พระวิสุทธิสังวรเถร (ปีเตอร์ พฺรหฺมวํโส)

พระวิสุทธิสังวรเถร

(ปีเตอร์ พรหมวํโส)
ชื่ออื่นอาจารย์พรหม
ส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโพธิญาณ เซอร์เพนไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิญาณ

พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวํโสภิกฺขุ) หรือ "พระพรหมวังโส" หรือตามที่รู้จักในหมู่ลูกศิษย์ว่า "อาจารย์พรหม" (อังกฤษ: Ajahn Brahm) เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ชาวอังกฤษ หนึ่งในศิษย์ชาวต่างประเทศของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิญาณ เมืองเซอร์เพนไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอดีตวัดสาขาของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

พระพรหมวังโสเป็นที่รู้จักทั่วไปจากกรณีเป็นพระกรรมวาจาจารย์บวชภิกษุณี 4 รูปอย่างลับ ๆ ที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทำให้คณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์นานาชาติสายวัดหนองป่าพงได้เชิญท่านมาประชุมชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ผลปรากฏว่ามีการลงมติขับพระพรหมวังโสออกจากความเป็นหมู่คณะของสงฆ์สายวัดหนองป่าพง เพราะเห็นว่าการบวชภิกษุณีเป็นการขืนกระทำโดยผิดต่อพระวินัยฝ่ายเถรวาท และตัดวัดโพธิญาณออกจากความเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพงอีกด้วย มติดังกล่าวนี้ทำให้พระพรหมวังโสได้ขาดจากความปกครองของคณะสงฆ์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวํโสภิกฺขุ) มีนามเดิมว่า ปีเตอร์ เบ็ตส์ (อังกฤษ: Peter Betts) เกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ในครอบครัวชนชั้นกรรมกร ในช่วงวัยรุ่น ระหว่างที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนลาตีเมร์อัปเปอร์สคูล (Latymer Upper School) ท่านสามารถสอบได้ทุนศึกษาต่อวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี (Theoretical physics) ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในระยะนี้ท่านได้ได้หันมานับถือพุทธศาสนา โดยสืบเนื่องมาจากความสนใจในธรรมะของพุทธศาสนาและการทำสมาธิ

หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้วก็ได้ทำงานเป็นครูอยู่ 1 ปี ก่อนตัดสินใจเดินทางมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ในประเทศไทย และได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ 23 ปี ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ครั้งยังเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "พฺรหฺมวํโส" จากนั้นจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) เพื่อฝึกหัดวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระวัดป่าที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลานาน 9 ปี

พระพรหมวังโสได้รับอาราธนาจากคณะศิษย์ของหลวงพ่อชาในประเทศออสเตรเลียให้ไปตั้งวัดโพธิญาณในประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2526 และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนาม "พระวิสุทธิสังวรเถร" เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 [1]

วัดโพธิญาณ

กรณีการบวชภิกษุณี

เกียรติคุณ

งานเขียน

  • Opening the Door of Your Heart: And Other Buddhist Tales of Happiness. Also published as Who Ordered This Truckload of Dung?: Inspiring Stories for Welcoming Life's Difficulties. (2005). Wisdom Publications. ISBN 0-86171-278-1
  • Mindfulness, Bliss, and Beyond: A Meditator's Handbook. (2006). Wisdom Publications. ISBN 0-86171-275-7

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Egan, Colleen (18 June 2001). "Monk caught up in fire and brimstone". The Australian.
  • Franklin, Dave (11 May 2003). "Religion with a humorous twist". The Sunday Times. Perth, Australia.
  • Horayangura, Nissara (28 April 2009). "The bhikkhuni question". Bangkok Post. The full transcript from the 28 February 2009 interview is available on Buddhanet.
  • Pitsis, Simone (27 July 2002). "Brahm's symphony is the sound of silence". The Australian.
  • Ranatunga, D. C. (4 February 2007). "Be good, be happy". Sunday Times (Sri Lanka). 41 (36). ISSN 1391-0531.
  • "Few minutes of meditation, good way to start". Sunday Times (Sri Lanka). 41 (40). 4 March 2007. ISSN 1391-0531.
  • Ranatunga, D. C. (9 December 2007). "Meeting Ajahn Brahm in a relaxed mood". Sunday Times (Sri Lanka). 42 (28). ISSN 1391-0531.
  • Smedley, Tim (3 May 2007). "What HR could learn from Buddhism". People Management. 13 (9): 14. ISSN 1358-6297.
  • Wettimuny, Samangie (3 March 2011). "Path to inner happiness". Daily News. Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia