พระปทุมุตรพุทธเจ้า
พระปทุมุตรพุทธเจ้า หลังจากพระศาสนาของพระนารทะพุทธเจ้าอันตรธานไปแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ว่างจากพระพุทธเจ้าถึงหนึ่งอสงไขยกัป เรียกว่า รุจิอสงไขย เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 1 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระปทุมุตระพุทธเจ้า (พระองค์ทรงอุบัติขึ้นเพียงพระองค์เดียว แต่เปรียบเสมือนมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 2 พระองค์ บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป) พระประวัติพระปทุมุตระพุทธเจ้า ประสูติเป็นพระปทุมุตระราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งหังสวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าอานันทะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุชาดาเทวี พระปทุมุตระราชกุมารทรงพระเกษมสำราญอยู่ 10,000 ปี ในปราสาท 3 หลัง ชื่อ นรวาหนะ ยสวาหนะ และวสวัตดี มีพระมเหสีพระนามว่า สุทัตตาเทวี ทรงมีสนมนารีแวดล้อมเป็นบริวาร 120,000 นาง[1] วันหนึ่ง เมื่อพระเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า พระอุตตระกุมาร พระปทุมุตระราชกุมารทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระดำริว่าจะออกบวช พอดำริดังนั้น วสวัตดีปราสาทก็ลอยเลื่อนไปลงกลางพื้นดิน เมื่อปทุมุตระราชกุมารพร้อมบุรุษผู้ติดตามออกบรรพชาแล้ว ปราสาทนั้นก็ลอยกลับที่เดิม[1] ปทุมุตระราชกุมารทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่เป็นเวลา 7 วัน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากธิดารุจานันทเศรษฐี ณ อุชเชนีนิคม และรับหญ้า 8 กำจากสุมิตตะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นสลฬะ เป็นโพธิบัลลังก์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในคืนนั้นเอง[1] พระปทุมุตระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระโอรส 2 องค์ของพระเจ้าอาแห่งกรุงมิถิลา คือ เทวละกุมาร และสุชาตะกุมาร ที่ราชอุทยานกรุงมิถิลา ทำให้พระโอรสทั้งสองและบริวารสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล[1] ธรรมาภิสมัยธรรมาภิสมัยในพุทธกาลของพระปทุมุตระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 3 วาระ คือ
ประชุมสาวกสันนิบาตพระปทุมุตระพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต 3 ครั้ง
พระสาวกพระปทุมุตระพุทธเจ้ามีพระสาวกองค์สำคัญ คือ
พระวรกายพระปทุมุตระพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 58 ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป 12 โยชน์โดยรอบ เมื่อพระชนมายุได้ 100,000 ปี จึงปรินิพพานที่พระวิหารนันทาราม พระศาสนาก็ดำรงมาได้อีก 70,000 ปี ก็อันตรธาน ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธโคดมในสมัยที่พระพุทธเจ้าปทุมุตระทรงประกาศพระศาสนา พระนิตยโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็น ชฎิล ต่อมาได้ออกบวชเป็นดาบสตบะแก่กล้ามีฤทธิ์มาก เมื่อได้พบพระพุทธองค์ก็มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใส ได้ทำการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธองค์เป็นประธาน พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นพระบารมีของพระโพธิสัตว์ด้วยจักษุทิพย์ จึงทรงประกาศพุทธพยากรณ์ว่า[2]
ดาบสโพธิสัตว์ปิติยินดีอย่างยิ่ง จึงหมั่นเพียรสร้างบารมีจนสิ้นอายุ[2] ความเกี่ยวข้องกับหมอชีวกโกมารภัจจ์ในสมัยของพระพุทธเจ้านาม ปทุมุตระ ณ เมืองจำปา มีชายหนุ่มผู้หนึ่ง เห็นชายชราผู้หนึ่งเดินเข้าออกอารามที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ เมื่อออกมาจึงเดินเข้าไปถาม ชายชราตอบว่า "ตนคือแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ในชั่วพุทธกาลหนึ่งจึงจะเกิดขึ้น ถ้าอยากเป็นต้องอธิษฐานไว้ชาติหน้าสิ" เมื่อชายชราจากไปชายหนุ่มสงสัยว่าชาติหน้ามีจริงหรือ การอธิษฐานจิตมีผลในชาติหน้าด้วยหรือ จึงเข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า[3] "ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ก็จะเกิดแล้วเกิดอีกด้วยผลของกรรมที่ตัวเองกระทำ ถ้าทำกรรมดีก็จะไปเกิดในที่ดี เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เป็นต้น ถ้าทำกรรมชั่วก็จะไปเกิดในอบายภูมิที่ 4 อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน... การอธิษฐานจิต คือการตั้งใจมั่นว่าจะทำอะไร และพยายามทำเพื่อให้ได้มาในสิ่งนั้น การกระทำเช่นนี้ย่อมส่งผลทั้งในชาติปัจจุบัน ชาติหน้า และชาติภพอื่นๆ ต่อไป"[3] ชายหนุ่มได้สนทนาธรรมอยู่หลายประการ ในที่สุดชายหนุ่มจึงขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์ เมื่อชายหนุ่มถวายภัตตาหารครบแล้วจึงอธิษฐานต่อพระพักตร์พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า "เอวัง โหตุ ขอให้คำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลดังที่ท่านปรารถนาเถิด"[3] เมื่อพระพุทธองค์พร้อมพระสาวกเสด็จกลับ ชายหนุ่มจึงทำบุญทำทานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรจนสิ้นอายุขัย แสนกัปต่อมาชายหนุ่มผู้นี้จึงได้เป็นหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเราสำเร็จตามความปรารถนา[3] อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia