พระองค์เจ้าดำ
พระองค์เจ้าดำ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชาที่ประสูติแต่พระสนม เป็นพระราชอนุชาต่างพระมารดากับสมเด็จพระเจ้าเสือ จึงมีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้พระองค์เจ้าแก้วพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเสือมาเป็นบาทบริจาริกา ต่อมาพระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม และพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ได้ระบุไว้ตรงกันว่า "มาจากการที่พระองค์ละลาบละล้วงเข้าไปในเขตพระราชฐานซึ่งเป็นเขตต้องห้าม โดยมิได้เกรงกลัวพระราชอาญาอยู่หลายครั้ง" สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงปรึกษากับเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชาที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เห็นเป็นมหันตโทษจึงโปรดให้พันธนาการพระองค์เจ้าดำและสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา ส่วนพระองค์เจ้าแก้วก็เสด็จไปทรงผนวชเป็นพระรูป (ชี) อยู่กับกรมพระเทพามาตย์ (กัน) พระอัยยิกาของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระที่วัดดุสิดาราม[1][2] ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) กล่าวแตกต่างออกไปว่า เจ้าพระองค์ดำถูกสำเร็จโทษในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี[3]: 10 เนื่องจากทรงเข้าร่วมคิดก่อกบฏซ่องสุมกำลังคนกับกรมขุนเสนาบริรักษ์ (พระองค์แก้ว) พระบุตรของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) อำมาตย์หลอ พระรักษ์มณเทียรกรมวัง และเจ้าพระองค์แขก หลังจากสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีขึ้นครองราชย์แล้วมีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรกับเจ้าฟ้าพรจับตัวผู้ก่อกบฏทั้งหมดไปสำเร็จโทษแต่ไม่มีกล่าวถึงการฝังศพที่วัดโคกพระยาเหมือนพระราชพงศาวดารฉบับอื่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) กล่าวว่า :-
หากยึดตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) เจ้าพระองค์ดำจะสิ้นพระชนม์ราว พ.ศ. 2246 พระโอรสธิดาพระองค์เจ้าดำ มีพระบุตรธิดา ดังนี้
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia