021[57] ส่วนโจวได้เข้าร่วมแฟร์รารีในฐานะนักขับสำรองเช่นเดียวกัน[58] โดยตำแหน่งว่างเคียงคู่กับฮึลเคินแบร์คนั้นได้เข้ามาแทนที่โดย กาบรีแยล โบร์โตเลตู แชมป์ฟอร์มูลาทู ฤดูกาล 2024[59]

เซร์ฆิโอ เปเรซ ออกจากเรดบูลเรซซิงหลังสิ้นสุดฤดูกาล 2024 แม้ว่าเขาจะเซ็นสัญญากับทีมถึงฤดูกาล 2026 ไว้ก็ตาม[60] เขาถูกแทนที่โดย เลียม ลอว์สัน นักขับที่ได้เลื่อนขั้นมาจากทีมรองคือเรซซิงบูลส์ หลังจากเข้าร่วมการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ไปได้ห้ารายการในฤดูกาล 2023 กับสกูเดเรียอัลฟาทอรี และอีกหกรายการในฤดูกาล 2024 กับทีมในชื่อเดิมคืออาร์บี[61] อีซัก อาจาร์ นักขับสำรองของเรดบูลเรซซิงและรองแชมป์ฟอร์มูลาทู ฤดูกาล 2024 ได้เลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นนักแข่งหลักให้แก่เรซซิงบูลส์แทนที่ลอว์สัน[62]

การเปลี่ยนแปลงนักขับในฤดูกาล

เลียม ลอว์สัน ถูกลดตำแหน่งกลับมาเป็นนักขับให้แก่เรซซิงบูลส์ภายหลังการแข่งขันไชนีสกรังด์ปรีซ์ โดย ยูกิ สึโนดะ จะเข้าแข่งขันครั้งแรกให้แก่เรดบูลเรซซิงในการแข่งขันถัดมาคือเจแปนนีสกรังด์ปรีซ์[63]

แจ็ก ดูอัน ถูกลดตำแหน่งไปเป็นนักขับสำรองให้แก่อาลปีนภายหลังการแข่งขันไมอามีกรังด์ปรีซ์ โดยนักขับสำรองคนเดิมคือ ฟรังโก โกลาปินโต กลายมาเป็นนักแข่งหลักแทนภายใต้สัญญาแบบ "หมุนเวียนตำแหน่ง" ซึ่งมีผลตั้งแต่การแข่งขันเอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์จนถึงการแข่งขันออสเตรียนกรังด์ปรีซ์[64] ถึงอย่างนั้นอาลปีนได้ออกมายืนยันก่อนการแข่งขันออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ว่าโกลาปินโตจะยังคงทำหน้าที่เป็นนักแข่งหลักของทีมต่อไปจากการประเมินผลงานการแข่งขันในแต่ละรายการ[65] โกลาปินโตเคยเข้าร่วมการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ก่อนหน้านี้ด้วยกันทั้งสิ้นเก้ารายการกับวิลเลียมส์ในฤดูกาล 2024

ปฏิทินการแข่งขัน

ที่ตั้งของประเทศเจ้าภาพการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ (แสดงอาณาเขตดินแดนโดยพฤตินัย): ประเทศที่มีกำหนดการแข่งขันในฤดูกาลนี้จะเน้นด้วยสีเขียว และที่ตั้งของสนามแข่งขันจะแสดงด้วยเครื่องหมายจุดสีดำ ส่วนประเทศที่เคยจัดการแข่งขันในอดีตจะเน้นด้วยสีเทาเข้ม และสนามแข่งขันที่ใช้แสดงด้วยเครื่องหมายจุดสีขาว

ปฏิทินการแข่งขันฤดูกาล 2025 มีกำหนดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ 24 รายการเท่ากับฤดูกาลก่อนหน้า[66][67] โดยการแข่งขันไชนีส, ไมอามี, เบลเจียน, ยูไนเต็ดสเตตส์, เซาเปาโล และการ์ตาร์กรังด์ปรีซ์ถูกกำหนดให้นำเสนอรูปแบบการแข่งขันแบบสปรินต์[68][69]

ลำดับ การแข่งขัน สนามแข่งขัน วันแข่งขัน
1 ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรเลีย อัลเบิร์ตพาร์กเซอร์กิต เมลเบิร์น 16 มีนาคม
2 ไชนีสกรังด์ปรีซ์ ประเทศจีน เซี่ยงไฮ้อินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต เซี่ยงไฮ้ 23 มีนาคม
3 เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ ประเทศญี่ปุ่น ซูซูกะเซอร์กิตอินเตอร์เนชันแนลเรซซิงคอร์ส ซูซูกะ 6 เมษายน
4 บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ ประเทศบาห์เรน บาห์เรนอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต เศาะคีร 13 เมษายน
5 ซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ญิดดะฮ์คอร์นิชเซอร์กิต ญิดดะฮ์ 20 เมษายน
6 ไมอามีกรังด์ปรีซ์ สหรัฐอเมริกา ไมอามีอินเตอร์เนชันแนลออโตโดรม ไมอามีการ์เดนส์ ฟลอริดา 4 พฤษภาคม
7 เอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์ ประเทศอิตาลี อีโมลาเซอร์กิต อีโมลา 18 พฤษภาคม
8 โมนาโกกรังด์ปรีซ์ ประเทศโมนาโก ซีร์กุยเดอมอนาโก โมนาโก 25 พฤษภาคม
9 สเปนิชกรังด์ปรีซ์ ประเทศสเปน ซีร์กูอิตดาบาร์ซาโลนา-กาตาลุญญา มอมมาโล 1 มิถุนายน
10 แคนาเดียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศแคนาดา ซีร์กุยฌีล-วีลเนิฟว์ มอนทรีออล 15 มิถุนายน
11 ออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรีย เรดบูลริง ชปีลแบร์ค 29 มิถุนายน
12 บริติชกรังด์ปรีซ์ สหราชอาณาจักร ซิลเวอร์สโตนเซอร์กิต ซิลเวอร์สโตน 6 กรกฎาคม
13 เบลเจียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศเบลเยียม ซีร์กุยเดอสปา-ฟร็องกอร์ช็อง สตาฟว์โล 27 กรกฎาคม
14 ฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศฮังการี ฮังกาโรริง โมดโยโรด 3 สิงหาคม
15 ดัตช์กรังด์ปรีซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เซียร์กูยต์ซันต์โฟร์ต ซันต์โฟร์ต 31 สิงหาคม
16 อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศอิตาลี มอนซาเซอร์กิต มอนซา 7 กันยายน
17 อาเซอร์ไบจานกรังด์ปรีซ์ ประเทศอาเซอร์ไบจาน บากูซิตีเซอร์กิต บากู 21 กันยายน
18 สิงคโปร์กรังด์ปรีซ์ ประเทศสิงคโปร์ มารีนาเบย์สตรีตเซอร์กิต สิงคโปร์ 5 ตุลาคม
19 ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ สหรัฐอเมริกา เซอร์กิตออฟดิอเมริกาส์ ออสติน เท็กซัส 19 ตุลาคม
20 เม็กซิโกซิตีกรังด์ปรีซ์ ประเทศเม็กซิโก เอาโตโดรโมเอร์มาโนสโรดริเกซ เม็กซิโกซิตี 26 ตุลาคม
21 เซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ ประเทศบราซิล อิงแตร์ลากูสเซอร์กิต เซาเปาลู 9 พฤศจิกายน
22 ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ สหรัฐอเมริกา ลาสเวกัสสตริปเซอร์กิต พาราไดซ์ เนวาดา 22 พฤศจิกายน
23 กาตาร์กรังด์ปรีซ์ ประเทศกาตาร์ ลูซัยล์อินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต ลูซัยล์ 30 พฤศจิกายน
24 อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยาสมารีนาเซอร์กิต อาบูดาบี 7 ธันวาคม
แหล่งที่มา:[66]

การเปลี่ยนแปลงปฏิทินการแข่งขัน

การแข่งขันออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ถูกกำหนดให้เป็นการแข่งขันแรกสำหรับฤดูกาล 2025 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้จัดเปิดฤดูกาลนับตั้งแต่ฤดูกาล 2019 จากเดิมที่ถูกกำหนดให้เป็นการแข่งขันรายการที่สามในการแข่งขันสามฤดูกาลก่อนหน้า ถัดจากบาห์เรนและซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ โดยการแข่งขันทั้งสองรายการถูกกำหนดจัดการแข่งขันให้หลังเดือนเราะมะฎอนในฤดูกาล 2025[70][71] การแข่งขันรัสเซียนกรังด์ปรีซ์อยู่ภายใต้สัญญาให้จัดการแข่งขันในฤดูกาล 2025[72] อย่างไรก็ตามสัญญาดังกล่าวถูกยุติลงในฤดูกาล 2022 เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[73]

การเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับ

กฎข้อบังคับด้านเทคนิค

น้ำหนักขั้นต่ำ

น้ำหนักขั้นต่ำของนักขับได้รับการอนุมัติให้เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 80 กิโลกรัม (176.4 ปอนด์) เป็น 82 กิโลกรัม (180.8 ปอนด์) ด้วยเหตุนี้ทำให้พิกัดน้ำหนักขั้นต่ำโดยรวมของตัวรถแข่งโดยไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 798 กิโลกรัม (1,759 ปอนด์) เป็น 800 กิโลกรัม (1,764 ปอนด์) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาวะของนักขับ โดยเฉพาะนักขับที่มีส่วนสูงหรือน้ำหนักมากกว่าค่าเฉลี่ย[74][75][76]

ระบบระบายความร้อนสำหรับนักขับ

ชุดอุปกรณ์ระบายความร้อนสำหรับนักขับถูกนำมาใช้ในฤดูกาล 2025 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำกับนักขับที่เผชิญกับความร้อนสูงในการแข่งขันกาตาร์กรังด์ปรีซ์ 2023[77] ระบบจะได้รับการอนุมัติจากเอฟไอเอเมื่อมีการคาดการณ์อุณหภูมิในการแข่งขันมากกว่า 30.5 องศาเซลเซียส (86.9 องศาฟาเรนไฮต์) และออกคำเตือนถึงภัยอันตรายจากอากาศร้อนจัด (heat hazard) ทุกทีมจำเป็นต้องติดตั้งชุดอุปกรณ์ระบายความร้อนของตนเองให้แก่นักขับ โดยพิกัดน้ำหนักของรถจะปรับเพิ่มขึ้น 5 กิโลกรัม (11 ปอนด์) เพื่อชดเชยน้ำหนักของชุดอุปกรณ์[78]

ระบบลดแรงต้านอากาศ (ดีอาร์เอส)

ความกว้างของช่องว่าง หรือระยะห่างระหว่างส่วนปีกระนาบหลัก (mainplane) และปีกสร้างแรงยก (flap) ของสปอยเลอร์หลังขณะใช้งานระบบลดแรงต้านอากาศหรือดีอาร์เอส (drag reduction system; DRS) ทั้งสองรูปแบบได้รับการเปลี่ยนแปลง ความกว้างขั้นต่ำถูกปรับปรุงให้ลดลงจากเดิม 10–15 มิลลิเมตร (0.39–0.59 นิ้ว) เป็น 9.4–13 มิลลิเมตร (0.37–0.51 นิ้ว) ส่วนขอบบนขณะที่ดีอาร์เอสเปิดใช้งานกำหนดให้เป็นแบบเดิมที่ 85 มิลลิเมตร (3.3 นิ้ว) เอฟไอเอยังกำหนดกฎข้อบังคับเกี่ยวกับรูปแบบของดีอาร์เอสอย่างเข้มงวดขึ้น โดยระบุว่าตำแหน่งของสปอยเลอร์หลังในระหว่างการใช้งานดีอาร์เอสควรมีแค่สองตำแหน่ง และสปอยเลอร์หลังควรกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมตามที่กำหนดไว้ในรูปแบบเริ่มต้นหลังหยุดใช้งานดีอาร์เอสแล้ว[78]

ความยืดหยุ่นของสปอยเลอร์

เอฟไอเอดำเนินการทดสอบการแอ่นตัวของสปอยเลอร์หลังอย่างเข้มงวด โดยกำหนดให้ความกว้างของช่องว่างจากเดิมอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร (0.079 นิ้ว) ภายใต้แรง 2 กิโลนิวตัน (450 ปอนด์ฟอร์ซ) ลดลงเป็น 0.5 มิลลิเมตร (0.020 นิ้ว) ตั้งแต่การแข่งขันไชนีสกรังด์ปรีซ์เป็นต้นไป เพื่อยับยั้งไม่ให้ทีมใช้การแอ่นตัวของสปอยเลอร์เพื่อเพิ่มความได้เปรียบ หรือที่เรียกว่า "มินิดีอาร์เอส"[79] การทดสอบปอยเลอร์หน้าเพิ่มได้ดำเนินการตามคำสั่งทางเทคนิคล่วงหน้าสี่เดือนก่อนการแข่งขันสเปนิชกรังด์ปรีซ์ โดยลดค่าของการแอ่นตัวภายใต้แรง 1 กิโลนิวตัน (220 ปอนด์ฟอร์ซ) จากเดิม 10 มิลลิเมตร (0.39 นิ้ว) เป็น 5 มิลลิเมตร (0.20 นิ้ว)[80][81]

กระปุกเกียร์

ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนกระปุกเกียร์ที่แต่ละทีมใช้อีกต่อไป เนื่องจากสมรรถนะของรถที่ออกแบบอย่างมีเสถียรภาพในฤดูกาลนี้ทำให้ข้อจำกัดดังกล่าวหมดไป[80]

กฎข้อบังคับในการแข่งขัน

คะแนนรอบเร็วที่สุด

คะแนนที่มอบให้แก่นักขับผู้จบการแข่งขันภายในสิบอันดับแรกและทำรอบได้เร็วที่สุดในการแข่งขันนั้นถูกยกเลิก โดยระบบการให้คะแนนดังกล่าวถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งนับตั้งแต่ฤดูกาล 2019[8][82][83]

รอบฝึกซ้อม

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งนักขับหน้าใหม่เข้าร่วมรอบฝึกซ้อมขยายจำนวนการเข้าร่วมฝึกซ้อมเพิ่มขึ้น จากเดิมที่แต่ละทีมจำเป็นต้องส่งนักขับหน้าใหม่ประจำรถของนักแข่งหลักในรอบฝึกซ้อมคันละหนึ่งครั้งต่อฤดูกาล เปลี่ยนมาให้นักขับหน้าใหม่ประจำรถของนักแข่งหลักในรอบฝึกซ้อมคันละสองครั้งต่อฤดูกาลแทน[8][84]

การทดสอบรถรุ่นก่อนหน้า

กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการทดสอบรถรุ่นก่อนหน้าหรือทีพีซี (testing of previous cars; TPC) ถูกกำหนดให้เข้มงวดขึ้น โดยจำกัดระยะเวลาการทดสอบเป็น 20 วัน และอนุญาตให้นักขับที่แข่งขันชิงแชมป์โลกทดสอบรถในระยะทางไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) ภายในเวลาทดสอบสี่วัน การทดสอบจะได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการในสนามแข่งที่มีกำหนดการในปฏิทินการแข่งขันของฤดูกาลปัจจุบันหรือฤดูกาลก่อนหน้าเท่านั้น อย่างไรก็ตามการทดสอบจะไม่สามารถดำเนินการในสนามแข่งที่มีกำหนดการจัดการแข่งขันภายในเวลาหกสิบวันหลังการทดสอบ และ "หากเอฟไอเอใช้ดุลยพินิจแต่เพียงผู้เดียวพิจารณาว่าสนามแข่งได้ผ่านการปรับปรุงสำคัญ" นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งล่าสุด[85]

รอบคัดเลือก

กฎข้อบังคับในการแข่งขันได้กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะสำหรับการจัดกริดเริ่มต้นในการแข่งขันรอบสปรินต์และกรังด์ปรีซ์ในกรณีที่รอบคัดเลือกของการแข่งขันดังกล่าวถูกยกเลิก โดยให้จัดตามอันดับบนตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับแทน จากเดิมที่การตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันแต่เพียงผู้เดียว และหากยังไม่สามารถจัดกริดเริ่มต้นได้ตามอันดับบนตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับ การตัดสินจะกลับไปใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันดังเดิม[8][86]

การจัดกริดเริ่มต้นและการเดินแถว

หลักเกณฑ์การร่นระยะกริดเริ่มต้นเมื่อรถของผู้เข้าแข่งขันบางส่วนไม่สามารถมาเริ่มต้นการแข่งขันได้นั้นได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม หลังจากเกิดการจัดกริดเริ่มต้นสำหรับรถที่ถอนตัวก่อนเริ่มต้นการแข่งขันเซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ 2024 โดยนับตั้งแต่ฤดูกาลนี้เป็นต้นไป กริดเริ่มต้นจะถูกกำหนดเป็นที่สิ้นสุดในเวลาหนึ่งชั่วโมงก่อนเริ่มต้นการแข่งขัน รถของผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวเกิน 75 นาที ก่อนเวลาเริ่มต้นจะไม่รวมอยู่ในกริดเริ่มต้น และรถของผู้เข้าแข่งขันในอันดับรองลงมาจะเลื่อนขึ้นมายังอันดับดังกล่าวแทน[77]

นักขับที่เริ่มต้นการแข่งขันจากช่องทางของโรงรถจำเป็นต้องเข้าร่วมในรอบเดินแถว (formation lap) ซึ่งแตกต่างจากฤดูกาลที่ผ่านมาที่นักขับสามารถอยู่ในโรงรถจนกว่าจะเริ่มต้นการแข่งขัน ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่นี้กำหนดไว้ว่าเมื่อรถทั้งหมดบนสนามแข่งได้ผ่านทางออกจากโรงรถ นักขับที่เริ่มต้นจากช่องทางของโรงรถต้องออกมายังสนามแข่งตามอันดับที่กำหนดไว้เว้นแต่ว่าจะเกิดความล่าช้าในการแข่งขัน นักขับดังกล่าวจะต้องกลับเข้าไปที่ช่องทางของโรงรถอีกครั้งในช่วงท้ายของรอบเดินแถวก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้น จุดประสงค์ของการปรับแก้กฎข้อบังคับก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการเริ่มต้นการแข่งขัน และส่งเสริมให้กระบวนงานก่อนต้นเริ่มการแข่งขันคงที่มากยิ่งขึ้น[87]

หลักเกณฑ์สำหรับรถที่ได้รับความเสียหาย

เอฟไอเอได้กำหนดกฎข้อบังคับใหม่เพื่อป้องกันการพยายามนำรถที่ได้รับความเสียหายรุนแรงกลับเข้าโรงรถ เนื่องด้วยข้อโต้เถียงที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันแคนาเดียนกรังด์ปรีซ์ 2024 หลังจาก เซร์ฆิโอ เปเรซ นำรถของตนกลับเข้าโรงรถเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินรถดูแลความปลอดภัย และช่วยให้นักขับร่วมทีมคือแฟร์สตัปเปินชนะการแข่งขัน เดิมทีนักขับสามารถกลับเข้าโรงรถได้ด้วยตนเองแม้ว่ารถจะได้รับความเสียหายและก่อความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่อนักขับคนอื่นที่อยู่บนสนามแข่ง กฎข้อบังคับที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้อนุญาตให้ผู้ควบคุมการแข่งขันกำชับให้ทีมต้องถอนรถออกจากการแข่งขันหากรถได้รับความเสียหายของโครงสร้างสำคัญหรือความเสียหายวิกฤตซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายหรืออุปสรรคกับผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ในกรณีดังกล่าว นักขับจำเป็นต้องนำรถเข้าข้างทางในตำแหน่งปลอดภัยที่ใกล้ที่สุดแทนที่จะนำรถไปต่อเพื่อเข้าช่องทางของโรงรถ[87]

การแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์

กฎข้อบังคับได้กำหนดจำนวนการเข้าโรงรถภาคบังคับเพิ่มเติมสำหรับการแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้น[80] การแข่งขันจะดำเนินการตามกลยุทธ์หยุดเปลี่ยนยางรถยนต์อย่างน้อยสองครั้ง (two-stop strategy) ในสภาพของสนามแข่งทั้งแบบแห้งและแบบเปียก ทีมยังถูกกำหนดให้ใช้ยางรถยนต์อย่างน้อยสามชุดในการแข่งขัน โดยต้องใช้ยางรถยนต์ที่มีคอมพาวนด์แตกต่างกันสองประเภทหากเป็นการแข่งขันในสนามแข่งแบบแห้ง[88]

การแสดงความคิดเห็นสาธารณะของนักขับ

การแสดงความคิดเห็นของนักขับจะถูกกำหนดอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับและบทลงโทษที่เคร่งครัดขึ้น ประเด็นดังกล่าวได้รับการเปิดเผยครั้งแรกโดย มุฮัมมัด บิน ซุลัยยิม ประธานเอฟไอเอ ซึ่งกล่าวในการสัมภาษณ์ที่การแข่งขันสิงคโปร์กรังด์ปรีซ์ 2024 ว่าเขาต้องการเห็นภาษาหยาบคายลดลงในฟอร์มูลาวัน[89] และหลังจากนั้นไม่นาน มักซ์ แฟร์สตัปเปิน และ ชาร์ล เลอแกลร์ ต่างถูกสอบสวนและลงโทษหลังใช้คำหยาบคายระหว่างการแถลงข่าวของฟอร์มูลาวัน[90][91] โทษฐาน "การประพฤติมิชอบของนักขับ" ครอบคลุมถึง "ภาษา [...] อากัปกิริยา และ/หรือ สัญลักษณ์ที่มีลักษณะน่ารังเกียจ ดูหมิ่น หยาบกระด้าง หยาบคาย หรือใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม และอาจคาดหมายหรือรับรู้ได้โดยไตร่ตรองแล้วว่าหยาบกระด้าง หรือหยาบคาย หรือทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ความอับอาย หรือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม" เฉกเช่นเดียวกับการประทุษร้ายและ "การยุยงให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งดังที่ระบุไว้ข้างต้น"[89] บุคคลที่ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับครั้งแรกจะได้รับค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 40,000 ยูโร หากฝ่าฝืนครั้งที่สองจะได้รับค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 80,000 ยูโร พร้อมกับโทษสั่งห้ามเข้าร่วมการแข่งขันแต่ยังให้รอการลงโทษไว้ก่อน และหากฝ่าฝืนครั้งที่สามจะได้รับค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 120,000 ยูโร พร้อมกับโทษสั่งห้ามเข้าร่วมการแข่งขันเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน และการหักคะแนน อัตราโทษดังกล่าวยังให้ใช้บังคับกับ "ความเสียหายหรือความสูญเสียทางศีลธรรม" ใด ๆ ต่อ "เอฟไอเอ หน่วยงานภายในองค์กร สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารซึ่งกระทำในนามขององค์กร" หรือค่านิยมองค์กร นอกจากนี้การแสดง "ถ้อยแถลงหรือความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา และเหตุผลส่วนตัว" ซึ่งฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางของเอฟไอเอนั้นอยู่ภายใต้การลงโทษเดียวกัน พร้อมคำเตือนให้นักขับจำเป็นต้องแถลงการณ์ขอโทษอย่างเต็มรูปแบบและถอนถ้อยแถลงที่เป็นประเด็นดังกล่าว[89]

การเผยแพร่แนวทางมาตรฐานการแข่งขัน

เอฟไอเอเผยแพร่แนวทางมาตรฐานการแข่งขันฉบับล่าสุดสู่สาธารณะก่อนหน้าการแข่งขันออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ ซึ่งแนวคิดในการกำหนดและเผยแพร่แนวทางมาตรฐานการแข่งขันนั้นถูกนำเสนอในฤดูกาล 2024 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักขับมีความเข้าใจถึงวินัยและมารยาทในการแข่งขันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงชี้แจงเหตุผลในการบริหารจัดการและตัดสินการแข่งขันบนสนามของเจ้าหน้าที่เอฟไอเอต่อสาธารณชนและสื่อมวลชน[92]

สรุปฤดูกาล

การเปิดตัวฤดูกาล

ผู้เข้าแข่งขันจากทั้งสิบทีมต่างเข้าร่วมงานเปิดตัวฤดูกาลรวมในชื่อ เอฟวัน 75 ไลฟ์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 ที่ดิโอทูอะรีนาในลอนดอน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการแข่งขันฟอร์มูลาวันครบรอบ 75 ปี ภายในงานมีการเปิดเผยลวดลายบนรถสำหรับการแข่งขันในฤดูกาลของแต่ละทีม ในขณะที่นักขับและหัวหน้าทีมต่างให้สัมภาษณ์ต่อหน้าผู้ชมในอะรีนา พร้อมกับคั่นกลางด้วยการแสดงสดและตัวอย่างภาพยนตร์ฟอร์มูลาวัน งานได้รับการถ่ายทอดสดผ่านสกายสปอตส์ในสหราชอาณาจักร และอีเอสพีเอ็นในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับทางบัญชีสื่อสังคมของฟอร์มูลาวัน[93][94][95] การถ่ายทอดสดทางยูทูบมีผู้เข้าชมมากกว่าการถ่ายทอดสดที่ผ่านมาของฟอร์มูลาวันด้วยยอดผู้เข้าชม 1.1 ล้านคน[96]

ก่อนเริ่มต้นฤดูกาล

การทดสอบก่อนเริ่มฤดูกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26–28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 ที่บาห์เรนอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิตในเศาะคีร[97] การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์ นักขับของวิลเลียมส์ เป็นผู้ทำเวลาได้ดีที่สุดในการทดสอบทั้งสามวัน[98]

การแข่งขันช่วงเริ่มต้นฤดูกาล

ฤดูกาลเริ่มต้นด้วยการแข่งขันที่ออสเตรเลีย ซึ่งกลับมาจัดเป็นรายการแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2019 หลังจากการแข่งขันที่บาห์เรนและซาอุดีอาระเบียถูกเลื่อนจากเดือนเราะมะฎอน[70] แมกลาเรนเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีสิทธิ์สูงสุดที่จะได้รับตำแหน่งแชมป์ของฤดูกาล[99][100] แลนโด นอร์ริส เปิดเผยว่าเขาได้ "บทเรียนจำนวนมาก" จากความพยายามของเขาในการชิงแชมป์ประเภทนักขับของฤดูกาลที่ผ่านมา[101] ถึงอย่างนั้น ออสการ์ พิแอสทรี นักขับร่วมทีมก็ถูกคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นหนึ่งในคู่แข่งคนสำคัญในการชิงแชมป์ของนอร์ริส[102][103] การแข่งขันดำเนินด้วยความล่าช้าหลังจาก อีซัก อาจาร์ ชนกับกำแพงกั้นในรอบเดินแถวจากสภาพอากาศแปรปรวน[104] นอร์ริสเริ่มต้นจากตำแหน่งโพลและนำรอบส่วนใหญ่ของการแข่งขัน[105][106] เขาเสียตำแหน่งไปชั่วขณะให้แก่ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน เมื่อเสียการควบคุมในสนามแข่งสภาพกึ่งแห้งกึ่งเปียกพร้อมกับพิแอสทรี โดยนอร์ริสเข้าโรงรถในเวลาไม่นานหลังจากนั้น[107] ในขณะที่พิแอสทรีติดอยู่บนสนามหญ้าข้างทางเป็นเวลาสั้น ๆ ส่งผลให้เขาตกลงไปที่อันดับที่สิบสาม เขาได้อันดับคืนมาอยู่ที่อันดับที่เก้าหลังจากขึ้นนำ ลูวิส แฮมิลตัน ในรอบสุดท้ายของการแข่งขัน[108][109] นอร์ริสรักษาระยะห่างจากแฟร์สตัปเปินที่ไล่ตามหลังมาในช่วงท้ายแม้ว่าจะได้รับความเสียหายใต้ท้องรถ และชนะการแข่งขันให้แก่แมกลาเรนเป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียนับตั้งแต่ฤดูกาล 2012[110][111] นอร์ริสกลายเป็นผู้นำตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับครั้งแรกในอาชีพของเขา และหยุดสถิติการเป็นผู้นำของแฟร์สตัปเปินซึ่งครองตำแหน่งมาตั้งแต่การแข่งขันสเปนิชกรังด์ปรีซ์ 2022[112]

แฮมิลตันได้ตำแหน่งโพลและชัยชนะครั้งแรกกับแฟร์รารีในการแข่งขันรอบสปรินต์รายการแรกของฤดูกาลที่จีน ส่วนพิแอสทรีและแฟร์สตัปเปินได้อันดับรองลงมาตามลำดับ[113] นอร์ริสมีข้อผิดพลาดระหว่างออกตัวและปัญหาการจัดการยางในสนามแข่งที่มีแรงกดอากาศสูง ส่งผลให้เขาสะสมคะแนนได้เพียงหนึ่งแต้มจากอันดับที่แปด[114] พิแอสทรีได้ตำแหน่งโพลครั้งแรกในอาชีพสำหรับการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ โดยเขารักษาตำแหน่งนำไว้ได้เกือบทุกรอบและเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่หนึ่ง ในขณะที่นอร์ริสขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สองแม้ว่ารถทั้งสองคันจะมีปัญหากับระบบเบรกในช่วงท้ายของการแข่งขัน[115][116] ผลงานที่ประสบความสำเร็จนี้ทำให้แมกลาเรนสะสมอันดับที่หนึ่งและสองบนโพเดียมเป็นครั้งที่ 50 นับตั้งแต่เข้าแข่งขันฟอร์มูลาวัน[117] จอร์จ รัสเซลล์ เข้าเส้นชัยตามหลังมาในอันดับที่สามและได้อับดับบนโพเดียมติดต่อกันให้แก่เมอร์เซเดส[118] แฟร์สตัปเปินจบการแข่งขันไปด้วยความยากลำบากแม้ว่าเขาจะได้อันดับที่สี่ก็ตาม โดยเขาอ้างถึงสมรรถนะของรถเรดบูลที่ลดลงจนตามหลังแฟร์รารีและเมอร์เซเดส[119] เช่นเดียวกับ เลียม ลอว์สัน นักขับร่วมทีมซึ่งอยู่ในอันดับที่ไม่ได้รับคะแนนเลยจากทั้งสองรอบ[120] รถของเลอแกลร์และ ปีแยร์ กัสลี จากอาลปีนได้รับการตรวจสอบหลังสิ้นสุดการแข่งขันว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เช่นเดียวกับแฮมิลตันที่แผ่นไม้ใต้ท้องรถ (skid block) สึกหรอจนมีความหนาต่ำกว่าเกณฑ์ นักขับทั้งสามคนจึงถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน[121][122] แอ็สเตบาน ออกง เลื่อนขึ้นมาในอยู่อันดับที่ห้า ซึ่งส่งเสริมความสำเร็จของฮาสในการแข่งขันนี้พร้อมกับ โอลิเวอร์ แบร์แมน ในอันดับที่แปด[123]

อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี นักขับจากเมอร์เซเดส ทำสถิติใหม่ในการแข่งขันช่วงต้นฤดูกาล โดยเป็นนักขับอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวันที่มีรอบตำแหน่งนำ ทำรอบได้เร็วที่สุดในการแข่งขัน และได้ตำแหน่งโพลจากการแข่งขันทุกรูปแบบ

เรดบูลเปิดเจรจาแทนที่ลอว์สันด้วย ยูกิ สึโนดะ จากทีมรองในเครือคือเรซซิงบูลส์ หลังจากผลงานของเขาในการแข่งขันสองรายการแรกไม่บรรลุผลสำเร็จ[124] โดยได้ข้อตกลงให้สึโนดะเข้าสวมตำแหน่งแทนที่เรดบูลเรซซิงและย้ายลอว์สันกลับไปยังเรซซิงบูลส์ตั้งแต่การแข่งขันที่ญี่ปุ่นเป็นต้นไป[125] เฮ็ลมูท มาร์โค ที่ปรึกษาประจำเรดบูลเรซซิง ออกมายอมรับว่าทีมได้ "ทําผิดพลาด" ในการตัดสินใจเลื่อนตำแหน่งให้แก่ลอว์สันตั้งแต่ต้น[126] รอบฝึกซ้อมก่อนการแข่งขันมีรายงานไฟไหม้หญ้าข้างทางส่งผลให้เกิดธงแดงหลายครั้ง เอฟไอเอจึงออกมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้กระทบต่อการแข่งขันกรังด์ปรีซ์[127][128] แฟร์สตัปเปินได้ตำแหน่งโพลนำหน้านอร์ริสและพิแอสทรีอย่างผิดคาด ทำให้เขาได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากสื่อในวงการแข่งความเร็ว[129][130][131] เขารักษาตำแหน่งจากนักขับทั้งสองคนของแมกลาเรน แม้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยกับนอร์ริสที่ทางออกจากโรงรถ[132][133] และชนะการแข่งขันที่ญี่ปุ่นเป็นสมัยที่สี่ติดต่อกันนับตั้งแต่ฤดูกาล 2022[134] แอนดรูว์ เบนสัน จากบีบีซีสปอร์ต อธิบายถึงชัยชนะของแฟร์สตัปเปินว่าเป็น "สุดสัปดาห์แห่งความสมบูรณ์แบบที่หาได้ยากซึ่งจะมาจากนักขับคุณภาพสูงสุดเท่านั้น"[135] อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี จากเมอร์เซเดสสามารถขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งนำในช่วงกลางของการแข่งขันชั่วขณะหนึ่ง และเป็นนักขับที่ทำรอบได้เร็วที่สุดในการแข่งขัน ส่งผลให้เขากลายเป็นนักขับอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวันที่ทำสถิติดังกล่าวได้[136][137] จากชัยชนะในครั้งนี้ทำให้แฟร์สตัปเปินสะสมคะแนนเพิ่มขึ้นมา โดยตามหลังนอร์ริสบนตารางคะแนนชิงแชมป์เพียงแค่หนึ่งคะแนน[133]

พิแอสทรีได้ตำแหน่งโพลอีกครั้งในการแข่งขันที่บาห์เรน[138] ในขณะที่นอร์ริสซึ่งได้อันดับที่หกนั้นกล่าวว่าเขารู้สึกเหมือนกับเขา "ไม่รู้อะไรเลย" เกี่ยวกับรถของตัวเอง[139] พิแอสทรียังคงรักษาตำแหน่งนำในการแข่งขันและเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่หนึ่ง[140] รัสเซลล์และเมอร์เซเดสประสบกับปัญหาในระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณของรถระหว่างการแข่งขัน ส่งผลให้อุปกรณ์หลายอย่างทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะดีอาร์เอสที่เปิดใช้งานนอกเหนือบริเวณที่ได้รับอนุญาต ถึงอย่างนั้นคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันได้พิจารณาว่าไม่ใช่การกระทำที่เพิ่มความได้เปรียบจึงไม่บังคับใช้บทลงโทษ[141][142] อย่างไรก็ตามรัสเซลล์สามารถรักษาระยะห่างระหว่างนอร์ริสซึ่งไล่มาติด ๆ จนถึงเส้นชัยเป็นอันดับที่สอง และได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางกับผลงานการปรับตัวของเขาในครั้งนี้[143][144] ส่วนนอร์ริสได้อันดับที่สามแม้จะได้รับโทษปรับเวลาฐานนำรถจอดเกินช่องกริดเริ่มต้นขณะออกตัว[145] แฟร์รารีได้ตำแหน่งที่เหลือในห้าอันดับแรก โดยแฮมิลตันไต่อันดับขึ้นมาจากอันดับที่เก้าสู่อันดับที่ห้า[146][147] เรดบูลเรซซิงเกิดความล่าช้าในช่วงเปลี่ยนยางตลอดการแข่งขัน ส่งผลให้แฟร์สตัปเปินและสึโนดะอยู่ในอันดับที่หกและเก้าตามลำดับ[148][149] แบร์แมนและฮาสไต่อันดับขึ้นมามากที่สุดในการแข่งขันจากอันดับสุดท้ายมายังอันดับที่สิบ[150] รถเซาเบอร์ของ นีโค ฮึลเคินแบร์ค ได้รับการตรวจสอบหลังสิ้นสุดการแข่งขันว่าแผ่นไม้ใต้ท้องรถมีความหนาต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำให้เขาถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน[151] พิแอสทรีขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สองบนตารางคะแนนชิงแชมป์แทนที่แฟร์สตัปเปิน โดยตามหลังนอร์ริสเพียงแค่สามคะแนน[139]

นอร์ริสยังคงประสบกับการแข่งขันที่ยากลำบาก หลังจากรถของเขาชนเข้ากับกำแพงกั้นในรอบคัดเลือกช่วงที่สามของการแข่งขันที่ซาอุดีอาระเบีย และรั้งท้ายสิบอันดับแรกในกริดเริ่มต้น[152] ในขณะที่แฟร์สตัปเปินกลับมาได้ตำแหน่งโพลอีกครั้งอย่างหวุดหวิดจากพิแอสทรีและรัสเซลล์ โดยเขาเชื่อว่ารถของเขา "กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง" ในรอบคัดเลือก[153][154] การแข่งขันเริ่มต้นด้วยการช่วงชิงตำแหน่งนำระหว่างแฟร์สตัปเปินและพิแอสทรี ขณะพิแอสทรีกำลังจะขึ้นนำในโค้งแรก แฟร์สตัปเปินได้นำรถออกนอกขีดจำกัดเส้นทางเพื่อชิงความได้เปรียบ ทำให้เขาได้รับโทษปรับเวลาห้าวินาทีในภายหลัง[155][156] ระหว่างนั้นเกิดการปะทะของสึโนดะกับกัสลีจนพุ่งชนกำแพงกั้น กัสลีถอนตัวจากการแข่งขันในทันที ส่วนสึโนดะถอนตัวหลังจากได้รับการประเมินความเสียหายที่โรงรถ[157] พิแอสทรีขึ้นมาได้ตำแหน่งนำในช่วงท้ายของการแข่งขันและเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่หนึ่ง ตามมาด้วยแฟร์สตัปเปินและเลอแกลร์กับโพเดียมแรกในฤดูกาลของแฟร์รารี[158][159] นอร์ริสกลับคืนจากรอบคัดเลือกและขึ้นนำมาอยู่ในอันดับที่สี่[160] การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์ และ อเล็กซานเดอร์ อัลบอน ต่างสะสมคะแนนจากอันดับที่แปดและเก้าตามลำดับ ผลักดันให้วิลเลียมส์ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ห้าบนตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิต[161] พิแอสทรีสะสมคะแนนจากชัยชนะในครั้งนี้นำหน้านอร์ริสบนตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับ ทำให้เขากลายเป็นผู้นำตารางครั้งแรกในอาชีพ และนักขับชาวออสเตรเลียคนแรกที่ทำได้นับตั้งแต่สถิติของ มาร์ก เว็บเบอร์ ในการแข่งขันเจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ 2010[162]

อันโตเนลลีเริ่มต้นในตำแหน่งแรกของการแข่งขันรอบสปรินต์ที่ไมอามี สร้างสถิติเป็นนักขับอายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวันที่ได้ตำแหน่งโพลจากการแข่งขันทุกรูปแบบ[163] การแข่งขันดำเนินด้วยความล่าช้าเนื่องจากฝนตกหนัก และอุบัติเหตุของเลอแกลร์ที่ไถลบนพื้นเปียกชนกับกำแพงกั้นระหว่างรอบเดินแถว เขาจึงไม่ได้เริ่มต้นการแข่งขัน[164] นอร์ริสได้ผลประโยชน์จากการเดินรถดูแลความปลอดภัยในช่วงสุดท้ายเพื่อขึ้นนำพิแอสทรีมาอยู่ในอันดับที่หนึ่งจนจบการแข่งขัน[165] ในขณะที่อันโตเนลลีตกลงมาอยู่ในอันดับที่เจ็ด พร้อมกับอุบัติเหตุที่ช่องทางโรงรถกับแฟร์สตัปเปิน โดยแฟร์สตัปเปินได้รับโทษปรับเวลาฐานปล่อยตัวออกมาอย่างไม่ปลอดภัยจนตกลงมาอยู่ในอันดับที่สิบเจ็ด นับเป็นครั้งแรกที่เขาไม่ได้คะแนนใดเลยจากการแข่งขันทุกรูปแบบนับตั้งแต่การแข่งขันเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 2016[166][167] อย่างไรก็ตามแฟร์สตัปเปินก็ได้ตำแหน่งโพลสำหรับการแข่งขันกรังด์ปรีซ์[168] เขารักษาตำแหน่งนำไว้ได้เพียงแค่ในช่วงต้นของการแข่งขัน ก่อนจะถูกพิแอสทรีและนอร์ริสขึ้นนำและเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่หนึ่งและสองตามลำดับ[169] รัสเซลล์ได้โอกาสเปลี่ยนยางระหว่างการเดินรถดูแลความปลอดภัยเสมือนจริง และขึ้นมาอยู่ในอันดับที่สามแทนที่แฟร์สตัปเปิน[170][171] การแข่งขันในครั้งนี้กลายเป็นการแข่งขันรายการสุดท้ายของ แจ็ก ดูอัน กับอาลปีน ก่อนที่เขาจะถูกสลับตำแหน่งกับ ฟรังโก โกลาปินโต[64][65]

การแข่งขันที่ยุโรปและแคนาดา

การแข่งขันที่อีโมลาจะถูกจัดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายตามสัญญาที่สิ้นสุดลงเมื่อพ้นฤดูกาลนี้[172] รอบคัดเลือกช่วงที่หนึ่งของการแข่งขันเกิดอุบัติเหตุรถเรดบูลเรซซิงของสึโนดะพลิกคว่ำและชนกับกำแพงกั้นอย่างรุนแรง เขาไม่ได้รับอาการบาดเจ็บใดแต่ไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือก และเริ่มต้นการแข่งขันที่ช่องทางของโรงรถ[173][174] พิแอสทรีได้ตำแหน่งโพลมาครองนำหน้าแฟร์สตัปเปินและรัสเซลล์[175] ส่วนรถของแฟร์รารีทั้งสองคันถูกคัดออกจากรอบคัดเลือกช่วงที่สองซึ่งถือเป็นครั้งแรกของฤดูกาล เช่นเดียวกับอันโตเนลลีและเมอร์เซเดส[176][177] การแข่งขันเริ่มต้นด้วยการชิงตำแหน่งนำระหว่างนักขับสามอันดับแรก จนมาถึงบริเวณโค้ง วารีอันเต ตัมบูเรลโล ในขณะที่พิแอสทรีพยายามกันไม่ให้รัสเซลล์เข้าชิงพื้นที่ภายใน แฟร์สตัปเปินได้ใช้โอกาสนี้ขึ้นนำจากด้านนอกและรักษาตำแหน่งนำไว้ได้ตลอดการแข่งขัน[178][179] แฟร์สตัปเปินได้รับเสียงชื่นชมจากผลงานดังกล่าวและถูกยกให้เป็นหนึ่งในผลงานยอดเยี่ยมที่สุดของเขา[180][181][182] นอร์ริสกลับมาขึ้นนำพิแอสทรีเป็นอันดับที่สองจากอันดับที่สี่ในช่วงท้ายของการแข่งขันด้วยยางที่ใหม่กว่า[183][184] แฟร์รารีทั้งสองคันต่างได้อันดับเพิ่มขึ้นมาจากรอบคัดเลือก โดยแฮมิลตันได้อันดับที่สี่และเลอแกลร์ในอันดับที่หก หลังจากคืนอันดับที่ห้าให้แก่อัลบอนเพื่อลดความเสี่ยงรับโทษปรับเวลา[185][186] เมอร์เซเดสถอนตัวระหว่างการแข่งขันครั้งแรกในฤดูกาลจากปัญหายางเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิสูงและลิ้นปีกผีเสื้อ[177][187] สึโนดะสามารถไต่อันดับขึ้นมาได้มากที่สุดในการแข่งขันด้วยอันดับที่สิบ ถึงอย่างนั้นเขาก็กล่าวว่าจะไม่พยายามเป็น "ฮีโร" ในครั้งต่อไป[188]

การแข่งขันที่โมนาโกดำเนินการภายใต้กฎข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับจำนวนขั้นต่ำในการเข้าโรงรถที่เพิ่มขึ้นเป็นสองครั้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้น[88] นอร์ริสได้ตำแหน่งโพลนำหน้าเลอแกลร์และพิแอสทรีด้วยเวลาดีที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมาในการแข่งขันที่โมนาโก[189][190] นอร์ริสถูกกดดันจากเลอแกลร์ขณะออกตัวและเข้าโค้งแรก แต่เขาก็ยังคงรักษาตำแหน่งนำไว้ได้[191] แฟร์สตัปเปินขึ้นมานำแทนระหว่างที่นอร์ริสเข้าโรงรถ โดยเขาพยายามประวิงเวลาการเข้าโรงรถของตนเองให้ได้มากที่สุดเพื่อรอธงแดงที่อาจเกิดขึ้น[192] ถึงอย่างนั้นนอร์ริสก็ได้ตำแหน่งกลับคืนมาเมื่อแฟร์สตัปเปินเข้าโรงรถก่อนรอบสุดท้าย และเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่หนึ่งพร้อมกับนำชัยชนะครั้งแรกที่โมนาโกมาให้แก่แมกลาเรนนับตั้งแต่ฤดูกาล 2008[193][194] รถแต่ละคันต่าง "ผ่านขึ้นหน้า" ได้ยากลำบากเนื่องจากลักษณะของสนามแข่งที่แคบและคดเคี้ยว หนึ่งในสองครั้งที่เกิดขึ้นเป็นของรัสเซลล์ที่จงใจขับออกนอกเส้นทางเพื่อหนีจาก "การขับที่เอาแน่เอานอนไม่ได้" ของอัลบอนและวิลเลียมส์ ซึ่งใช้กลยุทธ์ชะลอความเร็วรถเพื่อสร้างช่องว่างให้นักขับร่วมทีมคือไซนซ์เข้าโรงรถโดยไม่เสียอันดับ แต่รัสเซลล์ได้รับโทษให้หยุดในโรงรถสิบวินาทีจากการกระทำดังกล่าว[195][196][c] นักขับหลายคนต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแข่งขันหลังสิ้นสุดลง นอร์ริสคิดว่ากฎข้อบังคับเข้าโรงรถสองครั้งเป็นการเสี่ยงโชคมากกว่าการแข่งขันกันเอง[197] ไซนซ์ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับไปมากกว่านี้ เพราะกลยุทธ์ขัดขวางนักขับคนอื่นจะเพิ่มขึ้นในการแข่งขันครั้งต่อไป[198] ส่วนแฟร์สตัปเปินและรัสเซลล์ต่างออกความเห็นเชิงขบขัน[196][199] ในขณะที่หัวหน้าทีมต่างมีความเห็นส่วนใหญ่ตรงกันว่ากฎข้อบังคับใหม่นั้นไม่สัมฤทธิ์ผล และต้องการให้สนามแข่งได้รับการปรับปรุงมากกว่า[197][200]

เฟร์นันโด อาลอนโซ ทำหน้าที่เป็นทูตประจำสนามบาร์ซาโลนา-กาตาลุญญาสำหรับการแข่งขันที่สเปน เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันที่สนามต่อไป ร่วมกับสนามแข่งใหม่ในมาดริดที่จะใช้จัดการแข่งขันแทนตั้งแต่ฤดูกาล 2026 เป็นต้นไป[201][202] นักขับจากแมกลาเรนเข้าเส้นชัยในสองอันดับแรก โดยพิแอสทรีได้ตำแหน่งโพลและชนะการแข่งขัน ตามมาด้วยนอร์ริสและเลอแกลร์[203] สโตรลล์ถอนตัวก่อนเริ่มต้นการแข่งขันแม้จะผ่านรอบคัดเลือกในอันดับที่สิบสี่ เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มือและข้อมือ[16] อันโตเนลลีถอนตัวระหว่างการแข่งขันหลังจากเครื่องยนต์สูญเสียแรงดันน้ำมัน[204] การแข่งขันดำเนินต่อหลังสิ้นสุดช่วงเดินรถดูแลความปลอดภัย แฟร์สตัปเปินนั้นร่วงลงมาจากอันดับที่สามเพราะข้อผิดพลาดในกลยุทธ์เปลี่ยนยางและได้รับคำสั่งให้คืนตำแหน่งแก่รัสเซลล์หลังจากออกนอกเส้นทางเพื่อขึ้นนำ แต่รถของเขากลับกระแทกกับรถของรัสเซลล์แทน สุดท้ายเขาจึงได้รับโทษปรับเวลาสิบวินาทีและคะแนนลงโทษสามแต้ม ซึ่งทำให้อันดับของเขาตกลงไปอยู่ที่สิบ[205][d] ฮึลเคินแบร์คเป็นหนึ่งในนักขับที่ได้รับผลประโยชน์ โดยอันดับของเขาเลื่อนขึ้นมาที่ห้า และกลายเป็นผลการแข่งขันที่ดีที่สุดของเซาเบอร์นับตั้งแต่การแข่งขันเอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์ 2022[210] ในขณะที่อาลอนโซสะสมคะแนนแรกของฤดูกาลด้วยอันดับที่เก้า[211]

แฟร์สตัปเปินเสี่ยงได้รับโทษแบนในการแข่งขันสองรายการถัดมา หลังจากเขาเหลือหนึ่งคะแนนก่อนถึงเกณฑ์ลงโทษอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุกับรัสเซลล์ที่สเปน[212] ในขณะที่รัสเซลล์นำตำแหน่งโพลมาให้แก่เมอร์เซเดสในการแข่งขันที่แคนาดา ซึ่งเขาเป็นนักขับคนแรกของฤดูกาลนอกเหนือจากแมกลาเรนหรือเรดบูลเรซซิงที่ทำได้ แฟร์สตัปเปินและพิแอสทรีได้อันดับรองลงมา ส่วนนอร์ริสผ่านรอบคัดเลือกในอันดับที่เจ็ดหลังจากมีข้อผิดพลาดในรอบทำเวลาของตนเอง[213] การแข่งขันเริ่มต้นด้วยนักขับสามอันดับแรกยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม ยกเว้นพิแอสทรีที่ถูกขึ้นนำโดยอันโตเนลลีในโค้งที่สาม[214] นอร์ริสชนท้ายกับพิแอสทรีขณะพยายามขึ้นนำบนเส้นทางตรงในช่วงท้ายของการแข่งขัน ส่งผลให้รถของนอร์ริสกระเด็นออกไปชนกับกำแพงกั้นจนอุปกรณ์ระบบรองรับได้รับความเสียหาย นอร์ริสยอมรับว่าเขา "ตัดสินใจผิดพลาด" และถอนตัวจากการแข่งขันในเวลาต่อมา[215] การแข่งขันสิ้นสุดลงภายใต้การเดินรถดูแลความปลอดภัย ทำให้เมอร์เซเดสมีอันดับบนโพเดียมด้วยกันสองตำแหน่งจากรัสเซลล์ที่ชนะการแข่งขันนำหน้าแฟร์สตัปเปิน และอันโตเนลลีที่ขึ้นโพเดียมครั้งแรกในอาชีพด้วยอันดับที่สาม พร้อมกับเป็นนักขับอายุน้อยที่สุดอันดับที่สามในประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวันบนโพเดียม[216][217]

นอร์ริสกลับมาได้ตำแหน่งโพลอีกครั้งในการแข่งขันที่ออสเตรีย โดยทำเวลาเร็วกว่าเลอแกลร์ในอันดับที่สองถึงครึ่งวินาที[218] การแข่งขันเริ่มต้นด้วยการเดินแถวที่ไม่สมบูรณ์จากปัญญาที่รถของไซนซ์[219] อันโตเนลลีล็อกล้อหน้าระหว่างเบรกเข้าโค้งที่สามแต่กลับพุ่งตรงเข้าชนแฟร์สตัปเปินแทน ส่งผลให้ทั้งสองคนต้องถอนตัวจากการแข่งขันตั้งแต่รอบแรก โดยอันโตเนลลีได้รับคะแนนลงโทษและปรับตำแหน่งกริดเริ่มต้นสามอันดับในการแข่งขันถัดไป[220][221] ส่วนนักขับร่วมทีมของไซนซ์และแฟร์สตัปเปินอย่างอัลบอนและสึโนดะเองก็ไม่ได้มีผลงานที่ดีไปกว่าพวกเขา หลังจากทั้งคู่ต่างถอนตัวและได้อันดับสุดท้ายในการแข่งขันด้วยโทษปรับเวลาตามลำดับ[222][223] พิแอสทรีซึ่งขึ้นนำเลอแกลร์มาอยู่ในอันดับที่สองนั้นพยายามแย่งชิงตำแหน่งนอร์ริสต่อด้วยการใช้ประโยชน์จากลมดูด (slipstream) และบริเวณเปิดใช้งานดีอาร์เอส แต่เขาก็ไม่สามารถขึ้นนำได้ นอร์ริสจึงได้ชัยชนะครั้งที่สามในฤดูกาลไปครอง ตามมาด้วยนักขับของแฟร์รารีคือเลอแกลร์และแฮมิลตันในอันดับที่สามและสี่ตามลำดับ[224] นักขับจากเซาเบอร์ต่างจบการแข่งขันภายในสิบอันดับแรก โดย กาบรีแยล โบร์โตเลตู สะสมคะแนนชิงแชมป์ครั้งแรกในอันดับที่แปด และฮึลเคินแบร์คในอันดับที่เก้า ถือเป็นการสะสมคะแนนจากนักขับทั้งสองคนครั้งแรกของเซาเบอร์นับตั้งแต่การแข่งขันกาตาร์กรังด์ปรีซ์ 2023[225][226]

ผลการแข่งขันและตารางคะแนน

ผลการแข่งขันกรังด์ปรีซ์

ลำดับ กรังด์ปรีซ์[e] ตำแหน่งโพล ทำรอบเร็วที่สุด นักชับที่ชนะ ทีมผู้ผลิตที่ชนะ รายงาน
1 Australia ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
2 China ไชนีสกรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส[f] ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
3 Japan เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน ประเทศอิตาลี อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน ประเทศออสเตรีย เรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที รายงาน
4 Bahrain บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
5 Saudi Arabia ซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
6 United States ไมอามีกรังด์ปรีซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
7 Italy เอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน ประเทศออสเตรีย เรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที รายงาน
8 Monaco โมนาโกกรังด์ปรีซ์ สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
9 Spain สเปนิชกรังด์ปรีซ์ ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
10 Canada แคนาเดียนกรังด์ปรีซ์ สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์ สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์ สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์ ประเทศเยอรมนี เมอร์เซเดส รายงาน
11 Austria ออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส รายงาน
12 United Kingdom บริติชกรังด์ปรีซ์ รายงาน
13 Belgium เบลเจียนกรังด์ปรีซ์ รายงาน
14 Hungary ฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์ รายงาน
15 Netherlands ดัตช์กรังด์ปรีซ์ รายงาน
16 Italy อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ รายงาน
17 Azerbaijan อาเซอร์ไบจานกรังด์ปรีซ์ รายงาน
18 Singapore สิงคโปร์กรังด์ปรีซ์ รายงาน
19 United States ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ รายงาน
20 Mexico เม็กซิโกซิตีกรังด์ปรีซ์ รายงาน
21 Brazil เซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ รายงาน
22 United States ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ รายงาน
23 Qatar กาตาร์กรังด์ปรีซ์ รายงาน
24 United Arab Emirates อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ รายงาน
แหล่งที่มา:[66][228]

ระบบการให้คะแนน

คะแนนจะมอบให้กับนักขับที่ได้รับการจัดอันดับในสิบอันดับแรกของการแข่งขัน และนักขับในแปดอันดับแรกของรอบสปรินต์[229][g] ในกรณีที่คะแนนของนักขับเสมอกัน ระบบนับคะแนนถอยหลังจะถูกใช้โดยนักขับที่มีผลการแข่งขันดีที่สุดจะได้รับการจัดอันดับสูงกว่า หากผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเหมือนกันจะตัดสินโดยผลลัพธ์ถัดไปที่ดีที่สุดและไล่ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ[231] คะแนนจะมอบให้โดยใช้ระบบดังต่อไปนี้:

อับดับ  1   2   3   4   5   6   7   8   9   10 
กรังด์ปรีซ์ 25 18 15 12 10 8 6 4 2 1
สปรินต์[e] 8 7 6 5 4 3 2 1
แหล่งที่มา:[229]

ตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทนักขับ

อันดับ นักขับ AUS
ประเทศออสเตรเลีย
CHN
ประเทศจีน
JPN
ประเทศญี่ปุ่น
BHR
ประเทศบาห์เรน
SAU
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
MIA
สหรัฐอเมริกา
EMI
ประเทศอิตาลี
MON
ประเทศโมนาโก
ESP
ประเทศสเปน
CAN
ประเทศแคนาดา
AUT
ประเทศออสเตรีย
GBR
สหราชอาณาจักร
BEL
ประเทศเบลเยียม
HUN
ประเทศฮังการี
NED
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ITA
ประเทศอิตาลี
AZE
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
SIN
ประเทศสิงคโปร์
USA
สหรัฐอเมริกา
MXC
ประเทศเม็กซิโก
SAP
ประเทศบราซิล
LVG
สหรัฐอเมริกา
QAT
ประเทศกาตาร์
ABU
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
คะแนน
1 ประเทศออสเตรเลีย ออสการ์ พิแอสทรี 9 1P 2 3 1PF 1 12 3P 3 1PF 4 2F 216
2 สหราชอาณาจักร แลนโด นอร์ริส 1PF 28 F 2 3 4F 21 F 2 1PF 2 18† 1P 201
3 ประเทศเนเธอร์แลนด์ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน 2 43 1P 6 2P 4P 1F 4 10 2 Ret 155
4 สหราชอาณาจักร จอร์จ รัสเซลล์ 3 34 5 2 5 34 7 11 4 1PF 5 146
5 ประเทศโมนาโก ชาร์ล เลอแกลร์ 8 DSQ5 4 4 3 7 6 2 3 5 3 119
6 สหราชอาณาจักร ลูวิส แฮมิลตัน 10 DSQ1 7 5 7 83 4 5 6 6 4 91
7 ประเทศอิตาลี อันเดรอา คีมี อันโตเนลลี 4 67 6F 11 6 67 Ret 18 Ret 3 Ret 63
8 ประเทศไทย อเล็กซานเดอร์ อัลบอน 5 7 9 12 9 5 5 9 Ret Ret Ret 42
9 ประเทศฝรั่งเศส แอ็สเตบาน ออกง 13 5 18 8 14 12 Ret 7 16 9 10 23
10 ประเทศเยอรมนี นีโค ฮึลเคินแบร์ค 7 15 16 DSQ 15 14 12 16 5 8 9 22
11 ประเทศฝรั่งเศส อีซัก อาจาร์ DNS 11 8 13 10 11 9 6 7 16 12 21
12 ประเทศแคนาดา แลนซ์ สโตรลล์ 6 9 20 17 16 165 15 15 WD 17 14 14
13 ประเทศสเปน เฟร์นันโด อาลอนโซ Ret Ret 11 15 11 15 11 Ret 9 7 7 14
14 ประเทศสเปน การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์ Ret 10 14 Ret 8 9 8 10 14 10 DNS 13
15 ประเทศนิวซีแลนด์ เลียม ลอว์สัน Ret 12 17 16 12 Ret 14 8 11 Ret 6 12
16 ประเทศฝรั่งเศส ปีแยร์ กัสลี 11 DSQ 13 7 Ret 138 13 Ret 8 15 13 11
17 ประเทศญี่ปุ่น ยูกิ สึโนดะ 12 166 12 9 Ret 106 10 17 13 12 16 10
18 สหราชอาณาจักร โอลิเวอร์ แบร์แมน 14 8 10 10 13 Ret 17 12 17 11 11 6
19 ประเทศบราซิล กาบรีแยล โบร์โตเลตู Ret 14 19 18 18 Ret 18 14 12 14 8 4
20 ประเทศอาร์เจนตินา ฟรังโก โกลาปินโต 16 13 15 13 15 0
21 ประเทศออสเตรเลีย แจ็ก ดูอัน Ret 13 15 14 17 Ret 0
อันดับ นักขับ AUS
ประเทศออสเตรเลีย
CHN
ประเทศจีน
JPN
ประเทศญี่ปุ่น
BHR
ประเทศบาห์เรน
SAU
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
MIA
สหรัฐอเมริกา
EMI
ประเทศอิตาลี
MON
ประเทศโมนาโก
ESP
ประเทศสเปน
CAN
ประเทศแคนาดา
AUT
ประเทศออสเตรีย
GBR
สหราชอาณาจักร
BEL
ประเทศเบลเยียม
HUN
ประเทศฮังการี
NED
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ITA
ประเทศอิตาลี
AZE
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
SIN
ประเทศสิงคโปร์
USA
สหรัฐอเมริกา
MXC
ประเทศเม็กซิโก
SAP
ประเทศบราซิล
LVG
สหรัฐอเมริกา
QAT
ประเทศกาตาร์
ABU
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
คะแนน
แหล่งที่มา:[228][232][233]
คำสำคัญ
สี ผล
ทอง ชนะเลิศ
เงิน อันดับ 2
ทองแดง อันดับ 3
เขียว อันดับอื่นที่ได้คะแนน
ฟ้า อันดับอื่นที่ไม่ได้คะแนน
ไม่ถูกจัดอันดับ แต่จบการแข่งขัน (NC)
ม่วง ไม่ถูกจัดอันดับ เพราะถอนตัวระหว่างแข่งขัน (Ret)
แดง ไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก (DNQ)
ไม่ได้เข้าร่วมรอบก่อนคัดเลือก (DNPQ)
ดำ ถูกตัดสิทธิ์ (DSQ)
ขาว ไม่ได้ออกตัว (DNS)
การแข่งขันถูกยกเลิก (C)
ว่าง ไม่ได้เข้าร่วมรอบฝึกซ้อม (DNP)
ได้รับการยกเว้น (EX)
ไม่ได้เข้าร่วมงาน (DNA)
ถอนตัว (WD)
ตัวย่อ หมายถึง
ตัวยก อันดับที่ได้คะแนนในการแข่งขันรอบสปรินต์
P ตำแหน่งโพล
F ทำรอบเร็วที่สุด
หมายเหตุ
  • † นักขับที่ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน

ตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิต

อันดับ ผู้ผลิต AUS
ประเทศออสเตรเลีย
CHN
ประเทศจีน
JPN
ประเทศญี่ปุ่น
BHR
ประเทศบาห์เรน
SAU
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
MIA
สหรัฐอเมริกา
EMI
ประเทศอิตาลี
MON
ประเทศโมนาโก
ESP
ประเทศสเปน
CAN
ประเทศแคนาดา
AUT
ประเทศออสเตรีย
GBR
สหราชอาณาจักร
BEL
ประเทศเบลเยียม
HUN
ประเทศฮังการี
NED
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ITA
ประเทศอิตาลี
AZE
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
SIN
ประเทศสิงคโปร์
USA
สหรัฐอเมริกา
MXC
ประเทศเม็กซิโก
SAP
ประเทศบราซิล
LVG
สหรัฐอเมริกา
QAT
ประเทศกาตาร์
ABU
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
คะแนน
1 สหราชอาณาจักร แมกลาเรน-เมอร์เซเดส 1PF 1P 2 2 1PF 1 12 2 1PF 1PF 4 1P 417
9 28 F 3 3 4F 21 F 3P 3 2 18† 2F
2 ประเทศอิตาลี แฟร์รารี 8 DSQ1 4 4 3 7 4 2 3 5 3 210
10 DSQ5 7 5 7 83 6 5 6 6 4
3 ประเทศเยอรมนี เมอร์เซเดส 3 34 5 2 5 34 7 11 4 1PF 5 209
4 67 6F 11 6 67 Ret 18 Ret 3 Ret
4 ประเทศออสเตรีย เรดบูลเรซซิง-ฮอนด้าอาร์บีพีที 2 43 1P 6 2P 4P 1F 4 10 2 16 162
Ret 12 12 9 Ret 106 10 17 13 12 Ret
5 สหราชอาณาจักร วิลเลียมส์-เมอร์เซเดส 5 7 9 12 8 5 5 9 14 10 Ret 55
Ret 10 14 Ret 9 9 8 10 Ret Ret DNS
6 ประเทศอิตาลี เรซซิงบูลส์-ฮอนด้าอาร์บีพีที 12 11 8 13 10 11 9 6 7 16 6 36
DNS 166 17 16 12 Ret 14 8 11 Ret 12
7 สหรัฐอเมริกา ฮาส-แฟร์รารี 13 5 10 8 13 12 17 7 16 9 10 29
14 8 18 10 14 Ret Ret 12 17 11 11
8 สหราชอาณาจักร แอสตันมาร์ตินอะแรมโค-เมอร์เซเดส 6 9 11 15 11 15 11 15 9 7 7 28
Ret Ret 20 17 16 165 15 Ret WD 17 14
9 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คิกเซาเบอร์-แฟร์รารี 7 14 16 18 15 14 12 14 5 8 8 26
Ret 15 19 DSQ 18 Ret 18 16 12 14 9
10 ประเทศฝรั่งเศส อาลปีน-เรอโน 11 13 13 7 17 138 13 13 8 13 13 11
Ret DSQ 15 14 Ret Ret 16 Ret 15 15 15
อันดับ ผู้ผลิต AUS
ประเทศออสเตรเลีย
CHN
ประเทศจีน
JPN
ประเทศญี่ปุ่น
BHR
ประเทศบาห์เรน
SAU
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
MIA
สหรัฐอเมริกา
EMI
ประเทศอิตาลี
MON
ประเทศโมนาโก
ESP
ประเทศสเปน
CAN
ประเทศแคนาดา
AUT
ประเทศออสเตรีย
GBR
สหราชอาณาจักร
BEL
ประเทศเบลเยียม
HUN
ประเทศฮังการี
NED
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ITA
ประเทศอิตาลี
AZE
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
SIN
ประเทศสิงคโปร์
USA
สหรัฐอเมริกา
MXC
ประเทศเม็กซิโก
SAP
ประเทศบราซิล
LVG
สหรัฐอเมริกา
QAT
ประเทศกาตาร์
ABU
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
คะแนน
แหล่งที่มา:[228][232][233]
คำสำคัญ
สี ผล
ทอง ชนะเลิศ
เงิน อันดับ 2
ทองแดง อันดับ 3
เขียว อันดับอื่นที่ได้คะแนน
ฟ้า อันดับอื่นที่ไม่ได้คะแนน
ไม่ถูกจัดอันดับ แต่จบการแข่งขัน (NC)
ม่วง ไม่ถูกจัดอันดับ เพราะถอนตัวระหว่างแข่งขัน (Ret)
แดง ไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก (DNQ)
ไม่ได้เข้าร่วมรอบก่อนคัดเลือก (DNPQ)
ดำ ถูกตัดสิทธิ์ (DSQ)
ขาว ไม่ได้ออกตัว (DNS)
การแข่งขันถูกยกเลิก (C)
ว่าง ไม่ได้เข้าร่วมรอบฝึกซ้อม (DNP)
ได้รับการยกเว้น (EX)
ไม่ได้เข้าร่วมงาน (DNA)
ถอนตัว (WD)
ตัวย่อ หมายถึง
ตัวยก อันดับที่ได้คะแนนในการแข่งขันรอบสปรินต์
P ตำแหน่งโพล
F ทำรอบเร็วที่สุด
หมายเหตุ
  • † นักขับที่ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน
  • แถวในตารางไม่ได้หมายถึงคะแนนของนักขับคนใดคนหนึ่ง ตารางคะแนนชิงแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตนั้นจะอ้างอิงอันดับการแข่งขันในแต่ละกรังด์ปรีซ์ โดยจัดเรียงตามการจัดอันดับอันเป็นที่สิ้นสุดหลังจบการแข่งขันเท่านั้น (ไม่ได้จัดตามคะแนนสะสมทั้งหมดที่ทำได้ในการแข่งขันนั้น ซึ่งรวมถึงคะแนนจากรอบสปรินต์ด้วย)

หมายเหตุ

  1. แลนซ์ สโตรลล์ เข้าร่วมการแข่งขันสเปนิชกรังด์ปรีซ์ แต่ถอนตัวในภายหลังเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มือและข้อมือ[16]
  2. เซาเบอร์ได้รับการสนับสนุนจากสเตก ซึ่งผู้ก่อตั้งร่วมเป็นผู้สนับสนุนของคิกด้วย[32] โดยเซาเบอร์เข้าร่วมในการแข่งขันรายการที่ 1 ภายใต้ชื่อ "คิก เซาเบอร์เอฟวันทีม"[33]
  3. โทษปรับเวลาสิบวินาทีเป็นบทลงโทษตามกฎข้อบังคับสำหรับ "การออกนอกเส้นทางและสร้างความได้เปรียบ" รัสเซลล์ได้รับโทษหนักกว่าเป็นการให้หยุดในโรงรถ (drive-through penalty) เนื่องจากเขาได้รับการพิจารณาว่าจงใจขับออกนอกเส้นทาง[195]
  4. แฟร์สตัปเปินกล่าวถึงการกระทำของเขาว่า "ไม่ถูกต้องและไม่สมควรที่จะเกิดขึ้น" โดยอ้างว่าเป็น "การตัดสินใจที่ผิดพลาด"[206] ในขณะที่ผู้บรรยายการแข่งขันหลายคนลงความเห็นว่าเป็นการกระทําโดยเจตนา[207][208][209]
  5. 5.0 5.1 การแข่งขันไชนีส, ไมอามี, เบลเจียน, ยูไนเต็ดสเตตส์, เซาเปาโล และการ์ตาร์กรังด์ปรีซ์นำเสนอรูปแบบการแข่งขันแบบสปรินต์[68]
  6. เดิมที ลูวิส แฮมิลตัน เป็นผู้ทำรอบได้เร็วที่สุด แต่เขาถูกตัดสิทธิ์ในภายหลังเนื่องจากแผ่นไม้กันกระแทกใต้ท้องรถมีความหนาต่ำกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำ[122] แลนโด นอร์ริส ซึ่งทำรอบได้เร็วเป็นอันดับรองลงมาจึงกลายเป็นผู้ทำรอบได้เร็วที่สุดในการแข่งขันแทน[227]
  7. ในกรณีที่การแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนกำหนด จำนวนคะแนนที่มอบให้กับแต่ละอันดับอาจลดลง ขึ้นอยู่กับว่าการแข่งขันนั้นดำเนินการไปมากน้อยเพียงใด[230]

อ้างอิง

  1. "Verstappen crowned champion as Russell heads Mercedes 1–2 in Las Vegas". Formula One. 24 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2024. สืบค้นเมื่อ 24 November 2024.
  2. "Norris sails to victory ahead of Sainz and Leclerc in Abu Dhabi as McLaren seal constructors' championship". Formula One. 8 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2024. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  3. Nichol, Jake (21 January 2024). "Everything to know about F1's 2026 power unit revolution". RacingNews365. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  4. เจษฎา บุญประสม (9 มิถุนายน 2024). "รถแข่ง F1 กติกาใหม่ ปี 2026 ต่างจากปัจจุบันที่ใช้ตั้งแต่ปี 2022 อย่างไร ?". Main Stand. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2025.
  5. Mitchell-Malm, Scott; Anderson, Ben (6 June 2024). "F1 reveals 2026 cars – Everything worth knowing". The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 June 2024.
  6. "Alpine confirm they are to shut down works engine programme at the end of 2025". Formula One. 30 September 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2024. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.
  7. "Pirelli to continue as Formula 1's exclusive tyre supplier until 2027". Formula One. 10 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2024. สืบค้นเมื่อ 30 April 2024.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "2025 Formula One Sporting Regulations – Issue 5" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 30 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 April 2025.
  9. "BWT and Alpine F1 team combine forces in strategic partnership aimed at sustainability drive". BWT. 11 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  10. Collantine, Keith (18 February 2025). "First pictures: Alpine presents its livery for the 2025 F1 season". RaceFans. Collantine Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2025. สืบค้นเมื่อ 18 February 2025.
  11. 11.0 11.1 11.2 "What engine every F1 team is using for 2026 rules". The Race. 8 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  12. "F1: Aston Martin sela acordo de patrocínio com Aramco". Motorsport.uol.com Brazil. Motorsport Network. 3 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2024. สืบค้นเมื่อ 25 January 2024.
  13. "Aston Martin Aramco announces high-performance partnership with PUMA". Aston Martin F1 Team. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024. PUMA car branding will debut on the AMR25 when it is launched ahead of the 2025 F1 season.
  14. "AMR25". Aston Martin F1 Team. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2025. สืบค้นเมื่อ 24 February 2025.
  15. "Aston Martin confirm Honda as F1 engine partner from 2026 as Japanese manufacturer makes official return to sport". Sky Sports. 24 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  16. 16.0 16.1 "Aston Martin announce Stroll to miss Spanish Grand Prix". Formula One. 31 May 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  17. "Ferrari and HP Announce a Title Partnership". HP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  18. Velasco, Paul (30 January 2025). "Ferrari confirms SF-25 as name for 2025 Formula 1 car". GrandPrix247.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2025. สืบค้นเมื่อ 30 January 2025.
  19. "Haas sign new title sponsor for 2023 in multi-year deal". Formula One. 20 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 22 October 2022.
  20. "Haas showcase new livery for 2025 season at F1 75 Live". Formula One. 18 February 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2025. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
  21. "Haas to stick with Ferrari amid engine crisis". GrandPrix.com. Inside F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2020. สืบค้นเมื่อ 30 August 2020.
  22. Kalinauckas, Alex (13 February 2025). "McLaren becomes first F1 team to reveal 2025 car design". Motorsport.com Australia. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2025. สืบค้นเมื่อ 13 February 2025.
  23. Cooper, Adam (28 September 2019). "McLaren's deal to use Mercedes F1 engines again from 2021 announced". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 17 September 2022.
  24. Noble, Jonathan (28 September 2022). "Mercedes signs early Petronas deal extension ahead of new F1 2026 rules". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  25. "W16 Launch Date Confirmed". Mercedes-AMG Petronas F1 Team. 27 January 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 January 2025.
  26. 26.0 26.1 Noble, Jonathan (2 September 2024). "What's really going on with RB's name change plans for F1 2025". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2024. สืบค้นเมื่อ 7 September 2024.
  27. "Hahnair to join Visa Cash App RB Formula 1 Team". Visa Cash App RB Formula One Team. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024. As from the start of the 2025 season, the Hahnair logo will feature on the VCARB-02 mirrors
  28. 28.0 28.1 "F1: Motores Red Bull voltam a ter nome da Honda em 2023". Motorsport.uol.com Brazil. Motorsport Network. 15 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2024. สืบค้นเมื่อ 25 January 2024.
  29. "Acordo Red Bull/Oracle é "o maior na história da F1"". Autoracing.com Brazil. 10 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 January 2024.
  30. "Oracle Red Bull Racing Partners with Neat". Oracle Red Bull Racing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024. Beginning in 2025, Neat will be featured on Oracle Red Bull Racing’s RB21 car [...]
  31. Nichol, Jake (1 January 2024). "Sauber announces official team name for 2024 and 2025". RacingNews365. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  32. "Sauber to run under Stake F1 Team name in 2024–25". Motorsport.com. Motorsport Network. 15 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2023. สืบค้นเมื่อ 18 March 2024.
  33. 33.0 33.1 33.2 รายชื่อผู้เข้าแข่งขันอย่างเป็นทางการ:
    • Connelly, Garry; Ennser, Gerd; Geilhausen, Tanja; Selley, Matthew; Bernoldi, Enrique (14 March 2025). "2025 Australian Grand Prix – Entry List (Corrected)" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 14 March 2025.
    • Shetty, Nish; Ennser, Gerd; Selley, Matthew; Lamy, Pedro; Zheng, Honghai (21 March 2025). "2025 Chinese Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 21 March 2025.
    • Connelly, Garry; Remmerie, Mathieu; Lamy, Pedro; Tsuge, Kazuhiro (4 April 2025). "2025 Japanese Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 4 April 2025.
    • Connelly, Garry; Remmerie, Mathieu; Liuzzi, Vitantonio; Al Hilli, Mazen (11 April 2025). "2025 Bahrain Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 11 April 2025.
    • Shetty, Nish; Bacquelaine, Loïc; Bernoldi, Enrique; Al Aldabi, Hasan (18 April 2025). "2025 Saudi Arabian Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 20 April 2025.
    • Holter, Felix; Remmerie, Mathieu; Warwick, Derek; Pence, Steve (2 May 2025). "2025 Miami Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 4 May 2025.
    • Shetty, Nish; Bacquelaine, Loïc; Liuzzi, Vitantonio; Brizzolari, Valerio (16 May 2025). "2025 Emilia Romagna Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 16 May 2025.
    • Shetty, Nish; Bacquelaine, Loïc; Liuzzi, Vitantonio; Calmes, Jean-François (23 May 2025). "2025 Monaco Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 23 May 2025.
    • Shetty, Nish; Selley, Matthew; Liuzzi, Vitantonio; Domingo, David (30 May 2025). "2025 Spanish Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
    • Ennser, Gerd; Selley, Matthew; Corsmit, Natalie; Warwick, Derek; Demers, Marcel (13 June 2025). "2025 Canadian Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 14 June 2025.
    • Holter, Felix; Connelly, Garry; Warwick, Derek; Singer, Wilhelm (27 June 2025). "2025 Austrian Grand Prix – Entry List" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 27 June 2025.
  34. "Stake F1 Team KICK Sauber and CoinPayments launch partnership prior to 2025 season". Sauber Group. 17 February 2025. สืบค้นเมื่อ 18 February 2025. As part of the agreement, CoinPayments’ logo will be sported on the team’s 2025 challenger, the soon-to-be unveiled C45.
  35. "Audi to team up with Sauber for Formula One entry in 2026". USA Today. Associated Press. 26 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  36. Kisby, Cambridge (23 July 2024). "Audi's F1 team explained: 2026 entry concerns as Binotto and Wheatley are drafted in". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 September 2024.
  37. Mann-Bryans, Mark (11 February 2025). "Record title sponsorship for Williams F1 as Atlassian deal announced". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2025. สืบค้นเมื่อ 11 February 2025.
  38. "Williams Racing is pleased to announce a new multi-year partnership with Santander that will begin in 2025". Williams Racing. 9 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2024. สืบค้นเมื่อ 13 December 2024. Santander or Openbank branding will feature on the FW47, driver helmets and team clothing throughout 2025
  39. Baldwin, Alan (8 January 2024). Sarkar, Pritha (บ.ก.). "Williams F1 team to use Mercedes engines until at least 2030". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  40. "2025 FIA Formula One World Championship – Entry List". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 26 February 2025. สืบค้นเมื่อ 26 February 2025.
  41. Cook, Sam (1 September 2023). "Hamilton set to break Schumacher record with new Mercedes contract". GPFans. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 February 2024.
  42. "Team Statement". Scuderia Ferrari. 1 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 February 2024.
  43. Coleman, Madeline (2 February 2024). "Ferrari's prestige lured Lewis Hamilton – and cost Carlos Sainz his seat". The Athletic. The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 February 2024.
  44. "Sainz signs for Williams as Spaniard's F1 future is confirmed". Formula One. 29 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2024. สืบค้นเมื่อ 29 July 2024.
  45. "Williams Racing announces that Franco Colapinto will race with the team for the remainder of the 2024 FIA Formula 1 World Championship season". Williams Racing. Williams Group. 27 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2024. สืบค้นเมื่อ 27 August 2024.
  46. "BWT Alpine Formula One Team enters into agreement with Williams Racing to secure services of Franco Colapinto on multi-year deal". Alpine global media website. Renault Group. 9 January 2025. สืบค้นเมื่อ 9 January 2025.
  47. "Antonelli confirmed as Hamilton's replacement with Mercedes looking ahead to 'next chapter'". Formula One. 31 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2024. สืบค้นเมื่อ 31 August 2024.
  48. Ramsay, George (31 August 2024). "Mercedes confirms 18-year-old Andrea Kimi Antonelli as Lewis Hamilton's replacement". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2024. สืบค้นเมื่อ 22 September 2024.
  49. "Nico Hulkenberg to depart Haas at the end of 2024". Formula One. 26 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2024. สืบค้นเมื่อ 21 September 2024. But it's now been confirmed that the 36-year-old will depart the American squad – and make his way to Sauber – at the end of the campaign.
  50. Cleeren, Filip (26 April 2024). "Hulkenberg to join Sauber in 2025 ahead of Audi F1 entry". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2024. สืบค้นเมื่อ 21 September 2024.
  51. "F2 star Ollie Bearman promoted to F1 with Haas for 2025". Formula One. 4 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2024. สืบค้นเมื่อ 4 July 2024.
  52. "Magnussen to leave Haas when contract expires at the end of 2024 season". Formula One. 18 July 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2024. สืบค้นเมื่อ 18 July 2024.
  53. Barretto, Lawrence (3 June 2024). "Alpine to part ways with Ocon at end of 2024 season". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2024. สืบค้นเมื่อ 3 June 2024.
  54. "Doohan to race for Alpine in 2025 as F1 promotion confirmed". Formula 1. 23 August 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2024. สืบค้นเมื่อ 23 August 2024.
  55. "Alpine confirm Doohan to race in Abu Dhabi as Ocon is released". Formula One. 2 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2024. สืบค้นเมื่อ 2 December 2024.
  56. "Bottas and Zhou to leave Kick Sauber as team confirm decision to part ways". Formula One. 6 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2024. สืบค้นเมื่อ 6 November 2024.
  57. "Bottas to re-join Mercedes as reserve driver in 2025". Formula One. 19 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
  58. McDonagh, Connor (5 February 2025). "Axed Zhou Guanyu lands new role with Ferrari for 2025". Crash.net. Crash Media Group. สืบค้นเมื่อ 5 February 2025.
  59. "Kick Sauber confirm rookie Bortoleto as second driver for 2025". Formula One. 6 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2024. สืบค้นเมื่อ 6 November 2024.
  60. "Perez and Red Bull agree to part ways following conclusion of 2024 season". Formula One. 18 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
  61. "Liam Lawson Joins Max Verstappen for 2025 Season". Oracle Red Bull Racing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
  62. "Hadjar signs for RB as he takes final seat on 2025 F1 grid". Formula One. 20 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
  63. "Tsunoda to replace Lawson at Red Bull from Japanese GP as New Zealander drops down to Racing Bulls". Formula One. 27 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 March 2025.
  64. 64.0 64.1 "Alpine confirm Colapinto to replace Doohan for next five rounds as team opt to 'rotate' seat". Formula One. 7 May 2025. สืบค้นเมื่อ 7 May 2025.
  65. 65.0 65.1 Mitchell-Malm, Scott (26 June 2025). "Colapinto set to keep Alpine seat beyond initial evaluation". The Race. สืบค้นเมื่อ 29 June 2025.
  66. 66.0 66.1 66.2 "FIA and Formula 1 announce calendar for 2025". Formula One. 12 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2024. สืบค้นเมื่อ 12 April 2024.
  67. "The key differences and stand outs from the 2025 F1 calendar". Formula One. 12 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2024. สืบค้นเมื่อ 12 April 2024.
  68. 68.0 68.1 "FIA and Formula 1 announce 2025 Sprint calendar". Formula One. 11 July 2024. สืบค้นเมื่อ 11 July 2024.
  69. Boxall-Legge, Jake (11 July 2024). "F1 Announces Sprint Race Calendar for 2025, Belgium Replaces Austria". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2024. สืบค้นเมื่อ 11 July 2024.
  70. 70.0 70.1 "Australia to open the Formula 1 season in 2025 as Bahrain and Saudi races shift for Ramadan". The Associated Press. 12 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  71. Patterson, Emily (2 February 2024). "Revealed: Aussie F1 fans get major Hamilton coup". Nine's Wide World of Sports. Nine Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2024. สืบค้นเมื่อ 3 February 2024.
  72. Saunders, Nate (28 February 2017). "Russian Grand Prix extends F1 deal until 2025". ESPN UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2024. สืบค้นเมื่อ 3 February 2024.
  73. Benson, Andrew (3 March 2022). "Formula 1 terminates contract with Russian Grand Prix". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
  74. Collantine, Keith (23 July 2024). "New points system rejected, minimum weight rising to 800kg in 2025". RaceFans. Collantine Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2024. สืบค้นเมื่อ 2 August 2024.
  75. "2025 Formula One Technical Regulations – Issue 3" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 7 April 2025. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2025. สืบค้นเมื่อ 18 April 2025.
  76. Blet, Léa (24 July 2024). "F1 minimum weight increased to protect drivers' health". Motorsinside.com. สืบค้นเมื่อ 27 December 2024.
  77. 77.0 77.1 Cleeren, Filip (13 November 2024). "FIA approves driver cooling kits from 2025 in F1". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
  78. 78.0 78.1 Boxall-Legge, Jake (12 December 2024). "FIA announces 2025 F1 rule changes". Motosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2024. สืบค้นเมื่อ 13 December 2024.
  79. Noble, Jon; Suttill, Josh (17 March 2025). "F1 to introduce tighter rear wing tests after Australia flexing evidence". The Race. สืบค้นเมื่อ 18 March 2025.
  80. 80.0 80.1 80.2 "Formula 1 Commission Meeting 18.02.2025 – Media statement". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 18 February 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2025. สืบค้นเมื่อ 18 February 2025.
  81. "Explained: Everything you need to know about the Spanish Grand Prix front wing Technical Directive". Formula One. 29 May 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  82. "F1 fastest-lap point to be dropped from 2025 season in change to regulations for next year". Sky Sports. 17 October 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 October 2024.
  83. Cleeran, Filiip (17 October 2024). "F1 scraps fastest lap point from 2025". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 October 2024.
  84. "Future regulations across multiple categories confirmed during the World Motor Sport Council". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 17 October 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 October 2024.
  85. Collantine, Keith (18 October 2024). "F1 teams face first cap on testing of past cars from 2025". RaceFans. Collantine Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 October 2024.
  86. Cook, Sam (2 November 2024). "Brazilian Grand Prix: What happens if qualifying can't run?". GPFans.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2024. สืบค้นเมื่อ 2 November 2024.
  87. 87.0 87.1 "FIA makes F1 rule change after Red Bull Perez controversy". RacingNews365. 3 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2025. สืบค้นเมื่อ 5 March 2025.
  88. 88.0 88.1 "First World Motor Sport Council of 2025 heralds the start of Vision 2030 and announces strategic overhaul for iconic Monaco GP". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 26 February 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2025. สืบค้นเมื่อ 26 February 2025.
  89. 89.0 89.1 89.2 Chiu, Nigel (23 January 2025). "F1 drivers could face possible ban, points deductions under new FIA misconduct rules for 2025 Formula 1 season". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2025. สืบค้นเมื่อ 25 January 2025.
  90. "FIA explains why Verstappen and Leclerc received different F-word punishments". RacingNews365. 2 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2024. สืบค้นเมื่อ 24 January 2025.
  91. Cleeren, Filip (2 November 2024). "Leclerc fined by FIA for swearing in F1 press conference". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2024. สืบค้นเมื่อ 24 January 2025.
  92. Mitchell-Malm, Scott; Noble, Jon; Suttill, Josh (26 June 2025). "All you need to know about a big F1 penalty guidelines reveal". The Race. สืบค้นเมื่อ 26 June 2025.
  93. "F1 confirms plans for first ever season launch event at London's The O2 in 2025". Formula One. 12 February 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2025. สืบค้นเมื่อ 13 February 2025.
  94. Bailey, Michael (18 February 2025). "F1 75 live updates: 2025 Formula 1 season launch event latest as teams reveal new car liveries". The Athletic. The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2025. สืบค้นเมื่อ 18 February 2025.
  95. "Watch all the action from the F1 75 Live launch event". Formula One. 18 February 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2025. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
  96. Hicks, Olivia (19 February 2025). "F1 reveals mammoth viewership figures on YouTube for 75 Live event at The O2 in London". The Athletic. The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2025. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
  97. "F1 and FIA confirm Bahrain to host 2025 pre-season testing". Formula One. 16 September 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2024. สืบค้นเมื่อ 16 September 2024.
  98. "In Numbers: Who was the fastest and who recorded the most laps at Bahrain's 2025 pre-season test?". Formula One. 1 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2025. สืบค้นเมื่อ 2 March 2025.
  99. "2025 McLaren F1 car launch: title favourites first to reveal new car — in camouflage livery". Motor Sport. 13 February 2025. สืบค้นเมื่อ 15 February 2025.
  100. Saunders, Nate (14 February 2025). "Lando Norris ready for 'elbows out' vs. Max Verstappen in title fight". ESPN. สืบค้นเมื่อ 15 February 2025.
  101. Kapur, Sahil (7 March 2025). "Formula 1 star Lando Norris is 'confident' he can win it all after a breakthrough year". NBC News. NBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2025. สืบค้นเมื่อ 17 March 2025.
  102. Benson, Andrew (23 March 2025). "'McLaren the class of the field but have hard tightrope to walk'". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2025. สืบค้นเมื่อ 10 April 2025.
  103. Galloway, James (2 April 2025). "Japanese GP talking points: Lando Norris vs Oscar Piastri, Red Bull's unanswered swap questions, Ferrari's early pressure". Sky Sports. Sky Group. สืบค้นเมื่อ 26 May 2025.
  104. "Hadjar, Doohan and Sainz all crash out after less than a lap as Australian Grand Prix gets off to dramatic start". Formula One. 16 March 2025. สืบค้นเมื่อ 26 May 2025.
  105. "Norris storms to pole position for the Australian Grand Prix ahead of Piastri and Verstappen". Formula One. 15 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2025. สืบค้นเมื่อ 20 May 2025.
  106. "Norris beats Verstappen to victory in dramatic Australian GP opener amid late-race chaos". Formula One. 16 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2025. สืบค้นเมื่อ 16 March 2025.
  107. "'We've learned from our mistakes' – Norris thrilled with 'amazing' Australian GP victory after 'stressful' chase from Verstappen". Formula One. 16 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  108. Laughton, Max (16 March 2025). "Aussie curse lives: Piastri podium bid spins away but late move stuns as teammate wins". Fox Sports Australia. สืบค้นเมื่อ 8 April 2025.
  109. "'I've only got myself to blame' – Piastri opens up on heartbreak after costly Australian Grand Prix error". Formula One. 16 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  110. Kelly, Sean (15 March 2025). "Facts and Stats: McLaren surge forward to secure their first Australian front row lock-out in 13 years". Formula One. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  111. Benson, Andrew (16 March 2025). "'Copybook victory as Norris and McLaren come through chaos unscathed'". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2025. สืบค้นเมื่อ 20 May 2025. In the final five laps after the final restart, Norris had Verstappen right behind him. The McLaren was hampered by significant floor damage [...] but he hung on, despite Verstappen being less than a second behind, [...]
  112. Kelly, Sean (16 March 2025). "Facts and Stats: Norris ends Verstappen's 63-race streak at top of Drivers' standings". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2025. สืบค้นเมื่อ 20 May 2025.
  113. "Hamilton storms to Sprint victory and first Ferrari win in China ahead of Verstappen and Piastri". Formula One. 22 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2025. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  114. "'My worst nightmare' – Norris rues glaring tyre troubles in underwhelming China Sprint as Piastri reflects on P2 finish". Formula One. 22 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  115. "Piastri beats Norris and Russell to victory in Chinese Grand Prix with statement performance". Formula One. 23 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  116. "'It's like my worst nightmare' – Norris admits fright over late brake issue in China with Russell closing". Formula One. 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  117. Kelly, Sean (23 March 2025). "Facts and Stats: China produces McLaren's 50th 1-2 and Mercedes' 300th podium". Formula One. สืบค้นเมื่อ 28 May 2025.
  118. "Russell overjoyed with 'one of my best weekends in F1' after Chinese GP podium finish". Formula One. 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 May 2025.
  119. Cleeren, Filip (25 March 2025). "How a "worried" Red Bull plans to rebound after glum start to F1 2025". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2025. สืบค้นเมื่อ 26 March 2025.
  120. "'It just didn't work' – Lawson rues set-up changes in 'extremely tough' Chinese GP as pressure mounts". Formula One. 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 28 May 2025.
  121. "Leclerc and Gasly disqualified from Chinese Grand Prix over car weight breaches". Formula One. 23 March 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  122. 122.0 122.1 "Hamilton disqualified from Chinese GP after skid block breach as Ferrari suffer double disqualification". Formula One. 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  123. "Ocon and Bearman hail 'amazing' Haas turnaround after double-points haul in China". Formula One. 24 March 2025. สืบค้นเมื่อ 28 May 2025.
  124. Karpov, Oleg; de Celis, Jose Carlos (23 March 2025). "Red Bull considers immediate swap of Lawson and Tsunoda for Japanese GP". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2025. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  125. Jackson, Kieran (27 March 2025). "Yuki Tsunoda replaces Liam Lawson at Red Bull for Japan GP in unprecedented F1 driver swap". The Independent. ISSN 1741-9743. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2025. สืบค้นเมื่อ 27 March 2025.
  126. Benson, Andrew (28 March 2025). "'We made mistake' on Lawson, says Red Bull chief". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2025. สืบค้นเมื่อ 28 March 2025.
  127. "FP3: Norris leads Piastri and Russell during final Japanese GP practice session". Formula One. 5 April 2025. สืบค้นเมื่อ 5 April 2025.
  128. Barton, Jamie (5 April 2025). "Several grass fires wreak havoc at Japanese Grand Prix qualifying as Max Verstappen sets new lap record". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 May 2025.
  129. "Verstappen clinches stunning pole position ahead of Norris and Piastri in Japanese GP Qualifying". Formula One. 5 April 2025. สืบค้นเมื่อ 29 May 2025.
  130. Straw, Edd (5 April 2025). "The details that made Verstappen's pole so incredible". The Race. The Race Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2025. สืบค้นเมื่อ 5 April 2025.
  131. Smith, Luke (5 April 2025). "Max Verstappen: Breaking down Red Bull driver's 'magical' pole lap in Japan". The Athletic. The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2025. สืบค้นเมื่อ 5 April 2025.
  132. "Norris concedes McLaren had 'nothing special' in Japan as he gives verdict on Verstappen pit exit incident". Formula One. 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 29 May 2025.
  133. 133.0 133.1 "'It means a lot' – Verstappen thrilled with fourth Suzuka win in a row as he reflects on 'tight' pit exit moment with Norris". Formula One. 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 29 May 2025.
  134. "Verstappen surges to fourth consecutive Japanese GP victory ahead of Norris and Piastri". Formula One. 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 6 April 2025.
  135. Benson, Andrew (6 April 2025). "How Verstappen stole Suzuka with McLaren stuck in 'rabbit hole'". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 6 April 2025.
  136. Coleman, Madeline; Smith, Luke (6 April 2025). "F1 Japanese Grand Prix briefing: Max Verstappen's perfect win and Kimi Antonelli makes history". The Athletic. The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 6 April 2025.
  137. "Antonelli hails 'boost of confidence' in Suzuka after 'mentally tough' weekend". Formula One. 6 April 2025. สืบค้นเมื่อ 29 May 2025.
  138. "Piastri beats Russell and Leclerc to pole position during Bahrain Grand Prix Qualifying". Formula One. 12 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  139. 139.0 139.1 Hunt, Scott (13 April 2025). "Oscar Piastri lays down F1 title gauntlet to Lando Norris with victory in Bahrain". The Independent. ISSN 1741-9743. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2025. สืบค้นเมื่อ 15 April 2025.
  140. "Piastri storms to controlled victory in Bahrain Grand Prix ahead of Russell and Norris". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 13 April 2025.
  141. "Russell reveals 'all sorts of failures' he experienced in tense Bahrain GP as he avoids penalty". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  142. Mee, Lydia (13 March 2025). "FIA delivers verdict after George Russell's DRS issue scrutinised". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 13 March 2025.
  143. Coleman, Madeline (14 April 2025). "How George Russell finished second in Bahrain Grand Prix with malfunctioning car". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 14 April 2025.
  144. Hughes, Mark (14 April 2025). "Monday Morning Debrief: How George Russell held onto a brilliant P2 in Bahrain – despite car failures, tyre woes and a charging Lando Norris on his tail". Formula One. สืบค้นเมื่อ 14 April 2025.
  145. "Norris rues 'messy race' after P3 finish in Bahrain as he vows to 'step it up' at Saudi Arabian GP". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  146. "Leclerc reflects on P4 in Bahrain as he concedes Ferrari 'need many baby steps' to get 'where we want'". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  147. "'I know what to search for' – Hamilton hopeful after learning 'a lot' about his Ferrari during Bahrain GP". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 30 May 2025.
  148. Cozens, Jack (13 April 2025). "Winners and losers from F1's 2025 Bahrain Grand Prix". The Race. The Race Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2025. สืบค้นเมื่อ 15 April 2025.
  149. Richards, Giles (14 April 2025). "'Very alarming': Red Bull hold crisis talks as Verstappen stews over Bahrain F1 GP". The Guardian. ISSN 1756-3224. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2025. สืบค้นเมื่อ 15 April 2025.
  150. Elizalde, Pablo (14 April 2025). "How Bearman went from last to the points in Bahrain GP". Motor Sport. ISSN 0027-2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2025. สืบค้นเมื่อ 15 April 2025.
  151. "Hulkenberg disqualified from Bahrain Grand Prix over skid block breach". Formula One. 13 April 2025. สืบค้นเมื่อ 13 April 2025.
  152. "'I've got to take it on the chin' – Norris reflects on his Q3 crash in Saudi Arabia as he apologises to team". Formula One. 19 April 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  153. "Verstappen clinches stunning pole position in Saudi Arabia as Norris crashes out in dramatic Qualifying". Formula One. 19 April 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  154. "Verstappen explains how Red Bull car 'came alive' in Jeddah Qualifying as he vows to 'give it everything' in the race". Formula One. 19 April 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  155. "Race Start: Verstappen retains Saudi Arabian GP lead from Piastri but is hit with penalty while Gasly and Tsunoda crash". Formula One. 20 April 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  156. Benson, Andrew (21 April 2025). "Verstappen says 'people can't handle the full truth' after Saudi penalty". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  157. Cleeren, Filip (21 April 2025). "Verstappen penalised as Gasly/Tsunoda crash causes safety car in Saudi GP". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  158. "Piastri clinches victory in Saudi Arabia from Verstappen and Leclerc as McLaren driver becomes new championship leader". Formula One. 20 April 2025. สืบค้นเมื่อ 20 April 2025.
  159. Horton, Phillip (20 April 2025). "Formula 1 Saudi Arabian Grand Prix: Charles Leclerc Gives Ferrari Its First F1 Podium of 2025". Autoweek. Hearst Communications. ISSN 0192-9674. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  160. "Saudi Arabian GP: Lando Norris hits back at claims of McLaren dominance | 'They are just as quick as us'". Sky Sports. Sky Group. 20 April 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  161. "Albon and Sainz praise teamwork as Saudi Arabia double points finish puts Williams fifth in standings". Formula One. 21 April 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  162. Smith, Luke; Kalinauckas, Alex (20 April 2025). "Saudi Arabian Grand Prix: A new championship leader, Ferrari's first 2025 podium". The Athletic. The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2025. สืบค้นเมื่อ 21 April 2025.
  163. "Antonelli storms to remarkable maiden pole ahead of Piastri and Norris during Sprint Qualifying in Miami". Formula One. 2 May 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2025. สืบค้นเมื่อ 20 May 2025.
  164. Golding, Nick (3 May 2025). "Charles Leclerc crashes out before Sprint as heavy rain causes chaos". RacingNews365. สืบค้นเมื่อ 3 May 2025.
  165. "Norris wins chaotic Miami Sprint from Piastri and Hamilton after late Safety Car and multiple incidents". Formula One. 4 May 2025. สืบค้นเมื่อ 5 May 2025.
  166. Cleeren, Filip (3 May 2025). "F1 Miami GP: Lando Norris wins chaotic sprint, Max Verstappen penalised". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2025. สืบค้นเมื่อ 13 May 2025.
  167. "'It's not what you want to see' – Verstappen rues pit lane incident in Miami Sprint after losing further ground to McLaren". Formula One. 4 May 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  168. "Verstappen surges to pole position ahead of Norris and Antonelli in Miami GP Qualifying". Formula One. 3 May 2025. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  169. "Piastri wins from Norris and Russell as McLaren seal commanding 1-2 in Miami Grand Prix". Formula One. 5 May 2025. สืบค้นเมื่อ 5 May 2025.
  170. "Verstappen labels Miami Grand Prix 'a struggle' after slipping back to P4 as he reflects on gap to McLaren". Formula One. 4 May 2025. สืบค้นเมื่อ 31 May 2025.
  171. "'We made it count when it mattered' – Russell satisfied with recovery to podium after troublesome Miami weekend". Formula One. 5 May 2025. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  172. "Formula 1 announces it will race at Imola until 2025". Formula One. 7 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2022.
  173. Cleeran, Filip (17 May 2025). "Violent Yuki Tsunoda crash stops F1 Imola GP qualifying". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  174. Cleeran, Filip (18 May 2025). "Yuki Tsunoda demoted to Imola GP pitlane start due to huge crash damage on Red Bull F1 car". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  175. "Piastri beats Verstappen and Russell to pole in dramatic Imola Qualifying session". Formula One. 17 May 2025. สืบค้นเมื่อ 17 May 2025.
  176. Codling, Stuart (18 May 2025). "Leclerc "cannot perform miracles", Hamilton "devastated": why Ferrari was so slow in F1 Imola GP qualifying". Autosport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  177. 177.0 177.1 Hunt, Ben (18 May 2025). "Imola GP heartbreak for Antonelli on home F1 debut". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 13 May 2025.
  178. "Race Start: Watch the getaway at Imola as Verstappen makes an incredible move on Piastri for the lead". Formula One. 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  179. "Verstappen storms to victory in thrilling Emilia-Romagna Grand Prix ahead of Norris and Piastri". Formula One. 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 19 May 2025.
  180. Jackson, Kieran (18 May 2025). "Max Verstappen's race-winning overtake in Imola reminds McLaren of F1 title credentials". The Independent. ISSN 1741-9743. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 24 May 2025.
  181. Golding, Nick; Parkes, Ian (19 May 2025). "'It's just mind-blowing' – Max Verstappen receives staggering praise after Oscar Piastri mistake". RacingNews365. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2025. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  182. "Monaco GP: George Russell believes Max Verstappen's overtake on Oscar Piastri is best overtake he's seen". Sky Sports. Sky Group. 23 May 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2025. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  183. Bellwood, Owen (18 May 2025). "Norris on F1 Imola GP: "Max was too quick for us"". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 24 May 2025.
  184. "Emilia Romagna GP: McLaren strategy calls at Imola showed 'weakness', says Jacques Villeneuve". Sky Sports. Sky Group. 19 May 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2025. สืบค้นเมื่อ 24 May 2025.
  185. "Hamilton hails 'really great feeling' of fightback to P4 at Imola as Leclerc reflects on 'frustrating day'". Formula One. 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  186. "Albon left with mixed feelings over P5 finish in Imola after 'licking my lips' at potential Williams podium". Formula One. 18 May 2025. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  187. Hunt, Ben (18 May 2025). "George Russell blasts Mercedes as being "dead slow" after wilting in Imola disappointment". Autosport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 19 May 2025.
  188. "Tsunoda takes positives from Imola recovery drive but admits he won't try to be a 'hero' in next Qualifying sessions". Formula One. 19 May 2025. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  189. "Norris beats Leclerc and Piastri to pole with last-gasp lap in Monaco GP Qualifying thriller". Formula One. 24 May 2025. สืบค้นเมื่อ 24 May 2025.
  190. Kelly, Sean (24 May 2025). "Facts and Stats: Norris smashes Monaco lap record to claim McLaren's first pole there since 2007". Formula One. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025. Norris set the first sub 70-second lap in Monaco history with his time of 1m 9.954s.
  191. "Race Start: Watch the getaway in Monaco as Norris holds the lead". Formula One. 25 May 2025. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025.
  192. "'It was the only option' – Verstappen explains alternate tyre strategy in Monaco after going from P1 to P4 on final lap". Formula One. 25 May 2025. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025.
  193. "Norris takes victory over Leclerc and Piastri in gripping Monaco Grand Prix". Formula One. 25 May 2025. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  194. Richards, Giles (25 May 2025). "Lando Norris wins Monaco F1 GP to close gap on championship leader Piastri". The Guardian. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2025. สืบค้นเมื่อ 26 May 2025.
  195. 195.0 195.1 Collantine, Keith (25 May 2025). "Russell's radio message led to his harsher penalty for "deliberate" chicane cut". RaceFans. Collantine Media. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  196. 196.0 196.1 Beer, Matt; Kanal, Samarth (25 May 2025). "'I didn't really care' – Russell stands by illegal Albon pass". The Race. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  197. 197.0 197.1 Richards, Giles (26 May 2025). "F1 team heads call for Monaco to 'move with the times' and make track change". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 28 May 2025.
  198. Mitchell-Malm, Scott (25 May 2025). "Williams drivers sorry for 'manipulation' of F1's Monaco GP". The Race. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  199. Cleeren, Filip (25 May 2025). ""Maybe throw bananas" – Max Verstappen likens F1's Monaco GP rule to Mario Kart". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 25 May 2025.
  200. Edmondson, Laurence (25 May 2025). "Two-stop experiment doesn't fix F1's Monaco procession problem". ESPN. สืบค้นเมื่อ 26 May 2025.
  201. Marchi, Fabio (27 May 2025). "Alonso: "Soy el nuevo embajador del Circuit de Barcelona-Catalunya, seguro que va a tener continuidad en F1"" [Alonso: "I am the new ambassador of Circuit de Barcelona-Catalunya, and it is going to have continuity in F1 for sure."]. Mundo Deportivo (ภาษาสเปน). Grupo Godó. สืบค้นเมื่อ 4 June 2025.
  202. Kallas, Fernando (23 January 2024). "Madrid to host Spanish GP from 2026, Barcelona future uncertain". Reuters. สืบค้นเมื่อ 7 May 2024. Madrid will host the Spanish Grand Prix from 2026 to 2035 on a new city circuit around the capital's IFEMA exhibition centre, Formula One said on Tuesday in an announcement that left Barcelona facing an uncertain future.
  203. "Piastri leads McLaren 1–2 from Norris in Spanish GP amid late-race drama for Verstappen and Russell". Formula One. 1 June 2025. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  204. Beer, Matt; Khorounzhiy, Valentin; Kanal, Samarth (1 June 2025). "Winners and losers from F1's 2025 Spanish Grand Prix". The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2025. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025.
  205. Cary, Tom (1 June 2025). "George Russell: Disqualify Max Verstappen for 'deliberate' crash". The Telegraph. ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  206. Noble, Jon (2 June 2025). "Verstappen concedes Russell clash shouldn't have happened". The Race. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  207. Mee, Lydia (1 June 2025). "Rosberg questions Max Verstappen's "lenient" Spanish GP penalty: "That's a black flag"". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 1 June 2025.
  208. Hughes, Mark (2 June 2025). "Mark Hughes: Needless F1 team order enraged already-beaten Verstappen". Motor Sport. ISSN 0027-2019. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  209. "Should Verstappen have been disqualified from the Spanish GP? Our writers have their say". Autosport.com. Motorsport Network. 2 June 2025. สืบค้นเมื่อ 2 June 2025.
  210. Cleeran, Filip (3 June 2025). "Sauber's "pinch yourself moment" after Nico Hulkenberg beats Lewis Hamilton's Ferrari". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 5 June 2025.
  211. "'Aggressive' Alonso scores first points of the season at 'special' home race". Formula One. 2 June 2025. สืบค้นเมื่อ 5 June 2025.
  212. Coleman, Madeline (14 June 2015). "Every incident: How Max Verstappen ended up on the brink of an F1 race ban". The Athletic. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015. Penalty points last for 12 months in F1, [...] And even that is just two points falling off, if [Verstappen] navigates clean weekends in Canada and Austria in the coming weeks.
  213. "Russell beats Verstappen and Piastri to pole in thrilling Qualifying for Canadian GP". Formula One. 14 June 2025. สืบค้นเมื่อ 16 June 2025.
  214. "Race Start: Watch the getaway in Montreal as Russell maintains the lead over Verstappen". Formula One. 15 June 2025. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015.
  215. "'I misjudged it' – Norris apologises for 'being stupid' in Piastri battle after crashing out of Canadian GP". 15 June 2025. สืบค้นเมื่อ 16 June 2025.
  216. "Russell takes solid victory as Piastri and Norris collide late on in dramatic Canadian Grand Prix". Formula One. 15 June 2025. สืบค้นเมื่อ 16 June 2025.
  217. Kelly, Sean (15 June 2025). "Facts and Stats: Antonelli becomes F1's third-youngest podium finisher". Formula One. สืบค้นเมื่อ 16 June 2025.
  218. "Norris storms to impressive pole position in Austria ahead of Leclerc and Piastri with Verstappen P7". Formula One. 28 June 2025. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  219. Mee, Lydia (29 June 2025). "Sainz out of F1 Austrian GP after formation lap disaster". Autosport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  220. Cleeren, Filip (29 June 2025). "Verstappen out of F1 Austrian GP after Antonelli clash". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2025. สืบค้นเมื่อ 29 June 2025.
  221. "Antonelli handed three-place grid penalty for Silverstone after Verstappen collision in Austria". Formula One. 29 June 2025. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  222. "Sainz calls for Williams to 'regroup' as Albon admits team 'need to stop' issues after double DNF in Austria". Formula One. 29 June 2025. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  223. Mee, Lydia; Cleeran, Filip (29 June 2025). "Red Bull's Tsunoda baffled by lack of pace as he issues apology after Austria crash". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  224. "Norris fends off Piastri for Austrian GP victory in thrilling race-long battle". Formula One. 29 June 2025. สืบค้นเมื่อ 29 June 2025.
  225. "'I always knew I was capable of it' – Bortoleto delighted with first F1 points in Austria amid Alonso battle". Formula One. 29 June 2025. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  226. Bailey, Michael (29 June 2025). "A two-year first for Sauber". The Athletic. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  227. Shetty, Nish; Ennser, Gerd; Selley, Matthew; Lamy, Pedro; Zheng, Honghai (23 March 2025). "2025 Chinese Grand Prix – Final Race Classification" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  228. 228.0 228.1 228.2 "FIA Formula One World Championship Results 2025". Motorsport Stats. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 29 June 2025.
  229. 229.0 229.1 "The beginner's guide to the F1 weekend". Formula One. สืบค้นเมื่อ 3 February 2025.
  230. Cooper, Sam (23 February 2023). "Wet races, half points and a new fan engagement activity – the FIA rule changes analysed". PlanetF1. Planet Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
  231. "The beginner's guide to the F1 Drivers' Championship". Formula One. สืบค้นเมื่อ 3 February 2025.
  232. 232.0 232.1 Holter, Felix; Connelly, Garry; Warwick, Derek; Singer, Wilhelm (29 June 2025). "2025 Austrian Grand Prix – Championship Points" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). สืบค้นเมื่อ 30 June 2025.
  233. 233.0 233.1 รายงานผลการแข่งขันรอบสปรินต์อย่างเป็นทางการ:

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia